Srinakharinwirot University



ประมวลรายวิชา และคู่มือนิสิตแพทย์

รังสีวิทยา รส501

และ

รังสีวิทยาปฏิบัติการทางคลินิก รส511

สำหรับ

นิสิตแพทย์ ชั้นปีที่ 4

ปีการศึกษา 2557

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำนำ

ศาสตร์ด้านรังสีวิทยามีบทบาทสำคัญต่อการรักษาพยาบาลมากว่า 100 ปี วิวัฒนาการด้านแพทย์ได้มีการใช้รังสีทั้งทางด้านการวินิจฉัยความผิดปกติ และการรักษาโรค เนื่องจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีด้านรังสีวิทยามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นผลให้มิอาจแยกศาสตร์ด้านรังสีวิทยาออกจากชีวิตประจำวันของวิชาชีพแพทย์ได้ การศึกษาศาสตร์แขนงนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง รายวิชานี้จึงมีจุดมุ่งหมายให้นิสิตแพทย์ได้เรียนรู้หลักการพื้นฐานด้านรังสีวิทยา ฝึกวินิจฉัยโรคต่างๆ ที่พบบ่อย และดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยใช้รังสี ตระหนักถึงอันตรายจากรังสีและการป้องกัน คำนึงถึงข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ความคุ้มค่าของการตรวจ ตลอดจนคุณธรรมจริยธรรมที่เกี่ยวข้องในการประกอบวิชาชีพ

เนื่องจากเทคโนโลยีทางการแพทย์ด้านรังสีวิทยามีการเปลี่ยนแปลอย่างรวดเร็วก้าวหน้ามาก ระยะเวลาเพียง 4 อาทิตย์ ของการเรียนการสอนจึงมิอาจจะให้ข้อมูลที่มีอยู่อย่างมหาศาลได้ในระยะเวลาอันสั้น การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของรายวิชานี้จึงมุ่งเน้นฝึกให้นิสิตแพทย์สามารถค้นคว้า ศึกษาหาความรู้ทางรังสีวิทยาได้ด้วยตนเอง และขอให้คุณสมบัตินี้ติดตัวนิสิตแพทย์ตลอดไป

คณะกรรมการรายวิชา

สารบัญ

เรื่อง หน้า

1. ประมวลรายวิชา 4

2. เกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา 9

3. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 15

4. หัวข้อและจำนวนชั่วโมง 17

5. ตารางการศึกษา 18

6. การวัดการประเมินผล 18

7. ข้อควรปฏิบัติสำหรับนิสิตแพทย์ 19

8. แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม 19

ประมวลรายวิชา (Course Syllabus)

รายวิชา รส501 รังสีวิทยา

รหัสและชื่อรายวิชา รส501 รังสีวิทยา

จำนวนหน่วยกิต รส501 จำนวน 2 หน่วยกิต 2 (2-0-4)

สถานภาพ วิชาบังคับ

วิชาบังคับก่อน ไม่มี

ระยะเวลาการเรียน 30 ชั่วโมง / กลุ่ม / ภาคการศึกษา

ปีการศึกษา 2557

จำนวนนักศึกษาที่รับต่อกลุ่ม 32 คน

ผู้รับผิดชอบรายวิชา แพทย์หญิงอรศิริ อมรวิทยาชาญ

กรรมการรายวิชา

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์วิทย์ วราวิทย์

2. แพทย์หญิงวรรณพร บุรีวงษ์

3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงบุณฑรี วานิชวัฒนรำลึก

4. นายแพทย์พนิตพงศ์ มารุ่งโรจน์

คำอธิบายรายวิชา

ศึกษา และฝึกอ่านผลฟิล์มของผู้ป่วย รวมทั้งฝึกทักษะการตรวจผู้ป่วยด้วยเครื่องมือทางด้านรังสีวินิจฉัย เช่น เครื่องอัลตราซาวด์

เป้าหมาย

เพื่อให้นิสิตแพทย์มีความรู้ความสามารถ และทักษะในการวินิจฉัยภาพถ่ายทางรังสีวิทยาของโรคที่พบบ่อย รู้จักข้อบ่งชี้ วิธีการเตรียมตัวผู้ป่วย และดูแลผู้ป่วยหลังการตรวจพิเศษทางรังสีวิทยา และรู้หลักการของการใช้รังสีในการรักษาโรค

วัตถุประสงค์รายวิชา

เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน และการศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเองแล้ว นิสิตแพทย์สามารถ

