แนวทางการปฏิบัติการพยาบาลคลินิก



แนวทางการปฏิบัติการพยาบาลคลินิก

เรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักส่วนคอคอด Fracture Intertrochanteeric of femur

กระดูกต้นขาหักส่วนคอคอด (Fracture Intertrochanteeric of femur) เป็นการหักตรงตำแหน่งฐานคอของกระดูกสะโพก หรือส่วนที่อยู่ต่ำกว่าคอสะโพกลงมา

มักพบใน 2 กลุ่มอายุ คือ กลุ่มคนหนุ่มสาวมักเกิดจาก high energy trauma เช่น อุบัติเหตุรถยนต์ หรือ การตกจากที่สูง และกลุ่มคนสูงอายุ ร้อยละ 90 ของกระดูกสะโพกหัก เกิดจากการหกล้มธรรมดา ปัจจัยที่ทำให้เกิดการล้มได้แก่ สายตาไม่ดี (poor vision) กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง (decreased muscle power) ความดันโลหิตไม่คงที่ (labile blood pressure) ปฏิกิริยาตอบสนองช้า (decreased reflexes) โรคของหลอดเลือด(Vascular diseases ) และมีโรคของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (Co-existing musculoskeletal pathology) การรักษายังมีแนวทางที่หลากหลาย สามารถรักษาได้ทั้งวิธีอนุรักษ์นิยมคือการดึงถ่วงน้ำหนัก และการรักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งการรักษาทั้งสองวิธีมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ต้องทำการผ่าตัดใส่เหล็กตรึงกระดูก เพื่อให้สามารถกลับไปเดินได้เร็วและสามารถออกจากโรงพยาบาลได้เร็ว

วัตถุประสงค์ในการรักษา เพื่อบรรเทาอาการปวดและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นได้

ข้อบ่งชี้ในการรักษา 3 วิธี คือ

1. การดึงถ่วงน้ำหนัก พิจารณาทำในผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคทางอายุรกรรม มีความเสี่ยงต่อการดมยาสลบและการผ่าตัดผู้ป่วยไม่สามารถเดินได้อยู่แล้ว และมีความเจ็บปวดไม่มาก

2. การผ่าตัดแบบดามโลหะภายในซึ่งเป็นการรักษาที่ใช้เป็นส่วนใหญ่

3. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกในกรณีที่คุณภาพของกระดูกไม่ดีหรือหักละเอียด ซึ่งทำให้การดามโลหะภายในไม่สามารถยึดกระดูกให้แข็งแรงได้

ภาวะแทรกซ้อน หมายถึงอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการรักษากระดูกสะโพกหักบริเวณ intertrochanter ซึ่งแบ่งภาวะแทรกซ้อนออกเป็น 2 ช่วง คือ

1. ภาวะแทรกซ้อนขณะนอนรักษาในโรงพยาบาล ได้แก่การเกิดปอดอักเสบ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ การเกิดแผลกดทับ และการเสียสมดุลของ

เกลือแร่

2. ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังผ่าตัด โดยเฉพาะการติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด หรือหลังจากกระดูกติดแล้ว ได้แก่ กระดูกติดผิดรูป โลหะดามกระดูกหลุดหรือเคลื่อน

การดูแลแรกรับ

|Assessment |Intervention |Outcome |

|1. ประเมินสภาพจิตใจ อารมณ์ สังคมและเศรษฐกิจ |1. ให้การพยาบาลทางด้านจิตใจโดยการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วย |1. ผู้ป่วยมีสีหน้าแจ่มใส นอนหลับพักผ่อนได้ |

|- ประเมินความวิตกกังวล ความเครียด ความกลัว |2. อธิบายให้ผู้ป่วยให้รับทราบถึงพยาธิสภาพของโรคและแผนการรักษาของแพทย์อย่างคร่าวๆ |2. ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจได้รับความช่วยเหลือตามความเหมาะสม |

|- ประเมินบทบาท สัมพันธภาพในครอบครัว ญาติผู้ดูแล |3. เปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย | |

| |4. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับระเบียบและข้อปฏิบัติของโรงพยาบาล | |

| | | |

| |1. บันทึกการประเมินสภาวะสุขภาพ | |

| |2. วางแผนให้การพยาบาล | |

|2. ประเมินสภาพร่างกาย |3. ให้ยา/งดยาตามแผนการรักษา |1. สภาพร่างกายพร้อมสำหรับการรักษา |

|- ซักประวัติความเจ็บป่วยในอดีตและปัจจุบัน |4. ผู้ป่วยที่แพ้ยาเขียนชื่อยาที่แพ้ บริเวณ progress note หน้าแฟ้มผู้ป่วย OPD Card |2. ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวตามคำแนะนำได้ |

