โรคติดเชื้อ(Infectious Disease)



ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคติดเชื้อ (Infectious Disease)

ผศ.(พิเศษ) ดร.นพ. คงเดช ลีโทชวลิต

พบ. อว. เวชปฏิบัติทั่วไป, อว.เวชศาสตร์ครอบครัว, Ph.D.

๑. คำจำกัดความ

โรคติดเชื้อ หมายถึง โรคที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก(micro-organisms) เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ริกเก็ตเซีย โปรโตซัว หรือ สิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่เช่น พยาธิ(Parasites)

ความสามารถก่อโรค(Pathogenicity) หมายถึง ความสามารถของเชื้อในการก่อให้เกิดโรค ปกติเป็นคำที่ใช้เปรียบเทียบระหว่างเชื้อต่างชนิดกัน

ความรุนแรง(Virulence) หมายถึง ระดับความสามารถในการก่อโรคของเชื้อโรคซึ่งปกติจะใช้เปรียบเทียบระหว่างเชื้อในสายพันธุ์เดียวกัน

การติดเชื้อแบบเฉียบพลัน(Acute Infection) หมายถึง การติดเชื้อที่มีอาการเกิดขึ้นทันทีอย่างรวดเร็วภายหลังได้รับเชื้อ มีการดำเนินโรคค่อนข้างเร็ว และมักมีอาการรุนแรง

การติดเชื้อแบบเรื้อรัง(Chronic Infection) หมายถึง การติดเชื้อที่มีอาการของโรคเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปโดยมีระยะเวลาตั้งแต่การได้รับเชี้อจนเกิดอาการค่อนข้างนาน

การติดเชื้อปฐมภูมิ(Primary Infection) หมายถึง การติดเชี้ยที่เกิดขึ้นในคนที่มีสุขภาพสมบูรณ์

การติดเชื้อทุติยภูมิ(Secondary Infection) หมายถึง การติดเชื้ออีกสายพันธ์ในคนที่มีการติดเชี้ออย่างใดอย่างหนึ่งอยู่แล้ว

การติดเชื้อเฉพาะที่(Localized Infection) หมายถึง การติดเชื้อที่จำกัดเฉพาะที่ใดที่หนึ่งของร่างกายของผู้ติดเชื้อ

การติดเชื้อแบบแพร่กระจาย(Systemic Infection) หมายถึง การติดเชื้อหลายอวัยวะของผู้ติดเชื้อโดยเชี้อชนิดเดียวกันในคราวเดียวกัน

การติดเชื้อที่มีอาการ(Clinical Infection) หมายถึง การติดเชื้อที่ผู้ติดเชื้อมีอาการป่วยจากการติดเชื้อปรากฏให้เห็นและสามารถตรวจพบได้

การติดเชื้อแบบไม่มีอาการ(Subclinical Infection) หมายถึง การติดเชื้อที่ผู้ติดเชื้อยังไม่มีอาการของการติดเชี้อปรากฎให้เห็นชัด

การติดเชื้อฉวยโอกาส(Opportunistic Infection) หมายถึง การติดเชื้อโดยเชื้อที่ปกติจะไม่ก่อให้เกิดโรคในคนที่แข็งแรง โดยปกติเชี้อเหล่านี้จะพบอยู่ในสิ่งแวดล้อมของคนอยู่แล้ว(normal flora)

คำลงท้าย -emia หมายถึง การที่มีเชื้อโรคอยู่ในร่างกายหรือกระแสเลือด เช่น

Bacteremia หมายถึง การที่มีเชี้อแบคทีเรียในร่างกาย

Viremia หมายถึง การที่มีเชื้อไวรัสในร่างกาย

Fungemia หมายถึง การที่มีเชื้อราในร่างกาย

Septicemia หมายถึง การมีเชื้อโรคในกระแสโลหิต

คำลงท้าย –it is หมายถึง การอักเสบของอวัยวะที่นำหน้า เช่น

Pharyngitis หมายถึง การติดเชื้อของคอ

Endorditis หมายถึง การติดเชื้อของเยื่อบุช่องหัวใจ

Gastroenteritis หมายถึง การติดเชื้อของทางเดินอาหารส่วนกระเพาะและลำใส้เล็ก

ระบาดวิทยา(Epidemiology) หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการติดต่อและการระบาดของโรค

โรคติดต่อ(Communicable disease) หมายถึง โรคที่สามารถแพร่จากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้

โรคติดต่อง่าย(Contagious disease) หมายถึง โรคที่สามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว

โรคไม่ติดต่อ(Noncommunicable Disease) หมายถึง โรคที่เป็นเฉพาะบุคคลไม่สามารถแพร่ไปสู่คนอื่นได้

โรคประจำถิ่น(Endemic Disease) หมายถึง โรคที่พบได้ตามปกติตามท้องถิ่นต่างๆ ไม่มีการแพร่กระจายและไม่ถือว่าเป็นปัญหา

โรคระบาด(Epidemic Disease) หมายถึง โรคที่มีอุบัติการณ์มากกว่าปกติแต่ยังอยู่ในเฉพาะบริเวณจำกัดหรือกลุ่มคนที่จำกัด

โรคระบาดรุนแรง(Pandemic) หมายถึง โรคระบาดที่มีอุบัติการณ์กระจายออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับโลก

แหล่งโรค(Reservoir) หมายถึง แหล่งที่พบเชื้อก่อโรคซื่งอาจเป็นได้ทั้งสิ่งมีชีวิต และไม่มีชีวิต

พาหะของโรค(Carrier) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่มีเชื้อก่อโรคอยู่ในตัวโดยไม่มีอาการแต่สามารถแพร่เชื้อไปสู่ฝู้อื่นได้

Fomites หมายถึง สิ่งไม่มีชีวิตที่เป็นตัวกลางในการแพร่เชื้อให้กับคนได้

สัตว์นำโรค (Animal Vedtors) หมายถึง สัตว์ที่นำเชี้อมาสู่คน มี ๒ วิธีได้แก่

1. Biological animal vectors เป็นการนำเชี้อมาสู่คนโดยที่เชื้อก่อโรคจะต้องเข้าไปเจริญเติบโตในตัวเชื้อก่อนที่เชื้อนั้นจะมีความสามารถติดต่อมายังคนและทำให้เกิดโรคได้ เช่น เชื้อมาลาเรีย เป็นต้น

2. Mechanicle animal vectors เป็นกระบวนการที่สัตว์นำเชื้อนั้นนำเชื้อก่อโรคมาสู่คนโดยตรง เช่น เชื้อโรคที่ติดตามขาของแมลงมาสู่อาหารที่คนรับประทาน

การแพร่เชื้อโดยตรง(Direct Mechanism of Disease Transmission) หมายถึง การติดเชื้อจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งโดยตรง เช่น การติดต่อทางผิวหนัง การติดต่อโดยการไอ (Aerosol)หรือจาม เป็นต้น

การแพร่เชื้อโดยอ้อม(Direct Mechanism of Disease Transmission) หมายถึง การติดเชี้อที่ต้องอาศัยผ่านตัวกลาง เช่น การติดเชี้อจากอาหารที่ปนเปื้อนเชี้อโรค การติดเชื้อโดยผ่าน Fomite การติดเชี้อโดยสัตว์นำโรค เป็นต้น

๒. เชี้อโรคในตัวคน

ตามปกติในร่างกายมนุษย์จะมีเชี้ออยู่ในหลายอวัยวะอยู่แล้ว โดยที่ไม่ทำให้เกิดโรค ลักษณะของเชี้อที่อยู่ในร่างกายที่ไม่ทำให้เกิดโรคนั้นเรียกว่า Normal Flora อวัยวะของร่างกายที่พบเชี้อปกติได้แก่ ผิวหนัง ทางเดินหายใจส่วนบน ช่องปาก ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ช่องคลอด ส่วนบริเวณที่พบเชี้อน้อยมากได้แก่ตา กระเพาะอาหาร อวัยวะที่ไม่พบเชี้อเลยได้แก่ ทางเดินหายใจส่วนล่าง กล้ามเนื้อ เลือดและสารน้ำในเลือด น้ำไขสันหลัง เยื่อบุช่องท้อง เยื่อบุหัวใจ เยื่อหุ้มสมอง

เชี้อไม่ก่อโรคในร่างกายมนุษย์ มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น เชี้อ E. Coli ในลำไส้ ช่วยสังเคราะห์วิตามินเค, เชื้อไม่ก่อโรคช่วยในการสร้างภูมิต้านทานโรค, และเป็นตัวช่วยป้องกันเชี้อก่อโรคได้ อย่างไรก็ตามในคนที่ภูมิต้านทานอ่อนแอ เชี้อไม่ก่อโรคเหล่านี้ก็สามารถทำให้เกิดโรคได้เช่นกันที่เรียกว่า การติดเชื้อฉวยโอกาส(opportunistic infection)

๓. ระยะของการติดเชี้อ

การติดเชื้อโดยทั่วไปสามารถแบ่งเป็นระยะต่างๆดังนี้

1. ระยะการรับเชื้อ(Entry of Pathogen) เชี้อจะเข้าตามอวัยวะต่าง ๆ ตามระบบ

2. ระยะแบ่งตัวของเชี้อ(Colonization) โดยทั่วไปจะอยู่ในบริเวณที่รับเชื้อ

3. ระยะฟักเชื้อ(Incubation Period) ระยะนี้เป็นระยะที่ไม่มีอาการเป็นระยะที่เริ่มตั้งแต่รับเชื้อจนเริ่มมีอาการ

ง. ระยะที่มีอาการนำ(Prodomal Symptoms) เป็นอาการที่พบได้ก่อนมีอาการอย่างเต็มที่

จ. ระยะลุกลาม(Invasive Period) อาการในระยะนี้จะประกอบด้วย อาการของโรคที่รุนแรงขึ้น ไข้สูง มีร่องรอยการอักเสบชัดเจนขึ้นอาจมีการบวม เนื้อเยื่อจะถูกทำลายมากขึ้น การอักเสบอาจลุกลามไปอวัยวะอื่นในร่างกาย อาการจะเป็นมากที่สุดในระยะนี้

ฉ. ระยะการอักเสบลดลง(Decline of Infection) การอักเสบเริ่มลดลง อาการทั่วไปของผู้ป่วยจะดีขึ้น

ช. ระยะพักฟี้น(Convalecscence) เมื่อการอักเสบลดลง ผู้ป่วยจะเริ่มฟื้นตัวขื้นและค่อยๆ หายตามปกติ

๔. ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของโรค

ปัจจัยที่ทำให้ผู้ที่ได้รับเชี้อมีอาการรุนแรงหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับ

1. ความต้านทานของผู้ป่วย

2. จำนวนของเชี้อโรคที่ได้รับเข้าไป ซึ่งเรียกว่า Infectious dose

3. ความรุนแรงของเอ็นซัยม์ที่เชื้อโรคผลิตขึ้น เช่น Coagluase (Staphylococcus aureus) Streptokinase (Streptococcus pyogenes) Hyaluronidase (Many pathogens) Collagenase (Many pathogens) Leucocidin (Many pathogens) Hemolysin (Many pathogens)

4. ความสามารถของเชี้อโรคที่สร้างสารที่จะจับกับเซลล์ของร่างกายมนุษย์ เช่น Protein A (Staphylococcus aureus) Protein M (Streptococcus pyogenes)

5. สารพิษที่เชื้อโรคสร้างขึ้นซึ่งมีผลต่อร่างกายมนุษย์ สารพิษนั้นสามารถแบ่งได้เป็น ๒ ชนิดได้แก่

Exotoxins เป็นสารพิษที่สร้างโดยบัคเตรีได้จากทั้งบัคเตรีกรัมบวกและกรัมลบ สามารถทำให้เกิดพิญได้แม้ว่าในขณะนั้นตัวบัคเตรีจะไม่อยู่แล้วก็ตาม องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นโปรตีนหรือส่วนประกอบของโปรตีน ถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อน ยกเว้นenterotoxin ที่สร้างเฝยStaphylococcus aureus ที่ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ Exotoxins มีฤทธิ์ต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้ ดังนี้Neurotoxins ออกฤทธิ์ขัดขวางการทำงานที่ปมประสาท Cytotoxins ออกฤทธิ์ขัดขวางการทำงานบางอย่างในเซลล์ เช่น การสังเคราะห์โปรตีน ทำให้เซลล์ได้รับอันตราย Enterotoxins ออกฤทธิ์ขัดขวางการดูดซึมน้ำในลำไส้ใหญ่ และทำให้เกิดการระคายเคืองของเยื่อบุทางเดินอาหาร

Endotoxins เป็นสารพิษที่สร้างโดยบัคเตรีกรัมลบเท่านั้น เนื่องจากเป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ของบัคเตรีกรัมลบ การก่อพิษจะพบเมื่อมีการแตกทำลายเซลล์ของบัคเตรีเท่านั้น องค์ประกอบของสารพิษจะเป็นไขมันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ชั้นlipopolysaccharides การเกิดพิษจะเกิดจากการระคายเคือง (Irritation) ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุ(inflammation of epithelium) การอักเสบของทางเดินอาหาร หลอดเลือดฝอย และ อาจเกิดเลือดออก(hemorrhaging)

๕ โรคติดเชี้อบัคเตรี

โรคที่เกิดจากการติดเชื้อจากบัคเตรีสามารถแบ่งออกได้ดังนี้

1. โรคติดเชี้อบัคเตรีที่ติดต่อทางอากาศ(Airborne Bacterial Disease)

2. โรคติดเชี้อบัคเตรีที่ติดต่อจากอาหารและน้ำ(Foodborne&Waterborne Bacterial Disease)

3. โรคติดเชี้อบัคเตรีที่ติดต่อจากพื้นดิน(Soilborne Bacterial Disease)

4. โรคติดเชี้อบัคเตรีที่นำโดยแมลง(Arthropodborne Bacterial Disease)

5. โรคติดเชี้อบัคเตรีที่ติดต่อจากการร่วมเพศ(Sexually Transmitted Bacterial Disease)

6. โรคติดเชี้อบัคเตรีอื่นๆ(Miscellaneous Bacterial Disease)

๕.๑ โรคติดเชี้อบัคเตรีที่มาทางอากาศ(Airborne Bacterial Disease)

โรคติดเชี้อทางการหายใจที่พบบ่อยได้แก

๑. Streptococcal Diseases

๒. Diphtheria

๓. Pertussis

๔. Meningococcal Infections

๕. Haemophilus influenzae Infections

๖. Tuberculosis

๗. Pneumococcal Pneumonia

๘. Primary Atypical Pneumonia

๙. Legionellosis

๕.๑.๑ Streptococcal Diseases

เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อบัคเตรีในสกุล Streptococcus ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นเชื้อที่ย้อมติดสีกรัมบวก มีรูปร่างกลมเรียงตัวเป็นเส้นหรือเป็นกลุ่ม ไม่สร้างเอ็นซัยม์คาตาเลส(Catalase) สามารถจำแนกเชื้อออกเป็นกลุ่มๆ

ตามคุณสมบัติในการทำให้เม็ดเลือดแดงแตกตัวได้เป็นกลุ่ม Beta hemolysis, Alpha hemolysis และ Gamma hemolysis โดยที่ในกลุ่ม Beta hemolysis ทำให้เกิดการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงได้อย่างสมบูรณ์(Complete hemolysis) เมื่อทำการเพาะเชื้อในBlood Agar จะพบรอยจางรอบๆเชื้อที่ขึ้น กลุ่ม Alpha hemolysis ทำให้เกิดการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงได้ไม่สมบูรณ์(Complete hemolysis) เมื่อทำการเพาะเชื้อในBlood Agar จะพบรอยสีเขียวรอบๆเชื้อที่ขึ้น กลุ่ม Gamma hemolysis ไม่ทำให้เกิดการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงได้อย่างสมบูรณ์(Complete hemolysis) เมื่อทำการเพาะเชื้อในBlood Agar จะไม่พบรอยผิดปกติรอบ ๆ เชื้อที่ขึ้น

การแบ่งตามคุณสมบัติทางเคมีและความไวต่อยาปฏิชีวนะ สามารถแบ่งออกได้เป็นกลุ่มๆ ดังนี้

กรุ๊ป เอ เชี้อในกลุ่มนี้ที่พบว่าเป็นปัญหาและมีความรุนแรงมากที่สุดได้แก่ Streptococcus pyogenes มีคุณสมบัติเป็นเชื้อในกลุ่ม Beta hemolytic และมักเป็นเชื้อที่ดื้อยาปฏิชีวนะ

กรุ๊ป บี เชี้อในกลุ่มนี้ที่เป็นปัญหาได้แก่ Streptococcus agalactiae เป็นเชื้อที่มีความรุนแรงน้อยถึงปาน มีคุณสมบัติเป็นทั้ง Beta และ Alpha hemolyic แต่บางสายพันธุ์จะเป็น Gamma hemolytic

กรุ๊ป ดี เชื้อในกลุ่มนี้มักเป็น normal flora ในลำไส้ใหญ่ของคนหรือสัตว์ ได้แก enterococcus เช่น Enterococcus faecalis แต่มักทำให้เกิดการติดเชี้อในทางเดินปัสสาวะ ลักษณะของเชี้อโดยมากจะเป็นแบบ Gamma hemolytic การตรวจยืนยันเชี้อนิยมใช้วิธีการทางเคมี

โรคที่เกิดจากเชี้อ Streptococcus pyogenes

เชี้อชนิดนี้ทำให้เกิดการติดเชื้อได้หลายระบบของร่างกายเช่น

1. โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น URI, Pharyngitis

2. การติดเชี้อในกระแสโลหิต(Systemic Symptoms Septicemia)

3. ไข้สกาเล็ต(Scarlet Fever) เกิดมจากเชื้อสายพันธ์ที่สร้าง Erythrogenic toxin

4. โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบการสร้างความต้านทานโรค ได้แก่ ไข้รูห์มาติก(Rheumatic fever) ไตอักเสบ(Glomerulonephritis)

5. โรคอื่น ๆ ตามตำแหน่งของการติดเชื้อ เช่น ไฟลามทุ่ง(erysipelas), เนื้อเยื่อและเอ็นอักเสบลุกลาม(Necrotizing fasciitis) การติดเชื้อหลังคลอด (Puerperal sepsis)