• อธิบายหลักการพื้นฐานของรังสีวิทยา

• อธิบายลักษณะปกติ และผิดปกติจากภาพถ่ายทางรังสี

• อธิบายหลักการแปลผลภาพถ่ายทางรังสีธรรมดาในโรคที่พบบ่อย

• อธิบายหลักการแปลผลภาพคลื่นเสียงความถี่สูง เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และภาพการตรวจชนิดพิเศษในโรคที่วินิจฉัยได้ง่าย

• บอกข้อบ่งชี้ ข้อห้าม ข้อจำกัด และผลแทรกซ้อนจากการส่งตรวจทางรังสีชนิดต่างๆ และเลือกชนิดการส่งตรวจให้เหมาะสมกับโรค

• อธิบายหลักการใช้รังสีเพื่อการรักษาโรค ข้อบ่งชี้ และผลข้างเคียง

• อธิบายหลักการทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์พื้นฐาน

• บอกวิธีการตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ การใช้สารกัมมันตรังสี ชนิดของสารกัมมันตรังสีเพื่อการวินิจฉัยโรคและรักษาโรคบางชนิด รวมทั้งข้อบ่งชี้ และผลข้างเคียงของการตรวจ

• อธิบายหลักการแปลภาพปกติ และผิดปกติทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ในโรคที่พบบ่อย

อาจารย์ประจำรายวิชา

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์วิทย์ วราวิทย์

2. แพทย์หญิงวรรณพร บุรีวงษ์

3. แพทย์หญิงวิรณา อ่างทอง

4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงบุณฑรี วานิชวัฒนรำลึก

5. แพทย์หญิงอรศิริ อมรวิทยาชาญ

6. แพทย์หญิงอลิสา เจนคุ้มวงศ์

7. นายแพทย์เอกภพ หมื่นนุช

8. แพทย์หญิงชลศนีย์ คล้ายทอง

9. แพทย์หญิงสุกัญญา ฉายโฉมเลิศ

10. แพทย์หญิงจุฑามาศ ทนานนท์

11. แพทย์หญิงวราลี วาณิชตันติกุล

12. แพทย์หญิงวิรัชฎา สุดแสง

ผู้เรียน

นิสิตแพทย์ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 160 คน โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม โดยมีระยะเวลาปฏิบัติงานดังนี้

กลุ่มที่ 5 ขึ้นปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 12 พฤษภาคม 2557 - 6 มิถุนายน 2557

กลุ่มที่ 4 ขึ้นปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 7 กรกฎาคม 2557 - 3 สิงหาคม 2557

กลุ่มที่ 3 ขึ้นปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 1 -28 กันยายน 2557

กลุ่มที่ 2 ขึ้นปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม 2557 - 23 พฤศจิกายน 2557

กลุ่มที่ 1 ขึ้นปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 21 ธันวาคม 2557- 18 มกราคม 2558

สถานที่

- ห้องเรียน PBL ตึกคณะแพทยศาสตร์ ชั้น 3 อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก

- โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวชิราลงกรณ ธัญบุรี คลอง 10 จังหวัดปทุมธานี

รส. 511 รังสีวิทยาปฏิบัติการทางคลินิก

รหัสและชื่อรายวิชา รส511 รังสีวิทยาปฏิบัติการทางคลินิก

จำนวนหน่วยกิต รส511 จำนวน 2 หน่วยกิต 2(0-4-2)

สถานภาพ วิชาบังคับ

วิชาบังคับก่อน ไม่มี

ระยะเวลาการเรียน 60 ชั่วโมง / กลุ่ม / ภาคการศึกษา

ปีการศึกษา 2557

จำนวนนักศึกษาที่รับต่อกลุ่ม 32 คน

ผู้รับผิดชอบรายวิชา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงบุณฑรี วานิชวัฒนรำลึก

นายแพทย์พนิตพงศ์ มารุ่งโรจน์

กรรมการรายวิชา

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์วิทย์ วราวิทย์

2. แพทย์หญิงวรรณพร บุรีวงษ์

3. แพทย์หญิงอรศิริ อมรวิทยาชาญ

คำอธิบายรายวิชา

ฝึกอ่าน และแปลผลภาพถ่ายทางรังสีธรรมดา และภาพถ่ายจากการตรวจพิเศษทางรังสีอย่างมีระบบ ทราบข้อบ่งชี้ และข้อห้ามในการตรวจ ตลอดจนขั้นตอนในการเตรียมผู้ป่วย และวิธีการตรวจพิเศษทางรังสี พร้อมทั้งรู้จักเครื่องที่ใช้ในการถ่ายภาพทางรังสี ฝึกการตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องขั้นพื้นฐาน

