รายงาน



รายงาน

วิชา คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย

เรื่อง WordPress

เสนอ

อาจารย์ เพชรณา บริพันธ์

จัดทำโดย

น.ส. พิจาริน เอ่งฉ้วน ม.4/6 เลขที่ 15

ปีการศึกษา 2554

โรงเรียนสภาราชินี จ.ตรัง

คำนำ

รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย จัดทำเพื่อศึกษาวิธีการใช้งานwordpressซึ่งเป็นเว็บบล็อกชนิดหนึ่งที่มีผู้นิยมใช้งานกันทั่วโลก รายงานได้วิชาเกี่ยวกับรูปแบบการใช้งานรวมไปถึงเทคนิคต่างๆที่เรายังไม่รู้ ทำให้ผู้ศึกษาได้รับความรู้อีกตั้งเป็นเอกสารประกอบการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย ทำให้ผู้ศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาเว็บบล็อกของตัวเองให้ดีขึ้น

ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้อ่านได้ความรู้เพิ่มเติม และสามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้บ้าง อย่างไรก็ตาม หากมีข้อผิดพลาดประการใด ก็ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย

ผู้จัดทำ

น.ส.พิจาริน เอ่งฉ้วน

คู่มือ WORDPRESS

คู่มือ WordPress นี้ เป็นการรวบรวมบทความต่าง ๆ ที่เคยเขียนเอาไว้ จัดให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อค้นหาได้ง่ายยิ่งขึ้น รวมทั้งจะทะยอยเขียนบทความเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ หากมีข้อติชมหรือข้อสงสัย ก็สามารถสอบถามเข้ามาได้

ความรู้เบื้องต้น

ทำความรู้จักกับ WordPress ในแง่มุมต่าง ๆ ก่อนที่จะลงมือศึกษาอย่างจริงจัง

WordPress คืออะไร

WordPress เป็นโปรแกรมสำหรับทำบล็อก พัฒนาด้วยภาษา PHP และใช้งานร่วมกับฐานข้อมูล MySQL ภายในสัญญาอนุญาตใช้งานแบบ GNU General Public License

WordPress มีการใช้งานที่ง่าย มีความยืดหยุ่นสูง เป็นที่นิยมของบล็อกเกอร์ทั่วโลกรวมทั้งชาวไทยด้วยเช่นกัน มีผู้พัฒนาปลั๊กอิน และธีม (รูปแบบการแสดงผล) ให้เลือกใช้แบบฟรี ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก

นอกจาก WordPress รุ่นปกติแล้ว ยังมี WordPress MU อีกรุ่นหนึ่ง ที่ไว้ให้ผู้ใช้นำไปเปิดเป็นผู้ให้บริการพื้นที่ทำเว็บบล็อก ที่ผู้ใช้ทั่วไปสามารถมาสมัครเพื่อสร้างเว็บบล็อกของตนเองได้

|[pic] |

|หน้าต่างควบคุมระบบของ WordPress |

WordPress นี้พัฒนาต่อยอดมาจาก b2\cafelog ที่พัฒนาโดย Michel Valdrighi และชื่อ WordPress นี้ก็ได้มาจากการแนะนำของ Christine Selleck ซึ่งเป็นเพื่อนกับหัวหน้าทีมพัฒนา นั่นคือ Matt Mullenweg โดยปรากฏโฉมครั้งแรกในปี 2546 ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่าง Matt Mullenweg และ Mike Little เพื่อที่จะสร้าง fork ของ b2

ในปี 2547 บริษัท Six Apart ผู้พัฒนา Moveable Type ได้มีการคิดค่าใช้งาน ทำให้ผู้ใช้หันมาใช้ WordPress กันเป็นจำนวนมาก

ทำความรู้จัก WordPress

ทำความรู้จัก WordPress

WordPress ไม่ใช่โปรแกรมปกติเหมือนกับโปรแกรมอื่น ๆ ทั่วไปที่ทำงานบนคอมพิวเตอร์ เช่น MicroSoft Word, MicroSoft Excel เป็นต้น ไม่ใช่ปลั๊กอินสำหรับเบราเซอร์ เหมือนกับ QuickTime หรือ Flash Player แต่มันเป็นระบบสิ่งพิมพ์บนเว็บ ที่สร้างโดยใช้ PHP และฐานข้อมูล MySQL ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ทำงานบน Unix

WordPress มีการทำงานอย่างไร

WordPress ใช้คำสั่ง PHP บน Web Server เพื่อติดต่อสื่อสารกับฐานข้อมูล MySQL ในขั้นตอนการติดตั้ง WordPress จะสร้างตารางที่ต้องการในฐานข้อมูล พร้อมทั้งบรรจุตัวอย่างและข้อมูลเริ่มต้นไว้ในฐานข้อมูล