๕.๑.๒ โรคคอตีบ (Diphtheria)

โรคคอตีบเป็นโรคติดเชี้อที่ติดต่อโดยเชี้อที่มาทางอากาศหรือการหายใจ สาเหตุของเชี้อได้แก่เชื้อ Corynbacterium diptheriae เป็นเชื้อทรงแท่ง ติดสีกรัมบวก ไม่สร้างสปอร์ เชี้อในกลุ่ม Corynbacterium มีหลายชนิดที่ไม่มีความรุนแรงสามารถพบได้ในดินและตามผิวนังของคน ยกเว้น Corynbacterium diptheriae ที่ความรุนแรงของเชื้อเกิดจากการที่เชี้อสายพันธุ์นี้มียีนที่สามารถสร้างสารพิษชนิด Exotoxin ที่เป็นพิษต่อเซลล์ของผู้ติดเชื้อโดยกระบวนการยับยั้งการสร้างโปรตีนของเซลล์ผู้ป่วย

โรคคอตีบติดต่อได้ง่ายโดยการไอ หรือจาม โดยเชี้อปนมากับเสมหะผู้ป่วยที่ไอหรือจามออกมา ทำให้เกิดการติดเชี้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนต้น มีลักษณะเป็นเยื่อสีขาว(Pseudomembrane) ที่คอและทอนซิล สารพิษที่เชี้อสร้างขึ้นนั้นสามารถแพร่กระจายเข้าสู่กระแสโลหิตได้ ทำให้เกิดอันตรายต่อกล้ามเนื้อและหลอดเลือดของหัวใจได้ สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

๕.๑.๓ โรคไอกรน (Pertussis)

เชี้อก่อโรคได้แก่เชี้อ Bordetella pertussis เป็นเชี้อทรงแท่งชนิดอาศัยอากาศติดสีกรัมลบ(Gram negative aerobic rod) เชื้อนี้สามารถพบปะปนกับเชื้อไม่ก่อโรคในระบบทางเดินหายใจของคนและสัตว์ทั่วไปได้

โรคไอกรนสามารถติดต่อได้โดยการไอหรือจาม โดยเชี้อปนมากับเสมหะของผู้ป่วยที่ไอหรีอจามออกมา และทำให้เกิดโรคที่ระบบทางเดินหายใจส่วนต้น อาการของโรคมักไม่ค่อยรุนแรงแต่เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการไอเป็นระยะเวลานาน ยกเว้นในเด็กและคนสูงอายุที่โรคนี้อาจเกิดความรุนแรงได้ ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจลำบาก มีการไอติดต่อกันครั้งละเป็นชุดและจะได้ยินเสียงสูดลมหายใจเข้าตอนไอสุดที่เรียกว่า Staccato cough หรือ Whooping cough โดยทั่วไปโรคนี้จะไม่แพร่เข้ากระแสโลหิต

๕.๑.๔ โรคไข้กาฬหลังแอ่น (Menigococcal meningitis)

ไข้กาฬหลังแอ่น เป็นโรคที่ติดต่อทางอากาศที่มีความรุนแรงค่อนข้างมาก สามารถทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตได้ภายในระยะเวลาสั้น และทำให้เกิดความพิการค่อนข้างมากหากผู้ป่วยรอดชีวิต เชี้อก่อโรคได้แก่เชี้อ Neiserria meningitidis

โรคนี้ติดต่อได้ง่ายโดยการไอหรือจาม เชี้อจะปนมากับเสมหะของผู้ป่วย มักเกิดในเด็กและมีความสัมพันธ์กับสภาพความเป็นอยู่ที่แออัด เช่นในโรงเรียน ในสถานเลี้ยงเด็ก เป็นต้น อาการเริ่มต้นจะเป็นอาการของการติดเชี้อทางเดินหายในส่วนต้นทำให้แยกจากโรคอื่นได้ค่อนข้างลำบาก แต่ต่อมาผ้ป่วยจะมีอาการติดเชี้อในกระแสโลหิต และตามด้วยอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะมีอาการ ปวดหัวมาก คอแข็ง ซึมลง สับสน ชัก หมดสติ และถึงแก่กรรม

๕.๑.๕ โรคติดเชี้อ Haemophilus influenza

เชื้อในกลุ่ม Haemophillus จะเป็นเชี้อทรงแท่ง ติดสีกรัมสบเพาะขึ้นใน Chocolate agar แม้ในที่ที่ไม่มีอากาศ(anaerobic) เชี้อกลุ่มนี้มีหลายสายพันธุ์ที่พบว่าเป็นเชี้อไม่ก่อโรคในทางเดินหายใจส่วนต้นของมนุษย์ สายพันธุ์ที่ก่อโรคได้แก่ Haemophyilus influenzae ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ย่อยและสามารถพบได้ในทางเดินหายใจส่วนต้นของมนุษย์ได้เช่นกัน ยกเว้นสายพันธุ์ b (type b) ที่ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ และสายพันธุ์ III (type III) ที่สามารถติดเชี้อที่ตาได้

การติดเชี้อ Haemophilus influenzae มักเกิดจากสายพันธุ์ที่มีความรุนแรงได้แก่ สายพันธุ์ b ในระยะแรกผู้ป่วยจะมีอาการของการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนต้นได้แก่ อาการของหวัด เช่น rhinitis, epiglottitis, หรือโรคแทรกของไข้หวัด เช่น ไซนัสอักเสบ(Sinusitis), หูชั้นกลางอักเสบ(Otitis media) ในผู้ป่วยบางคนจะมีอาการรุนแรงถึงขั้นการติดเชี้อในกระแสเลือดและเกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

๕.๑.๖ โรควัณโรค

เชี้อก่อโรคได้แก่ Mycobacterium tuberculosis ซึ่งเป็นเชื้อทรงแท่ง ติดสีทนกรด(Acid-fast rod) ขึ้นยากเมื่อทำการเพาะเชื้อ เชี้ในกลุ่ม Mycobacterium นี้หลายชนิดเป็นเชี้อที่ไม่ก่อโรคสามารถพบได้ตามพื้นดินและตามผิวหนัง ส่วนที่ก่อโรคนอกจาก Mycobactrium tuberculosis แล้วยังมี Mycobacterium avium-intracellulare, Mycobacterium cheloni, Mycobacterium scrofulaceum, และMycobacterium leprae

วัณโรคเป็นโรคที่ติดต่อได้ทางการไอจาม แต่มักจะต้องมีการสัมผัสกับผู้ติดเชี้อเป็นระยะเวลานาน อย่างไรก็ตามบางครั้งโรคนี้สามารถติดต่อได้โดยผ่านทางผิวหนังที่มีบาดแผลเช่นกัน ส่วนใหญ่วัณโรคจะทำให้เกิดการติดเชื้อในปอด โดยเชื้อจะเข้าไปทำให้ถุงลมปอดเสียหาย ผู้ป่วยจะมีอาการไอ มีเสมหะ ในบางรายที่เชี้อแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นด้วยจะเรียกว่า Miliary TB การวินิฉจังโรคต้องอาศัยการตรวจทางห้องปฏิบัติการเช่น การตรวจพบเชื้อในเสมหะ การเอ็กซเรย์ปอด การเพาะเชี้อจากเสมหะ การทดสอบปฏิกิริยาทางผิวหนัง(Tuberculin test) วัณโรคสามารถป้องกันด้วยวัคซีน

๕.๑.๑.๗ โรคปอดบวมจากเชื้อ Pneumococcus

สาเหตุของโรคได้แก่เชื้อ Streptococcus pneumoniae หรือ Diplococcus pneumoniae เป็นเชี้อกรัมบวกอยู่เป็นคู่ๆ มีคุณสมบัติ Alphahemolytic โรคนี้มักทำให้เกิดโรคแบบฉวยโอกาสในคนที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง ติดต่อโดยการไอจาม เมื่อผู้ป่วยมีอาการปอดบวมมักจะมีน้ำให้เยื่อหุ้มปอดด้วย

๕.๑.๘ โรคปอดบวม Primary atypical

สาเหตุของโรคได้แก่เชี้อในกลุ่ม Mycoplasma เป็นเชี้อบัคเตรีที่มีขนาดเล็กและมีรูปร่างไม่แน่นอน มักไม่มีเยื่อบุผนังเซลล์ เชื้อกลุ่มนี้มีหลายสายพันธุ์ และหลายสายพันธุ์จะพบว่าเป็เชื้อไม่ก่อโรคในคนและสัตว์ เชี้อติดต่อได้โดยการหายใจและมักเป็นการติดเชี้อที่ไม่ค่อยรุนแรง ยกเว้นเชี้อ Mycoplama pneumoniae ที่มักทำให้ผู้ติดเชี้อปอดบวมมีอาการรุนแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีภาวะนภูมิต้านทานต่ำ(immuno compromised patients)

๕.๑.๙โรคปอดอักเสบจากเชื้อ Ligionella pnuemophila

เป็นโรคปอดอักเสบที่เกิดจากเชี้อ Ligionella pnuemophila ลักษณะเป็นเชี้อบักเตรีกรัมลบทรงแท่ง โตได้โดยไม่ใช้อากาศ ปกติจะพบอยู่ในบริเวณที่มีอากาศชื้นแฉะ และสามารถพบได้ในระบบปรับอากาศที่ใช้วิธีระบายความร้อนด้วยน้ำเช่นตามศูนย์การค้า โรคนี้ติดต่อได้ทางการหายใจโดยสูดอากาศที่ปนเปื้อนเชี้อเข้าไป หรือติดต่อจากคนสู่คน อาการปอดบวมมีตั้งแต่อาการป่วยเล็กน้อยถึ่งอาการป่วยปานกลาง

๕.๒ โรคติดเชี้อบัคเตรีที่ติดต่อทางอาหารและน้ำ(Foodborne & Water Bacterial Disease)

โรคติดเชื้อในกลุ่มนี้มีคำที่ต้องทราบได้แก่ Foodborne Intoxications และ Foodborne Infections ซึ่งมีความหมายแตกต่างกันคือ Foodborne Intoxications หมายถึงอาการป่วยที่เกิดจากสารพิษ(exotoxin) ที่ปนเปื้อนในอาหาร แต่ Foodborne Infections หมายถึงโรคที่เกิดจากการบริโภคเชื้อบักเตรีตัวเป็นเข้าไปแล้วเชื้อเข้าไปแบ่งตัวในทางเดินอาหารแล้วจึงเกิดอาการ โรคในกลุ่มนี้ที่พบบ่อยได้แก่

๑. Botulism

๒. Staphylococcal Food Poisoning

๓. Clostridial Food Poisoning

๔. Typhoid Fever

๕. Salmonellosis

๖. Shigellosis

๗. Cholera

๘. Diseases associated with Escherichia coli

9. Camphylobacteriosis and Helicobacteriosis

๕.๒.๑ โรคโบตูลิสม(Botulism)

เป็นโรคอาหารเป็นพิษที่เกิดจากเชี้อ Clostridium botulinum ซึ่งเป็นเชี้อทรงแท่งติดสีกรัมลบ เพาะเชื้อขึ้นแม้ในที่ไม่มีอาการศ(Strictly anareobic) สามารถพบเชี้อนี้ได้ทั่วๆไปตามพื้นดิน นอกเหนือจาก Clostridium botulinum ที่ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ เชื้อในกลุ่ม Clostridium ที่ทำให้เกิดโรคในคนได้แก่ Clostridium perfringen ที่ทำให้เกิดแผลอักเสบติดเชี้อชนิดลุกลามและ Clostridium tetani ที่ทำให้เกิดโรคบาดทะยัก

โรคนี้เกิดจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษที่บักเตรีสร้างขึ้นที่เรียกว่า Botulnum tosin สารพิษนี้จะมีพิษต่อระบบประสาทของคน มีคุณสมบัติทนความร้อนสูง เมื่อได้รับสารพิษเข้าไปพิษจะไปออกฤทธิ์ที่ปลายประสาทของระบบกล้ามเนื้อ ทำให้กเดอาการอัมพาตได้อย่างรวดเร็ว และผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ในระยะเวลาสั้นๆ จากภาวะการหายใจล้มเหลวและหัวใจล้มเหลว นอกจากนี้ สารพิษBotulinum สามารถติดต่อผ่านทางบาดแผลและจากสัตว์มาคนได้ด้วย

๕.๒.๒ โรคอาหารเป็นพิษจากเชื้อ Staphylococcus

สาเหตุของโรคเกิดจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษที่เรียกว่า Staphylococcal enterotoxin ที่สร้างโดย Staphylococcus aureus ซึ่งเป็นเชื้อบักเตรีติดสีกรัมบวกอยู่กันเป็นกลุ่มๆ โดยปกติเชี้อเหล่านี้มักพบตามผิวหนังคนทั่วไป ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องรุนแรง คลื่นไส้อาเจียน อุจจาระร่วง เนื่องจากเป็นสารพิษที่มีคุณสมบัติทนความร้อนสูงแม้จะทำให้สุกถ้าอาหารปนเปื้อนสารพิษนี้ก็ยังทำให้เกิดโรคได้

๕.๒.๓โรคอาหารเป็นพิษจากเชื้อคลอสทริเดียม(Clostridial Food Poisoning)

เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ได้แก่เชื้อ Closttidium perfringens การเกิดพิษเกิดจากสารพิษที่เชื้อบัคเตรีสร้างขึ้นคล้ายกับอาหารเป็นพิษจากเชื้อ Staphylococcus แต่สารพิษที่เกิดจากเชื้อนี้สามารถถูกทำลายด้วยความร้อน

๕.๒.๔ไข้รากสากน้อย(Typhoid Fever)

เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคได้แกเชื้อ Salmonella typhi เป็นเชื้อบัคเตรีกรัมลบทรงแท่ง สามารถเพาะเชื้อได้ในที่ที่ไม่มีอากาค เชี้อกลุ่มนี้หลายสายพันธุ์พบเป็นเชี้อปกติในลำไส้ของคน การติดต่อของโรคติดต่อโดยการกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค ที่ติดมากับอุจจาระโดยแมลงวัน เนื่องจากมีผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่เป็นพาหะของโรคโดยไม่มีอาการ

หลังจากได้รับเชื้อเข้าไปเชี้อจะผ่านเยื่อบุลำไส้เล็ก ทำให้เกิดเป็นแผล ในระยะแรกผู้ป่วยจะมีอาการท้องเสียเล็กน้อยและอาจมีอุจจาระปนเลือดได้ หลังจากนั้นเชื้อจะแพร่กระจายเข้าสู่กระแสโลหิต ทำให้เกิดอาการไข้ และซึมลง มีรอยโรคที่ผิวหนังเป็นผื่นที่มีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่า rose-coloured spots ตามร่างกาย ในผู้ป่วยบางคนจะทำให้เกิดลำไส้ทะลุได้ หลังจากนั้นเชี้อมักจะหลบเข้าไปอยู่ในถุงน้ำดี

๕.๒.๕ การติดเชื้อ Salmonella Salmonellosis)

หมายถึงการติดเชื้อทางเดินอาหารจากเชี้อกลุ่ม Salmonella สายพันธุ์อื่นที่ไม่ใช่ Salmonella typi เช่น Salmonella enteritidis, Salmonella gallinarum, Salmonella typhimurum โรคนี้ติดต่อได้ด้วยการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม อาการป่วยจะเป็นอาการของกระเพาะและลำไส้อักเสบ(Gastroenteritis) ได้แก่ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียนและอุจจาระร่วง

๕.๒.๖ โรคบิด (Shigellosis)

บิดเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชี้อบัคเตรีกลุ่ม Shigella ได้แก่ Shigella sonnei, Shigella dysenteriae, Shigella flexeri, Shigella boydii เป็นเชี้อในกลุ่ม Enterobacteriaceae ซึ่งเป็นเชี้อที่พบได้ในลำไส้ เป็นเชื้อทรงแท่งติดสีกรัมลบ เพาะเชื้อได้ในที่ที่ไม่มีอากาศ ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งเป็นพาหะของโรคโดยที่ไม่มีอาการได้ ติดต่อได้โดยการรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชี้อที่ออกมากับอุจจาระ

อาการของโรคระยะแรกจะมีอาการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ ต่อมาจะมีอาการถ่ายอุจจาระเป็นมูกปนเลือด(Dysentery)

๕.๒.๗ โรคอหิวาตกโรค(Cholerae)

สาเหตุของโรคได้แก่ เชื้อ Vibrio cholerae เป็นเชี้อรูปร่างคล้ายลูกน้ำติดสีกรัมลบ เชื้อนี้พบได้เป็นปกติในสัตว์หลายชนิด สามารถเพาะเชื้อได้ในที่ที่ไม่มีอากาศ นอกจากเชื้อ Vibrio cholerae ยังมีเชี้อที่ทำให้เกิดอาการคล้ายคลึงกันได้แก่เชี้อ Vibrio parahaemolyticusโรคนี้ติดต่อได้โดยการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อเช่น อาหารทะเล แมลงบางชนิด และอหารที่อยู่ใกล้บริเวณที่มีการเลี้ยงสัตว์จำนวนมาก อาการของโรคเกิดจากสารพิษที่เชี้อสร้างขึ้น(Enterotoxin) สารพิษนี้จะเข้าไปยับยั้งการดูดซึมน้ำที่ลำไส้ใหญ่ ทำให้เกิดการถ่ายเป็นน้ำจำนวนมากและมีลักษณะเฉพาะคือเป็นสีน้ำซาวข้าว ผู้ป่วยที่เสียชีวิตจะเกิดจากการเสียน้ำอย่างรุนแรง ปัจจุบันเชื้อมักจะดื้อยา

๕.๒.๘ การติดเชี้อ E.coli

สาเหตุของเชี้อได้แก่ Eschetichia coli ซึ่งเป็นเชื้อในกลุ่ม Enterovacteriaceae ซึ่งเป็นเชี้อย้อมติดสีกรัมลบทรงแท่ง สามารถเพาะเชื้อได้ในที่ที่ไม่มีอากาศ ส่วนใหญ่พบเป็นเชี้อปกติในลำไส้ใหญ่ จำนวนของเชี้อกลุ่มนี้จะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าอาหารหรือน้ำนั้นปนเปื้อนหรือไม่