เป้าหมาย

เพื่อให้นิสิตได้ฝึกปฏิบัติการแปลผลภาพถ่ายทางรังสีอย่างมีเหตุมีผล คิดวิเคราะห์ และตัดสินใจปัญหาทางคลินิกได้อย่างราบรื่นไม่ติดขัด สามารถนำเสนอการแปลได้

วัตถุประสงค์รายวิชา

เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน และการศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเองแล้ว นิสิตแพทย์สามารถ

• อ่านและแปลผลภาพทางรังสีวิทยาของโรคและภาวะความผิดปกติที่พบบ่อยได้

• คิดวิเคราะห์และตัดสินใจปัญหาทางคลินิกร่วมกับภาพทางรังสีวิทยาได้

• นำเสนอการแปลผลภาพทางรังสีวิทยาในหน้าชั้นเรียนได้อย่างมีเหตุมีผล และราบรื่น

• มีทักษะในการค้นหาความรู้ทางรังสีวิทยาผ่านทางแหล่งความรู้ต่างๆ เช่น ตำรา วารสาร และอินเตอร์เน็ต ได้

• นำเสนอภาพรังสีวิทยาหน้าชั้นเรียนผ่านทางโปรแกรม powerpoint ได้

• สามารถตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องขั้นพื้นฐานได้

อาจารย์ประจำรายวิชา

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์วิทย์ วราวิทย์

2. แพทย์หญิงวรรณพร บุรีวงษ์

3. แพทย์หญิงวิรณา อ่างทอง

4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงบุณฑรี วานิชวัฒนรำลึก

5. แพทย์หญิงอรศิริ อมรวิทยาชาญ

6. แพทย์หญิงอลิสา เจนคุ้มวงศ์

7. นายแพทย์เอกภพ หมื่นนุช

8. แพทย์หญิงชลศณีย์ คล้ายทอง

9. แพทย์หญิงสุกัญญา ฉายโฉมเลิศ

10. แพทย์หญิงจุฑามาศ ทนานนท์

11. แพทย์หญิงวราลี วาณิชตันติกุล

12. แพทย์หญิงวิรัชฎา สุดแสง

ผู้เรียน

นิสิตแพทย์ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 160 คน โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม โดยมีระยะเวลาปฏิบัติงานดังนี้

กลุ่มที่ 5 ขึ้นปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 12 พฤษภาคม 2557 - 6 มิถุนายน 2557

กลุ่มที่ 4 ขึ้นปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 7 กรกฎาคม 2557 - 3 สิงหาคม 2557

กลุ่มที่ 3 ขึ้นปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 1 -28 กันยายน 2557

กลุ่มที่ 2 ขึ้นปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม 2557 - 23 พฤศจิกายน 2557

กลุ่มที่ 1 ขึ้นปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 21 ธันวาคม 2557- 18 มกราคม 2558

สถานที่

- ห้องเรียน PBL ตึกคณะแพทยศาสตร์ ชั้น 3 อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก

- โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวชิราลงกรณ ธัญบุรี คลอง 10 จังหวัดปทุมธานี

เนื้อหารายวิชา

เนื้อหารายวิชารังสีวิทยา และรังสีวิทยาปฏิบัติการทางคลินิกอิงตามเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา ปีพุทธศักราช 2555 โดยปรับให้เข้ากับความทันสมัยของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป และสอดคล้องกับปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย โดยจัดการเรียนการสอนแบบมุ่งผู้เรียนเป็นสำคัญ

เกณฑ์ความรู้ความสามารถในการประเมินเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2555 (Medical Competency Assessment Criteria for National License 2012)

การกำหนดเกณฑ์ความรู้ความสามารถในการประเมินเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภามีวัตถุประสงค์ดังนี้

1. เพื่อเป็นกรอบมาตรฐานคุณวุฒิให้สถาบันผู้ผลิตบัณฑิตแพทย์ ใช้กำหนดความรู้ ความสามารถทางวิชาชีพ ในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ทั้งนี้สถาบันฯ สามารถกำหนดความรู้ความสามารถเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กำหนดได้ ตามความเหมาะสมและบริบทของแต่ละสถาบันฯ

2. ให้ศูนย์ประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ใช้เป็นเกณฑ์ความรู้ความสามารถในการประเมินเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ของแพทยสภา

รายละเอียดประกอบด้วยเกณฑ์ฯทั้งหมด 5 ส่วนดังนี้

ส่วนที่ 1 ก. วิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน

ส่วนที่ 2 ข. ความรู้ความสามารถทางวิชาชีพและทักษะทางคลินิก

ส่วนที่ 3 ค. สุขภาพและการสร้างเสริมสุขภาพ

ส่วนที่ 4 ง. เวชจริยศาสตร์

ส่วนที่ 5 จ. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพเวชกรรม

ก. วิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน

ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องมีความรู้ความเข้าใจวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐาน ทั้งนี้หมวดวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานแบ่งออกเป็น 2 หมวดดังนี้คือ