เมื่อคุณใช้เบราเซอร์ไปบริหารบล็อกของคุณ เบราเซอร์จะส่งคำสั่งไปเพื่อเพิ่มหรือแก้ไขบทความในฐานข้อมูล MySQL ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เนื้อหาของบล็อกคุณทั้งหมด ถูกเก็บไว้ในไฟล์ฐานข้อมูล MySQL

ในการแสดงเนื้อหาของบล็อกและการบริหารส่วนต่าง ๆ ของหน้าจอนั้น WordPress ใช้ไฟล์ธีม (theme) ซึ่งบรรจุไปด้วยแม่แบบสำหรับแสดงข้อมูลชนิดต่าง ๆ และเพจ (pages) ไฟล์ข้อความเหล่านี้จะประกอบไปด้วยโค้ด PHP, XHTML และ CSS เพื่อใช้ในการควบคุมการแสดงผลบทความบนที่หน้าเว็บ

WordPress มีธีมมากมายให้เลือกใช้ ดังนั้นไม่จำเป็นที่คุณจะต้องไปออกแบบเอง เพียงแต่คุณเรียนรู้เกี่ยวกับ WordPress และรู้ว่ามันทำงานอย่างไรก็พอ คุณก็อาจจะสามารถแก้ไขธีมของเว็บคุณเพื่อปรับแต่งการแสดงผลและเพิ่มคุณลักษณะเด่น ๆ ที่น่าสนใจเข้าไปได้

ความต้องการของระบบ

หากคุณใช้ WordPress ที่ ก็ข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลยครับ เพราะไม่ต้องเตรียมอะไรครับ เพราะเขาเตรียมไว้ให้หมดแล้ว

แต่ถ้าคุณติดตั้ง WordPress บน host หรือ บนเครื่องของคุณเอง อ่านต่อได้เลยครับ

Server ที่ติดตั้ง WordPress รุ่น 2.1+ ต้องการดังนี้

1. PHP รุ่น 4.2 ขึ้นไป

2. MySQL รุ่น 4.0 ขึ้นไป

Server ที่ติดตั้ง WordPress รุ่น 2.0 ต้องการดังนี้

1. PHP รุ่น 4.2 หรือใหม่กว่า

2. MySQL รุ่น 3.23.23 หรือใหม่กว่า

คิดว่าส่วนใหญ่ host ในปัจจุบันน่าจะรองรับ WordPress รุ่น 2.1+ ได้แล้วนะครับ แต่ถ้าหากไม่แน่ใจว่า host ที่คุณใช้งานอยู่นั้นรองรับกับ WordPress ที่คุณจะใช้งานหรือไม่ ให้สอบถามกับทางผู้ให้บริการ host ของคุณดูว่า ใช้ PHP และ MySQL รุ่นไหน

กายวิภาคของบล็อก WordPress

การแสดงผลของบล็อก WordPress มีความแตกต่างกันตามธีม (Themes) ที่ติดตั้ง ซึ่งธีมจะเป็นตัวกำหนดการแสดงผลของบล็อก รวมทั้งปลั๊กอินที่อาจจะติดตั้งไว้อีกด้วย แต่ก็จะมีคุณลักษณะพื้นฐานที่สามารถพบเห็นได้จากบล็อกทั่วไป ต่อไปจะได้แสดงให้เห็นว่า ส่วนประกอบของบล็อกมีอะไรบ้าง

[pic]

ภาพหน้าจอของบล็อก WordPress

[pic]

ภาพของบทความในบล็อก เมื่อคลิกที่ชื่อเรื่องของบทความ

1. Header แสดงอยู่ด้านบนของแต่ละหน้า โดยปกติแล้วจะแสดงชื่อของบล็อกและสโลแกนของบล็อก หรือบอกว่าบล็อกนี้ทำเกี่ยวกับอะไร

2. Page ใน WordPress คุณสามารถที่จะบรรจุหน้าไว้ในบล็อกได้ บล็อกเกอร์ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับบล็อก และใช้บรรจุเนื้อหา ซึ่งลิงก์ไปยังหน้านี้จะอยู่ที่บน Header หรือที่ sidebar เป็นต้น

3. Post Title ชื่อเรื่องบทความ

4. Posts เนื้อหาบทความ

5. Footer ส่วนนี้จะอยู่ด้านล่างของแต่ละหน้า ปกติจะบรรจุข้อมูลลิขสิทธิ์ อาจจะบรรจุข้อมูลเกี่ยวกับธีมของบล็อก ในบางธีมของบล็อก คุณจะหาลิงก์ของ RSS feed ได้ใน Footer

6. Sidebar ส่วนนี้จะปรากฏในทุก ๆ หน้า โดยปกติจะบรรจุด้วยลิงก์นำทางหลาย ๆ อย่างและคุณลักษณะอื่น ๆ

▪ Search form ใช้สำหรับค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ในบล็อกที่ตรงกับคำที่ป้อนสำหรับค้นหา.