การติดต่อของโรคสามารถติดต่อโดยการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป โดยทั่วไปถ้าคนที่มีภูมิต้านทานต่อโรคแล้วมักจะไม่เกิดโรคเนื่องจากเชี้อเหล่านี้พบได้ในลำไส้คนปกติ แต่มักจะทำให้เกิดโรคในคนที่ไม่มีภูมิต้านทางเช่นในทารก และในนักท่องเที่ยวที่มาจากต่างถิ่น เชี้อกลุ่มนี้ที่มีความรุนแรงได้แก่เชี้อ E. coli สายพันธุ์ O๑๕๗:H๗ ที่พบได้น้อยมากแต่มีความรุนแรงที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตจากการเกิดเลือดออกในลำไส้(Hemorragic E.coli disease และทำให้เกิดอันตรายต่อไตในเด็ก

๕.๒.๙ โรคติดเชี้อ Camphylobacteriosis แลน Helicobacteriosis

Camphylobacteriosis เป็นโรคติดเชื้อทางเดินอาหารแบบที่มีอาการไม่รุนแรงมากนักจากเชี้อ Camphylobacter jejuni ที่ปกติจะเป็นเชื้อปกติในลำไส้ของคน เชี้อนี้มีลักษษะเป็นเชี้อขดเป็นเกลียว ติดสีกรัมลบ มักทำให้เกิดโรคในคนที่ภูมิต้านทานไม่แข็งแรง

Helicobacteriosis เป็นโรคติดเชี้อในกระเพาะอาหารและลำไส้ที่ทำให้เกิดโรคแผลในการะเพาะอาหาร ลักษณะเป็นเชี้อติดสีกรัมลบรูปร่างเกลียว สามารถเจริญเติบโตได้ใต้เยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ทำให้เกิดการดื้อต่อการรักษาโรคกระเพาะอาหาร

๕.๓ โรคติดเชี้อบัคเตรีที่ติดต่อจากดิน(Soilborne Bacterial Disease)

โรคติดเชี้อในกลุ่มนี้ได้แก่

๕.๓.๑ Anthrax

๕.๓.๒ Tetanus

๕.๓.๓ Gas Gangrene

๕.๓.๔ Leptospirosis

๕.๓.๕ Listeriosis

๕.๓.๑ โรคแอนแทรกซ์(Anthrax)

โรคแอนแทรกซ์ เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชี้อ Bacillus anthracis ซึ่งเป็นเชี้อติดสีกรัมบวกทรงแท่ง สามารถสร้างสปอร์ได้ พบได้ทั่วไปตามพื้นดินสามารถทำให้เกิดโรคได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดเช่น วัว ควาย เป็นต้น การติดติดต่อของโรค จะติดต่อได้ด้วยการสัมผัสโดยตรงกับพื้นดินที่มีเชื้อ การติดต่อจากสัตว์ โดยเชื้อจะผ่านเข้าทางผิวหนังที่เป็นแผลหรือรอยถลอก อย่างไรก็ตามเชี้อนี้สามารถเข้าทางร่างกายได้โดยการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสปอร์เชี้อหรือโดยการหายใจเอาสปอร์ที่เชี้อสร้างขึ้นได้โดยตรง อาการของยโรคขึ้นอยู่กับทางเข้าของเชี้อทำให้เกิดโรคได้ ที่ผิวหนัง(skin anthrax) ที่ทางเดินอาหาร(Intestinal anthrax) และทางเดินหายใจ(Pulmonary anthraxหรีญ Woolsorter’s disease)

๕.๓.๒ โรคบาดทะยัก(Tetanus)

โรคบาดทะยักเกิดจากการติดเชื้อ Clostridium tetani ซึ่งเป็นเชี้อในกลุ่มเดียวกับโรคโบตูลิสมแต่คนละสายพันธุ์ เชื้อบาดทะยักพบได้ทั่วไปตามพื้นดินและตามต้นพืช ติดต่อได้โดยทางบาดแผลที่มีความลึกหรือบาดแผลที่โดยทิ่มแทงโดยของแหลม เนื่องจากเชี้อสามารถเจริญเติบโตได้โดยไม่ต้องอาศัยอากาศ อาการของโรคเกิดจากเชี้อสร้างสารพิษที่เรียกว่า Tetanospasmin ที่มีพิษต่อระบบประสาท ทำหน้าที่คล้ายเอ็นซัยม์ต้านสารโคลีนเอสเตอเรส(cholineesterase inhibitor) ทำให้ระบบประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อทำงานมากกว่าปกติเกิดการกระตุกเกร็งและเกิดอัมพาตแบบแข็งเกร็ง(rigid paralysis) การรักษาโรคนี้ทำได้ด้วยการช่วยหายใจ ระงับอาการชักเกร็ง สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน

๕.๓.๓ โรคแผลอักเสบชนิด(Gas gangrene)

เชื้อที่ทำให้เกิดโรคได้แก่ Clostridium perfringens เชื้อเข้าสู่ร่างกายทางแผลถูกแทงหรือตำที่มีความลึก และทำให้เกิดการเน่าตายของเนื้อเยื่อรอบแผลเนื่องจากเชี้อจะทำให้ออกซิเจนมาเลี้ยงเนื้อเยื่อรอบแาลลดลง แผลจะบวมมากกว่าปกติเนื่องจากมีการสร้างแก๊สในแผลด้วย เนื้อเยื่อรอบแผลจะเปลี่ยนเป็นสีดำเนื่องจากเนื้อตาย

๕.๓.๔ โรคเลปโตสไปโรสีส(Leptospirosis)

เชื้อที่ทำให้เกิดโรคแก่เชี้อ Leptospira interrogans เป็นเชื้อเกลียวสว่านพบได้ในดินและน้ำที่ปนเปื้อะสิ่งขับถ่ายของสัตว์เช่นปัสสาวะหนู เชี้อเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังเช่นเท้าที่เปียกชี้นจากการย่ำน้ำ จากนั้นเชี้อจะกระจายไปสู่อวัยวะต่างๆ เช่น ตับ ไต และเยื่อหุ้มสมอง ผู้ป่วยมักเกิดอาการดีซ่าน อาจมีอาเจียนเป็นเลือด

๕.๓.๕ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชี้อ Listeria monocytogenes

เชี้อที่เป็นต้นเหตุได้แก่เชี้อ Listeria monocytogenes เป็นเชี้อกรัมบวกทรงแท่ง ไม่สร้างสปอร

พบได้ตามดินที่ปนเปื้อนสิ่งขับถ่ายจากสัตว์ เชี้อโรคเข้าทางร่างกายทางผิวหนังที่สัมผัสกับดินที่เปื้อนเชื้อ อย่างไรก็ตามเชื้อนี้สามารถติดต่อทางอาหารได้ ผู้ป่วยจะมีอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

๕.๔ โรคติดเชื้อบัคเตรีที่นำโดยแมลง

โรคติดเชี้อที่นำโดยแมลงที่พบได้บ่อยได้แก่

๑. Plague

๒. Lyme Disease

๓. Rocky Mt. Spotted Fever

๔. Epidemic Typhus

5. Endemic Typhus

๕.๔.๑ โรคกาฬโรค(Plague)

กาฬโรคเกิดจากเชื้อ Yirsinia pestis เป็นเชี้อบัคเตรีติดสีกรัมลบ เห็นเป็นสองขั้วคล้ายเข็มกลัด เพาะเชื้อได้โดยไม่ต้องอาศัยอากาศ แม้จะอยู่ในกลุ่ม Enterobactereceae แต่เชี้อนี้จะไม่พบเป็นเชื้อปกติในลำไส้คน พาหะของโรคนี้ได้แก่หมัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมัดหนู การเกิดโรคเกิดได้ตั้งแต่อาการเฉพาะที่ที่ต่อมน้ำเหลืองทำให้ต่อมน้ำเหลืองบวม(Bulbonic plague)เกิดอาการคล้ายฝีมะม่วง บางรายมีการติดเชี้อในกระแสโลหิต(Septicemic plague) หรืออาการติดเชี้อในปอด(Pneumonic plague)

๕.๔.๒ โรค Lyme disease

โรคนี้ยังไม่พบในประเทศไทย เกิดจากเชี้อ Borrelia burgdorferi ซึ่งเป็นเชี้อที่มีลักษณะเป็นเกลียวสว่าน ติดต่อโดยเห็บบนตัวกวางในสกุล Lxides สามารถแพร่เชี้อได้ทั้งเห็บตัวเต็มวัยและตัวอ่อนพบครั้งแรกที่อเมริกาเหนือ ระยะฟักเชี้อจะนานหลายสัปดาห์หลังจากโดนเห็บกัด อาการแรกเริ่มจะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ มีผื่นตามตัว หลายสัปดาห์หรือหลายเดือนต่อมาจะมีอาการปวดบวมตามข้อ อาการข้ออักเสบ และมีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจและระบบประสาท

๕.๔.๓ โรค Rocky Mt. Spotted Fever

โรคนี้ยังไม่พบในประเทศไทยเช่นกัน เกิดจากเชี้อ Rickettsia rickettsii ซึ่งเป็นเชี้อกรัมลบขนาดเล็ก พาหะนำโรคได้แก่หมัด ผู้ป่วยจะมีไข้สูงคล้ายไข้หวัดใหญ่ ตรวจพบผื่นที่ฝ่ามือผ่าเท้าก่อนแล้วกระจายไปทั่วตัว การตรวจตรวจได้โดยปฏิกิริยาน้ำเหลืองที่เรียกว่า Weil-Fellix test

๕.๔.๔ โรค Epidemic Typhus

สาเหตุของโรคได้แก่เชี้อ Rickettsia prowasekii ติดต่อโดยหมัดที่อาศัยอยู่ในตัวคน พบการระบาดในบริเวณที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง มีผื่นขึ้นตามตัว และเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว

๕.๔.๕ โรค Endemic Typhus

โรคนี้เกิดจากเชื้อ Rickettsia typhi ติดต่อโดยหมัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมัดหนู พบได้ทั่วไปในบริเวณต่างๆ ผู้ป่วยจะมีอาการเล็กน้อยหรือไม่มีอาการ

๕.๕ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคในกลุ่มนี้ได้แก่

๑. โรคซิฟิลิส(Syphilis)

๒. โรคหนอใน(Gonorrhea)

๓. โรคติดเชี้อChlamydia

4. โรคแผลริมอ่อน(Chanchroid)

๕.๕.๑ โรคซิฟิสิส(Syphilis)

โรคซิฟิสิส เกิดจากเชี้อ Treponema pallidum เป็นเชี้อรูปเกลียวสว่านยังไม่สามารถเพาะได้ในห้องทดลอง การตรวจเชื้อใช้การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์หรือการตรวจทางปฏิกิริยาน้ำเหลืองเท่านั้นโรคซิฟิลิสติดต่อได้ทั้งจากทางเพศสัมพันธ์และการติดเชี้อตั้งแต่กำเนิดโดยผ่านทางรก อาการของโรคrบ่งออกเป็นสามระยะได้แก่ Primary Syphilis ผู้ป่วยมีอาการตั้งแต่สองถึงสามวันแรกหลังจากได้รับเชี้อเกิดอาการที่อวัยวะเพศเป็นแผลที่มีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่าแผลริมแข็ง(Hard chancre) ถ้าผู้ป่วยยังไม่ได้รับการรักษาจะเข้าสู่ระยะที่สองที่เรียกว่า Secondary Syphilis กว่าจะเข้าสู่ระยะนี้ใช้เวลาหลายสัปดาห์ ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ มีผื่นขึ้นตามตัว หากผู้ป่วยยังไม่ได้รับการรักษาจะเข้าสู่ระยะที่สามที่เรียกว่า Tertiary Syphilis ซึ่งกว่าจะเข้าสู่ระยะนี้อาจใช้เวลาหลายเดือนจะถึงหลายปี ผู้ป่วยจะมีรอยโรคปรากฎอยู่ตามตัวและตามเยื่อบุที่เรียกว่า Gummae เชี้อจะเข้าสู่อวัยวะภายในทำให้เกิดการทำลายของอวัยวะภายในหลายอวัยวะรวมทั้งระบบหลอดเลือดและหัวใจรวมทั้งระบบประสาทส่วนกลาง

๕.๕.๒ โรคหนองใน(Gonorrhea)

โรคหนองในเกิดจากการติดเชี้อบัคเตรี NeiserriaaGonorrhoeae โรคนี้ติดต่อได้ทั้งจาการมีเพศสัมพันธ์และการติดต่อจากมารดาสู่ทารกโดยผ่านทางรก ผู้ป่วยจะมีอาการทางระบบสืบพันธุ์ มีอาการของท่อปัสสาวะอักเสบ ปัสสาวะขัดปวดแสบร้อนเวลาปัสสาวะ และมีหนองไหลออกจากท่อปัสสวาะ เชี้ออาจลุกลามทำให้เกิดอาการของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เกิดการติดเชี้อที่ไตได้ ในผู้ชายอาจมีอาการของต่อมลูกหมากอักเสบ และอัณฑะอักเสบ ในผู้หญิงอาจลุกลามจนเป็นการติดเชี้อของมดลูก ท่อนำไข่ และการติดเชี้อในอุ้งเชิงการ และทำให้เป็นหมันได้ถ้าไม่ได้รับการรักษา โรคหนองในสามารถทำให้เกิดการติดเชี้อในอวัยวะอื่นๆได้อีกเช่น ที่เยื่อบุตา และทางเดินหายใจ เป็นต้น

๕.๕.๓ โรคติดเชี้อ Chlamydia

เป็นโรคติดเชี้อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชี้อ Chlamydia trachomatis เป็นเชี้อบัคเตรีที่มีขนาดเล็กมาก ผู้ป่วยหญิงส่วนใหญ่จะไม่มีอาการนอกจากจะพบเวลาตรวจร่างกายเช่นการตรวจภายใน อาการโดยทั่วไปคล้ายโรคหนองใน การตรวจยืนยันผลใช้วิธีการทางปฏิกิริยาทางน้ำเหลือง

๕.๕.๔ โรคแผลริมอ่อน(Chancroid)

โรคแผลริมอ่อนเกิดจากาการติดเชื้อ Haemophilus ducreyii หลังจากการติดเชี้อผู้ป่วยจะเกิดแผลที่มีอาการเจ็บปวดค่อนข้างมากและมีลักษณะขอบแผลนุ่มมีการติดเชี้อบัคเตรีอื่นแทรกซ้อน ลักษณะแผลเรียกว่า Soft Chancre ผู้ป่วยจะมีอาการของทางเดินปัสสาวะอักเสบร่วมด้วย ในผู้หญิงอาจมีอาการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน

๕.๖ โรคติดเชี้อบัคเตรีอื่นๆ

โรคในกลุ่มนี้เช่น

๑. โรคเรื้อน(Leprosy)

๒. โรคติดเชี้อ Staphylococcus

3. โรคติดเชี้อ Pseudomonas aeruginosa

๕.๖.๑ โรคเรี้อน

โรคเรื้อนเกิดจากการติดเชี้อ Mycobacterium leprae โรคเรื้อนเป็นโรคติดเชี้อได้ทั้งการไอจามและการสัมผัสทางผิวหนังกับผู้ติดเชี้อ แต่การติดต่อไม่ง่าย ผู้ป่วยจะมีผื่นขึ้นตามผิวหนังมักจะเป็นผื่นสีขาว ผู้ป่วยจะมีอาการชาเนื่องจากเส้นประสาตรับความรู้สึกจะมีการติดเชี้อและถูกทำลายด้วย ในระยะยาวผู้ป่วยจะมีความผิดปกติของโครงร่างได้เนื่องจากมีการทำลายของกระดูกและกระดูกอ่อนด้วย

๕.๖.๒ โรคติดเชี้อ Staphylococcus

เชี้อที่เป็นสาเหตุได้แก่เชี้อ Staphylococcus aureus ตัวเดียวกับเชื้อที่ทำให้เกิดอาหารเป็นพิษ แต่จะทำให้เกิดรอยโรคที่ผิวหนัง เช่น สิว(acne) ฝี(abscess) โรคแผลพุพองเล็กน้อย(Impetigo) จนถึงโรคผิวหนังพุพองชนิดลุกลาม(Scalded Skin Syndrome) ในบางรายมีอาการรุนแรงทำให้เกิดการช็อคได้เรียกว่า Toxic Shock Syndrome) ผู้ป่วยจะมีอาการติดเชี้อในกระแสโลหิต ไข้สูง

๕..๓.๓ โรคติดเชื้อ Pseudomonas aeruginosa

การติดเชี้อโรคชนิดนี้มักเป็นการติดเชี้อประเภทฉวยโอกาสและมักเกิดขึ้นระหว่างผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล(nosocomial Infection) การติดเชื้อเกิดได้ทั้งที่ระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินปัสสาวะ และการติดเชื้อที่แผลผู้ป่วย เช่นแผลไฟไหม้ เป็นต้น

๖. โรคติดเชื้อไวรัส(Viral Disease)

โรคติดเชื้อไวรัสที่พบว่าเป็นปัญหาบ่อยๆได้แก่

1. โรคไข้หวัดใหญ่(Influenza)

2. โรคติดเชี้อไวรัสกลุ่ม Herpes

3. โรคไวรัสตับอักเสบ(Viral Hepatitis)

4. โรคติดเชี้อไวรัสเอดส์(Human Immunodeficiency Virus)

5. โรคติดเชื้อไวรัสกลุ่มอื่นๆ (Miscellaneous Viral Disease)

๖.๑ โรคไข้หวัดใหญ่(Influenza)

เชี้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นเชื้อในกลุ่ม Orthomyxovirus ซึ่งเป็น RNA virus เยื่อหุ้มเซลล์ประกอบด้วยโปรตีนสองอย่างได้แก่ Hemagglutinin และ Neutaminindase ซึ่งมีคุณสมบัติเป็น antigen การเปลี่ยนแปลงของของโปรตีนจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของคุณสมบัติของเชื้อ ที่ทำให้ต้องมีการพัฒนาวัคซีนชนิดใหม่ขึ้นเรื่อยๆ

อาการของไข้หวัดใหญ่จะเป็นอาการของการติดเชื้อทางเดินหายใจ มีไข้สูง บางครั้งมีภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทเช่น โรค Guillain-Barre Syndrome และ Reye’s Syndrome