|- ซักประวัติการแพ้ยา/ยาที่รับประทานประจำ |และใบคำสั่งการรักษาทุกใบ ตามแนวปฏิบัติของ CoP Medication error |3. ผู้ป่วยที่รับประทานยา ASA , NSAIDs, ควรงดยา 10-14 วันก่อนผ่าตัด |

|- ซักประวัติการผ่าตัด/การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล |พร้อมทั้งสื่อสารให้เจ้าหน้าที่อื่นทราบ |4. ผู้ป่วยปลอดภัยไม่ได้รับยาที่แพ้ |

|- การตรวจร่างกาย |5. การคัดลอกชื่อยาที่ผู้ป่วยรับประทานสำหรับโรคประจำตัวลงในแบบฟอร์ม Medication | |

|- การตรวจทางห้องทดลอง |Reconciliation (Rev 22/10/55) | |

| | | |

| |6. เป็นผู้ประสานงานในทีมสหสาขาวิชาชีพที่รับปรึกษา (consultation) | |

| | | |

| |1. ดูแลจัดท่านอนให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบาย | |

| |2. ให้การพยาบาลด้วยความนุ่มนวล เบามือ | |

| |3. จำกัดการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยด้วยการดึง Skin traction ตามแผนการรักษาของแพทย์ | |

| |และดูแลการดึง Skin traction ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ | |

|3. ประเมินอาการรบกวนจากการเจ็บปวดโดยการตรวจสอบ สังเกตสีหน้าท่าทาง และใช้ |- Counter traction คือ แรงต้านทานในทิศทางตรงข้ามกับแนวดิ่งที่เข้า traction ไว้ |1. สัญญาณชีพปกติ |

|Pain Scale |โดยตัวของผู้ป่วยจะต้องไม่เลื่อนมาชิดปลายเตียง |2. ระดับความเจ็บปวดจาก pain scale อยู่ในระดับที่ผู้ป่วยพอใจ |

| |- Friction คือ แรงเสียดทาน จะทำให้ประสิทธิภาพของ traction |3. ผู้ป่วยพักหลับได้ดี |

| |ลดลงจะต้องดูแลให้ปุ่มเชือกอยู่บนลูกรอก น้ำหนักไม่แตะขอบเตียง | |

| |- Line of pull แนวการดึงต้องผ่านตำแหน่งที่มีกระดูก หัก | |

| |เชือกต้องตึงน้ำหนักที่ใช้ถ่วงต้องแขวนลอยอิสระ | |

| |- Continuous จะต้องดึงตลอดเวลา ไม่ควรเอาน้ำหนักที่ใช้ถ่วงออก | |

| |- Position ให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวได้เท่าที่จำเป็น และเป็นไปตามแนวของ traction | |

| |4. ดูแลให้ได้รับยาแก้ปวดตามแผนการรักษาของแพทย์ | |

| |และความต้องการของผู้ป่วยพร้อมทั้งสังเกตอาการข้างเคียงของยา | |

| |5. พูดคุยเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ ส่งเสริมให้ปฏิบัติกิจกรรมที่ชอบและสามารถปฏิบัติได้บนเตียง | |

| |เช่น การอ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูโทรทัศน์ | |

| | | |

| |1. | |

| |จัดเตียงให้เหมาะสมกับผู้ป่วยรวมทั้งตรวจสอบความสมบูรณ์ความพร้อมของเตียงยกราวกั้นเตียงขึ้นทุก| |

| |ครั้งภายหลังการให้การพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเตียง | |

|4. สามารถในการเคลื่อนไหว การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันประจำวัน โดยการสอบถาม |2. จัดเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นเช่น แก้วน้ำ ขวดน้ำ ยาสีฟัน และแปรงสีฟัน ไว้ใกล้ |1. สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเท่าที่ปฏิบัติได้ |

|สังเกตการทำหน้าที่ของอวัยวะสำคัญ เช่น การใช้มือ การลุกนั่ง |ตัวผู้ป่วยเพื่อสะดวกในการหยิบใช้ |2. ผู้ป่วยปลอดภัยไม่เกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม |

|รวมทั้งความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ |3. ดูแลให้ได้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เกี่ยวกับการทำความสะอาดร่างกาย การรับประทานอาหาร | |

| |การขับถ่ายโดยให้ความช่วยเหลือในส่วนที่ผู้ป่วยไม่สามารถปฏิบัติเองได้ | |

| | | |

| |4. กระตุ้นให้ผู้ป่วยปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเท่าที่จะสามารถปฏิบัติได้ | |

| |5. ให้กำลังใจและให้คำชมเชยผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยสามารถปฏิบัติกิจกรรมต่างๆได้ด้วยตนเอง | |

| | | |

| |1. สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย ด้วยท่าทางที่เป็นมิตร เพื่อให้เกิดความไว้วางใจ | |

| |2. เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึก และซักถามข้อสงสัย | |

