การบันทึกข้อมูลคัดกรองภาวะเสี่ยงเบาหวาน ความดันโลหิตสูงใน ...



การบันทึกข้อมูลการตรวจคัดกรองนิ่วในทางเดินปัสสาวะ

จังหวัดศรีสะเกษ ปีงบประมาณ 2556

ตัวชี้วัด

1. ประชาชน 15 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองเพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ มากกว่าร้อยละ 90

2. ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการส่งต่อจาก รพช. ถึง รพท. ร้อยละ 100

3. ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจยืนยัน/ได้รับการดูแลรักษาตามความเหมาะสม

เป้าหมาย

ประชาชนจังหวัดศรีสะเกษ อายุ 15 ปีขึ้นไป

แนวทางการดำเนินงาน

1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล , โรงพยาบาลชุมชน , โรงพยาบาลทั่วไป สำรวจประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

2. ประสานการดำเนินงานร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป ในการตรวจคัดกรองประชาชน และการจัดบริการให้เหมาะสม

3. ตรวจคัดกรองโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะโดยใช้แบบฟอร์มคัดกรองโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ในประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปในเขตรับรับผิดชอบ โดยบูรณาการกับการดำเนินงานตรวจสุขภาพประชาชนเพื่อคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

4. ตรวจกลุ่มเสี่ยงจากแบบฟอร์มคัดกรอง โดยใช้ Urine strip เพื่อหาปริมาณเม็ดเลือดในปัสสาวะ เมื่อพบว่าผิดปกติ(ผล blood เป็นบวก Trace 4 +) ให้มีการส่งต่อกลุ่มเสี่ยงจาก Urine strip ไปยัง โรงพยาบาลชุมชนเพื่อรับการตรวจเพิ่มเติม (ตรวจ BUN / Cr)

5. กลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการตรวจจาก โรงพยาบาลชุมชนพบว่าผิดปกติ ให้ประสานส่งต่อไปรับการตรวจยืนยัน/ดูแลรักษา

ที่โรงพยาบาลศรีสะเกษ

6. สถานบริการสาธารณสุขทุกระดับจัดทำทะเบียนประชาชนกลุ่มเสี่ยง ทะเบียนผู้ป่วยในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

7. ให้ความรู้แก่ประชาชน/กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วย เกี่ยวกับโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ และติดตามเยี่ยมบ้านตามความเหมาะสม

8. สรุปผลการดำเนินงาน ส่งสำนักงานสาธารณสุขจงหวัด ทุกเดือน

การบันทึกผลการตรวจในโรแกรม Jhcis , Himpro

1.บันทึกผลการคัดกรองในเมนูการให้บริการ

2. ใส่ข้อมูลทั่วไปของผู้รับการคัดกรองให้ครบถ้วน

3.ใส่ ICD 10 ในการคัดกรองโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ คือ Z13.9

4.บันทึกผล

ผังควบคุมกำกับการคัดกรองนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

ใช้แบบฟอร์มคัดกรองประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป

Urine Strip

ส่งให้แพทย์ รพช. อ่าน (Copy file ใส่ DVD)

[pic]

Cr > 2 หรือแพ้สาร IVP Cr ≤ 2 และไม่แพ้สาร IVP

ทำ U / S + Plain KUB นัดทำ IVP

ส่งพบแพทย์เฉพาะทางศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ

วางแผนการรักษาตามมาตรฐาน

แบบฟอร์มการคัดกรองนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

|อาการ | ใช่ |ไม่ใช่ |

|1. อาการปวดแสบปวดร้อนในขณะถ่ายปัสสาวะ | | |

|2. อยากปัสสาวะบ่อย ๆ แต่มักจะปัสสาวะไม่ออก | | |

|3. ปัสสาวะมีกลิ่นฉุน สีขุ่น อาจมีเลือดหรือหนองปน | | |

|4. มีอาการเจ็บเมื่อกดตรงบริเวณหัวเหน่า | | |

หมายเหตุ - มีอาการข้อใดข้อหนึ่งถือว่าผิดปกติ ให้ส่งต่อไปรับการตรวจด้วยสตริป (Urine strip)

สรุป ( ) ปกติ

( ) ผิดปกติ

การบันทึกข้อมูลการคัดกรองมะเร็งตับ / มะเร็งท่อน้ำดี ในโปรแกรม Jhcis , Himpro

ตัวชี้วัด คือ

1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองและให้สุขศึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 90

2. ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรอง อัลตราซาวด์ ร้อยละ 100

3. ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการตรวจคัดกรองอัลตราซาวด์ แล้วพบว่าผิดปกติได้รับการส่งต่อยืนยันที่ รพท. ร้อยละ 100

4. ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการตรวจยืนยันจาก รพท. พบว่าผิดปกติ ได้รับการส่งต่อไปรับการรักษา/ผ่าตัดจาก รพ.มะเร็ง/รพ.เครือข่าย ร้อยละ 100