๖.๒ โรคติดเชี้อไวรัสกลุ่ม Herpes

เชื้อไวรัสในกลุ่มนี้เป็นเชื้อประเภท DNA virus เชี้อสามารถแบ่งตัวภายในนิวเคลียสของเซลล์ผู้ป่วยได้และทำให้เซลล์มีการติดเชื้อแบบถาวร เชี้อกลุ่มนี้มีความสัมพันธ์กับมะเร็งบางชนิด โรคติดเชื้อในกลุ่มนี้ได้แก่

๖.๒.๑ โรคเริม(Herpes Simplex)

โรคเริมแบ่งได้ออกเป็น ๒ ประเภทได้แก่ โรคเริมที่ปาก(Type I: Oral Herpes) และเชี้อเริมที่อวัยวะเพศ(Type II: Genital Herpes) อาการของโรคจะมีรอยโรคเป็นแบบตุ่มน้ำใส(Vesicle) ที่ผิวหนังที่เชื้อเข้า จากนั้นเชี้อไวรัสจะเดินทางไปตามเส้นประสาทรับความรู้สึง(Sensory nerve) เข้าไปอยู่ในปมประสาท(Ganglia) โดยเชี้อจะอยู่แบบถาวรที่ปมประสาท เมื่อใดที่ร่างกายอ่อนแอทำให้ควาวมต้านทานลดลงเชื้อจะออกมาจากปมประสาทและกลับมาทำให้ผิวหนังบริเวณเดิมเกิดรอยโรคได้อีกครั้ง ไวรัสชนิดนี้อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้แก่ การติดเชี้อในสมอง(Herpes encephalitis) การติดเชื้อในทารกระหว่างคลอด(Congenital herpes) และทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก(Cervical cancer) ปัจจุบันมียารักษาได้แก่ Acyclovir

๖.๒.๒ โรคอีสุกอีใส(Chicken pox)

โรคอีสุกอีใสเป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิด Varicella zoster ผู้ป่วยจะมีไข้และมีรอยโรคเป็นตุ่มน้ำพองใสกระจายทั่วตัว มีไข้ โรคนี้ปัจจุบันสามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

๖.๒.๓ โรคติดเชื้อ Infectious mononucleosis

เชื้อที่เป็นสาเหตุได้แก่เชื้อ ๆ Ebstein-Barr virus ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเป็นเวลานาน อ่อนเพลีย และมีต่อมน้ำเหลืองทั่วตัวโต บางครั้งทำให้เกิดอาการติดเชื้อแบบไม่สามารถหาสาเหตุได้ และมีความเกี่ยวพันกับโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่เรียกว่า Burkitt’s Lymphoma การตรวจทางน้ำเหลืองเพื่อวินิจฉัยโรคได้แก่การตรวจ Heterophile antibody test และ Monospot test

๖.๒.๔ โรคติดเชื้อไวรัส Cytomegalovirus

เชื้อที่เป็นสาเหตุได้แก่ Cytomegalovirus ในคนที่มีสุขภาพแข็งแรงการติดเชื้อไวรัสทำให้เกิดอการเพียงเล็กน้อย แต่ในคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องเช่นจากเชี้อไวรัสเอดส์ จะทำให้เกิดอาการรุนแรง เช่นทำให้ตาบอด หรือทำให้หญิงตั้งครรภ์แท้งได้

๖.๓ โรคตับอักเสบจากไวรัส(Viral Hepatitis)

๖.๓.๑ โรคตับอักเสบจากไวรัสเอ (Hepatitis A) โรคนี้มีซื่อเรียกว่า Infectious hepatitis และ Short-incubation hepatitis เนื่องจากเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายและมีระยะฟักตัวค่อนข้างสั้นผู้ป่วยจะมีอาการได้อย่างรวดเร็วหลังจากได้รับเชื้อ เชื้อไวรัสกลุ่มนี้เป็นเชี้อกลุ่ม Picornavirus เป็น RNA virus ขนาดเล็กที่ไม่มีเปลือก โรคนี้ติดต่อโดยการที่ไวรัสจะออกมากับอุจจาระของผู้ติดเชื้อ ดังนั้นการติดเชื้อได้แก่การรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนอุจจาระที่มีเชี้อ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าโรคนี้สามารถติดต่อได้ทางน้ำลาย การร่วมเพศหรืออาจนำโดยแมลงได้

ระยะเวลาฟักเชี้อประมาณ ๒-๔ สัปดาห์ ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง อาการดีซ่านอาจพบได้แต่ไม่พบในผู้ป่วยทุกคน ระยะเวลาของโรคอาจกินเวลาหลายสัปดาห์ การรักษาได้แก่การพักผ่อนอย่างเต็มที่ การให้ Hepatitis A Immune Globulin สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

๖.๓.๒ โรคตับอักเสบจากไวรัสบี

โรคตับอักเสบชนิดนี้มีชื่อเรียกอย่างอื่นว่า Serum hepatitis หรือ ling incubation hepatitis เนื่องจากในระยะแรกที่พบโรคนี้พบว่าโรคนี้ติดต่อได้โดยทางน้ำเหลืองหรือการให้เลือด และกว่าผู้ที่ได้รับเชื้อจะมีอาการต้องใช้เวลาในการฟักเชื้อค่อนข้างนาน เชื้อก่อโรคเป็นเชื้อไวรัสในกลุ่ม Hepadnavirus family ซึ่งมีคุณสมบัติเป็น DNA virus ล้อมรอบด้วยแอนติเจนแกนกลางที่เรียกว่า Hepatitis B core antigen หรือ HBc Ag แกนกลาง(core)จะถูกล้อมรอบด้วยเปลือกหุ้มที่เป็นlipoprotein เรียกว่า Hepatitis B surface antigen หรือ Hepatitis sAg เชี้อไวรัสชนิดนี้บางครั้งถูกเรียกว่า Dane particle ซึ่งสามารถตรวจพบได้จำนวนมากในเลือดของผู้ติดเชื้อและสามารถตรวจพบได้โดยปฏิกิริยาน้ำเหลือง

การติดต่อของโรคเกิดจากการสัมผัสสารน้ำของผู้ป่วยหรือผู้ที่เป็นพาหะของโรค ได้แก่ เลือด ผลิตภัณฑ์จากเลือด น้ำอสุจิ น้ำคัดหลั่งจากช่องคลอด น้ำลาย และน้ำปัสสาะ ระยะฟักตัวของเชื้อประมาณสี่สัปดาห์ถึงหกเดือน ผู้ป่วยจะมีอาการไข้คล้ายไข้หวัด มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนค่อนข้างมาก ต่อมาจะมีอาการปวดท้อง ปัสสาวะสีเข้มขึ้น อุจจาระจะสีจางลง และจะมีอาการดีซ่านตามมา ระยะเวลาของโรคประมาณ ๓-๔ เดือน ในผู้ป่วยที่มีสุขภาพแข็งแรงร่างกายจะสามารถกำจัดเชื้อได้หมด แต่มีผู้ป่วยประมาณร้อยละ ๑๐ ที่จะมีเชื้ออยู่ในกระแสโลหิตและเป็นพาหะนำโรคได้ โรคนี้มีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคมะเร็งตับ

การรักษาและการป้องกันโรค เนื่องจากเป็นการติดเชื้อไวรัสการรักษาทั่วไปเป็นการรักษาตามอาการ และให้ผู้ป่วยพักผ่อนมากๆ ในบางรายที่มีอาการมากจะใช้ Hepatitis B Immune Globulin เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกำจัดเชื้อได้เร็วขึ้น โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

๖.๓.๓ โรคตับอักเสบชนิด Non-A non-B(NANB)

ในกลุ่มนี้แบ่งออกได้หลายชนิดตามเชื้อได้แก่

๖.๓.๓.๑ โรคตับอักเสบชนิด C (Hepatitis C) โรคนี้เป็นโรคตับอักเสบชนิด Non-A non-B(NANB) ที่ติดต่อทางน้ำเหลืองจึงถูกเรียกว่า NANB serum heptitis เชื้อที่เป็นต้นเหตุเป็นเชื้อชนิดที่มีแคลซูลในกลุ่ม Flavivirus family การติดต่อและอาการของโรคเหมือนกับโรคตับอักเสบจากไวรัสบี

๖.๓.๓.๒ โรคตับอักเสบชนิด D (Delta Hepatitis) สาเหตุของโรคเกิดจาก RNA virus ชนิดหนึ่งที่ตัวเองไม่มีความสมบูรณ์เพียงพอที่จะทำให้เกิดโรค ต้องอาศัยการติดเชื้อร่วมกับไวรัสตับอักเสบชนิดบี โดยอาศัย DNA จากไวรัสบีมาช่วยในการแบ่งตัวของเชื้อ โรคนี้จะเกิดร่วมกับการติดเชื้อตับอักเสบไวรัสบีเสมอ

๖.๓.๓.๓ โรคตับอักเสบชนิด E (Hepatitis E) หรือเรียกชื่อว่า NANB infectious hepatitis ลักษณะของการติดต่อและอาการจะคล้ายกับการติดเชื้อตับอักเสบจากไวรัสเอ สาเหตุของเชื้อเกิดจาก RNA virus ขนาดเล็กในกลุ่ม Calcivirus family

๖.๔ โรคเอดส์(Human Immunodeficiency Virus Infection หรือ Acquired Immuno-Deficiency Disease)

โรคเอดส์เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอช-ไอ-วี (HIV หรือ Human Immunodeficiency Virus) ซึ่งให้เม็ดเลือดขาวในร่างกายทำงานไม่ดีหรือถูกทำลายไปในที่สุด ทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายอ่อนแอลง เกิดโรคติดเชื้อแทรกซ้อนต่างๆ ได้ง่าย ทำให้สุขภาพทรุดโทรมลงไปเรื่อยๆจนเสียชีวิตในที่สุด

โรคเอดส์มีการรายงานเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ. ๒๕๒๔ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ในชายรักร่วมเพศ(เกย์) และคนที่ฉีดยาเสพติดป่วยเป็นโรคติดเชื้อซึ่งโดยปกติแล้วจะพบในคนที่ภูมิต้านทานไม่ดีเช่น คนแก่ คนที่เป็นมะเร็ง หรือคนไข้ที่ได้รับยากดภูมิต้านทานจึงเรียกโรคที่พบใหม่นี้ว่าโรคภูมิต้านทานบกพร่อง หรือโรคเอดส์ (AIDS ย่อมากจากคำว่า Acquired= เกิดขึ้นภายหลัง ไม่ใช่เป็นแต่กำเนิด, Immune= ภูมิคุ้มกัน, Deficiency= บกพร่องหรือเสียไป, Syndrome= กลุ่ม อาการหรือมีอาการได้หลาย ๆ อย่าง) ในปีพ.ศ. ๒๕๒๖ ศาสตราจารย์โรเบิร์ต กาลโล (Robert Gallo) จากสหรัฐอเมริกา และศาสตราจารย์ลุค มอนทาเนียร์ (Luc Montagnier) จากฝรั่งเศสก็สามารถแยกเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ได้ เรียกชื่อไวรัสนี้ว่า เอช-ไอ-วี HIV=Human Immunodeficiency Virus หรือไวรัสที่ทำให้เกิดภาวะภูมิต้านทานบกพร่องในคน)

ปัจจุบันพบว่าเชื้อเอช-ไอ-วี มีมากกว่า ๑๐ สายพันธุ์ กระจัดกระจายอยู่ตามประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกที่พบในประเทศไทยมี ๒ สายพันธุ์ คือสายพันธุ์ B ซึ่งแพร่ระบาดในกลุ่มเกย์ และคนที่ติดยาเสพติด กับสายพันธุ์ E หรือ A/E ซึ่งแพร่ระบาดในคนที่มีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายกับหญิง

โรคเอดส์เริ่มเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ปี๒๕๒๗ โดยในช่วง ๓-๔ ปีแรก แพร่ระบาดส่วนใหญ่ในกลุ่มเกย์ ต่อมาปีพ.ศ. ๒๕๓๑ จึงเริ่มแพร่ระบาดในกลุ่มที่ติดยาเสพติด โดยการฉีดปีถัดมาจึงเริ่มระบาดเข้าไปในกลุ่มหญิงบริการทางเพศ ในปี ๒๕๓๓เริ่มพบว่าชายที่เที่ยวหญิงบริการและเป็นกามโรคมีการติดเชื้อเอดส์เพิ่มสูงขึ้น และตั้งแต่ปี ๒๕๓๔ เป็นต้นมา โรคเอดส์ก็แพร่เข้าไปในสถาบันครอบครัวเต็มรูปแบบ จากสามีแพร่ให้ภรรยา ภรรยาตั้งครรภ์ก็ถ่ายทอดไปสู่ลูก

ไวรัสเอดส์(HIV) มีสายพันธุกรรมหรือยีนส์เป็นอาร์-เอ็น-เอ (RNA) อัดแน่นอยู่ในแกนกลาง ซึ่งจะถูกห่อหุ้มอีกชั้นหนึ่งด้วยเปลือกนอกซึ่งมีปุ่มยื่นออกมาภายนอก เรียกว่า gp๑๒๐ใช้สำหรับเกาะติดกับเซลส์ของร่างกาย ที่มีโปรตีนพิเศษบนเซลล์ ที่เรียกว่า CD๔ เมื่อเกาะแล้วไวรัสเอดส์จึงจะเข้าสู่เซลล์ของร่ายกายได้ โดยถอดเปลือกนอกออก เอาแต่สายพันธุกรรมหรอือาร์-เอ็น-เอ ของไวรัสเข้าไปในเซลล์และทำกการเปลี่ยนสายพันธุกรรมของมันจาก อาร์-เอ็น-เอ ให้กลายเป็น ดี-เอ็น-เอ ทำให้สามารถสอดแทรกเข้าไปในสายพันธุกรรมของเซลล์ร่างกาย ดังนั้นเมื่อเซลล์ของร่างกายแบ่งตัวก็จะมีสายพันธุกรรมชนิดของไวรัสแบ่งตัวตามเข้าไปอยู่ในเซลล์ใหม่ด้วยทำให้ไวรัสเอดส์ถูกกำจัดให้หมดจากร่างกายได้ยากในขณะเดียวกันไวรัสเอดส์ในเซลล์ก็สามารถแบ่งตัวได้ด้วยโดยเปลี่ยนสายพันธุกรรมกลับมาเป็น อาร์-เอ็น-เอ และสร้างโปรตีนมาเป็นเปลือกห่อหุ้มตัวแล้วแตกตัวออกจากเซลล์ที่อาศัยอยู่เดิม ไปบุกรุกเซลล์อื่นต่อไป โดยเซลล์เดิมอาจถูกทำลายหรือตายได้

เซลล์ของร่างกายคนที่สามารถถูกไวรัสเอดส์บุกรุกเข้าไปได้ส่วนใหญ่ จะเป็นเซลล์ที่มี CD๔ อยู่บนผิวเซลล์ ที่สำคัญได้แก่เม็ดโลหิตขาวชนิดลิมโฟซัยท์(Lymphocyte) โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวก ที-ลิม-โฟ-ซัยท์ ซึ่งมีหน้าที่ถูกทำลายไปภูมิต้านทานชนิดอาศัยเซลล์ซึ่งใช้ต่อสู้หรือกำจัดจุลชีพ และกำจัดเซลล์มะเร็งของร่างกายก็จะเสียไป ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสติดเชื้อที่เกิดขึ้นจากจุลชีพจำพวกฉกฉวยโอกาสเหล่านี้ และเป็นมะเร็งบางชนิดได้ง่าย

ไวรัสเอดส์ยังสามารถบุกรุกเข้าไปในเซลล์อื่นๆ เช่น เซลล์สมอง และเซลล์ของ เยื่อบุทางเดินอาหารเป็นต้น ทำให้มีอาการทางสมอง หรือทางเดินอาหารได้ เลือดของผู้ป่วยจึงมีเชื้อเอดส์อยู่มากที่สุด เนื่องจากไวรัสเอดส์พบส่วนใหญ่ในเม็ดโลหิตขาว รองลงมาเป็นน้ำกามของผู้ชาย และน้ำเมือกที่อยู่ในช่องคลอดของผู้หญิง ส่วนน้ำลาย น้ำตา และสิ่งคัดหลั่งอื่นๆ ของผู้ป่วย ก็อาจพบมีไวรัสเอดส์ปะปนอยู่ได้บ้างแต่มีปริมาณน้อยมากๆ ขึ้นอยู่กับปริมาณของเม็ดโลหิตขาวที่ปะปนอยู่ในสิ่งคัดหลั่งหรือในสิ่งขับถ่ายเหล่านี้ ดังนั้นเหงื่อน้ำลาย น้ำตา และปัสสาวะของคนที่ติดเชื้อเอดส์จึงไม่เป็นอันตรายต่อผู้อื่นถ้าไม่มีเลือดปน

อาการของโรคเอดส์ คนที่สัมผัสกับโรคเอดส์ หรือคนที่ได้รับเชื้อเอดส์เข้าไปในร่างกาย ไม่จำเป็นต้องมีการติดเชื้อเอดส์เสมอไป ขึ้นกับจำนวนครั้งที่สัมผัส จำนวนและความดุร้ายของไวรัสเอดส์ที่เข้าสู่ร่างกายและภาวะภูมิต้านทานของร่างกาย ถ้ามีการติดเชื้อ อาการที่เกิดขึ้นมีได้หลายรูปแบบหรือหลายระยะตามการดำเนินของโรค