| |3. ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ | |

| |ในเรื่องพยาธิสภาพของกระดูกต้นขาหักการปฏิบัติตัวขณะอยู่โรงพยาบาล ระยะเวลาในการนอน | |

| |4. ให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ | |

| |5. จัดโอกาสให้ญาติได้พบกับแพทย์เจ้าของไข้เพื่อสอบถามเกี่ยวกับข้อสงสัยต่างๆ | |

| |5. อธิบายวัตถุประสงค์ของการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดอยู่กับผู้ป่วย เช่น Skeletal | |

|5. ประเมินความวิตกกังวลเกี่ยวกับความเจ็บป่วยและการรักษาพยาบาล |Traction รวมถึงการปฏิบัติตัวขณะดึง Traction | |

|โดยสังเกตจากสีหน้า และการซักถาม | |1. ผู้ป่วยคลายวิตกกังวลให้ความร่วมมือในการรักษาปฏิบัติตัวได้เหมาะสมกับสภาพที่เป็นอยู่ |

| | |2. ผู้ป่วยและญาติมีความรู้และความเชื่อมั่นในการรักษา |

| | |3. ผู้ป่วยและญาติปฏิบัติตามคำแนะนำได้อย่างถูกต้อง |

| |6. แนะนำครอบครัวและญาติ ให้ช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจวัตร | |

| |7. แนะนำผู้ป่วยข้างเตียง ผู้ป่วยที่เป็นโรคเดียว กันและได้รับการทำผ่าตัดจนหายดีแล้วให้รู้จัก | |

| | | |

| |การป้องกันการเกิดแผลกดทับ | |

| |1. ประเมินลักษณะของผิวหนังบริเวณที่ถูกกดทับว่ามีรอยแดงรอยถลอก | |

|6. ประเมินภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการนอนนาน เช่น การเกิดแผลกดทับ |มีแผลหรือมีการลอกหลุดของผิวหนังโดยเฉพาะผิวหนังบริเวณปุ่มกระดูกทุกส่วน | |

|กล้ามเนื้อลีบ ข้อยึดติด การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และ Hypostatic Pneumonia |2. ดูแลความสะอาดของผิวหนัง โดยเฉพาะผิวหนังบริเวณหลัง และก้นกบให้แห้ง |1. ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการนอนนานเช่น การเกิดแผลกดทับ กล้ามเนื้อลีบ ข้อยึดติด |

| |และสะอาดอยู่เสมอ |การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และ Hypostatic Pneumonia |

| |3. ดูแลให้สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ผ้าปูที่นอนสะอาด |2. สัญญาณชีพปกติ |

| |และปูให้เรียบตึงไม่ควรให้ผิวหนังผู้ป่วยสัมผัสกับผ้ายางโดยตรง เพื่อป้องกันการ อับชื้น | |

| |และป้องกันการเสียดสี | |

| |4. ลดแรงกดทับที่บริเวณปุ่มกระดูกต่าง ๆ โดยการกระตุ้นให้ขยับตัวยกก้นลอยพ้นจากพื้นเตียง | |

| |หรือช่วยพลิกตะแคงตัวทุก 2 ชั่วโมง | |

| |5. ใช้ที่นอนลมปูรองนอน เพื่อลดแรงกดทับที่ผิวหนังส่วนต่าง ๆ | |

| |6. กระตุ้นให้ผู้ป่วยออกกำลังกายบนเตียง ในอวัยวะส่วนที่ไม่ถูกจำกัดการเคลื่อนไหว | |

| |เพื่อให้มีการเคลื่อนไหวไม่เกิดการกดทับตลอดเวลา | |

| | | |

| |การป้องกันการเกิดภาวะกล้ามเนื้อลีบ ข้อยึดติด | |

| |1. กระตุ้นให้ผู้ป่วยมีการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองเท่าที่จะสามารถปฏิบัติได้ | |

| |2. แนะนำ และกระตุ้นให้ออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขา ข้อสะโพก (ข้างที่ไม่ได้หัก) และข้อเท้า | |

| |เพื่อให้กล้ามเนื้อมีการหดคลายตัว เพิ่ม muscle tone และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ข้อต่าง ๆ| |

| |ได้มีการเคลื่อนไหวซึ่งมีวิธีปฏิบัติดังนี้ | |

| |- การออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขา (Quadriceps Setting Exercise) | |

| |คือการเกร็งกล้ามเนื้อต้นขา โดยข้อไม่มีการเคลื่อนไหว เพื่อให้กล้ามเนื้อต้นขาแข็งแรง | |