▪ Calendar ปฏิทินนี้จะแสดงลิงก์วันที่ที่มีการโพสต์บทความ คลิกบนลิงก์เป็นการแสดงบทความที่โพสต์ ณ วันนั้น ๆ และคุณยังใช้ลิงก์ในปฏิทินเพื่อดูเดือนที่แล้วหรือเดือนถัดไปได้

▪ Recent posts แสดงรายการโพสต์ล่าสุด

▪ Category แสดงรายการหมวดหมู่ทั้งหมดของบทความในบล็อก การคลิกบนหมวดหมู่ จะเป็นการแสดงบทความที่อยู่ในหมวดหมู่นั้น ๆ ทั้งหมด

▪ Archive แสดงรายชื่อเดือนต่าง ๆ ที่มีการโพสต์บทความ คลิกบนรายชื่อเดือนเพื่อดูบทความที่โพสต์ในแต่ละเดือน

▪ Links แสดงรายชื่อบล็อกที่น่าสนใจหรือเว็บไซต์อื่น ๆ

▪ Feeds เป็นลิงก์หรือปุ่มสำหรับเข้าถึง RSS feed ของบทความหรือความคิดเห็น

▪ Meta แสดงรายการเพื่อให้ผู้ใช้ล็อกอินเข้าสู่ระบบหรือลงทะเบียน ลิงก์สำหรับตรวจสอบโค้ด XHTML และ CSS

การใช้งาน WordPress

มีอยู่ 3 วิธีในการใช้งาน WordPress เพื่อสร้างและดูแลบล็อก

1. ใช้บริการที่  วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายและเร็วที่สุดในการที่จะมีบล็อกเป็นของตนเอง คุณสามารถใช้งานได้อย่างเต็มฟังก์ชั่นที่มี แต่คุณจะไม่สามารถปรับแต่งคุณลักษณะที่เด่นหรือติดตั้งปลั๊กอินของ WordPress เพิ่มเติมได้

2. ติดตั้งบน Hosting คือคุณจะต้องเช่า host ที่มีฐานข้อมูล MySQL ด้วย รวมทั้งจดโดเมน เพื่อทำบล็อกในชื่อโดเมนของคุณเอง หรืออาจจะใช้แบบ Sub-domain ก็ได้ ถ้าไม่อยากเสียเงิน ก็อาจจะหา host ฟรี ๆ ที่รองรับ PHP และ MySQL โดยชื่อที่ได้เป็น Sub-domain ของ host ฟรีนั้นก็ได้ การติดตั้งในลักษณะนี้จะทำให้คุณสามารถติดตั้งปลั๊กอิน ปรับแต่งคุณลักษณะต่างๆ ของ WordPress ได้ตามความต้องการของคุณเองเลยหล่ะครับ

3. ติดตั้งบนเครื่องของคุณเอง คือติดตั้งโปรแกรมที่ทำให้เครื่องของคุณเป็น Web Server เช่นXampp, Wamp, AppServ หรือ WM Server Tools เป็นต้น แล้วติดตั้ง WordPress ทดสอบการใช้งานต่าง ๆ เมื่อคล่องแล้วก็อาจจะย้ายข้อมูลต่าง ๆ ไปทำแบบเช่า host ก็ได้ หรือจะติดตั้งบนเครื่องแล้วเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้อื่นเข้ามาอ่านบล็อกของคุณ หรือจะติดตั้งบล็อกในรูปแบบของอินทราเน็ต ก็ได้อีกเช่นกัน

จากรูปแบบการใช้งาน WordPress ตามที่กล่าวมา ก็ลองพิจารณาดูว่า อย่างไหนถูกใจสำหรับคุณ อยากมีบล็อกเร็ว ๆ และเผยแพร่สู่สายตนคนอื่นได้ ก็แนะนำ เลยครับ ง่ายดี สมัครแป๊บเดียวก็ได้มีบล็อกกับเขาบ้างแล้ว แต่อยากใช้ WordPress แบบปรับโน่นแต่งนี่ ก็ลองทำแบบข้อ 3 ครับ จำลองเครื่องเป็น Web Server แล้วลองติดตั้งดู เพิ่มปลั๊กอิน เปลี่ยนธีมได้อย่างสนุกสนานตามใจคุณได้เลยครับ เมื่อคล่องแล้วก็หากต้องการเผยแพร่ข้อมูล ก็เช่า host จดโดเมนทำบล็อกแบบเต็มรูปแบบไปเลย