หมวดที่ 1. หลักการทั่วไป (General principle)

หมวดที่ 2. การจำแนกตามระบบอวัยวะ

ในหมวดนี้ได้ระบุเนื้อหาโดยจำแนกตามระบบอวัยวะออกเป็น 10 ระบบ (B2-B11) ในแต่ละระบบประกอบด้วย

2.1 ความรู้เรื่องภาวะปกติ

2.2 ความรู้เรื่องสาเหตุ พยาธิกำเนิด พยาธิสรีรวิทยา และพยาธิสภาพ ตลอดจนหลักการวินิจฉัยสาเหตุ ของการเกิด โรค ซึ่งแบ่งเป็น กลุ่มโรคและกลุ่มอาการที่ต้องรู้ และควรรู้โดยอิงจากเกณฑ์ในภาคผนวก ข ความรู้ ความสามารถทางวิชาชีพ และทักษะทางคลินิกดังนี้

- กลุ่มโรคและกลุ่มอาการที่ต้องรู้ อิงจากกลุ่มที่ 1 และ 2 รวมทั้งเนื้อหาอื่นๆ

- กลุ่มโรคและกลุ่มอาการที่ควรรู้ อิงจากกลุ่มที่ 3 รวมทั้งเนื้อหา อื่นๆ

2.3 หลักการรักษาและหลักการใช้ยา โดยเฉพาะยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ

2.4 การตระหนักถึงความสำคัญของพฤติกรรมสุขภาพ เพศ วัย เชื้อชาติ อาชีพ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและ สิ่งแวดล้อม ตลอดจนปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการบาบัดรักษา ฟื้นฟูสภาพ สร้างเสริมสุขภาพและ

ป้องกันโรค

B2 Hematopoietic and Lymphoreticular Systems

|กลุ่มโรคและกลุ่มอาการที่ต้องรู้ |กลุ่มโรคและกลุ่มอาการที่ควรรู้ |

|nutritional deficiency anemias (iron, folate, B12) |lymphoma |

|hereditary hemolytic anemia (thalassemia, G-6-PD deficiency) |multiple myeloma |

| |deep vein thrombosis |

B3 Central and Peripheral Nervous Systems

|กลุ่มโรคและกลุ่มอาการที่ต้องรู้ |กลุ่มโรคและกลุ่มอาการที่ควรรู้ |

|meningitis |encephalocoele, hydrocephalus |

|encephalitis and myelitis |brain abscess |

|intracrainal bleeding |head and neck injury |

|acute otitis media |spinal cord and peripheral nerve injury |

|eye injury and foreign body on external eye |benign and malignant neoplasm of brain |

| |cerebrovascular diseases (intracerebral hemorrhage, cerebral |

| |infarction, subarachnoid hemorrhage) |

| |Alzheimer’s disease |

| |Parkinsonism |

| |nasal polyps |

| |mastoiditis, cholesteatoma |

| |benign and malignant neoplasm of larynx, nasopharynx; nasopharyngeal|

| |carcinoma, carcinoma of larynx |

| |benign and malignant neoplasm of eye |

B4 Skin and Related Connective Tissue

|กลุ่มโรคและกลุ่มอาการที่ต้องรู้ |กลุ่มโรคและกลุ่มอาการที่ควรรู้ |

|urticaria, eczema, dermatitis, alopecia |hemangiomas |

|benign neoplasm of skin and related connective tissue |malignant neoplasm of skin and related connective tissue |

B5 Musculoskeletal System and Connective Tissue

|กลุ่มโรคและกลุ่มอาการที่ต้องรู้ |กลุ่มโรคและกลุ่มอาการที่ควรรู้ |

|osteomyelitis |osteonecrosis |

|pyomyositis |spondylitis |

|soft-tissue rheumatism |rheumatoid arthritis |

|reactive arthropathy |juvenile arthritis |

|infective arthritis |spondyloarthropathy |

|crystal arthropathy (gout, pseudogout) |inflammatory myositis |

|degenerative diseases of the spine |necrotizing fasciitis |

|osteoarthritis |benign and malignant neoplasm of bone and soft tissue |

| |spondylolithiasis and disc syndrome |

| |osteoporosis |

B6 Respiratory System

|กลุ่มโรคและกลุ่มอาการที่ต้องรู้ |กลุ่มโรคและกลุ่มอาการที่ควรรู้ |

|upper respiratory infections (nasopharyngitis, rhinosinusitis, |diaphragmatic hernia |