| |สามารถรับน้ำหนักตัวได้ เมื่อเริ่มหัดยืน และหัดเดิน | |

| | | |

| | | |

| |- การออกกำลังข้อสะโพก คือ การยกขาขึ้นแรง ๆ (Straight LegRaising Exercise) | |

| |ขณะเดียวกันก็เกร็งกล้ามเนื้อต้นขาไว้ด้วย เป็นการป้องกันการงอของข้อสะโพก | |

| |และทำให้กล้ามเนื้อต้นขาแข็งแรง | |

| |- การออกกำลังข้อเท้า คือ การให้ผู้ป่วยกระดกข้อเท้าขึ้นปล่อยข้อเท้าลง หมุนข้อเท้าเข้าด้านใน | |

| |และหมุนข้อเท้าออกด้านนอก เป็นการป้องกันข้อเท้าตก ซึ่งจะทำให้เดินไม่ได้ | |

| |การป้องกันการเกิดการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ | |

| |1. ดูแลให้ผู้ป่วยไม่กลั้นปัสสาวะไว้ควรถ่ายปัสสาวะทุก4-6 ชม. | |

| |2. กระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ วันละ 1500-2000 มล. ประมาณ 6-8 แก้วต่อวัน | |

| |3. รักษาความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ | |

| |4. สังเกตและบันทึกสัญญาณชีพ ประเมินอาการไข้ | |

| |5. สังเกตอาการปัสสาวะแสบขัด กระปริดกระปรอย ขุ่นมีกลิ่นเหม็น | |

| |6. เก็บปัสสาวะส่งตรวจตามแผนการรักษา รายงานแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ | |

| |การป้องกันการเกิดภาวะ Hypostatic Pneumonia | |

| |1. ประเมินลักษณะการหายใจ และฟังเสียงปอดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง | |

| |2. ดูแลจัดท่านอนให้ศีรษะสูงเล็กน้อย เพื่อช่วยให้หายใจได้สะดวก | |

| |3. แนะนำเรื่อง Breathing Exercise และ Effective Cough | |

| |4. ดูแลให้ผู้ป่วยได้ดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพออย่างน้อยวันละ 6-8 แก้วเพื่อช่วยให้เสมหะอ่อนตัว | |

| |และสามารถขับออกได้ง่าย พร้อมทั้งสังเกตลักษณะของเสมหะที่ออก | |

| |5. ดูแลให้มีการพลิกตัว หรือขยับตัว โดยไม่นอนอยู่ท่าเดียวนาน ๆ | |

| |เพื่อให้มีการเคลื่อนไหวของร่างกาย | |

| |6. บันทึกสัญญาณชีพ เพื่อดูอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง ถ้าสูงขึ้นอาจมีการติดเชื้อในปอด ให้ประเมินชีพจร| |

| |และอัตราการหายใจร่วมด้วย | |

| | | |

ระยะก่อนผ่าตัด

|Assessment |Intervention |Outcome |

|1. ประเมินความรู้ ความพร้อมด้านร่างกายก่อนการผ่าตัด |1. อธิบาย/ให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับ |ผู้ป่วยและญาติเข้าใจ สามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง |

| |- พยาธิสภาพของโรค การผ่าตัด การใช้ยาระงับความรู้สึก |ผู้ป่วยได้รับการเตรียมทางด้านร่างกายพร้อมสำหรับการผ่าตัด |

| |- สภาพร่างกายภายหลังผ่าตัด เช่น การมีสายหัตถการต่างๆเช่น |ผู้ป่วยรับรู้และยอมรับการผ่าตัด เอกสาร ผลการตรวจต่างๆ จองเลือด อุปกรณ์และยาพร้อม |

| |สายสวนปัสสาวะ,ท่อระบายน้ำเลือด,การให้น้ำเกลือและการบรรเทาปวด | |

| |- การออกกำลังกายกล้ามเนื้อขาทั้ง 2 | |

| |ข้างให้แข็งแรงเพื่อให้การเดินหลังผ่าตัดดีขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว | |

| |โดยการเหยียดขาตรงเกร็งกล้ามเนื้อต้นขา กระดกข้อเท้าทั้ง 2 ข้างขึ้นลงได้บ่อยๆ ทำท่าละ | |

| |10 ครั้ง ควรบริหารครั้งละ 10 – 15 นาที | |

| |- แนะนำและฝึกผู้ป่วยให้หายใจลึกๆและไออย่างมีประสิทธิภาพ | |

| |- ฝึกการขับถ่ายบนเตียง | |

| |2. เตรียมความสะอาดร่างกายทั่วไป | |

| |3. ดูแลให้ได้รับสารน้ำและอาหาร ยาให้ครบตามแผนการรักษา | |

| | | |

| | | |

| |4. ตรวจสอบความพร้อมในเรื่อง | |

| |- การรับรู้และยอมรับการผ่าตัด พร้อมทั้งเซ็นใบยินยอมผ่าตัด | |

| |- เตรียมผล Lab , EKG , Film และจองเลือดตามแผนการรักษา | |

| |- อุปกรณ์และยาที่ต้องเตรียมไปห้องผ่าตัด | |

| |5. งดอาหารและน้ำดื่มหลังเที่ยงคืนก่อนผ่าตัด | |

| | | |

| |1. แนะนำการปรับระดับของการนั่งขับถ่ายภาย | |

| |หลังผ่าตัดโดยการปรับจากส้วมซึมเป็นโถนั่งหรือการจัดหาเก้าอี้สุขภัณฑ์วางครอบบนโถส้วมซึม | |