การติดตั้ง

เป็นขั้นตอนต่าง ๆ ในการติดตั้งบล็อกด้วย WordPress ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้ไม่ยาก แต่ที่หนักก็เห็นจะเป็นการดาวน์โหลดไฟล์ที่จะนำมาจำลองเครื่องให้เป็น Web Server นี่แหล่ะ เพราะมีขนาดใหญ่ ส่วนเรื่องอื่น ๆ ก็ไม่มีปัญหา เพราะโปรแกรมออกแบบมาให้ติดตั้งกันอย่างง่าย ๆ ครับ

การจำลองเครื่องให้เป็น Web Server เหมือนกับ Server บนอินเทอร์เน็ต ให้เลือกติดตั้งเพียงโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งเท่านั้น

การติดตั้ง XAMPP

ก่อนที่เราจะได้ใช้ WordPress ทำบล็อกนั้น เอาแบบง่าย ๆ ก่อนคือจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราให้เป็น Web Server ก่อน แล้วลองใช้งานดู ยังไม่ต้องถึงขนาดจดโดเมน เช่าโฮสต์ให้เสียตังค์ ซึ่งการติดตั้งบนโฮสต์นั้นเราจะเอาไว้กล่าวถึงในภายหลัง ตอนนี้จำลองเครื่องของเราให้เหมือนกับ Server บนอินเทอร์เน็ตกันก่อน เมื่อจำลองเสร็จ เราก็จะสามารถติดตั้ง WordPress เพื่อทดสอบใช้งานได้ เมื่อเราเข้าใจการทำงานต่าง ๆ ดีแล้ว อยากมีเว็บไซต์เอง จึงจดโดเมน เช่าโฮสต์ในภายหลัง

โปรแกรมที่ช่วยจำลองคอมพิวเตอร์ให้เป็น Web Server นั้นมีอยู่ด้วยกันหลายโปรแกรม จะค่อย ๆ นำเสนอไปที่ละโปรแกรม

สำหรับในบทความนี้ ขอเสนอ XAMPP รุ่น 1.6.4 ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วยจำลองคอมพิวเตอร์ของคุณให้เป็นเหมือนกับ Web Server ซึ่งโปรแกรมนี้ประกอบไปด้วย Apache HTTPD 2.2.6, MySQL 5.0.45, PHP 5.2.4 + 4.4.7 + PEAR + Switch, MiniPerl 5.8.7, Openssl 0.9.8e, PHPMyAdmin 2.11.1, XAMPP Control Panel 2.5, Webalizer 2.01-10, Mercury Mail Transport System v4.01a, FileZilla FTP Server 0.9.23, SQLite 2.8.15, ADODB 4.94, Zend Optimizer 3.3.0, XAMPP Security, Ming. For Windows 98, 2000, XP.

โปรแกรมนี้อาจจะใหญ่สักหน่อย คือชุดติดตั้งประมาณ 34 เมก. รวมทั้งเมื่อติดตั้งเสร็จใช้พื้นที่ประมาณ 200 กว่าเมก. แต่โปรแกรมต่าง ๆ ที่มีให้ก็เหมาะสมกับขนาดนั่นแหล่ะครับ โดยส่วนตัวแล้วผมชอบฟังก์ชั่นหลาย ๆ อย่าง เช่น สลับ PHP 4 และ 5 ได้ รวมทั้งการเรียกและยกเลิก Apache และ MySQL ก็ทำได้ง่าย เป็นต้น

ก่อนติดตั้งโปรแกรมนี้ หากคุณได้ติดตั้ง IIS อยู่แล้ว ให้ยกเลิก IIS เสียก่อน ตัวที่นำมาเสนอนี้เป็นชุด Installer หลังจากที่ดาวน์โหลดมาแล้ว ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์ xampp-win32-1.6.4-installer.exe

[pic]

ปรากฏหน้าต่างเลือกภาษาในการติดตั้ง เลือก English แล้วคลิกปุ่ม OK

[pic]

คลิกปุ่ม Next

[pic]

โฟลเดอร์สำหรับติดตั้งนั้น ให้ใช้ค่าที่โปรแกรมกำหนดมา คลิกปุ่ม Next

[pic]

คลิกปุ่ม Install เพื่อติดตั้งโปรแกรม

[pic]

โปรแกรมกำลังขยายไฟล์ไปยังโฟลเดอร์ปลายทาง

[pic]

คลิกปุ่ม Finish สิ้นสุดตั้งโปรแกรม

[pic]

ตอนนี้ติดตั้งสำเร็จแล้ว โปรแกรมจะถามว่า จะใช้งาน XAMPP Control Panel เลยหรือเปล่า ตอบ Yes เพื่อเรียกใช้งาน ซึ่ง Control Panel นี้ จะเป็นศูนย์ควบคุมโปรแกรมต่าง ๆ สามารถปิด/เปิดโปรแกรมที่ต้องการได้อย่างสะดวก