5. ประชากรกลุ่มป่วยที่ได้รับการดูแลรักษา/ผ่าตัด ได้รับการดูแลเยี่ยมบ้าน ให้คำปรึกษาร้อยละ 100

เป้าหมาย

กลุ่มประชาชนทั่วไป มีเกณฑ์ดังนี้คือ

1. ประชาชนอายุ 40 ปีขึ้นไปและเคยตรวจพบพยาธิใบไม้ตับ

2. เป็นบุคคลในครอบครัวที่มีประวัติเสียชีวิตด้วยมะเร็งตับ/มะเร็งท่อน้ำดีโดยนับสายตรง 3 ชั้น ได้แก่ พ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก ของผู้เสียชีวิต และบุคคลนั้นต้องมีอายุ 40 ปีขึ้นไป และอาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่น้อยกว่า 20 ปี (ให้สำรวจในกลุ่มผู้เสียชีวิตย้อนหลัง 3 ปี)

3. เป็น Case Hepatitis B โดยเป็นมาไม่ตำกว่า 10 ปี และมีอายุ 30 ปีขึ้นไป

4. เป็นบุคคลอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่มารดามีประวัติ Hepatitis B

5. เป็นผู้ป่วยกลุ่ม Alocholic หรือ Cherosis และมีอายุ 40 ปีขึ้นไป

6. เป็นผู้ป่วยกลุ่ม Chronic Active Hepatitis B และมีอายุ 40 ปีขึ้นไป

กลุ่มข้าราชการ มีเกณฑ์ดังนี้คือ

1. อายุ 40 ปีขึ้นไป และ

2. อาศัยอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 ปีขึ้นไป

แนวทางการดำเนินงาน

1. สถานบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล/โรงพยาบาลทุกแห่ง คัดกรองประชาชนกลุ่มเป้าหมายตามเกณฑ์ที่กำหนด และเมื่อได้กลุ่มเสี่ยงต้องส่งต่อไปโรงพยาบาลชุมชนในพื้นที่ของตนเอง โดยสำรวจประชากรกลุ่มเสี่ยงตามแบบ CCA00/สรุปผลการสำรวจตามแบบ CCA00.01 และให้มีการลงทะเบียนประชากรกลุ่มเป้าหมายเป็นรายพื้นที่ และจัดเก็บข้อมูลเป็นรายบุคคลเก็บไว้ในพื้นที่ ตามแบบฟอร์ม CCA01

2. โรงพยาบาลทุกแห่งจัดระบบบริการให้เหมาะสมในแต่ละอำเภอ มีการจัดทำแผนการตรวจคัดกรอง ประชากรงกลุ่มเสี่ยง/ส่งให้จังหวัด และดำเนินการอัลตราซาวด์ประชากรกลุ่มเสี่ยง โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๕ เป็นต้นไป พร้อมทั้งส่งรายงานประจำเดือนให้จังหวัด ทุกเดือนภายในวันที่ ๑๐ ของเดือนถัดไป ตามแบบฟอร์มรายงานภาคผนวก สำหรับแพทย์ที่ตรวจคัดกรองด้วยอัลตราซาวด์ให้ลงรายละเอียดตามแบบคัดกรอง CCA02

3. มีการสำรวจเครื่องอุลตราซาวด์ของโรงพยาบาลทุกแห่ง โดยศูนย์มะเร็ง อุบลราชธานี

4. แพทย์ที่รับผิดชอบจากโรงพยาบาลทุกแห่ง เข้ารับการอบรมการตรวจอุลตราซาวด์เบื้องต้น จากทีมศูนย์มะเร็ง อุบลราชธานีและโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี

5. โรงพยาบาลทุกแห่งตรวจอัลตราซาวด์กลุ่มเสี่ยง และส่งต่อกรณีสงสัย

6. ในกรณีที่โรงพยาบาลชุมชนอัลตราซาวด์แล้วพบว่าผิดปกติ ให้ส่งต่อไปรับการยืนยัน ที่โรงพยาบาลศรีสะเกษ โดยแจ้งไปที่ศูนย์รับส่งต่อ/ใช้แบบฟอร์ม CCA03 และศูนย์รับส่งต่อจะแจ้งวันให้ไปรับการรักษาต่อไป โดยโรงพยาบาลชุมชนต้องใช้ชื่อ “โครงการคัดกรองวาระคนอีสาน จังหวัดศรีสะเกษ”

7. ให้คำปรึกษาแนะนำกลุ่มเสี่ยง/ญาติ และออกเยี่ยมบ้านตามเกณฑ์ที่กำหนด

การบันทึกผลการตรวจในโรแกรม Jhcis , Himpro

1.บันทึกผลการคัดกรองในเมนูการให้บริการ

2. ใส่ข้อมูลทั่วไปของผู้รับการคัดกรองให้ครบถ้วน

3.ใส่ ICD 10 ในการคัดกรองโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ คือ Z12.8

4.บันทึกผล

การบันทึกข้อมูลคัดกรองภาวะเสี่ยงเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในโปรแกรม JHCIS