| |2. ห้องน้ำควรมีราวยึดเกาะเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ การลื่นหกล้ม | |

| |3. ควรมีผู้ดูแลในระยะแรกหลังออกจากโรงพยาบาลโดยเฉพาะ 2 | |

| |สัปดาห์แรกหรือจนกว่าผู้ป่วยสามารถเดินและปฏิบัติกิจกิจวัตรประจำวันได้ดี |สภาพแวดล้อมที่บ้านเหมาะสม ปลอดภัย ไม่เกิดอุบัติเหตุหรือทำให้ข้อตะโพกเลื่อนหลุด |

| |4. ปรับสภาพพื้นทางเดินในบ้านให้โล่ง | |

|2. การประเมินสภาพแวดล้อมที่บ้านเพื่อปรับให้เหมาะสมเมื่อผู้ป่วยกลับบ้าน |กำจัดสิ่งกีดขวางเนื่องจากผู้ป่วยต้องใช้เครื่องช่วยพยุงเดินอาจสะดุดสิ่งกีดขวางจนเกิดอุบติเหตุลื่| |

| |นหกล้มได้ | |

การดูแลหลังผ่าตัด

|Assessment |Intervention |Outcome |

|1. ประเมินอาการจากการได้รับการดมยาสลบ/ยาระงับความรู้สึกทางไขสันหลัง |1. จัดให้ผู้ป่วยนอนราบหนุนหมอน 1 ใบ |1. เรียกรู้สึกตัว ลืมตา ตอบคำถามได้ |

|- ระดับความรู้สึกตัว |ตะแคงหน้าเพื่อป้องกันการสำลักในกรณีได้รับยาระงับความรู้สึก |2. ผู้ป่วยนอนในท่าที่ถูกต้อง ไม่สำลักเมื่อมีอาการอาเจียน |

|- สัญญาณชีพ |ให้ผู้ป่วยนอนราบ 8-12 ชั่วโมง |3. สัญญาณชีพอยู่ในระดับปกติ (PR 60-100 ครั้ง/นาที BP 90-140/50-94 |

| |2. ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพ |มิลลิเมตรปรอท) |

| |3. รายงานแพทย์เมื่อผู้ป่วยมีระดับความรู้สึกตัว สัญญาณชีพเปลี่ยนแปลง |4. ขา 2 ข้างขยับได้ไม่ชา |

| |4. สังเกตอาการคลื่นไส้ อาเจียน มึนงงศีรษะ |5. ผู้ป่วยสามารถขับถ่ายปัสสาวะได้เองและไม่มีการคั่งค้างของน้ำปัสสาวะ |

| |ถ้ามีอาเจียนดูแลให้บ้วนปากให้สะอาดและป้องกันการสำลักลงสู่ปอด |6. ผู้ป่วยรับสารน้ำและสารอาหารเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย |

| |5. สังเกตอาการแทรกซ้อนจากการได้รับยาระงับความรู้สึก |7. ไม่เกิดอุบัติเหตุผู้ป่วยตกเตียง |

| |กำลังกล้ามเนื้อและความรู้สึกชาขาทั้ง 2 ข้าง | |

| |การขับถ่ายปัสสาวะภายใน 6-8 ชั่วโมงหลังผ่าตัด | |

| |ดูแลให้ได้รับสารน้ำและสารอาหารครบถ้วนตามแผนการรักษา | |

| |โดยจัดให้ได้รับอาหารโปรตีนและพลังงานสูงและให้ดื่มน้ำประมาณ 1,500-2,000 | |

| |มิลลิลิตรต่อวัน | |

| |ยกราวกั้นเตียงขึ้นทุกครั้งหลังให้การพยาบาล | |

| | | |

|2. ประเมินการเสียเลือด/ภาวะ shock |1. ประเมินการเสียเลือดจากบาดแผลผ่าตัดและจากท่อระบายเลือด |1. เลือดออกจากแผลและท่อระบายเลือดน้อยกว่า 200 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง หรือไม่ควรเกิด |

|- การเสียเลือด/จำนวนเลือด |2. ดูแลขวดระบายเลือดให้เป็นสุญญากาศ (closed system) |500 มิลลิลิตรภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด |

|- สัญญาณชีพ |3. |2. ผู้ป่วยไม่มีอาการซีด Hct สูงกว่า 30 % |

| |สังเกตอาการผิดปกติจากการเสียเลือดหลังผ่าตัดและจดบันทึกจำนวนเลือดที่ออกจากท่อระบายเลื|3. สัญญาณชีพอยู่ในระดับปกติ(PR 60-100 ครั้ง/นาที BP 90-140/50-94 มิลลิเมตรปรอท)|

| |อด ถ้ามากกว่า 200 มิลลิลิตร/ชั่วโมง รายงานแพทย์ | |

| |4. ติดตามประเมินอาการซีด เจาะ Hct ตามแผน การรักษาและรายงานแพทย์เมื่อ Hct | |

| |ต่ำกว่า 30 % | |

| |5. ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพ | |

| | | |

| |1. ประเมินการหายใจและบันทึกสัญญาณชีพ |- หายใจปกติไม่มีอาการเหนื่อยหอบ สามารถไอเอาเสมหะออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ |

| |2. กระตุ้นให้ผู้ป่วยไอและหายใจลึกๆอย่างถูกต้อง |ปากและฟันสะอาด |

|3. ประเมินระบบทางเดินหายใจ |3. ดูแลความสะอาดของปากฟัน | |

| | |1. บริเวณแผลผ่าตัดไม่มีอาการบวม แดง ร้อน หรือเป็นไข้ |

| |1. ประเมินภาวะติดเชื้อที่แผลผ่าตัด โดยสังเกตลักษณะบวมแดง รอบ ๆแผล และ |2. ไม่มีอาการผิดปกติภายหลังได้ยาปฏิชีวนะ |

| |discharge ที่ซึมจากแผลผ่าตัด |3. ท่อระบายเลือดจะใส่ไว้ประมาณ 1-2 วันหลังผ่าตัด |

|4. ประเมินและป้องกันการติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด |2. ดูแล Redivac drain ให้ทำงานมีประสิทธิ ภาพ | |

| | | |

| |3. Dressing แผล หลัง Off Redivac drain โดยใช้หลัก Asepic technique | |

| |ปิดแผลด้วย Fixamul | |

| |4. บันทึกสัญญาณชีพ โดยเฉพาะอุณหภูมิ ถ้า | |

| |> 37.5 C ให้ประเมินทุก 4 ช.ม. | |

| |5. ดูแลรักษาความสะอาดร่างกายของผู้ป่วย | |

| |6. แนะนำผู้ป่วยไม่ให้แผลเปียกน้ำ และห้ามแกะเกาแผล | |

| |7. ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาของแพทย์ | |

| |8. ติดตามผลการตรวจของห้องปฏิบัติการ เช่น CBC ดูค่า WBC ถ้ามีค่า > | |

| |5,000-10,000/cu.mm. แสดงว่ามีการติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด | |

| |9. ดูแลผู้ป่วยให้ได้รับอาหารที่มีประโยชน์ และส่งเสริมการหายของแผล เช่น ไข่ นม | |

| |เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ พวกส้ม | |

| | | |

| | | |

| | | |

| | | |

|ประเมินและควบคุมอาการปวด |1. ประเมินอาการปวดแผลของผู้ป่วยโดยการสอบถาม สังเกตสีหน้าท่าทาง โดยใช้ Pain |- อาการปวดทุเลาลง ผู้ป่วยพักหลับได้ระดับ pain scale ลดลงมากกว่า 3 |

| |Scale | |

| |2. ให้การพยาบาลด้วยความนุ่มนวล เบามือ | |

| |3. ดูแลจัดท่านอนให้ได้รับความสุขสบาย ยกขาข้างที่ทำผ่าตัดให้สูงโดยวางบนหมอน | |

| |เพื่อให้การไหลเวียนโลหิตดี ไม่เกิดการคั่งของเลือดที่อวัยวะส่วนปลาย | |

| |4. ดูแลให้ได้รับยาแก้ปวดตามแผนการรักษาของแพทย์ | |

| |และความต้องการของผู้ป่วยพร้อมทั้งสังเกตอาการข้างเคียงของยา | |

| |5. พูดคุยเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ | |

| |ส่งเสริมให้ปฏิบัติกิจกรรมที่ชอบและสามารถปฏิบัติได้บนเตียง เช่น การอ่านหนังสือ ฟังเพลง | |

| |ดูโทรทัศน์ | |

| |6. จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ เหมาะแก่การพักผ่อน | |

| | | |

| |1. ประเมินการไหลเวียนของโลหิตที่ไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลาย โดยการทำ Blanching | |

| |Testบริเวณเล็บของนิ้วหัวแม่เท้า ค่าปกติ คือการไหล เวียนโลหิตไปและกลับ ไม่เกิน 2 -3 |1. Blanching test positives |