|pharyngitis, tonsillitis, laryngitis, tracheitis, croup) |tracheoesophageal fistula |

|lower respiratory tract infections and pleura and their |thyroglossal duct cyst |

|complications (bronchitis, bronchiolitis, pneumonia, lung abscess, |peritonsillar abscess , deep neck infection |

|bronchiectasis) |retropharyngeal abscess |

|tuberculosis |pyothorax (empyemathoracis) |

|chest injury |occupational lung diseases |

|pneumothorax |acute and chronic alveolar injury (e.g., acute respiratory distress |

|hemothorax |syndrome, chlorine gas/smoke inhalation) |

|foreign body aspiration |obstructive pulmonary disease (chronic bronchitis, emphysema) |

|atelectasis |benign and malignant neoplasm of upper and lower respiratory tracts |

|respiratory failure |neonatal respiratory distress syndrome |

|asphyxia of the newborn |bronchopulmonary dysplasia |

|fetal distress |pulmonary embolism |

|pulmonary edema |pulmonary hypertension |

|pleural effusion | |

B7 Cardiovascular System

|กลุ่มโรคและกลุ่มอาการที่ต้องรู้ |กลุ่มโรคและกลุ่มอาการที่ควรรู้ |

|heart failure |congenital malformation of heart |

|shock : hypovolemia, cardiogenic |infective endocarditis |

|superior vena cava obstruction |valvular heart diseases (mitral, aortic valve) |

|cardiac tamponade |aortic aneurysm and dissection |

|acute coronary syndrome |peripheral vascular occlusive disease |

B8 Gastrointestinal System

|กลุ่มโรคและกลุ่มอาการที่ต้องรู้ |กลุ่มโรคและกลุ่มอาการที่ควรรู้ |

|acute appendicitis |hernia (inguinal, umbilical) |

|dyspepsia, esophagitis |Hirschprung diseases, imperforate anus, volvulus |

|acute pancreatitis |omphalocoele, gastroschisis |

|acute viral hepatitis |necrotizing enterocolitis |

|alcoholic liver disease |cholecystitis, cholangitis |

|liver abscess |intestinal obstruction |

|cirrhosis |abdominal injury |

|gastro-esophageal reflux |infantile hypertrophic pyloric stenosis |

|gastrointestinal hemorrhage |benign and malignant neoplasm of oral cavity, esophagus, stomach, |

| |colon, liver and biliary tract, pancreas |

| |cholelithiasis |

| |hepatic failure |

B9 Renal/Urinary System

|กลุ่มโรคและกลุ่มอาการที่ต้องรู้ |กลุ่มโรคและกลุ่มอาการที่ควรรู้ |

|pyelonephritis |polycystic kidney |

|cystitis, urtethritis |obstructive & reflux uropathy |

|acute urinary retention |urolithiasis |

|urethral syndrome (e.g., urethral stricture) |genitourinary tract injury |

|anuria/oliguria |benign and malignant neoplasm of kidney and urinary bladder |

B10 Reproductive System and Perinatal Period

|กลุ่มโรคและกลุ่มอาการที่ต้องรู้ |กลุ่มโรคและกลุ่มอาการที่ควรรู้ |

|pelvic inflammatory disease (endometritis, salpingitis, oophoritis, |hypospadias |

|tubo-ovarian abscess) |undescended testis |

|orchitis and epididymitis |hydrocoele of testis, spermatocoele |

|urethritis |torsion of testis |

|mastitis, breast abscess |female genital prolapse (cystocoele, rectocoele, prolapse uterus) |

|hyperplasia of prostate |fistula involving female genital tracts |

| | |

|disorders of breast and lactation associated with childbirth |benign and malignant neoplasm of breast, vulva, uterus, cervix, ovary,|

|perinatal jaundice |placenta, prostate gland and testes |

| |respiratory distress in newborn |

B11 Endocrine System

|กลุ่มโรคและกลุ่มอาการที่ต้องรู้ |กลุ่มโรคและกลุ่มอาการที่ควรรู้ |

|thyrotoxicosis (Graves’ disease) |thyroiditis |

|toxic adenoma |pituitary, hypothalamus, parathyroid, pancreatic islet disorders, |

| |adrenal disorders) |

ข. ความรู้ความสามารถทางวิชาชีพและทักษะทางคลินิก

ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องมีความรู้ความสามารถในการแก้ไขปัญหาทางสุขภาพทั่วๆ ไปของผู้ป่วยและประชาชนได้เหมาะสม หมวดความรู้ความสามารถทางวิชาชีพและและทักษะทางคลินิก แบ่งออกเป็น 3 หมวดดังนี้คือ