1. หน้าต่างการบันทึกผลการคัดกรองสุขภาพใช้หน้าต่าง NCD Screen

2. บันทึกผลการคัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ขั้นตอนการบันทึก ดังนี้

1. ระบุหมู่บ้าน 2. พิมพ์ชื่อ-สกุล

3. คลิกปุ่ม “ค้นหา” ระบบจะดำเนินการค้นหารายละเอียดต่างๆ ของผู้มารับบริการ

4. บันทึกข้อมูลรายละเอียดการคัดกรอง ให้ครบทุกช่อง

5. คลิกปุ่ม “บันทึก” เมื่อต้องการบันทึกการคัดกรอง หรือคลิกปุ่ม “ลบ” เมื่อต้องการลบข้อมูล

[pic]

6. ระบบจะออกรหัส ICD 10 อัตโนมัติ ได้แก่ รหัส Z 13.8 ตรวจคัดกรองภาวะความดัน

โลหิตสูง และ รหัส Z13.1 ตรวจคัดกรองภาวะเบาหวาน

3. ในกรณีบุคคลนั้นพบภาวะเสี่ยงเบาหวาน หรือเสี่ยงความดันโลหิตสูง บันทึกข้อมูล บันทึกผลความเสี่ยงอีกครั้งในหน้าจอการให้บริการและให้รหัส ICD 10 ดังนี้

- Pre DM (ค่า FBS ระหว่าง 100 -125 mg/dl หรือ Postpandial blood glucose ระหว่าง 140-199 mg/dl )

R 730 ผลการตรวจสอบการทนต่อกลูโคสผิดปกติ

R731 ผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารผิดปกติ

R739 ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ไม่ระบุรายละเอียด

- Pre HT (Pre HT คือค่า Systolic BP ระหว่าง 120-139 mmHgหรือ Diastolic BP ระหว่าง 80-89 mmHg )

R 030 วัดความดันโลหิตได้สูง ไม่มีการวินิจฉัยว่าเป็นความดันโลหิตสูง

4. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง Metabolic บันทึกข้อมูลในหน้าจอการให้บริการ ใส่รหัส Z 713 การให้คำปรึกษาและการเฝ้าระวังด้านอาหาร และลงผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ความถี่การลงข้อมูล ตามแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

การบันทึกข้อมูลคัดกรองภาวะเสี่ยงเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในโปรแกรม Himpro

1.เปิดหน้าต่าง “การให้บริการ”

2. บันทึกรายละเอียดการตรวจคัดกรอง และบันทึกพฤติกรรม ในตรวจสุขภาพ 1 , ตรวจสุขภาพ 2

3. ลงรหัส icd 10 ดังนี้

- คัดกรองภาวะเบาหวาน ให้รหัส icd 10 = Z13.1 เป็น PDX ในกรณีพบว่า บุคคลนั้นเป็นกลุ่มเสี่ยง

ภาวะเบาหวาน ให้ลงรหัส R 730 หรือ R731 หรือ R739 ตามชนิดการตรวจ เป็น SDX

- คัดกรองภาวะความดันโลหิต ให้รหัส icd 10 = Z13.8 เป็น PDX ในกรณีพบว่า บุคคลนั้นเป็น

กลุ่มเสี่ยงภาวะความดันโลหิตสูง ให้ลงรหัส R 030 เป็น SDX

- ในกรณีคัดกรองภาวะเสี่ยงเบาหวาน ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ให้รหัส icd 10 โรคความดันโลหิตสูง เป็น PDX และลงรหัส Z13.1 เป็น SDX ในกรณีพบว่า บุคคลนั้นเป็นกลุ่มเสี่ยงภาวะเบาหวาน ให้ลงรหัส

R 730 หรือ R731 หรือ R739 ตามชนิดการตรวจ เป็น SDX

- ในกรณีคัดกรองภาวะเสี่ยงความดันโลหิตสูง ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ให้รหัส icd 10 โรคเบาหวาน เป็น PDX และลงรหัส Z13.8 เป็น SDX ในกรณีพบว่า บุคคลนั้นเป็นกลุ่มเสี่ยงภาวะความดันโลหิตสูง ให้ลงรหัส

R 03.0 ตามชนิดการตรวจ เป็น SDX

4. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง ให้ลง รหัสกลุ่มเสี่ยง เป็น PDX และ ลงรหัส Z71.3 เป็น SDX รวมถึงผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

-----------------------

ผล Blood เป็นบวก (Trace ถึง 4 +

นัดหมายเป็นรายตำบลเพื่อรอตรวจ

Plain KUB Digital

พิจารณาส่งต่อ รพช.

เพื่อหาสาเหตุขั้นต้นการมี

เม็ดเลือดแดง

ในปัสสาวะ

BUN , Cr

ส่งต่อ รพช.

พบมีนิ่ว

ไม่พบมีนิ่ว

................
................

In order to avoid copyright disputes, this page is only a partial summary.

Google Online Preview   Download