[pic]

หน้าต่าง Control Panel ในส่วนนี้เราจะเปิดใช้งาน Apache เพื่อจำลองเครื่องให้เป็น Web Server และใช้ระบบฐานข้อมูล MySQL ให้คลิกปุ่ม Start ที่รายการ Apache และ MySql

[pic]

เมื่อโปรแกรมทำงาน จะแสดงข้อความ Running นั่นหมายความว่า เครื่องของเราได้จำลองเป็น Web Server แล้ว สามารถใช้งานได้เหมือนกับ Web Server บนอินเทอร์เน็ต

[pic]

จากนั้นให้เปิดเบราเซอร์ขึ้นมา แล้วพิมพ์  แล้วกดปุ่ม Enter โปรแกรมจะแสดง Splash Screen ของ XAMPP เลือกภาษาเป็น English

[pic]

เบราเซอร์จะเปลี่ยนหน้าไปที่  และแสดงรายการโปรแกรมต่าง ๆ ให้เลือกใช้งาน เช่น phpMyAdmin, Webalizer หรือตรวจสอบสถานะของ XAMPP เป็นต้น

[pic]

หากต้องการปิดการทำงานของโปรแกรมใด ให้ไปที่ Control Panel แล้วคลิกปุ่ม Stop รายการที่ต้องการปิด

[pic]

กรณีที่เปิดเครื่องขึ้นมาใหม่ หากต้องการใช้ XAMPP เพื่อจำลองเครื่องเป็น Web Server ให้คลิกที่ XAMPP Control Panel แล้วคลิกปุ่ม Start รายการที่ต้องการเปิดใช้งาน

หากต้องการใช้ Permalink ให้เปิดไฟล์ C:\xampp\apache\conf\httpd.conf แล้วแก้ #LoadModule rewrite_module modules/mod_rewrite.so เป็น LoadModule rewrite_module modules/mod_rewrite.so โดยลบ # ออก แล้ว restart Apache อีกครั้ง

โฟลเดอร์ที่เก็บข้อมูลเว็บไซต์คือ C:\xampp\htdocs การเข้าถึงเว็บไซต์คือ  หากต้องการเรียกเว็บบล็อกของคุณที่  (ในกรณีที่ไม่ได้ติดตั้งบล็อกไว้ที่ root site) ให้เก็บข้อมูลของ WordPress ไว้ที่ C:\xampp\htdocs\blog

ค่าเริ่มต้นของชื่อผู้ใช้ฐานข้อมูล MySQL คือ root และไม่มีรหัสผ่าน ข้อมูลนี้จะใช้เมื่อตอนติดตั้ง WordPress

การติดตั้ง AppServ

หลังจากที่ได้เคยเขียนบทความเกี่ยวกับการติดตั้งโปรแกรมจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราให้เป็น Web Server ไปแล้ว นั่นคือ XAMPP และขอแนะนำอีกสักหนึ่งโปรแกรม เพื่อให้มีทางเลือกหลาย ๆ ทางในการทดสอบ โปรแกรมที่จะแนะนำต่อไปคือ AppServ ในรุ่น 2.5.9 ประกอบไปด้วย

▪ Apache Web Server เวอร์ชั่น 2.2.4

▪ PHP Script Language เวอร์ชั่น 5.2.3

▪ MySQL Database เวอร์ชั่น 5.0.45

▪ phpMyAdmin Database Manager เวอร์ชั่น 2.10.2

เมื่อดาวน์โหลดมาแล้ว ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์ appserv-win32-2.5.9.exe เพื่อทำการติดตั้งโปรแกรม

[pic]

หน้าต่างนี้จะแสดงชื่อโปรแกรมและรุ่น คลิก Next

[pic]

คลิกปุ่ม I Agree

[pic]

โฟลเดอร์สำหรับติดตั้งโปรแกรมให้ใช้ค่าเริ่มต้นที่โปรแกรมกำหนดมา คลิกปุ่ม Next

[pic]

คลิกปุ่ม Next

[pic]

ในช่อง Server Name ให้ป้อน localhost และในช่อง Administrator’s Email Address ให้ป้อนอีเมล์ของคุณเอง ในช่อง Apache HTTP Port ให้ใช้ค่าเดิมคือ 80 คลิกปุ่ม Next

[pic]

ป้อนรหัสผ่านสำหรับผู้ใช้ root ใน MySQL Server ป้อนทั้งสองช่องให้เหมือนกัน แล้วคลิกปุ่ม Install

ให้จำรหัสผ่านนี้ให้ดี เพราะต่อไปจะต้องใช้สำหรับการติดต่อกับ MySQL Server

[pic]