หมวดที่ 1. ภาวะปกติและหลักการดูแลทั่วไป (Normal conditions and general principles of care)

หมวดที่ 2. ภาวะผิดปกติจำแนกตามระบบอวัยวะ (Individual organ systems or types of disorders)

ในหมวดนี้ได้ระบุเนื้อหาโดยจำแนกตาม International classification of diseases (ICD 10) ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องมีความรู้ความสามารถในการป้องกันปัญหาสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ

การฟื้นฟูสภาพ และให้การรักษาต่อเนื่องทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน โดยตระหนักถึงผลกระทบของเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมต่อการเจ็บป่วยและการรักษา ความรู้ความสามารถดังกล่าวจำแนกตามโรคหรือกลุ่มอาการ/ภาวะได้เป็น 3 กลุ่มดังนี้

กลุ่มที่ 1 โรค/กลุ่มอาการ/ภาวะฉุกเฉินที่ต้องรู้กลไกการเกิดโรค สามารถให้การวินิจฉัยเบื้องต้นและให้การบาบัด โรคฯ การรักษาผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงทีตามความเหมาะสมของสถานการณ์ รู้ข้อจากัดของตนเอง และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์มากกว่าได้อย่างเหมาะสม

กลุ่มที่ 2 โรค/กลุ่มอาการ/ภาวะที่ต้องรู้กลไกการเกิดโรค สามารถให้การวินิจฉัย ให้การบาบัดโรคฯ การรักษาผู้ป่วย ได้ด้วยตนเอง รวมทั้งการฟื้นฟูสภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค ในกรณีที่โรครุนแรง หรือซับซ้อนเกินความสามารถ ให้พิจารณาแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและส่งผู้ป่วยต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญ

กลุ่มที่ 3 โรค/กลุ่มอาการ/ภาวะที่ต้องรู้กลไกการเกิดโรค สามารถให้การวินิจฉัยแยกโรค และรู้หลักในการดูแลรักษาผู้ป่วย การฟื้นฟูสภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ตัดสินใจส่งผู้ป่วยต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญ

หมวดที่ 3. ทักษะการตรวจ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และหัตถการที่จำเป็น (Technical and procedural skills)

มีความสามารถในการตรวจ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การทาหัตถการและการใช้เครื่องมือต่างๆในการตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วย โดยอธิบาย ข้อบ่งชี้ ข้อห้าม ภาวะแทรกซ้อนในการตรวจ สภาพและเงื่อนไขที่เหมาะสม ขั้นตอนการตรวจ สามารถทาได้ด้วยตนเอง และแปลผลได้อย่างถูกต้อง และเตรียมผู้ป่วยเพื่อการตรวจวินิจฉัยนั้นๆ ตามเกณฑ์ที่ระบุไว้

3.2 การตรวจทางรังสีวิทยา สามารถอธิบายขั้นตอนการตรวจ และประเมิน ข้อบ่งชี้ ข้อห้าม สภาพและเงื่อนไขที่เหมาะสม เตรียมผู้ป่วยสาหรับการตรวจ และแปลผลการตรวจได้ถูกต้อง

3.2.1 Chest x-ray

3.2.2 Plain abdomen

3.2.3 Plain KUB

3.2.4 Skull and sinuses

3.2.5 Bones and joints

3.2.6 Lateral soft tissue of neck

3.3 การตรวจอื่น ๆ สามารถบอกข้อบ่งชี้ ข้อห้าม สภาพและเงื่อนไขที่เหมาะสม เตรียมผู้ป่วยสาหรับการตรวจ และหรือเก็บตัวอย่างตรวจ และแปลผลรายงานการตรวจได้ด้วยตนเองถูกต้อง

3.3.23Computerized axial tomography scan

3.3.24 Magnetic resonance imaging

3.3.25 Mammography

3.3.26 Radionuclide study

3.3.27 Barium contrast GI studies

3.3.28 Intravascular contrast studies: arterial and venous studies

3.3.29 Echocardiography

3.3.30 Tumor markers

3.3.31 Bone mineral density

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เน้นการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยมีอาจารย์ผู้สอนคอยให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด มีรูปแบบการจัดประสบการณ์ 4 รูปแบบ ดังนี้

1. การบรรยาย

เป็นการสรุปองค์ความรู้พื้นฐาน และหลักการแปลภาพถ่ายรังสีที่สำคัญ และอธิบายรายละเอียด