ระยะที่ ๑ : ระยะที่ไม่มีอาการอะไร ภายใน๒-๓ อาทิตย์แรกหลังจากได้รับเชื้อเอดส์เข้าไป ราวร้อยละ ๑๐ ของผู้ติดเชื้อจะมีอาการคล้ายๆ ไข้หวัด คือมีไข้ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต ผื่นตามตัว แขน ขาชาหรืออ่อนแรง เป็นอยู่ราว ๑๐-๑๔ วันก็จะหายไปเอง ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจไม่สังเกต นึกว่าคงเป็นไข้หวัดธรรมดาราว ๖-๘ สัปดาห์ภายหลังติดเชื้อ ถ้าตรวจเลือดจะเริ่มพบว่ามีเลือดเอดส์บวกได้ และส่วนใหญ่จะตรวจพบว่ามีเลือดเอดส์บวกภายหลัง ๓ เดือนไปแล้ว โดยที่ผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการอะไรเลย แต่ถ้าไปตรวจก็จะพบว่ามีภูมิคุ้นเคยต่อไวรัสเอดส์อยู่ในเลือด บางรายอาจมีต่อมน้ำเหลืองตามตัวโตเป็นระยะเวลานานลักษณะเป็นเม็ดกลมๆ แข็งๆ ขนาด๑-๒ เซนติเมตร อยู่ใต้ผิวหนังบริเวณด้านข้างคอทั้ง ๒ ข้างข้างละหลายเม็ดในแนวเดียวกัน คลำดูแล้วคลายลูกประคำที่คอไม่เจ็บ ไม ่แดง อาจพบได้ที่รักแร้และขาหนีบทั้ง ๒ ข้างต่อมน้ำเหลืองเหล่านี้จะเป็นที่พักของไวรัสเอดส์ ในช่วงแรกเพื่อแบ่งตัว

ระยะที่ ๒ : ระยะที่เริ่มมีอาการหรือระยะที่มีอาการสัมพันธ์กับเอดส์ เป็นระยะที่คนไข้เริ่มมีอาการ แต่อาการนั้นยังไม่มากถึงกับจะเรียกว่าเป็นโรคเอดส์เต็มขั้น อาการในช่วงนี้อาจเป็นไข้เรื้อรัง น้ำ หนักลด หรือท้องเสียงเรื้อรัง โดยไม่ทราบสาเหตุ นอกจากนี้อาจมีเชื้อราในช่องปาก, งูสวัด, เริมในช่องปาก หรืออวัยวะ เพศ ผื่นคันตามแขนขา และลำตัวคล้ายคนแพ้น้ำลายยุง

ระยะที่ ๓ : ระยะโรคเอดส์เต็มขั้น เรียกว่าโรคเอดส์เป็นระยะที่ภูมิต้านทานของร่ายกายเสียไปมากแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการของการติดเชื้อจำพวกเชื้อฉกฉวยโอกาสบ่อย ๆเช่น วัณโรคที่ปอด ต่อมน้ำเหลือง ตับ หรือสมองได้ ปอดบวมจากเชื้อพยาธิที่ชื่อว่านิวโมซิส-ตีส-คารินิไอ เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อ คริปโตคอคคัส และเชื้อฉกฉวยโอกาสอีกหลายชนิด เช่นเชื้อพยาธิที่ทำให้ท้องเสียเรื้อรัง และเชื้อซัยโตเมกกะโลไวรัส (CMV) ที่จอตาทำให้ตาบอด หรือที่ลำไส้ทำให้ปวดท้อง และเป็นมะเร็งบางชนิด เช่น แคโปซี่ ซาร์โคมา(Kaposi's sarcoma) และมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ ๕-๖ ของผู้ที่ติดเชื้อจะก้าวเข้าสู่ระยะเอดส์เต็มขั้นส่วนใหญ่ของคนที่เป็นโรคเอดส์เต็มขั้นแล้ว จะเสียชีวิตภายใน๒-๔ ปี จากโรคติดเชื้อฉกฉวยโอกาส

การตรวจเลือดเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ดูว่าในเลือดมีแอนติบอดีย์หรือภูมิคุ้นเคยที่ทำปฎิกิริยากับไวรัสเอดส์หรือไม่ นอกจากจะใช้เลือดในการทดสอบการติดเชื้อเอดส์แล้วยังสามารถใช้น้ำลายและปัสสาวะได้ด้วย และได้ความแม่นยำเกือบเท่าการใช้เลือดตรวจ วิธีตรวจเลือดเอดส์หรือตรวจน้ำลายที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีความไวและความแม่นยำสูงมาก คือ มีความไวสูงถึง ๙๙.๘-๑๐๐%

การรักษาโรคเอดส์แบ่งได้เป็น ๔ ขั้นตอน

(๑) การรักษาและป้องกันโรคแทรกซ้อนได้แก่โรคติดเชื้อฉกฉวยโอกาสมะเร็ง และอาการอื่นๆ เช่น ไข้ ท้องเสีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด

(๒) การรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์การรักษาที่มุ่งกำจัดไวรัสเอดส์ ในปัจจุบัน ยังไม่มียาที่ได้ผลแน่นอนในการฆ่าทำลายไวรัสเอดส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไวรัสที่หลบอยู่ในเซลล์ เม็ดโลหิตขาว จะมีก็แต่ยาที่ไปหยุดยั้งการแบ่งตัวของไวรัสเอดส์ เช่น ไซโดวูดีน(Zidovudine, หรือ เอ-แซด-ที AZT), ไดดีอ๊อกซีไอโนซีน(dideoxyinosineหรือ ดี-ดี-ไอ ddI), ไดดีอ๊อกซีซัยติดีน(dideoxycytidine หรือ ดี-ดี-ซี,ddc) สตาวูดีน (stavudine หรือ ดี-โฟ-ที d๔T), ลามิวูดีน (lamivudine หรือ ทรี-ที-ซี ๓TC), และ อะ บาคาเวีย(abacavir), เนวิราปีน (nevirapine), เอฟฟาไวเรนส์ (efavirenz) และยาในกลุ่มที่เรียกว่าโปรตีเอส อินฮิบิเตอร(Protease inhibitors) เช่น อินดินาเวีย(indinavir) เนลฟินาเวีย(nelfinavir) และโลปินาเวีย(lopinavir) ยาเหล่านี้สามารถยืดชีวิตคนไข ้เอดส์ออกไปได้ เป็นโรคติดเชื้อแทรกซ้อนน้อยลงน้ำหนักเพิ่มขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถกลับไปทำงานได้และแม้คนไข้ที่ยังไม่มีอาการแต่ระดับภูมิคุ้มกันเริ่มต่ำลงแล้วหรือแม้ระดับภูมิคุ้มกัน (ซีดี-๔) จะยังไม่ต่ำ แต่มีปริมาณไวรัสในเลือดมาก

ยาต้านไวรัสเอดส์สามารถลดการถ่ายทอดเอดส์จากแม่สู่ลูกได้ เช่นถ้าให้ เอ-แซด-ที อย่างเดียวแก่หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอดส์ตั้งแต่ครรภ์ได้๑๔ สัปดาห์ จนถึงเด็กคลอดออกมาและให้ยาแก่เด็กต่ออีก ๖ สัปดาห์ พบว่าสามารถลดการถ่ายทอดเอดส์จากแม่สู่ลูกลงได้ ๒ ใน ๓ คือถ้าไม่ให้ยาอะไรเลย ลูกจะติดเอดส์จากแม่ประมาณร้อย ๒๕ ถ้าแม่และลูกได้ยา เอ-แซด-ที ในกำหนดดังกล่าว พร้อมกับการงดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ลูกจะติดเอดส์จากแม่เพียงร้อยละ ๘

๖.๕ โรคติดเชื้อไวรัสอื่นๆ

โรคติดเชื้อไวรัสอื่นๆสามารถแบ่งได้ตามตำแหน่งที่ไวรัสทำให้เกิดโรค และผู้ป่วยจะมีอาการแสดงเกี่ยวกับการติดเชื้อของอวัยวะต่างๆเหล่านั้นได้แก่

๖.๕.๑ โรคติดเชื้อไวรัสที่แสดงอาการทางระบบทางเดินหายใจ(Pneumotrophic virus) ผู้ป่วยจะแสดงอาการตั้งแต่การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนต้นได้จะถึงอาการของปอดบวม ไวรัสในกลุ่มนี้ได้แก่ Rhinovirus, Adenovirus, และ Respiratory Syncitial Virus

๖.๕.๒ โรคติดเชื้อไวรัสที่แสดงอาการร่วมกับผื่นตามร่างกาย(Dermotrophic Viruses) นอกจากผู้ป่วยจะมีอาการไข้เนื่องจากการติดเชื้อแล้ว ในระยะท้ายของโรคผู้ป่วยจะมีผื่นขึ้นตามร่างกายซึ่งไวรัสแต่ละชนิดจะทำให้เกิดผื่นที่มีลักษณะที่แตกต่างกัน ไวรัสกลุ่มนี้ได้แก่ หัด(Measles, Rubeola) หัดเยอรมัน(Rubella) คางทูม(Mumps) โรคติดเชี้อ Fifth disease และหูด(Papilloma)

๖.๕.๒.๑ โรคหัด

โรคหัด เกิดจากเชื้อ Measle virus ส่วนใหญ่จะมีอาการติดเชื้อในเด็ก (ร้อยละ ๘๐ % พบในเด็กอายุ ๑ - ๔ ปี) ระยะฟักตัว ๑๐ - ๑๒ วัน การติดต่อ เริ่มตั้งแต่วันที่ ๕ ของระยะฟักตัว จนกระทั่งผื่นขึ้นแล้ว ๔ - ๕ วัน เชื้อจะแพร่มากที่สุดขณะไข้ขึ้นก่อนออกผื่น การติดต่อโดยทางหายใจ ไอ จามรดกัน

อาการ หลังจากได้รับเชื้อ ๑๐ วัน จะเริ่มมีไข้ขึ้น ไข้จะมีลักษณะสูง ประมาณวันที่ ๔ ของไข้จะปรากฎผื่นขึ้นโดยจะขึ้นบริเวณหน้าและหลังหูก่อนจึงจะลุกลามมาที่ลำตัว แขน ขา ตามลำดับ (ลำตัวจะปรากฎผื่นมากกว่าแขนขา) ผื่นจะกระจายทั่วตัวภายในเวลาประมาณ ๔๘ - ๗๒ ชม. เมื่อผื่นกระจายถึงเท้าไข้จะลด นอกจากนี้ผู้ป่วยยังมีอาการของหวัด ได้แก่ ตาแดงมาก ไอ น้ำมูกไหล และอาจมีอาการแทรกซ้อนเช่น ปอดบวม สมองอักเสบ หูอักเสบ ไตอักเสบ ท้องเสีย เยื่อบุตาอักเสบ

การรักษา รักษาตามอาการ ได้แก่ ยาลดไข้ ยาแก้ไอ ยาลดน้ำมูก ยาแก้หอบ การป้องกัน ฉีดวัคซีนตั้งแต่เด็ก แยกผู้ป่วยจนถึง ๗ วัน หลังผื่นปรากฎ เพราะการติดเชื้อลักษณะเช่นเดียวกับติดเชื้อหวัด แยกช้อนส้อม แก้วน้ำ จานชาม ตั้งแต่วินิจฉัยจนกระทั่งผื่นขึ้นแล้ว ๕ วัน

๖.๕.๒.๒ โรคหัดเยอรมัน

โรคหัดเยอรมัน เป็นโรคไข้ออกผื่นชนิดหนึ่ง ซึ่งมีอาการไม่รุนแรงในเด็กแต่เป็นโรคที่มีความสำคัญ เพราะถ้าสตรีมีครรภ์เป็นโรคหัดเยอรมันในระยะ ๓-๔ เดือนแรก เชื้อไวรัสจะผ่านไปยังทารกในครรภ์ ทำให้เกิดความพิการทางหู ตา หัวใจ และสมอง สาเหตุ เกิดจากไวรัส Rubella การติดต่อ ติดต่อกันได้โดยการสัมผัสโดยตรง ออกมาทางการไอ จาม เข้าสู่ทางระบบการหายใจ ประมาณร้อยละ ๒๐-๕๐ ของผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการระยะฟักตัว ระหว่าง ๑๔-๒๑ วัน เฉลี่ย ๑๖-๑๘ วัน อาการและอาการแสดง ต่อมน้ำเหลืองที่หลังหู ท้ายทอย และด้านหลังของลำคอโต และเจ็บเล็กน้อย ไม่สบาย ปวดหัว ไข้ต่ำๆ มีอาการคล้ายเป็นหวัด เจ็บคอร่วมด้วย ๑-๕ วัน ประมาณวันที่ ๓ ผื่นจะขึ้นเป็นสีชมพูจางๆ กระจายอยู่ห่างๆ เริ่มขึ้นที่หน้าแล้วลามไปทั่วตัวอย่างรวดเร็วภายใน ๒๔ ชั่วโมง ผื่นเห็นชัดเจนบริเวณแขนขา และจะหายไปในเวลา ๑-๒ วัน และสีผิวหนังจะกลับเป็นปกติ ถ้าเป็นในผู้ใหญ่จะมีไข้สูงกว่าในเด็ก บางรายอาจมีอาการปวดข้อหรือข้ออักเสบร่วมด้วย โดยเฉพาะในผู้หญิง โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

๖.๕.๒.๓ โรคคางทูม

คางทูม เกิดจากเชื้อ Mump Virus ทำให้เกิดการอักเสบของต่อมน้ำลาย โดยเฉพาะต่อมน้ำลายข้างหู (Parotid gland) ทำให้เกิดอาการบวมคล้ายคางบวม ระยะฟักตัวของโรค ๑๒ - ๑๖ วัน การติดต่อ เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายได้ทางจมูก ปาก โดยการป้องกันการไอ หรือจามรดหน้ากัน สามารถติดต่อได้แม้ผู้ป่วยจะยังไม่มีอาการเนื่องจากเชื้อจะปรากฎในน้ำลาย น้ำมูก ตั้งแต่ก่อนที่จะมีอาการต่อมน้ำลายอักเสบ และเชื้อจะปรากฎในน้ำลายต่อเนื่องถึง ๙ วัน นอกจากนี้ยังพบเชื้อในปัสสาวะนานถึง ๑๔ วัน

อาการ Mump Virus มักจะทำให้เกิดการอักเสบของต่อมต่าง ๆ ทั่วร่างกาย

แต่พบได้ที่ต่อมน้ำลายบ่อยที่สุด ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดเมื่อย ปวดศีรษะ ต่อมาอีก ๒๔

ชั่วโมงที่มุมคาง มีอาการบวม หรือที่ต่อมน้ำลายนั่นเอง ไข้จะคงอยู่ ๑ - ๖ วัน และหลังจากไข้ลด ต่อมน้ำลายก็จะยุบตัวลง บางรายต่อมน้ำลายอาจบวมได้ทั้งสองข้าง โดยบวมหลังข้างที่เป็นก่อน ๑ - ๒ วัน ผู้ป่วยประมาณร้อยละ ๓๐ ไม่มีอาการ

โรคแทรกซ้อนที่พบบ่อย ร้อยละ ๘๕ ได้แก่ อัณฑะอักเสบมักพบในวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ และ ทำให้เป็นหมันได้ ในผู้หญิงพบ รังไข่อักเสบ เต้านมอักเสบ นอกจากนี้ยังพบว่าอาจมีอาการเยื่อหุ้มสมอง และสมองอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ ได้

การรักษา รักษาตามอาการ (ยาลดไข้ แก้ปวด) การป้องกัน ฉีดวัคซีน แยกผู้ป่วย ๙ วัน หลังปรากฎอาการของต่อมน้ำลายอักเสบ

๖.๕.๓ โรคติดเชื้อไวรัสที่แสดงอาการทางระบบทางเดินอาหาร(Viscerotrophic Viruses) ผู้ป่วยจะมีอาการของระบบทางเดินอาหารได้แก่ อาการปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน อุจจาระร่วง ร่วมกับอาการไข้ ไวรัสกลุ่มนี้ได้แก่ Enterovirus(Coxsackie & Echo Viruses), Rotavirus และ Norwalk Virus

๖.๕.๔ โรคติดเชื้อไวรัสที่มีอาการทางระบบประสาท(Neurotrophic Viruses) เนื่องจากเชื้อไวรัสทำให้เกิดอาการได้ทั้งระบบประสาทไขสันหลัง และสมอง ดังนั้นอาการที่ผู้ป่วยแสดงออกตั้งแต่อาการอัมพาตบางส่วนเนื่องจากการอักเสบของไขสันหลัง และอาการของการติดเชื้อในสมองเช่นอาการชักเกร็ง หมดสติและถึงเสียชีวิต โรคติดเชี้อไวรัสในกลุ่มนี้ได้แก่ โรคโปลิโอ โรคพิษสุนัขบ้า โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชี้อ Arbovirus และ Arenavirus(Lymphocytic choriomeningitis)

๗. โรคติดเชี้อรา(Fungal Infection)

โรคติดเชื้อราสามารถแบ่งได้เป็นการติดเชี้อราที่ผิวหนังและส่วนประกอบของผิวหนังซึ่งเป็นการติดเชื้อแบบตื้น และการติดเชี้อตามอวัยวะต่างๆซึ่งเป็นการติดเชื้อแบบลึก โรคติดเชื้อราที่พบได้บ่อยมีดังนี้

๗.๑โรคติดเชื้อ Candida albicans (Candidiasis)

สาเหตุของโรคได้แก่เชื้อ Candida albicans ซึ่งเป็นเชื้อในกลุ่ม Deuteromycetes ซึ่งเป็นเชี้อราที่ไม่สมบูรณ์แบบ ขยายพันธุ์โดยไม่ต้องอาศัยเพศ ลักษณะของเซลล์มีลักษณะคล้ายเชี้อส่า(Yeast) ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว แต่บางครั้งเซลล์อาจยืดยาวออกคล้ายสายราแต่ไม่มีผนังกั้นระหว่างเซลล์ที่เรียกว่า Pseudohypha เชื้อตัวนี้มักพบเป็นเชื้อปกติตามร่างกายของมนุษย์

โรคนี้สามารถติดต่อได้ด้วยการสัมผัสโดยตรง มักเป็นการติดเชื้อฉวยโอกาส รอยโรคมักเกิดตามที่อับชื้น เช่น ที่อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของผู้หญิง(Vulvovaginitis) การติดเชื้อราในช่องปาก(Oral Candidiasis หรือ thrush) หรือการติดเชี้อในลำไส้(Intestinal candidiasis)

๗.๒ โรคกลาก(Dermatomycoses)