ตัวติดตั้งกำลังติดตั้งโปรแกรมไปยังโฟลเดอร์ปลายทาง

[pic]

เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว คลิกปุ่ม Finish

[pic]

เปิดเบราเซอร์ขึ้นมาแล้วพิมพ์ที่ URL เป็น  ก็จะปรากฏหน้าจอดังภาพ นั่นหมายความว่า ตอนนี้เครื่องคุณได้จำลองเป็น Web Server เรียบร้อยแล้ว พร้อมใช้งานได้เหมือนกับ Server บนอินเทอร์เน็ตแล้ว

การเรียกใช้/ยกเลิก Apache

เรียกใช้ : Start | All Programs | AppServ | Control Server by Service | Apache Start

ยกเลิก : Start | All Programs | AppServ | Control Server by Service | Apache Stop

การเรียกใช้/ยกเลิก MySQL

เรียกใช้ : Start | All Programs | AppServ | Control Server by Service | MySQL Start

ยกเลิก : Start | All Programs | AppServ | Control Server by Service | MySQL Stop

เส้นทางเก็บข้อมูล

ข้อมูลที่ทำเว็บไซต์ให้เก็บไว้ที่ C:\AppServ\www\ ซึ่งเส้นทางนี้คือ site root เวลาเรียกดูข้อมูลผ่านเบราเซอร์ ให้พิมพ์  ก็จะเห็นข้อมูลเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ C:\AppServ\www\

ตอนนี้ก็ได้แนะนำโปรแกรมสำหรับจำลองเครื่องให้เป็น Web Server ไปแล้วทั้งสองโปรแกรมคือ XAMPP และ AppServ ก็เลือกใช้ตัวใดตัวหนึ่งที่คิดเห็นว่าชอบใจนะครับ

ส่วนตัวแล้วผมชอบใช้ XAMPP มากกว่า XAMPP ติดตั้งแล้วใช้พื้นที่ประมาณ 200 กว่าเมก. แต่ AppServ ใช้ประมาณ 49 เมก. ในการปิดเปิด Apache และ MySQL นั้น XAMPP จะทำได้ง่ายกว่าเพราะทำผ่าน XAMPP Control Panel เลย และผมทำงานหลายโปรแกรม จำเป็นต้องเปิดและปิด XAMPP อยู่บ่อย ๆ เพื่อประหยัดหน่วยความจำ เลยเอาความสะดวกเข้าว่า

ทั้งสองโปรแกรมนี้ก็เลือกใช้ตามความชอบของแต่ละบุคคลนะครับ เพราะใช้งานได้เหมือน ๆ กัน และถึงแม้ XAMPP จะมีลูกเล่นเยอะกว่า แต่บางทีเราก็ไม่ได้ใช้เหมือนกัน

การปรับแต่ง : การใช้งาน

กำหนดรหัสผ่าน Admin ใหม่

ต่อไปนี้เป็นวิธีแก้ไขอีกวิธีหนึ่ง เมื่อลืมรหัสผ่านของ Admin หลังจากที่เคยเขียนบทความ "ลืมรหัสผ่าน Admin" ไปแล้ว ครั้งนั้นต้องไปแก้ไขในฐานข้อมูล MySQL แต่มาครั้งนี้ง่ายกว่านั้นอีก เพียงแค่ติดตั้งสคริปต์ และป้อนรหัสผ่าน ก็ใช้ได้แล้ว

ขั้นตอนการทำงานมีดังนี้

1. ดาวน์โหลดสคริปต์ WordPress Admin Password Resetter

2. ขยายไฟล์ และอัพโหลดไฟล์ password-resetter.php ไปไว้ในโฟลเดอร์ที่ติดตั้ง WordPress (โฟลเดอร์ที่มีไฟล์ wp-config.php อยู่) อาจจะสงสัยว่า ทำไมไม่อัพโหลดไปไว้ในโฟลเดอร์ plugins ตอบว่า เพราะสคริปต์นี้ไม่ใช่ plugin ครับ

3. พิมพ์ที่เบราเซอร์ http://[your WordPress URI]/password-resetter.php

4. จะปรากฏช่องให้ป้อนรหัสผ่านของ Admin ก็ตั้งรหัสตามที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่ม Submit Query หลังจากที่กำหนดรหัสผ่านเสร็จแล้ว ที่เบราเซอร์จะแสดงหน้าล็อกอินเข้าสู่ระบบของ WordPress ก็ใช้ชื่อ admin และรหัสผ่านที่กำหนดไว้ เพื่อเข้าสู่ระบบ

5. ลบไฟล์ password-resetter.php ออก

ด้วยวิธีง่าย ๆ เช่นนี้ ก็คงไม่ต้องกังวลนะครับว่า ถ้าลืมรหัสผ่านของ Admin แล้ว จะต้องทำอย่างไรบ้าง