|6. ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนปลายของร่างกาย |วินาที ถ้าพบว่าผิดปกติ เล็บมีสีซีดหรือเขียวคล้ำ ให้รีบรายงานแพทย์ทราบ |2. สีผิวหนังของส่วนปลายเท้าสีปกติ ปลายเท้าไม่บวม |

| | |3. คลำ Dorsalis pedis pulse ได้ปกติ |

| |2. ประเมินสีของผิวหนังบริเวณส่วนปลายเท้า และประเมินสีของผิวหนังทั่วร่างกาย เช่น | |

| |เปลือกตา ริมฝีปาก เล็บ ถ้ามีสีซีดผิดปกติต้องบันทึก และติดตามประเมินต่อ | |

| |3. ประเมิน Dorsalis pedis pulse ที่หลังเท้า ทั้งอัตรา และจังหวะของชีพจร | |

| |4. ดูแลการพัน Elastic bandage ไม่ให้แน่นเกินไป | |

| |5. ดูแลให้นอนยกขาสูง เพื่อช่วยให้มีการไหลเวียนโลหิตกลับได้สะดวก | |

การเตรียมตัวก่อนกลับบ้าน

|Assessment |Intervention |Outcome |

|1. ประเมินการดูแลต่อเนื่อง |ให้คำแนะนำผู้ป่วยดังต่อไปนี้ | |

|- ประเมินความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน |1. การใช้เครื่องช่วยเดิน เช่น walker ไม้ค้ำยัน |1. ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ |

| |ต้องขึ้นอยู่กับความเห็นของแพทย์ว่าควรจะเลิกใช้เมื่อใด |2. ไม่มีภาวะของข้อตะโพกเลื่อนหลุดหรือแผลติดเชื้อ |

| |2. บริหารกล้ามเนื้อต้นขา,กล้ามเนื้อตะโพก,การงอและเหยียดตะโพก | |

| |ควรทำอย่างสม่ำเสมอทุกวันแต่ไม่ควรหักโหม | |

| |3. แนะนำการหลีกเลี่ยง เช่นการคุกเข่า การนั่งยองๆ การขึ้นลงบันได การยกของหนัก | |

| |การเดินบนพื้นที่ขรุขระ การนั่งพับเพียบ หรือนั่งขัดสมาธิ | |

| |การเล่นกีฬาที่หักโหมการออกกำลังกายโดยการกระโดด การนั่งหรือนอนบนพื้นทำให้ลุกขึ้นลำบาก| |

| |หลีกเลี่ยงการเดินขึ้นลงบันไดบ่อยๆ | |

| |4. การเตรียมสถานที่ สิ่งแวดล้อมภายในบ้าน | |

| |เช่นการจัดที่นอนให้ผู้ป่วยควรจัดอยู่ชั้นล่างหลีกเลียงการขึ้นลงบันไดและการใช้ทางต่างระดับ | |

| |ดูแลไม่ให้มีสิ่งกีดขวางภายในบ้าน | |

| |5. | |

| |การเตรียมห้องน้ำควรปรับห้องน้ำเป็นแบบนั่งโดยใช้ส้วมชักโครกหรือใช้เก้าอี้สุขภัณฑ์ครอบบนโถส้| |

| |วมซึม พื้นบ้านพื้นห้องน้ำไม่ลื่น มีราวสำหรับยึดเกาะ | |

| |ในเวลากลางคืนเปิดไฟให้ส่องสว่างเพียงพอโดยเฉพาะทางเดินไปห้องน้ำ | |

| |6. พยายามควบคุมน้ำหนักตัวอย่าให้อ้วนเกินไปหรือห้ามยกของหนักหรือทำงานหนัก | |

| |7. ถ้าพบอาการผิดปกติ เช่น มีไข้สูง มีอาการบวม แดงร้อน บริเวณแผล | |

| |มีน้ำเหลืองหรือหนองไหลออกจากแผล อาการปวดบริเวณข้อตะโพกข้างที่ผ่าตัดมาก | |

| |หรือมีการเคลื่อนไหวของข้อตะโพกได้น้อยลง ควรมาพบแพทย์ทันทีแม้จะยังไม่ถึงเวลานัดก็ตาม | |

| |8. การรักษาความสะอาดของร่างกาย สวมเสื้อผ้าที่สะอาด และดูแลความสะอาดของที่นอน | |

| |9. การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ | |

| |10. การพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6-8 ช.ม. | |

| |11. การมาตรวจตามแพทย์นัดเพื่อการรักษา | |

| | | |

| |1. | |

| |อำนวยความสะดวกในการให้ผู้ป่วยและญาติติดต่อเพื่อขอคำแนะนำเมื่อพบปัญหาในการดูแลที่บ้าน | |

| | | |

| | | |

| | | |

| | | |

| | | |

| | | |

| | | |

|- ประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน/การกลับเข้ารักษาซ้ำ | | |