สาเหตุของโรคได้แก่เชี้อกลุ่ม Trichophyton, Microsporum และ Epidermophyton ซึ่งทั้งหมดเป็นเชี้อสายพันธุ์ ascomycete โรคกลาก (Tinea infection) เป็นโรคที่ติดต่อกันได้ ลักษณะผื่น เป็นผื่นแดง วงกลม มีขอบเขตชัดเจน รูปร่างคล้ายวงแหวน (ring worm) มีสะเก็ดลอกขุยที่ขอบวงแหวน ถ้าผื่นลุกลามขยายออกวงกว้างขึ้นจะยิ่งเห็นรูปร่างวงแหวนชัดเจนยิ่งขึ้น แต่บางครั้งอาจไม่เห็นเป็นรูปร่างแบบวงแหวนแต่ก็จะเป็นผื่นสีแดงที่มีขอบเขตค่อนข้างจะชัดเจน อาการ จะมีอาการคัน บางคนจะคัดมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนกลางคืนจะยิ่งคันมาก ทำให้นอนไม่ค่อยหลับ ตำแหน่งของผื่น มีหลายตำแหน่งมีชื่อเรียกที่ต่างกันได้แก่

๑. โรคกลากที่ศีรษะ (Tinea capitis) มักเป็นในเด็กเล็ก ในเด็กวัยเรียนศีรษะเป็นสะเก็ดลอก ผื่นวงกลม มีน้ำเหลืองเยิ้ม คัน ที่เรียกว่า "ฝีชันนะตุ" (Kerion)

๒. โรคกลากที่ หน้า (Tinea faceii)

๓. โรคกลากที่ลำตัว, แขน, ขา (Tinea corporis) เรามักเรียกว่า "กลาก" ถ้าเป็นที่ตัว แขน ขา เพราะจะมีผื่นชัดเจนที่มีรูปร่างคล้ายวงแหวน

๔. มือ (Tinea manum) มักจะเป็นข้างเดียว

๕. โรคกลากที่เท้า (Tinea pedis) เป็นข้างเดียวหรือ ๒ ข้างได้ เกิดจากความอับชื้นใส่รองเท้า, ถุงเท้า เป็นระยะเวลานาน

๖. โรคกลากขาหนีบ (Tinea cruris) เรามักเรียก กลากที่ขาหนีบว่าเป็น "สังคัง"

๗. โรคกลากที่เล็บ (Tinea unguium) เป็นทั้งเล็บมือ เล็บเท้า ค่อนข้างรักษายากใช้ความอดทน ต้องใช้ระยะเวลานาน เล็บจะมีสีผิดปกติและรูปร่างเล็บผิดปกติ หัก กร่อน

โรคกลากเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ ทางการสัมผัสโดยตรง (direct contact) เช่น ใช้ของเสื้อผ้าร่วมกัน ใช้หวี แปรง หมวก รองเท้า ผ้าขนหนู ผ้าเช็ดตัว ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน ร่วมกันเป็นต้น การรักษา มีทั้งยากินและยาทา

๗.๓ โรคเกลื้อน (Tinea versicolor) เกิดจากเชื้อราทีเรียกว่า P.orbiculare คนละชนิดกันกับโรคกลาก ติดต่อได้เช่นกัน ลักษณะผื่น เป็นผื่นวงกลมสีขาวจางๆ มีขอบค่อนข้างชัดเจน รวมกลุ่มกัน บางครั้งมีสีออกน้ำตาลได้ มักจะมีอาการคัน แต่คันไม่มากเท่ากับโรคกลาก โรคเกลื้อนมักจะคันตอนช่วงที่เหงื่อออก ช่วงที่อากาศร้อน โรคเกลื้อน มักจะพบที่ ใบหน้า ลำตัว อก หลัง ต้นแขน โรคเกลื้อนจะไม่เป็นที่มือ เท้า ขา เล็บ ศีรษะ ซึ่งต่างกันกับโรคกลาก ติดต่อทางการสัมผัสโดยตรง (direct contact) การใช้เสื้อผ้าร่วมกัน ผ้าขนหนู ผ้าเช็ดตัวร่วมกันโรคเกลื้อนจะเกิดขึ้นได้ง่ายในที่มีอากาศร้อน หรือเล่นกีฬา เหงื่อออกมาก แล้วทิ้งไว้หมักหมมไม่ได้อาบน้ำเป็นระยะเวลานาน จะเกิดเกลื้อนได้ง่าย การรักษา มีทั้งการใช้ยากิน ยาฟอก และยาทา

๘ โรคติดเชื้อพยาธิ

โรคติดเชื้อพยาธิในคนแบ่งออกได้เป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่โรคติดเชี้อพยาธิตัวกลมและโรคติดเชื้อพยาธิตัวแบน ซึ่งพยาธิที่ทำให้เกิดโรคในคนมีดังนี้

โรคพยาธิตัวกลม

๘.๑ โรคพยาธิไส้เดือนตัวกลม

๘.๒ โรคพยาธิเส้นด้าย

๘.๓ โรคพยาธิปากขอ

๘.๔ โรคพยาธิตัวจี๊ด

๘.๕ โรคพยาธิแส้ม้า

โรคพยาธิตัวแบน

๘.๖ โรคพยาธิตัวตืด

๘.๗ โรคพยาธิใบไม้

๘.๑ โรคพยาธิไส้เดือนตัวกลม พยาธิไส้เดือนตัวกลมเป็นพยาธิที่ก่อให้เกิดโรคในมนุษย์ ตัวยาวประมาณ ๒๐๐ มม. การติดต่อโดยมนุษย์ได้รับอาหารที่มีไข่พยาธิที่ปนมากับผัก ผลไม้ เมื่อเข้าสู่ร่างกายไข่จะไปฟักตัวในลำไส้และตัวอ่อนจะไชเข้าสู่ผนังลำ ไส้ สามารถเข้าไปในกระแสเลือดและท่อน้ำเหลืองเพื่อไปยังอวัยวะอื่น ๆ ได้แก่ ปอดและหัวใจ หรืออาจจะเติบโตในลำไส้ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการอักเสบในอวัยวะต่าง ๆ ที่พยาธิไปได้ และนอกจากนี้บางครั้งอาจจะก่อให้เกิดอาการลำไส้อุดตันหรือท่อน้ำดีอุดตันได้ การวินิจฉัยโดยการตรวจหาไข่พยาธิในอุจจาระ

การป้องกัน เนื่องจากการรับเชื้อจากไข่พยาธิซึ่งออกมาในอุจจาระการป้องกัน คือ การใช้ผัก ผลไม้มาปรุงอาหารควรจะได้รับการล้างทำความสะอาดและต้มสุก จัดสุขาภิบาลเรื่องส้วมให้ถูกสุขลักษณะไม่ควรทำอุจจาระมาใช้รดน้ำผัก

๘.๒ โรคพยาธิเส้นด้าย(threadworm) พยาธิเส้นด้ายมีชื่อว่า Enterobius vermicularis เป็นพยาธิที่มีขนาด ๒ - ๑๓ มม. พยาธิเข้าสู่ร่างกายได้ ๒ วิธี คือ เข้าทางปาก โดยอาหารหรือมือที่เปื้อนไข่พยาธิ เมื่อไข่พยาธิเข้าสู่ร่างกายจะใช้เวลาเติบโต ๑๕ - ๒๕ วัน โดยอาศัยบริเวณลำไส้เล็กส่วนปลายและลำไส้ใหญ่ตอนต้นซึ่งบางครั้งอาจก่อให้เกิดอาการไส้ติ่งอักเสบได้

นอกจากนี้ยังสามารถเคลื่อนตัวมาที่ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายและออกทางทวารหนัก ทำให้เกิดอาการคันที่ช่องทวารหนักและสามารถคืบคลานไปทำให้เกิดอาการคันและอักเสบที่ช่องคลอดได้อีกด้วย พยาธิที่โตเต็มที่สามารถออกมาทางทวารหนัก และอาศัยบนที่นอนแล้วติดต่ออีกคนได้โดยเข้าทางทวารเช่นกันกรณีที่นอนเตียงเดียวกัน เช่น พี่น้อง

การวินิจฉัย โดยการตรวจอุจจาระ ตรวจหาตัวพยาธิที่รอบรูทวารหนักโดยใช้สกอตเทปสัมผัสที่ก้นเวลามีอาการคัน จะได้ตัวพยาธิติดสกอตเทปมาตรวจ

การป้องกันล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง ถ้ามีคนในครอบครัวติดเชื้อพยาธิเส้นด้าย จำเป็นต้องรักษาทุกคนที่ร่วมเตียงกัน และทำความสะอาดที่นอน หมอน โดยซักตากแดด

๘.๓ โรคพยาธิปากขอ (hookworm) พยาธิปากขอเกิดจากพยาธิได้ ๒ ชนิด คือ Ancylostoma duodenale และ Necator americanus เป็นพยาธิที่มีขนาด ประมาณ ๘ - ๑๓ มม. พยาธิปากขอ สามารถเข้าสู่ร่างกายโดยไชทะลุผิวหนังที่เท้าโดยตรง และเข้าสู่กระแสเลือดไปยังหัวใจ ปอดหลอดอาหารและกลับมาเติบโตออกไข่ในลำไส้ และออกมากับอุจจาระโดยสามารถฟักตัวในดินที่แฉะ พยาธิปากขอก่อให้เกิดปฏิกริยาภูมิแพ้ได้ตามเส้นทางที่พยาธิไชไปถึง และนอกจากนี้ยังเจาะและดูดเลือดจากร่างกายเพื่อเป็นอาหาร ทำให้เกิดโรคโลหิตจางได้

การวินิจฉัย โดยตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิ

การป้องกัน สวมร้องเท้าหุ้มมิดชิด เมื่อต้องไปในพื้นที่ชื้นแฉะมีน้ำขัง

๘.๔ โรคพยาธิตัวจี๊ด (Gnathostoma) พยาธิตัวจี๊ด หรือ Gnathostoma Spinigerum เป็นพยาธิมีลักษณะตัวกลม อาศัยในสัตว์กินเนื้อ ได้แก่ สุนัข แมว เสือ สุกร พบในเขตร้อน เช่น ประเทศไทย

พยาธิตัวจี๊ดมีขนาด ๑-๓ มม. X ๑๖-๔๐ มม.มีลักษณะส่วนหัวกลม คอคอด ลำตัวกลมพองออกทางด้านท้าย ส่วนหัวมีหนามเรียงเป็นแถว (๗ - ๙ แถว) พยาธิจะอาศัยในกระเพาะอาหารลำไส้ของสัตว์กินเนื้อ อาจรวมเป็นก้อนคล้ายเนื้องอก เมื่อโตเต็มที่มีการผสมพันธุ์จะปล่อยไข่ออกมาทางอุจจาระ ไข่ที่ออกมาจะสามารถไปเติบโตเคลื่อนไหวได้เองในน้ำ ซึ่งต่อมาจะถูกกินโดยกุ้งน้ำจืดและเข้าไปอาศัยเติบโตในกระเพาะอาหารของกุ้ง และไชผ่านมาอาศัยในช่องท้องต่อไป เมื่อปลาน้ำจืด เช่น ปลาดุก ปลาช่อน ปลาไหล หรือกบ ปู เต่า เป็ด ไก่ กินกุ้งเข้าไปพยาธิก็จะไปเติบโตและเปลี่ยนรูปร่างโดยอาศัยที่กล้ามเนื้อ

เมื่อคนรับประทานเนื้อที่ไม่สุกตัวอ่อนพยาธิจะสามารถอาศัยในคนได้ โดยสามารถเคลื่อนไปตามอวัยวะ ต่าง ๆ ได้ทั้งตัว

อาการผู้ป่วยจะมีอาการบวมแดงคันที่ผิวหนังตามทิศทางการเคลื่อนตัวของพยาธิ อาการบวมแดงอาจคงอยู่ ๑-๔ สัปดาห์ และมีบางรายสามารถไปที่ตา สมอง ทำให้มีอาการของระบบดังกล่าวได้ บางครั้งรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต พยาธิตัวจี๊ดสามารถไชทะลุผิวหนังออกมาให้เห็นได้ และสามารถมีชีวิตในคนได้หลายปี บางรายอาจถึง ๑๐ ปี

การวินิจฉัย จาก อาการที่บอกเล่าว่ามีผื่นแดง คัน ย้ายที่ไปได้ (ตามทิศทางที่พยาธิเคลื่อนที่ไป) ตรวจทางอิมมูโนวิทยา การรักษาและป้องกัน ปัจจุบันยังไม่มียาที่รักษาได้ผลดี จึงควรป้องกันตนเองโดย ทานเนื้อที่สุกโดยเฉพาะ ปลา กบ เป็ด ไก่

๘.๕ โรคพยาธิแส้ม้า (Whip worm)พยาธิแส้ม้ามีชื่อเรียกว่า Trichuris trichiura

เป็นพยาธิที่ก่อให้เกิดโรคในมนุษย์ได้ ตัวพยาธิมีขนาดยาวประมาณ ๓๕ - ๕๐ มม. พยาธิเข้าสู่ร่างกายทางอาหารที่ปนเปื้อนไข่พยาธิ เมื่อไข่พยาธิเข้าสู่ร่างกายจะไปฟักตัวและเติบโตเป็นพยาธิที่ลำไส้ใหญ่ส่วนต้น และก่อให้เกิดอาการอักเสบของลำไส้ใหญ่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง ท้องอืดเฟ้อและท้องเสียเรื้อรัง เมื่อโตเต็มที่จะมีไข่พยาธิใหม่เกิดขึ้นและปนเปื้อนออกมาทางอุจจาระ ซึ่งสามารถเติบโตได้ในดิน

การวินิจฉัย โดยการตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิ

การป้องกัน รับประทานอาหารที่ล้างสะอาด และสุกด้วยความร้อน ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทาน จัดสุขาภิบาลเรื่องส้วมให้ถูกสุขลักษณะ

๘.๖ โรคพยาธิตัวตืด (Tape worm) พยาธิตัวตืดที่พบในคนมี ๒ ชนิด คือ Taenia Solium หรือตืดที่มาจากหมู และ Taenia Sagginata ที่มาจากวัว ลำตัวแบนเป็นปล้อง ๆ ที่หัวมีที่ยึดเกาะติดผนังลำไส้ พยาธิตัวตืดเข้าสู่มนุษย์ในรูปตัวอ่อน จากการรับประทานเนื้อหมูหรือเนื้อวัวดิบ ไข่พยาธิจะไปฟักตัวในลำไส้โดยส่วนหัวซึ่งมีที่ยึดเกาะติดกับลำไส้ และมีชีวิตอยู่ในลำไส้ได้นานถึง ๒๕ปี พยาธิขนาดโตเต็มที่อาจจะยาวถึง ๓ เมตร ทำให้เกิดลำไส้อักเสบเรื้อรัง ตัวอ่อนของพยาธิสามารถคืบคลานไปยังกล้ามเนื้อ และกระทั่งสมองทำให้เกิดอาการชักได้ เมื่อพยาธิโตจนถึงวัยสืบพันธุ์จะสลัดปล้องแก่หลุดออกมากับอุจจาระ ไข่ซึ่งอยู่ในปล้องแก่จะหลุดออกมาจากปล้องเมื่อวัวหรือหมูไปกินหญ้าที่เปื้อนไข่พยาธิ ตัวอ่อนจะฟักจากไข้และจะเข้าไปอาศัยในกล้ามเนื้อ มีลักษณะคล้ายเม็ดสาคูในเนื้อดิบ บางทีเรียกว่า เนื้อสาคู ซึ่งก็คือตัวอ่อนของพยาธิที่พร้อมเข้าสู่ร่างกายมนุษย์นั่นเอง

การวินิจฉัย โดยตรวจอุจจาระพบไข่พยาธิหรือตัวพยาธิ

การป้องกัน รับประทานอาหารประเภทเนื้อหมูและเนื้อวัวที่สุก สร้างส้วมที่ถูกสุขลักษณะ

๘.๗ โรคพยาธิใบไม้(Trematode )

๘.๗ .๑ โรคพยาธิใบไม้ในลำไส้ Fasciolopsiasis มีสาเหตุจากตัวแก่ของพยาธิใบไม้ชนิด ฟาสซิโอลอปซิส บัสไก (Fasciolopsis buski) อาศัยอยู่ในลำไส้เล็ก วงจรชีวิตของพยาธิ คนและหมูเป็นโฮสท์เฉพาะที่พบบ่อย พยาธิตัวแก่อาศัยอยู่ในบริเวณลำไส้เล็กแถว ดูโอดินั่ม และ เจจูนั่ม ไข่จะปนออกมากับอุจจาระลงไปเจริญอยู่ในน้ำตัวอ่อน (miracidium) จะฟักออกมาจากไข่ เมื่อพบหอยน้ำจืดซึ่งจัดเป็นโฮสท์ตัวกลางลำดับที่หนึ่ง ตัวอ่อนจะไชเข้าสู่หอยน้ำจืดแล้วเจริญต่อไปเป็นตัวอ่อนเซอร์คาเรีย ( cercaria) จะไชออกจากหอยและว่ายออกไปตามน้ำ เมื่อไปเจอพืชน้ำเช่น กระจับ สายบัว ผักบุ้ง ผักตบชวา แห้วจีน เป็นต้น พืช เหล่านี้เป็นโฮสท์ตัวกลางลำดับที่สอง ซึ่งตัวอ่อนจะเปลี่ยนมีเปลือกอ่อนมาหุ้มเรียก เมตาเซอร์คาเรีย (metacercaria) ซึ่งจะเกาะอยู่แถวพืชเหล่านั้นเมื่อคนกินพืชเหล่านั้นแบบดิบๆที่ยังไม่ทำให้สุกก็จะเป็นการกินเอาตัวอ่อนเมตาเซอร์คาเรียเข้าไปในร่างกายเมื่อมาถึงกระเพาะ ตัวอ่อนจะแตกออกมาจากเปลือกหุ้ม แล้วเจริญไปเป็นตัวแก่บริเวณลำไส้เล็กส่วนบน ( duodenum /Jejunum) ต่อไป