การสร้างไฟล์ .htaccess ใน WordPress

ใน WordPress ไฟล์ .htaccess จะช่วยให้เราสามารถทำ permalinks ได้ ในกรณีที่ host นั้นไม่สนับสนุน mod_rewrite ให้เราสร้างไฟล์ .htaccess แล้วทำการ chmod เป็น 777

เช่น ในกรณีใช้ WordPress ใน  ซึ่งไม่สนับสนุน mod_rewrite ทำให้ไม่สามารถใช้ permalinks ได้ ให้เราสร้างไฟล์ .htaccess

เปิด Notepad ขึ้นมา แล้วตอนบันทึกให้พิมพ์ “.htaccess” แล้วคลิกปุ่ม Save อัพโหลดไปไว้ในโฟลเดอร์ที่ติดตั้ง WordPress แล้วทำการ chmod เป็น 777 จากนั้น ให้ทำการอัพเดท permalinks อีกครั้ง

การเปลี่ยนธีม

การเปลี่ยนธีมนี้ เป็นการเปลี่ยนรูปแบบการแสดงผลของบล็อก เพื่อให้ดูสวยงามมากยิ่งขึ้นหรือเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศกัน การเปลี่ยนธีมนี้ ไม่ยากเลย ลองมาดูขั้นตอนการเปลี่ยนรูปแบบการแสดงผลหน้าบล็อกกัน

[pic]

ที่หน้า Dashboard เลือกเมนู Design หรือคลิกที่ Change Theme เพื่อไปยังหน้าเพจสำหรับเปลี่ยนธีม

[pic]

หลังจากเลือกเมนู Design หรือคลิก Change Theme แล้วเปิดไปยังหน้าแสดงรายการธีมต่าง ๆ ธีมด้านบน คือธีมที่กำลังใช้งานอยู่ ส่วนด้านล่างคือรายการธีมต่าง ๆ ที่เราสามารถเลือกใช้ได้

[pic]

คลิกบนรูปภาพของธีมที่ต้องการ

[pic]

WordPress จะแสดงรูปภาพตัวอย่างของธีมก่อนการใช้งานจริง เราสามารถเลื่อน scrollbar ลงมาเพื่อดูหน้าบล็อกทั้งหมด หรือคลิกบนหัวข้อบทความ เพื่อดูตัวอย่างการแสดงผลบทความ หลังจากที่ได้ดูภาพตัวอย่างแล้ว หากไม่ต้องการธีมนี้ ให้คลิก ปุ่ม กากบาท (หมายเลข 1) หากต้องการใช้ธีมนี้ คลิก “Activate.. ชื่อธีม” (หมายเลข 2) ให้คลิกที่ “Activate…” เพื่อเลือกใช้ธีมนี้แสดงผล

[pic]

เมื่อเลือกธีมแล้ว จะปรากฏข้อความ “New theme activated” ภาพเล็กของธีมที่เลือกจะปรากฏใต้ “Current Theme” นั่นหมายความว่า การเลือกธีมใหม่สำเร็จแล้ว สามารถเลือกดูความเปลี่ยนแปลงที่ด้านหน้าของบล็อกได้โดยการคลิกที่ “Visit Site”

[pic]

หลังจากคลิก “Visit Site” หรือเปิดไปที่หน้าบล็อกแล้ว ก็จะเห็นหน้าบล็อกเปลี่ยนไปตามรูปแบบธีมที่ได้เลือกไว้

แก้ไขภาษาไทยในธีม WordPress

ธีม (Theme) ที่เราเลือกนั้น ไม่ได้เป็นภาษาไทย (ที่เป็นของฟรีจากต่างประเทศ) แต่หากต้องการปรับแต่งข้อความต่าง ๆ ให้เป็นภาษาไทย ก็สามารถทำได้ ไม่ยาก ผู้ใช้บางท่านอาจจะแก้ไขใน Theme Editor ที่อยู่ใน Dashboard บางท่านก็อาจจะใช้ Text Editor ต่างๆ แก้ไขไฟล์ ซึ่งก็แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละบุคคล ในบทความนี้จะแสดงการแก้ไขภาษาไทยในธีมโดยใช้ Text Editor