เนื้อหาที่เป็นความรู้เฉพาะทางยากแก่การทำความเข้าใจ ปลูกฝักเจตคติที่ดีต่อการเป็นแพทย์ การส่งเสริมสุขภาพ สอนสอดแทรกจริยธรรมในการดูแลรักษาผู้ป่วย เช่น การรักษาความลับของผู้ป่วย ความคุ้มค่าของการตรวจ การส่งเสริมสุขภาพ แนวทางการตัดสินใจในการเลือกส่งตรวจทางรังสีวิทยาที่ต้องใช้รังสี และแนวทางการตัดสินใจเมื่อต้องตรวจโดยใช้รังสีในหญิงตั้งครรภ์ เป็นต้น

2. การศึกษาแบบกำกับตนเอง (self-directed learning)

2.1 การฝึกอ่านฟิล์มจาก teaching file

2. ศึกษาจาก CAI และ e-learning

3. การอภิปรายกลุ่มย่อย

เป็นการเรียนภาคทฤษฎีและฝึกปฏิบัติไปในคราวเดียวกัน โดยการแบ่งนิสิตออกเป็นกลุ่มย่อย

กลุ่มละ 5 คน แต่ละกลุ่มจะได้รับตัวอย่างภาพถ่ายรังสีที่เกี่ยวเนื่องกับเนื้อหาบทเรียน เพื่อให้นิสิตแพทย์ได้ฝึกคิด อภิปราย แปลผล และบรรยายสรุปความเห็นอย่างเป็นระบบขั้นตอน โดยการค้นคว้าจากเอกสารประกอบการสอน ตำรา หรืออินเตอร์เน็ต ใช้เวลาประมาณ 45 นาที จากนั้นให้ตัวแทนกลุ่มนำเสนอต่อชั้นเรียน อาจารย์จะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง

4. Case study

เป็นการเรียนรู้จากผู้ป่วยจริง โดยแบ่งนิสิตแพทย์เป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-7 คน และมอบหมายให้

ค้นหาตัวอย่างผู้ป่วยตามหอผู้ป่วยในหรือผู้ป่วยนอกที่มีภาพถ่ายทางรังสีวิทยาที่น่าสนใจ นำข้อมูลผู้ป่วยมา

นำเสนอและอภิปรายร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษา จากนั้นให้นิสิตนำเสนอต่อชั้นเรียนในรูปแบบของ powerpoint โดยสรุปประเด็นที่น่าสนใจให้นิสิตแพทย์กลุ่มที่เหลือฟัง

5. เรียนและฝึกปฏิบัติการตรวจด้วยเครื่องมืออัลตร้าซาวด์

เป็นการเรียนรู้หลักการเบื้องต้นของการทำงานและการใช้งานของเครื่องอัลตราซาวด์ ตลอดจน

ขั้นตอนการตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง (Diagnostic ultrasound of abdomen and retroperitoneum) โดยเน้นเรื่องการตรวจอัลตราซาวด์เพื่อช่วยวินิจฉัยในกรณีที่สงสัยมีการบาดเจ็บของอวัยวะในช่องท้อง (Focused Assessment with Sonography for Trauma) โดยแบ่งนิสิตแพทย์เป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-7 คน และให้มาเรียนกับอาจารย์ที่ตรวจอัลตร้าซาวด์ผู้ป่วยในวันนั้นๆ กลุ่มละ 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นให้นิสิตใช้เวลาว่างเพื่อฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง เป็นระยะเวลาประมาณ 7-10 วัน แล้วจึงให้มาสอบปฏิบัติกับอาจารย์ผู้รับผิดชอบ โดยกำหนดผลสอบเป็นผ่าน หรือไม่ผ่าน

หัวข้อและจำนวนชั่วโมง

หัวข้อ จำนวน (ชั่วโมง)

บรรยาย (รส501) ปฏิบัติ (รส511)

1. บทนำและพื้นฐานทางรังสีวิทยา และจริยธรรม 3 2

2. รังสีวิทยาของระบบทางเดินหายใจ 3 6

3. รังสีวิทยาของระบบหัวใจและหลอดเลือด 1 2

4. รังสีวิทยาของระบบประสาท 3 6

5. รังสีวิทยาของระบบทางเดินอาหาร 2 4

6. รังสีวิทยาของระบบตับ ตับอ่อน และทางเดินน้ำดี 2 4

7. รังสีวิทยาของระบบทางเดินปัสสาวะ 3 6

8. รังสีวิทยาของระบบกระดูกและข้อ 3 6

9. รังสีวิทยาเบื้องต้นในผู้ป่วยเด็ก 2 4

10. การตรวจวินิจฉัยโรคทางเดินอาหารด้วยสารทึบรังสี 1 2

ภายใต้เครื่อง fluoroscopy

11. รังสีร่วมรักษา - 1

12. พื้นฐานวิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ 3 3

13. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับรังสีรักษา 3 3

14. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย 1 2

ที่ได้รับการรักษาด้วยรังสีรักษา และการดูแลผู้ป่วย

ระยะประคับประคอง (palliative care)