อาการ ขณะที่พยาธิตัวแก่เจริญเติบโตอยู่ในลำไส้เล็ก จะทำให้เกิดการอักเสบและเกิดแผลเล็กๆขึ้นบริเวณที่เกาะดูด ทำให้มีเลือดออกได้ นอกจากนั้นของเสียที่เกิดจากพยาธิเมื่อถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทำให้เกิดพิษแลพภูมิแพ้ได้ การตรวจเลือดจะพบเม็ดเลือดขาวชนิด อีโอซิโนฟิลขึ้นสูง ถ้ามีตัวพยาธิมากๆอาจทำให้เกิดลำไส้อุดตันได้ อาการจะแปรผันตามปริมาณพยาธิในลำไส้อาจมีระดับน้อยๆไปจนถึงรุนแรงถึงตายได้ โดยอาการจะเริ่มต้นจาก อาการปวดท้อง อุจจาระเหลวและบ่อย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย น้ำหนักลด พวกที่มีอาการมากขึ้นจะมีอาการขาดอาหาร โรคแทรก บวมทั้งตัว ท้องมานซีดเพราะเสียเลือดและธาตุเหล็ก อุจจาระเหลว เหม็น ปวดท้องตลอดเวลา อาจถ่ายตัวพยาธิออกมาด้วย ตายด้วยภาวะขาดอาหารและโรคแทรกซ้อน

การตรวจวินิจฉัยโรค

- ตรวจพบไข่พยาธิในอุจจาระ

- ตรวจพบตัวแก่หลุดปนออกมากับอุจจาระด้วย

- ตรวจพบเม็ดเลือดขาวชนิดอีโอซิโนฟิลสูง

การรักษา

๑. รักษาบำรุงร่างกายให้แข็งแรงก่อนให้อาหารที่มีประโยชน์เพื่อบำรุงร่างกาย

๒. การถ่ายพยาธิ

การป้องกัน

๑. ให้ประชาชนในเขตระบาดศึกษาเข้าใจถึงวงจรชีวิตรวมถึงการติดต่อของพยาธินี้

๒. ในเขตที่มีการระบาด อุจจาระที่จะนำมาทำปุ๋ย ควรเติมสารเคมีเช่น ปูนขาว ก่อนนำไปใช้

๓. ทำลายหอยน้ำจืดที่เป็นตัวกลาง

๔. ไม่รับประทานพืชน้ำข้างต้นแบบดิบๆ หรือสดๆ พืชอาจใช้วิธีทำให้สุกก่อน หรือจุ่มลงในน้ำเดือดอย่างน้อย ๒-๓ นาทีก่อนรับประทาน

๕. ใช้ยาถ่ายพยาธิ

๘.๗.๒ โรคพยาธิใบไม้ตับ Liver fluke Disease พยาธิใบไม้ในตับของคนที่มีความสำคัญมีอยู่ ๓ ชนิดด้วยกันได้แก่ Clonorchis sinensis คลอโนชิส ไซเนนซิส พบระบาดแถบ จีน อินโดจีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลี ไต้หวัน Opisthorchis felineus โอฟีสทอร์ชิส เฟลิเนียส พบระบาดแถบ ยุโรป ไซบีเรีย อินเดีย อินโดจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ฟิลิปปินส์ Opisthorchis viverrini โอฟีสทอร์ชิส วิเวอร์รินี พบระบาดแถบ ภาคตะวันออกเฉียวเหนือ ของไทย ลาว อินโดจีน สำหรับในประเทศไทยตัวที่เป็นปัญหาได้แก่ Opisthorchis viverrini พยาธิตัวแก่อาศัยอยู่ในท่อน้ำดีภายในตับ ประมาณการว่าประชากรในภาคอีสานเป็นโรคนี้สูงถึงร้อยละ ๗๒-๘๗ หรือประมาณ ๓.๕ ล้านคน วงจรชีวิตของพยาธิ

Opisthorchis viverrini โอฟีสทอร์ชิส วิเวอร์รินี ตัวแก่จะอาศัยอยู่ในท่อน้ำดีในตับของคนและสัตว์ เช่น สุนัข แมว ซึ่งถือเป็นโฮสต์เฉพาะนอกจากนี้ยังอาจอาศัยอยู่ในถุงน้ำดีหรือตับอ่อนได้ ไข่จะปนออกมากับน้ำดี เข้าสู่ลำไส้เล็ก และไข่ปนออกมากับอุจจาระ ถ้าไข่ตกลงในน้ำ หอยน้ำจืดพวก bithynia species ซึ่งเป็นโฮสต์กลางลำดับที่หนึ่ง จะกินไข่พยาธิเข้าไป ไข่จะฟักตัวออกมาเป็น ไมราซิเดียม (miracidium) แล้วเจริญต่อไปจนกลายเป็น เซอร์คาเรีย ( cercaria) เซอร์คาเรียจะว่ายออกจากหอยไปฝังตัวในปลาน้ำจืด ซึ่งจัดเป็นรโฮสต์ตัวกลาวลำดับที่สอง เช่นปลาแม่สะแด้ง ปลาตะเพียนทราย ปลาสร้อยนกเขา ปลาสูตร ปลากะมัง เป็นต้น ในเนื้อปลาจะเจริญต่อไป เป็นเมตาเซอร์คาเรีย(metacercaria) ฝังตัวในรูปของซีสต์ ซึ่งถีอว่าเป็นระยะติดต่อ เมื่อคน และสัตว์กินปลาที่มีเมตาเซอร์คาเรียฝังอยู่แบบสุกๆดิบๆ เช่น ก้อยปลา ซึ่งเป็นอาหารยอดนิยมในภาคอีสาน เมตาเซอร์คาเรียจะแตกออกจากซีสท์ มาอยู่ในลำไส้ส่วนดูโอดีนัม แล้วเดินทางผ่าน เข้าสู่ท่อน้ำดีใหญ่เดินทางต่อไปถึงท่อน้ำดีเล็กแล้งฝังตัวเจริญเป็นตัวแก่ต่อไป

อาการ และ พยาธิสภาพ พยาธิทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผนังท่อน้ำดี และการอุดตันของท่อน้ำดี เนื่องจากพยาธิมีการเคลื่อนตัวไปมาในนั้น บางตัวอาจไปทำให้เกิดอุดตันท่อน้ำดีส่วนปลาย นอกจากนั้นของเสียที่ขับออกมาจากตัวพยาธิยังก่อให้เกิดการระคายเคืองของท่อน้ำดีอีกด้วย ทำให้ผนังของท่อน้ำดีหนาขึ้น ทำให้ท่อน้ำดีตีบจะทำให้เกิดน้ำดีคั่งอยู่ภายในท่อน้ำดีส่วนปลาย ทำให้เกิดท่อน้ำดี โป่งพอง นอกจากนี้อาจเกิดการอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติมการอักเสบลามไปถึงเนื้อตับทำให้ตับอักเสบเป็นฝีหนองขึ้นได้ บางรายกลายเป็นมะเร็งของท่อน้ำดีต่อไปอาการโดยทั่วไป ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง รู้สึกไม่ค่อยสบาย โดยเฉพาะบริเวณชายโครงขวา ยอดอก ต่อไปเริ่มมีการอักเสบของท่อน้ำดีร่วมด้วย ผู้ป่วยมีอาการเบื่ออาหาร มีไข้ต่ำๆ ตับอาจโตกดเจ็บ และเริ่มมีอาการตัวเหลือง ต่อไปเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนเช่น ท่อน้ำดีอักเสบเรื้อรัง เป็นๆหายๆ มีไข้สูงปานกลาง ตัวเริ่มเหลืองมากขึ้น ตับโตกดเจ็บ เริ่มมีอาการตับแข็ง ม้ามโต แรงดันเลือดสูง อาจพบมะเร็งของท่อน้ำดีร่วมด้วย

การตรวจวินิจฉัยโรค

๑. โดยการสำรวจจากภูมิลำเนาจากแหล่งระบาด พร้อมอาการตัวเหลือง ตับโต ให้นึกถึงพยาธิใบไม้ในตับ

๒. การตรวจหาไข่พยาธิในอุจจาระ ดูภาพไข่พยาธิ

๓. การตรวจด้วย Peritoneoscopy เป็นการตรวจดูภายในของตับ ถ้าพบท่อน้ำดีขยายออกมาก ผิวของตับมีลักษณะขรุขระ

การรักษา

ถ้ามีอาการท่อน้ำดีอักเสบให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียก่อน ถ้ามีภาวะตัวเหลืองจากท่อน้ำดีอุดตันอาจต้องผ่าตัดทำศัลยกรรมท่อน้ำดีใหม่ เพื่อให้น้ำดีระบายออกได้ มะเร็งของท่อน้ำดี รักษาได้ยาก ผ่าตัดหรือใชยาเพื่อบรรเทาอาการ ยังไม่มียาใดที่สามารถรักษาได้โดยตรง ที่มีเป็นเพียงการลดการผลิตไข่

การป้องกัน ให้ประชาชนเข้าใจถึงวงจรชีวิตของพยาธิ และการป้องกัน ไม่ถ่ายอุจจาระเรี่ยราด ไม่เป็นที่เป็นทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถ่ายลงน้ำ เลิกการรับประทานปลาดิบๆสุก ทำลายหอยน้ำจืดตัวกลาง

๘.๗.๓โรคพยาธิใบไม้ปอด Paragonimiasis เกิดจากพยาธิใบไม้ชนิด Paragonimus westermani เข้าไปอาศัยอยู่ในปอด ทำให้มีอาการไอเรื้อรังและไอเป็นเลือด การระบาดพบได้ทั่วโลก แต่จะพบได้มากแถบตะวันออกกลาง เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลี ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ อินเดีย ไทย อัฟริกา และอเมริกาใต้ เป็นต้น สำหรับในประเทศไทยมีพยาธิใบไม้ปอดในบริเวณ ภาคกลางของประเทศ เช่น เพชรบูรณ์ สระบุรี นครนายก เพราะบริเวณดังกล่าวมีกุ้งและปูชุกชุม ซึ่งนิยมเอามากินแบบดิบๆสุกๆ เช่น พล่า ยำเป็นต้น

วงจรชิวิตของพยาธิ พยาธิตัวแก่จะอาศัยอยู่ในบริเวณปอดของโฮสท์เฉพาะ ได้แก่ คน สุนัข แมว เสือ นอกจากปอดแล้วอาจพบได้บริเวณสมอง กล้ามเนื้อ พยาธิที่อาศัยอยู่ในปอดจะสร้างถุงหุ้มรอบตัวเอง (cyst) ถุงบางอันจะมีช่องติดต่อกับหลอดลม ฉะนั้นในการไอบางครั้งไข่จะปนออกมากับเสมหะ หรือเมื่อถูกกลืนเสมหะลงในท้อง ไข่พยาธิก็ออกมาปนกับอุจจาระได้ เมื่อไข่ตกลงไปในน้ำจะใช้เวลาประมาณ ๒-๗ สัปดาห์ ฟักตัวออกมาเป็นตัวอ่อน ไมราซิเดียม (miracidium) ไมราซิเดียมจะว่ายไปหาโฮสท์ตัวกลางลำดัที่หนึ่งได้แก่หอยน้ำจืดพวก melaniaแล้วเจริญต่อไปในตัวหอยกลายไปเป็น เซอร์คาเรีย (cercaria) ซึ่งรัยะนี้ใช้เวลาประมาณ ๑๐-๑๒ สัปดาห์ เซอร์คาเรียจะว่ายออกจากตัวหอยไชเข้าไปฝังตัวอยู่ใน กุ้ง ปูน้ำจืด ซึ่งเป็นโฮสท์ตัวกลางลำดับที่สอง ตัวอ่อนจะเริ่มเปลี่ยนตัวเองกลายไปเป็นเมตาเซอร์คาเรีย (metacercaria) ซึ่งอยู่ในสภาพของซิสท์ ซึ่งระยะนี้ถือเป็นระยะติดต่อตัวอ่อนในระยะนี้มีความทนทานมาก ไม่ว่าจะแช่ในเหล้า หรือดองด้วยน้ำเกลือก็ไม่ตายง่ายๆ วิธีที่ได้ผลแน่นอนคือทำให้สุก เมื่อคนกิน กุ้ง หรือปูที่มีตัวอ่อนระยะเมตาเซอร์คาเรียเข้าไปในร่างกาย ผนังของซีสท์จะถูกย่อยให้แตกออกบริเวณลำไส้เล็กส่วนดูโอดินั่ม ภายใน ๒๔-๔๘ ชั่วโมงพยาธิจะไขผ่านผนังลำไส้เข้าสู่ช่องท้อง แล้วไชผ่านกะบังลมและเยื่อหุ้มปอดเข้าไปฝังตัวอยู่ในเนื้อปอด ระยะเดินทางนี้กินเวลาประมาณ ๒-๓ สัปดาห์ ภายในปอด พยาธิตัวอ่อนจะเจริญไปเป็นตัวโตเต็มวัยกินระยะเวลาประมาณ ๕ - ๖ สัปดาห์ รวมระยะเวลาของวงจรประมาณ ๗ เดือน

อาการและพยาธิสภาพ ในช่วงที่ตัวอ่อนไขผ่านผนังลำไส้ ผ่านกะบังลมเพื่อไปที่ปอด ในช่วงนี้ยังไม่มีอะไรสำคัญมากนักแต่เมื่อพยาธิไปถึงปอดจะทำให้เนื้อปอดเกิดการอักเสบ ทำให้มีเม็ดเลือดขาวบริเวณนั้นมาก เนื้อปอดบริเวณนั้นจะตายและมีพังผืดเกิดขึ้นมาหุ้มตัวพยาธิเป็นซิสท์ขึ้น ในซีสท์หนึ่งๆอาจมีตัวพยาธิได้มากกว่าหนึ่งตัวขึ้นไป ซีสท์จะมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลแดงหรือสีช็อคโคแล็ท รอบๆตัวพยาธิมีหนองข้นเหนียว ปนเลือดและไข่พยาธิ เมื่อซีสท์แตกออกเข้าสู่หลอดลมในขณะไอ จะมีเสมหะปนหนองและไข่พยาธิออกมาด้วยเสมหะมีลักษณะสีสนิมเหล็ก ถ้าพยาธิเข้าสมองหรือไขสันหลังก็จะทำลายเนื้อสมองและไขสันหลังทำใหเกิดอาการผิดปกติของระบบประสาทกลางได้ ถ้าพยาธิไปอยู่ที่กล้ามเนื้อหรือใต้ผิวหนังก็ทำให้เกิดเป็นแผลเรื้อรังได้ ผู้ป่วยจะค่อยๆเริ่มมีอาการมากขึ้นดังนี้ อาการไอเรื้อรังไอเพื่มมากขึ้นเรื่อยๆ เสมหะเริ่มจากลักษณะเหนียวสีขาว ต่อมาเป็นสีเขียว จนมีเลือดปนออกมา โดยมากมักไอมากเวลาตื่นนอน ในตอนเช้า หรือเวลาทำงานหนัก เลือดที่ปนออกมาจะค่อยๆมีมากขึ้น ผู้ป่วยเริ่มเจ็บบริเวณหน้าอก อาการจะดูคล้ายวัณโรค โรคหลอดลมอักเสบ ถุงลมโป่งพอง ที่แตกต่างกันคือผู้ป่วยโรค พยาธิใบไม้ปอดจะไม่มีไข้ สุขภาพไม่เสื่อมโทรม ลักษณะเสมหะเหนียวเป็นมัน มีเลือดปน บางครั้งออกเป็นสีน้ำตาลปนแดง พบก้อนเล็กๆสีเหลืองทองปนอยู่ (ไข่พยาธิ) เสมหะมักออกมามากในตอนเช้า

การตรวจวินิจฉัยโรค โดยการถ่ายเอ็กซ์เรย์ปอด อาจพบโพรงหรือเงาทึบ มีลักษณะกลมเป็นวงแหวน ขอบไม่ชัดเจนมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด การตรวจเลือด CBC ระดับปริมาณเม็ดเลือดขาวไม่สูง แต่ชนิดเม็ดเลือดขาวอีโอซิโนฟิลขึ้นสูง มีประวัติรับประทานปูหรือกุ้งแบบดิบๆสุกๆ มีเสมหะเหนียวและมีสีสนิทเหล็ก ไอมากในตอนเช้า ตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ในปอดในเสมหะหรืออุจจาระ การทดสอบน้ำเหลืองให้ผลบวก

การรักษาทั่วไป ผู้ป่วยที่ซีด ไอเป็นเลือดมากให้ยาที่มีธาตุเหล็ก เช่นเฟอร์รัส ซัลเฟต ตรวจหาเชื้อแบคที่เรีย เพื่อป้องกันการซ้ำเติมจากเชื้อโรค ถ้ามีมากจำเป็นต้องเจาะเอาน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดออก

การป้องกัน ให้ประชาชนเข้าใจถึงวงจรชีวิตของพยาธิ และการป้องกัน ไม่ถ่ายอุจจาระเรี่ยราด ไม่เป็นที่เป็นทางโดยเฉพาะอย่างยิ่งการถ่ายลงน้ำ ไม่บ้วนเสมหะเรี่ยราดตามพื้นดิน เลิกการรับประทานกุ้ง ปูน้ำจืด แบบดิบๆสุกๆ ทำลายหอยน้ำจืดตัวกลางรักษาด้วยยาอย่างถูกวิธี

๘.๗.๔ โรคพยาธิใบไม้ในเลือด ( Schistosomiasis) เป็นพยาธิที่ร้ายแรงและมีความสำคัญอย่างยิ่งของมนุษย์ ทำอันตรายได้มากกว่าพยาธิใบไม้อื่นๆ พบได้ ๓ ชนิดคือ Schistosoma haematobium พบได้แถบอัฟริกา ตะวันออกกลาง ปอร์ตุเกส อินเดีย Schistosoma mansoni พบได้แถบ อัฟริกาใต้ และSchistosoma japonicum พบได้แถบ ตะวันออกไกล จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ ไทย พม่า เป็นต้น