Text Editor ที่จะแนะนำคือ NOTEPAD++ ของฟรีและใช้ง่ายอีกด้วย หลักของการใช้ Text Editor ตัวนี้ก็คือ ก่อนแก้ไขภาษาไทย ให้เปลี่ยนรหัสตัวอักษรจาก ANSI ไปเป็น UTF-8 กันก่อน แล้วแก้ไขภาษาไทย เมื่อแก้ไขเสร็จ ก็ให้เปลี่ยนรหัสตัวอักษรจาก UTF-8 กลับมาเป็น ANSI แล้วบันทึกไฟล์ จึงนำไปใช้ได้ ที่ต้องทำเช่นนี้เพราะ การแก้ไขไฟล์ หากใช้ทั้ง Theme Editor และ Text Editor แก้ไขไฟล์ ในบางครั้งจะมีการเขียนตัวอักษรที่จุดเริ่มต้นของไฟล์ขึ้นมา หากเปิดไฟล์ใน Text Editor จะไม่เห็นตัวอักษรนี้ แต่เมื่อนำไฟล์ไปใช้ ในบางครั้งจะทำให้การแสดงผลผิดพลาดขึ้นมาได้ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องเส้นผมบังภูเขาก็ได้

[pic]

ภาพนี้แสดงตัวอย่างการเปรียบเทียบไฟล์ที่แก้ไขภาษาไทยแล้ว ลองเปิดด้วย Notepad ของ Windows ขึ้นมา แล้วบันทึกกลับไปอีกครั้ง ลองเทียบกับไฟล์เดิมที่เก็บไว้คนละโฟลเดอร์โดยใช้Total Commander จะมีการบันทึกตัวอักษรไว้ที่ต้นไฟล์ จากประสบการณ์ที่เคยพบ ทำให้การแสดงผลของธีมผิดพลาด กว่าจะหาสาเหตุพบก็เล่นเอามึนไปสักครู่ใหญ่ ๆ เพราะยังไม่เคยเจอที่ไหนแจ้งอาการแบบนี้ (อ่านบทความนี้ก็ไม่ต้องมึนแล้วหล่ะครับ สำหรับผมนั้นใช้ทั้ง Notepad, NOTEPAD++, Edit Plus, Theme Editor แก้ไขธีม)

ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานั้น ลองมาใช้ NOTEPAD++ แก้ปัญหาดู

[pic]

ภาพนี้เป็นภาพตัวอย่างก่อนการแก้ไข ซึ่งเป็นบทความที่ใช้ tag More เป็นภาพหน้าบล็อก ซึ่งจะต้องแก้ไขที่ไฟล์ index.php ของธีมที่กำลังใช้งานอยู่

[pic]

ภาพตัวอย่างหลังจากที่ได้แก้ไขเป็นภาษาไทยแล้ว ใครจะแก้ไขเป็นคำพูดแบบไหนก็แล้วแต่ ตามสะดวก บางท่านใช้คำสั้น ๆ “อ่านต่อ” ก็ได้ใจความดี ง่ายไปอีกแบบ

[pic]

หลังจากที่เปิดโปรแกรม NOTEPAD++ และเปิดไฟล์ที่ต้องการแก้ไข (index.php) ขึ้นมาแล้ว ให้เลือกเมนู Format -> Encode in UTF-8 เพื่อเป็นการแปลงรหัสอักษรเป็น UTF-8 จากนั้นจึงพิมพ์ภาษาไทยลงไป ที่ต้องแปลงเพราะรหัสอักษรที่แสดงในบล็อกนั้นแสดงเป็นรหัส UTF-8 หากไม่แปลงรหัสเป็น UTF-8 ก่อนพิมพ์ภาษาไทย เวลาแสดงหน้าบล็อกภาษาไทยจะอ่านไม่ออก

[pic]

หลังจากแก้ไขภาษาไทยเสร็จแล้ว ให้เลือกเมนู Format -> Encode in ANSI เป็นการแปลงรหัสตัวอักษรเป็น ANSI อีกครั้ง

[pic]

เมื่อแปลงรหัสจาก UTF-8 เป็น ANSI ตัวอักษรภาษาไทยที่แก้ไขแล้วจะอ่านไม่ออก ซึ่งก็ไม่ต้องตกใจ ไม่มีอะไรผิดพลาด ตอนนี้ก็บันทึกไฟล์ได้เลย จะไม่มีการเขียนตัวอักษรเพิ่มที่ต้นไฟล์ (ดังภาพที่นำมาเปรียบเทียบด้านบน) ซึ่งเมื่อไฟล์นี้อัพโหลดแล้วแสดงบนบล็อก ข้อความภาษาไทยก็จะแสดงได้อย่างถูกต้อง

การแก้ไขภาษาไทยนี้ หากแก้ไขไม่บ่อย และใช้ Theme Editor อย่างเดียวก็ไม่เกิดปัญหาแต่อย่างใด ถึงอย่างไรก็ตาม ก็ลองเก็บเอาไว้เป็นความรู้ก็ได้ครับ เผื่อเกิดปัญหา ก็จะได้พอมีทางออก



................
................

In order to avoid copyright disputes, this page is only a partial summary.

Google Online Preview   Download