15. สอนแสดงวิธีการตรวจอัลตราซาวด์ - 3

16. สอบ formative และเฉลย - 3

17. Case study presentation - 3

รวมเวลา 30* 60*

ตารางการศึกษา เอกสารแนบ 1

สื่อการศึกษา

1. เอกสารประกอบการสอน

2. Power point

3. Electronic learning, Moodle e-learning

4. Teaching file

5. หนังสืออ่านประกอบ

6. Website

การวัดและประเมินผล

รส501 รังสีวิทยา ประเมินด้วยวิธีต่อไปนี้

1. การสอบลงกอง (summative evaluation)

คิดเป็นคะแนนการประเมินทั้งหมดร้อยละ 100 โดยการสอบลงกอง (summative evaluation) ด้วยข้อสอบปรนัย โดยแบ่งเป็นหน่วยรังสีวินิจฉัย คิดเป็นร้อยละ 80 และ หน่วยรังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ คิดเป็นร้อยละ 20

2. Formative evaluation และ feed back ได้แก่

1. Pretest และ post test

2.2 Formative test มีการสอบในปลายสัปดาห์ที่ 2 ของการเรียน โดยรูปแบการสอบเป็นแบบปรนัย ที่มีโจทย์เป็น powerpoint รูปภาพทางรังสีวิทยา เพื่อประเมินความก้าวหน้าของการเรียน และมีการเฉลยข้อสอบในสัปดาห์ถัดไป นิสิตที่มีผลสอบต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 จะได้รับการพูดคุยแนะนำเพื่อช่วยเหลือด้านการเรียนเป็นรายบุคคล

2.3 ถาม-ตอบ และฝึกแปลผลภาพรังสีในชั้นเรียนเป็นรายบุคคล โดยมีอาจารย์เป็นผู้ประเมินความก้าวหน้าของการเรียนของนิสิตแต่ละคน

รส 511 รังสีวิทยาปฏิบัติการทางคลินิก ประเมินด้วยวิธีต่อไปนี้

1. การสอบ OSCE จำนวน 20 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 70

2. คะแนนประเมินการทำ case study คิดเป็นร้อยละ 15

3. คะแนนประเมินเจตคติ คิดเป็นร้อยละ 15

การตัดสินผลการเรียน

ตัดสินให้สอบผ่านตาม minimal passing level (MPL) ผู้ที่สอบผ่านตัดเกรดโดยอิงกลุ่ม (Norm reference) โดยได้ A, B+, B, C+, C, D และ F

ข้อควรปฏิบัติสำหรับนิสิตแพทย์

1. ควรเข้าเรียนหรือร่วมกิจกรรมให้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ในตารางเรียน

2. การลากิจ ลาป่วยของนิสิตแพทย์ เป็นไปตามระเบียบการลาของคณะแพทยศาสตร์ และจะต้องแจ้งกับอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มทุกครั้งพร้อมใบลา

3. มีความรับผิดชอบต่อการทำ case study โดยควรเตรียมงานและปรึกษาอาจารย์ประจำกลุ่มตั้งแต่เนิ่นๆ และห้ามนำ case ผู้ป่วยที่นิสิตรุ่นก่อนหน้าเคยนำมานำเสนอแล้ว

4. ให้เกียรติอาจารย์และเพื่อนร่วมชั้นเรียนโดยการไม่ใช้โทรศัพท์ในห้องเรียน มีความสุภาพทั้งคำพูดและกิริยาท่าทาง

5. รักษาสมบัติของส่วนร่วมได้แก่ teaching file ตู้อ่านฟิล์ม เก้าอี้ LCD projector และเครื่องเสียงในห้องเรียน

แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม และหนังสืออ้างอิง

1. Diagnostic Imaging, Peter Armstrong, Martin Wastie, Andrea G. Rockall Wiley-Blackwell; 6 edition (May 12,2009)

2. Chest X-ray. พื้นฐาน และหลักการวินิจฉัยโรค. วิวัฒนา ถนอมเกียรติ. สงขลา, ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2551.

3. รังสีวิทยาภาวะบาดเจ็บกระดูกสันหลังส่วนคอ. ผศ.พญ.สิริพร หิรัญแพทย์. กรุงเทพ, โอ เอส พริ้นติ้งเฮาส์, 2546

4. Website:

5. Website: radiologymasterclass.co.uk

6. Website: radiologyassistant.nl

-----------------------

[pic]

................
................

In order to avoid copyright disputes, this page is only a partial summary.

Google Online Preview   Download