มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32



มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32

ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์

ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

หมายถึง สินทรัพย์ที่มีตัวตนซึ่งเข้าเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้

■ กิจการมีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิต เพื่อใช้ในการจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการ เพื่อให้เช่า หรือเพื่อใช้ในการบริหารงาน

■ คาดว่าจะใช้ประโยชน์มากกว่าหนึ่งรอบปีบัญชี

1) การรับรู้รายการ

การรับรู้ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ต้องรับรู้เป็นสินทรัพย์เมื่อเป็นไป ตามเงื่อนไขทุกข้อ ดังต่อไปนี้

1. มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่รายการนั้นจะให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจต่อกิจการในอนาคต

2. กิจการสามารถกำหนดราคาทุนของรายการนั้นได้อย่างสมเหตุสมผล

2) การวัดมูลค่า

1. การวัดมูลค่าเริ่มแรกของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

การวัดมูลค่าเริ่มแรกของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ กิจการต้องบันทึกมูลค่าเริ่มแรกของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่เข้าเกณฑ์การรับรู้เป็นสินทรัพย์โดยใช้ราคาทุน

องค์ประกอบของราคาทุน

■ ราคาซื้อ

■ ต้นทุนทางตรงเพื่อให้สินทรัพย์อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

■ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการได้มาหรือทำให้สินทรัพย์พร้อมใช้งาน

■ ต้นทุนการกู้ยืม

■ ค่าใช้จ่ายในการเริ่มเดินเครื่อง / ในการเตรียมผลิต

• การได้มาซึ่งสินทรัพย์ มีวิธีดังต่อไปนี้

(1.) การซื้อสินทรัพย์

1. ซื้อสด

2. ซื้อโดยการผ่อนชำระ(สัญญาเช่าทางการเงิน)

3. ซื้อโดยการออกหุ้น

(2.) ได้รับจากการบริจาค

สินทรัพย์ที่ได้รับจากการบริจาคให้บันทึกด้วยราคายุติธรรมและบันทึกรายได้ในงวดที่ได้รับ

3. สินทรัพย์จากการก่อสร้าง

4. เงินอุดหนุนจากรัฐบาล ปฏิบัติตามร่าง ม.55

5. การแลกเปลี่ยนสินทรัพย์

5.1 การแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ที่แตกต่างกัน

กิจการต้องบันทึกราคาทุนของรายการดังกล่าวด้วยมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่

5.2 การแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ที่คล้ายคลึงกัน

กิจการต้องไม่รับรู้กำไรหรือขาดทุนรายการดังกล่าว แต่จะบันทึกราคาทุนของสินทรัพย์ที่ได้มาด้วยราคา ตามบัญชีของสินทรัพย์ที่โอนไป

1. รายจ่ายภายหลังการได้มาซึ่งทรัพย์สิน

กิจการบันทึกรายการที่เป็นที่ดิน อาคารและอุปกรณ์เป็นสินทรัพย์แล้ว ต่อมาภายหลังมีรายจ่ายที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์จะมีการรับรู้ 2 กรณี ดังนี้

1) รับรู้เป็น สินทรัพย์ หากรายจ่ายนั้นจะทำให้กิจการได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากสินทรัพย์เพิ่มขึ้นจากมาตรฐานการปฏิบัติงานเดิมที่เคยประเมินไว้ หรือรายจ่ายที่ทำให้สินทรัพย์มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

2 รับรู้เป็น ค่าใช้จ่าย นงวดที่เกิดขึ้นทันที และรายจ่ายดังกล่าวเป็นการรักษาสภาพของมาตรฐานการปฏิบัติงานเดิมของสินทรัพย์โดยไม่มีการเพิ่มประสิทธิภาพ

ในการพิจารณาวิธีปฏิบัติทางบัญชีที่เหมาะสมสำหรับรายจ่ายที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ได้สินทรัพย์มา กิจการต้อง คำนึงถึง

- สภาพแวดล้อมที่กิจการใช้ในการวัดมูลค่าและรับรู้รายการที่เป็นที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

- โอกาสที่กิจการจะได้รับประโยชน์คืนจากรายจ่ายที่เป็นที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

2. การวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้มูลค่าเริ่มแรก

การรับรู้มี 2 แนวทาง คือ

1. แนวทางที่กำหนดให้ถือปฏิบัติ

แสดงรายการด้วยราคาทุน หักด้วยค่าเสื่อมราคาสะสมและค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์ หลังจากที่กิจการได้รับรู้รายการดังกล่าวเป็นสินทรัพย์แล้วเมื่อเริ่มแรก

2. แนวทางที่อาจเลือกปฏิบัติ

แสดงรายการ ด้วยราคาที่ตีใหม่ (ราคาที่ตีใหม่ หมายถึง มูลค่ายุติธรรม ณ วันที่มีการตีราคาใหม่หักด้วยค่าเสื่อมราคาสะสมที่คำนวณจากมูลค่ายุติธรรมนั้นและค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์) การตีราคาใหม่ต้องทำโดยสม่ำเสมอเพื่อมิให้ราคาตามบัญชี ณ วันที่ในงบดุลแตกต่างจากมูลค่ายุติธรรมอย่างมีนัยสำคัญ โดย

■ ควรกำหนดจากราคาประเมิน โดยผู้ประเมินราคาอิสระ

■ กิจการต้องตีราคา PP&E ทุกรายการที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกับรายการที่เลือกตีราคาใหม่

1. เมื่อมีการตีราคาใหม่ตามมาตรฐานฉบับนี้ ให้ปฏิบัติโดยมีทางเลือกในการลงบัญชีได้ 2 วิธี ดังนี้

- ตามวิธีการในมาตรฐานฉบับที่ 32 วรรคที่ 38

- ปฏิบัติตามเกณฑ์ราคาทุน เมื่อมีการตีราคาเพิ่มขึ้น ดังนี้ (ประกาศสภาวิชาชีพฉบับที่ 25/2549 เรื่อง การบันทึกบัญชีเมื่อมีการตีราคาใหม่)

3. การตัดจำหน่าย

1. ค่าเสื่อมราคา

1. ค่าเสื่อมราคา หมายถึง การปันส่วนมูลค่าเสื่อมสภาพของสินทรัพย์อย่างมีระบบตลอดอายุการใช้งานที่ได้ ประมาณไว้โดย

▪ วิธีการคิดค่าเสื่อมราคาต้องสะท้อนถึงประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่กิจการได้รับจากการใช้สินทรัพย์ โดยวิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคามีดังต่อไปนี้

1. วิธีเส้นตรง : มีผลทำให้ค่าเสื่อมราคามีจำนวนเท่ากันตลอดอายุการใช้งานของสินทรัพย์

2. วิธียอดคงเหลือลดลง : มีผลทำให้ค่าเสื่อมราคาลดลงตลอดอายุการใช้งานของสินทรัพย์

3. วิธีจำนวนผลผลิต : มีผลทำให้ค่าเสื่อมราคาขึ้นลงตามผลประโยชน์หรือผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับจากสินทรัพย์

3.1.2 ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับค่าเสื่อมราคา

1. การกำหนดอายุการใช้งานของสินทรัพย์

▪ มูลค่าเสื่อมสภาพ หมายถึง ราคาทุนของสินทรัพย์หรือราคาอื่นที่ใช้แทนราคาทุนในงบการเงิน หัก ราคาซากที่ประมาณไว้ หากมีนัยสำคัญกิจการต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้

|กรณีมีนัยสำคัญ |

|แนวทางที่กำหนดให้ถือปฏิบัติ |แนวทางที่อาจเลือกปฏิบัติ |

|1.กิจการต้องประมาณราคาซากขึ้น ณ |1.กิจการต้องประมาณราคาซากขึ้นใหม่ ณ |

|วันที่ได้สินทรัพย์นั้นมา และ |วันที่มีการตีราคาสินทรัพย์ใหม่ |

| | |

|2.ต้องไม่เพิ่มมูลค่าขึ้นเมื่อราคาเปลี่ยนไป |2.ราคาซากใหม่ให้ประมาณจากราคาซากของสินทรัพย์ที่มีลักษณะคล้า|

| |ยคลึงกันและมีการใช้งานในสภาพเดียวกัน |

| |แต่อายุการใช้งานได้หมดลงแล้ว | ................
................

In order to avoid copyright disputes, this page is only a partial summary.

Google Online Preview   Download