| |2. ในรายที่มีปัญหาการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน |- ผู้ป่วยได้รับการดูแลต่อเนื่องเมื่อกลับบ้านไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน/กลับเข้ารักษาซ้ำ |

| |ควรติดตามเยี่ยมบ้านหรือส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือแหล่งประโยชน์อื่นที่เหมาะสม เช่น | |

| |งานเวชกรรมสังคม,สถานีอนามัย,โรงพยาบาลชุมชน | |

| |ขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติ | |

| |1. พยาบาลประจำหอผู้ป่วยเลือกผู้ป่วยที่มีปัญหาในการดูแลต่อที่บ้าน ผู้ป่วยที่ไม่มีผู้ดูแล | |

| |ผู้ป่วยเดินไม่ได้ ทำdischarge plan และประเมินความต้องการ | |

| |การขอความช่วยเหลือจากหน่วยบริการสาธารณสุขและการดูแลต่อที่บ้าน | |

| |หากประเมินแล้วผู้ป่วยมีความต้องการ ให้พยาบาลประจำตึกเขียนแบบฟอร์ม H. C . 1,2,3 | |

| |ส่งให้พยาบาลประจำโครงการ ดูแลสุขภาพผู้ป่วยที่บ้าน งานรักษาพยาบาลชุมชน | |

| |กลุ่มงานเวชกรรมสังคม | |

| |2. พยาบาลโครงการดูแลสุขภาพผู้ป่วยที่บ้านนำแบบฟอร์ม H. C . 1,2,3 มาศึกษาพร้อมทั้ง | |

| |วางแผนการดูแลรักษาร่วมกับแพทย์ พยาบาล | |

| |3. จัดทีมไปให้บริการที่บ้าน ซึ่งมีกิจกรรมดังนี้ | |

| |- วัด V/S , ตรวจร่างกายทั่วไป | |

| |- ประเมินสภาพผู้ป่วยว่ามีปัญหาอะไรบ้าง สอบถามการปฏิบัติตัวว่าทำได้ถูกต้องหรือไม่ | |

| |- ทบทวนการปฏิบัติตัว | |

| |- ประเมินสภาพสิ่งแวดล้อม จัดได้ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ จะต้องปรับเปลี่ยนอะไรหรือไม่ | |

| |- ติดตามเรื่องการใช้ยา | |

| |- ติดตามเรื่องการมา FCE | |

| |- ถ้ามีอาการผิดปกติให้รีบมาพบแพทย์ทันที | |

| |- สรุปผลการเยี่ยม แจ้งให้ ward ทราบ และสรุปลง OPD card เมื่อผู้ป่วยมา FU | |

| |แพทย์จะได้ทราบผลการเยี่ยม | |

| | | |

| |1. พูดคุยซักถามปัญหา | |

| |2. ให้กำลังใจ สร้างความมั่นใจ | |

| |3. ส่งสังคมสงเคราะห์เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยที่มี | |

| | | |

| | | |

| | | |

| | |1. ผู้ป่วยและญาติมีความมั่นใจในการดูแลต่อที่บ้าน |

|- ประเมินปัญหาทางด้านจิตใจ/สังคม | |2. ผู้ป่วยได้รับความช่วยเหลือตามความเหมาะสม |

ผลลัพธ์โดยรวม

1. ผู้ป่วยมีความพร้อมต่อการผ่าตัด ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม

2. ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาพยาบาลตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดส่องกล้องบริเวณข้อเข่า

3.ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนภายหลังผ่าตัด

4. ผู้ป่วย/ ญาติสามารถปฎิบัติตัว/ ดูแลต่อเนื่องที่บ้านได้อย่างถูกต้อง ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือการกลับเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาล

บรรณานุกรม

กนกพรรณ ลีลาศเจริญ. (2546). การพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์. (หน้า 283 – 307) เอกสารประกอบการอบรมการพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ คณะพยาบาลศาสตร์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กฤษฎา สาเขตร์. (2551) .ผลการรักษาผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักบริเวณ Intertrochanter. พุทธชินราชเวชสาร ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๑ ,หน้า 500-508.

วรรณี สัตยวิวัฒน์. (2551). การพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). (หน้า 227 – 238) กรุงเทพ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็นพีเพรส

สมพร ชินโนรส. (2543). การพยาบาลทางศัลยศาสตร์ เล่ม 3 (พิมพ์ครั้งที่ 1). (หน้า 47 – 80) กรุงเทพ: ธรรมสาร

สภาพยาบาล. (2551). แนวปฏิบัติการพยาบาลคลินิก : CLINICAL NURSING PRACTICE GUIDELINES. กรุงเทพฯ : บริษัทจุดทอง.

................
................

In order to avoid copyright disputes, this page is only a partial summary.

Google Online Preview   Download

To fulfill the demand for quickly locating and searching documents.

It is intelligent file search solution for home and business.

Literature Lottery

Related searches