วงจรชีวิตของพยาธิ พยาธิตัวแก่ของชิสโตโซม่า จาปอนนิคุม ซึ่งพบได้ในไทยอาศัยอยู่ในเส้นเลือดใหญ่ เป็นชนิดที่มีความร้ายแรงมากที่สุด วางไข่ได้มากกว่าชนิดอื่น ทำให้เกิดอาการของบิดและตับแข็ง ไข่พยาธิถ้าพลัดตกไปที่สมองทำให้เกิดอาการชักหรือเป็นอัมพาติได้พยาธิตัวแก่ในคนหรือสัตว์จะปล่อยไข่ออกมาในกระแสเลือดและจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะหรืออุจจาระ ไข่ที่ออกมาจะมี ไมราซิเดียมเจริญเต็มที่อยู่แล้ว เมื่อไข่ลงไปในน้ำจะฟักตัวออกมา ว่ายอยู่ในน้ำเมื่อไปพบหอยที่เป็นโฮสท์ตัวกลางไมราซิเดียมจะไชเข้าไปฝังตัวในหอยและเจริญต่อไปเป็น เซอร์คาเรีย ซึ่งถือเป็นระยะติดต่อ ก็จะว่ายออกจากหอยไปอาศัยอยู่ในน้ำ ระยะที่อยู่ในหอยกินระยะเวลาประมาณ ๔-๘ สัปดาห์ เมื่อคนหรือสัตว์ลงไปเล่นน้ำ อาบน้ำ หรือดื่มน้ำที่มีตัวอ่อนเซอร์คาเรีย (cercaria) อยู่ เซอร์คาเรียจะไชผ่านผิวหนังเข้าสู่หลอดเลือดดำเล็ก เข้าสู่กระแสเลือด ไปยังหัวใจซีกขวา สู่ปอด กลับมายังหัวใจซีกซ้ายแล้วกระจายไปทั่วร่างกาย ไปเข้าสู่เส้นเลือดที่เข้าสู่ตับ (portal vein) พยาธิจะเจริญเติบโตต่อที่ตับเป็นพยาธิโตเต็มวัย จะเริ่มจับคู่ระหว่างเพศเมียและเพศคู่แล้วพากันออกจากตับไปอาศัยอยู่ในหลอดเลือดดำตามตำแหน่งต่างๆแล้วแต่ชนิดของพยาธิ ระยะเวลาที่เข้าสู่ร่างกายและเปลี่ยนจากตัวอ่อนไปจนเต้มวัยและจับคู่ผสมพันธุ์กันกินระยะเวลานาน ๑-๓ เดือน ไข่จะถูกปล่อยออกมากับกระแสเลือดจนไปถึงไตและถูกขับออกมายังกระเพาะปัสสาวะ ออกมากับปัสสาวะ

อาการและพยาธิสภาพ พยาธิจะทำให้เกิดพยาธิสภาพกับระบบทางเดินอาหารเป็นสำคัญ เช่น ลำไส้ ม้าม ตับ ในระยะที่ตัวอ่อนไชผ่านผิวหนัง จะทำให้เกิดอาการตุ่มคัน แดง ลมพิษ ปกติจะหายไปใน ๒ -๓ วันตัวอ่อนจะอยู่ที่ผิวหนังประมาณ ๑-๒ วันก็จะเคลื่อนตัวเข้าสู่เส้นเลือดและไปจนถึงปอด จะทำให้ปอดมีจุดเลือดออกเล็กๆ มีเม็ดเลือดขาวมาล้อมรอบตัวอ่อนพยาธิ ต่อมาเมื่อพยาธิเดินทางมาที่ตับ จะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันไวเกิน ภูมิแพ้ต่อตัวพยาธิ ลมพิษ ตัวบวม คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ไอบาง เจ็บบริเวณตับ เม็ดเลือดขาวชนิดอีโอซิโนฟิลสูงระยะที่พยาธิเริ่มออกไข่ ไข่เป็นแบบไมราซิเดียมซึ่งจะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ ๓ สัปดาห์ ไข่ส่วนหนึ่งจะออกมากับปัสสาวะและอุจจาระ อาจมีการถ่ายปัสสาวะออกมาเป็นเลือดเพราะเกิดการอักเสบเป็นโพรงหนองที่ผนังของลำไส้และทางเดินปัสสาวะ ร่างกายจะทำปฏิกริยาต่อต้านต่อโปรตีนไข่ทำให้มีอาการแพ้และลมพิษมากขึ้นแผลที่เกิดขึ้นจะเริ่มมีผังผืด อาจเกิดตับแข็ง เนื่องจากหลอดเลือดดำที่มายังตับอุดตัน ภาวะขาดอาหาร บวม มีน้ำในท้อง ท้องโต อาเจียน ม้ามโต ปอดเต็มไปด้วยแผลเล็กๆ ไข่อาจเคลื่อนไปทำให้เกิดพยาธิสภาพที่สมอง ไขสันหลังตาหรือผิวหนัง ได้อีก

การตรวจวินิจฉัย การตรวจหาไข่พยาธิจาก ปัสสาวะ อุจจาระ โดยการตัดชิ้นเนื้อมาตรวจ การทดสอบผิวหนัง ต่อตัวพยาธิใบไม้เลือด การทดสอบปฏิกริยาน้ำเหลือง

การรักษา เนื่องจากมีความยุ่งยากและยาเป็นอันตรายต่อร่างกายจึงควรปรึกษาแพทย์โดยเฉพาะ เพราะชิสโตโซม่า จาปอนนิคุม ที่พบได้ในบ้านเรามีการทนยาได้มาก

การป้องกัน ให้ประชาชนเข้าใจถึงวงจรชีวิตของพยาธิ และการป้องกัน ไม่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะเรี่ยราด ไม่เป็นที่เป็นทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถ่ายลงน้ำ เลิกการรับประทานกุ้ง ปูน้ำจืด แบบดิบๆสุกๆ ทำลายหอยน้ำจืดตัวกลางรักษาด้วยยาอย่างถูกวิธี หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำ อาบน้ำ ดื่นน้ำที่ยังไม่ได้ต้ม โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคพยาธิ

๙.โรคที่เกิดจากโปรโตซัว(Protozoa)

๙.๑ โรคจากเชื้อบิดอะมีบา Amoebic enteritis/colitisโรคบิดจากเชื้ออมีบา หรือบิดมีตัว เป็นการอักเสบของลำไส้ใหญ่ซึ่งเกิดเนื่องจากเชื้อ Entamoeba histolytica ทำให้เกิดอาการถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือดถ่ายบ่อย ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งแบบเรื้อรัง และแบบเฉียบพลัน หรือไม่มีอาการใดๆเลย สามารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน คือ เป็นฝีบิดอมีบาที่อวัยวะอื่นๆได้ เช่น ฝีที่ตับ สมอง ปอด ผิวหนัง เป็นต้นมักพบได้บ่อยในพื้นที่ที่มีการสาธารณสุขและอนามัยยังไม่ดี

โดยปกติของโปรโตซัวลำไส้ของคนจะแบ่งออกได้เป็น ๒ ระยะคือระยะtrophozoite (โทรโฟซอตย์) ซึ่งเป็นระยะที่ทำให้เกิดพยาธิสภาพ และระยะ cyst (ซีสต์) ซึ่งเป็นระยะการแพร่และติดต่อ ดังนั้นการระบาดเกิดได้เนื่องจากผู้ป่วยที่มีซีสต์อยู่ในลำไส้ใหญ่ (ซีสต์ติดต่อได้ เป็นชนิดมี ๔ นิวเคลียส) มีภาพประกอบในห้องโถง หมวดภาพปาราสิต ซิสต์ติดต่อที่ปนออกมากับอุจจาระ น้ำและอาหารที่มีซิสต์ปนเปื้อน เช่นจากปุ๋ย ท่อน้ำประปาที่ไหลผ่านแหล่งโสโครก ปนมากับแมลงวัน ต่อมหรือสิ่งสำรอกจากแมลง คนกินเข้าสู่ร่างกายเมื่อซิสต์มาถึงบริเวณลำไว้ใหญ่ จะแตกออกมากลายเป็นระยะโทรโฟซอตย์ (๑ซิสต์จะกลายเป็น ๔ ตัว) และไชเข้าไปในผิวของลำไส้ทำให้เกิดแผลขึ้น ขณะเดียวกันแต่ละตัวก็จะแบ่งตัวเองเพื่อเพิ่มจำนวนต่อไปด้วย การแบ่งตัวก็จะเพิ่มการทำลายของเนื้อเยื่อของลำไส้ไปเรื่อยๆ บางส่วนก็จะเริ่มเปลี่ยนกลับไปอยู่ในรูปของซิสต์ พร้อมที่จะปนออกมากับอุจจาระเพื่อการระบาดและติดต่อ

อาการ ระยะเฉียบพลัน ขึ้นอยู่กับว่าเชื้อบิดแพร่กระจายไปมากหรือไม่และขึ้นกับสายพันธุ์ของเชื้อ และยังขึ้นกับเชื้อแบคทีเรียปกติในลำไส้อีกด้วย จะมีระยะฟักตัวประมาณ ๘-๑๐ วันหลังจากได้รับเชื้อเข้าไปจะเริ่มเกิดอาการ ด้วยการถ่ายอุจจาระเหลว ปวดท้อง ปวดเบ่ง ไม่มีไข้ จะค่อยๆเริ่มมีมูกปนออกมา และมีกลิ่นเหม็นมากเหมือนหัวกุ้งเน่า จะมีอาการปวดท้องถ่ายบ่อย ถ่ายได้ครั้งละเล็กน้อย เฉลี่ยไม่เกิน ๑๐ ครั้งต่อวัน อาจมีมูกปนเลือดได้ด้วยตรวจร่างกายไม่พบความผิดปกติอื่นนอกจาก กดเจ็บทั่วไปตรงบริเวณลำไส้ใหญ่ตรงจุดที่เป็น เมื่อตรวจมูกอุจจาระจะพบ โทรโฟซอตย์แบบเรื้อรังเป็นผลจากการรักษาแบบเฉียบพลันไม่ถูกต้อง หรือไม่เพียงพอที่จะทำให้ตัวเชื้อตายหมด อาการปวดท้อง ถ่ายเป็นมูกเลือด อาจหายไปได้ในระยะแรกแล้วจะกลับมาเป็นใหม่บางครั้งอาจหายเป็นพักๆ เมื่อทานอาหารผิดแปลกไปหรือแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้เปลี่ยนไปก็จะทำให้เกิดอาการบิดขึ้นได้อีก ในระยะนี้จะตรวจพบได้ทั้ง โทรโฟซอตย์ และ ซิสต์ แบบพาหะไม่แสดงอาการ

อาการโดยปกติจะไม่แสดงอาการผิดปกติ อาจมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูกอาจมีอาการเจ็บเล็กๆน้อยบริเวณท้องน้อยด้านขวา การตรวจอุจจาระจะพบได้ในชนิด ซิสต์

ภาวะแทรกซ้อนของบิดอมีบาที่สำคัญที่สุดและพบได้บ่อยที่สุดได้แก่ โรคบิดอมีบาที่ตับ ตับอักเสบ และฝีในตับ โดยพบได้ในเพศชาย > เพศหญิง ประมาณ ๗ : ๑ มักเป็นใน ผู้ใหญ่ช่วง ๓๐-๕๐ ปีมากกว่าเด็ก จำนวนฝีมักพบแบบหัวเดียวเป็นส่วนใหญ่ มักพบที่ตำแหน่งกลีบขวามากกว่าตับกลีบซ้าย

โดยปกติมักเกิดแผลบิดที่ลำไส้ก่อน เชื้ออมีบ้าเดินทางไปถึงตับได้โดยทางเลือด ทางน้ำเหลือง ทางแผลจากลำไส้ไปสู่ตับทำให้เกิดโพรงของฝีบิดอมีบา ในบริเวณโพรงจะเป็นส่วนของเซลตับที่ตายแล้วปนกับเศษหนองข้นเหนียวสีเหลืองปนเขียว หรือสีกะปิ ส่วนตัวเชื้อจะเกาะอยู่ในส่วนเซลตับที่ยังดีอยู่ ทำให้การเจาะดูดหนองออกเพื่อตรวจหาตัวเชื้อมักไม่ค่อยพบ ถ้าจะพบจะพบได้ในส่วนของโทรโฟซอตย์เท่านั้น จะไม่พบเชื้อแบคทีเรียเลย

การรักษา ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องโดยการให้ยาและมีการดูดหนองออกเป็นระยะในกรณีที่โพรงหนองมีขนาดใหญ่ สำหรับแบบเรื้อรัง การเกิดอาการมักมีประวัติการเป็นโรคบิดอมีบามาก่อนหน้านี้ เมื่อเริ่มเป็นฝีบิดที่ตับ จะเริ่มมีอาการเจ็บชายโครงขวา มีไข้ ถ้าเป็นที่กลีบซ้ายของตับก็จะมีอาการเจ็บตรงลิ้นปี่ ผู้ป่วยจะมีร่างกายทรุดโทรมลง มีอาการขาดน้ำและอาหารร่วมด้วย มีการโป่งนูนขึ้นมาในบริเวณที่เป็นกดเจ็บ

๙.๒ ช่องคลอดอักเสบทริโคโมนาส Trichomonas vaginalis เป็นโรคที่ทำให้เกิดการอักเสบของช่องคลอด และการอักเสบของท่อทางเดินปัสสาวะ ที่มีสาเหตุจากโปรโตซัวชนิดแฟลกเจลเลท ชื่อ Trichomonas vaginalis (ทริโคโมแนส วาจินาลิส) สามารถพบได้ทั้งในหญิงและชาย การตรวจพบจะพบในเพศหญิงได้ง่ายกว่าชาย สาเหตุเชื้อทริโคโมแนส วาจินาลิส เป็นชนิดที่อาศัยอยู่ในเฉพาะในช่องคลอดและท่อทางเดินปัสสาวะ (ต่างกับชนิด ทริโคโมแนส โฮมินิส ซึ่งจะเป็นชนิดที่อาศัยเฉพาะในลำไส้ ) โดยปกติจะตายได้ในช่องคลอดที่มีภาวะเป็นกรด (pH ๓.๘-๔.๔) การติดต่อจากการร่วมเพศ หรือการใช้เสื้อผ้าปะปนกันอาการที่เริ่มพบได่ก่อนคือ อาการคันบรเวณช่องคลอด และมีอาการตกขาวอย่างมาก ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา จะพบอาการผิวหนังอักเสบรอบๆช่องคลอด ซึ่งสามารถลามได้ไปจนถึงหน้าขาทั้งสองข้างได้ การตรวจช่องคลอดพบว่า เยื่อบุช่องคลอดอักเสบ แดงบวม มีตกขาวมากมีกลิ่นเหม็นได้ ในผู้ชายจะพบอาการอักเสบเรื้อรังของท่อทางเดินปัสสาวะ การตรวจวินิจฉัยโรค

โดยการตรวจจากตกขาวที่ได้จากช่องคลอด ท่อปัสสาวะ สามารถตรวจพบตัว ทริโคโมแนสวาจินาลิสได้ การรักษาค่อนข้างยากต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วยเป็นอย่างดีด้วย ต้องมีการรักษาความสะอาดของช่องคลอดให้ยาฆ่าเชื้อ ทริโคโมแนส วาจินาลิส เป็นเวลา ๑๐ วัน ในกรณีที่แต่งงานแล้ว ควรให้ทานทั้งสามีและภรรยาพร้อมกันเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นใหม่

๙.๓ โรคท้องเสีย ไกอาร์ดิเอซิส (Giardiasis) เกิดจากเชื้อโปรโตซัวชนิด Giardia lamblia ทำให้เกิดอาการ ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องอืด ท้องเฟ้อ จนถึงท้องเสียได้ เป็นโปรโตซัวชนิดแบบมีหนวดในการเคลื่อนที่ flagellate (แฟลกเจลเลท) มีทั้งชนิด โทรโฟซอตย์ (ระยะทำให้เกิดอาการ) และซิสต์ (ระยะแพร่และติดต่อ) พบได้ในลำไส้เล็ก และพบบางในถุงน้ำดี โดยปกติจะไม่ทำลายเนื้อเยื่อของผนังลำไส้ โดยถ้ามีจำนวนไม่มากจะไม่แสดงอาการผิดปกติใดๆ แต่ถ้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในลำไส้ ก็จะทำให้เกิดอาการท้องเดินได้ ขัดขวางการดูดซึมไขมันเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ไขมันปนออกมากับอุจจาระมาก ( steatorrhoea) ผู้ป่วยจะผอมลง อาจเกิดท่อทางเดินน้ำดีและถุงน้ำดีอักเสบได้ การตรวจวินิจฉัยโดยการตรวจอุจจาระแบบสดๆ จะพบซีสต์ได้มากกว่าแบบโทรโฟซอตย์ แต่จะพบโทรโฟซอตย์ได้ในช่วงที่มีอาการท้องเดิน การรักษาโดยการให้ยาเป็นเวลานาน ๕ วัน อาจให้ซ้ำอีกชุดได้

๙.๔ไข้จับสั่น/มาลาเรีย Malaria (ไข้มาลาเรีย ไข้จับสั่น ไข้ป่า) เชื้อที่ทำให้เป็นไข้มาลาเรียมีอยู่หลายชนิด แต่ที่สำคัญในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ พลาสโมเดียมฟาลซิพารัม (Plasmodium falciparum) กับ พลาสโมเดียมไวแวกซ์ (Plasmodium vivax) ชนิดฟาลซิพารัม พบได้ประมาณ ๗๐-๙๐% มักมีปัญหาดื้อยาและมีโรคแทรกซ้อนได้มาก เช่น ดีซ่าน มาลาเรียขึ้นสมอง, ดีซ่าน, ไตวาย ฯลฯ เป็นอันตรายถึงตายได้ชนิดไวแวกซ์ พบได้ ๑๐-๓๐% มักไม่ดื้อยา (ยาคลอโรควีน ยังใช้ได้ผล) และมีโรคแทรกซ้อนน้อย ที่สำคัญ คือ เชื้อนี้สามารถหลบซ่อนอยู่ ในตับได้นาน ๆ ทำให้มีอาการกำเริบได้บ่อย โดยที่ไม่ต้องได้รับเชื้อใหม่ เชื้อมาลาเรีย ซึ่งเป็นสัตว์เซลล์เดียว หรือโปรโตซัว (Protozoa) เช่นเดียวกับบิดอะมีบา มียุง ก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค คือต้องถูกยุงที่มีเชื้อมาลาเรียกัดจึงจะเป็นโรคหรืออาจเกิดจากการได้รับเลือดจากคนที่มีเชื้ออยู่ระยะฟักตัว ชนิดฟาลซิพารัม ๘-๑๒ วัน (สั้นที่สุด ๕ วัน) ชนิดไวแวกซ์ ๑๐-๑๕ วัน (อาจนานหลายเดือน) ถ้าเกิดจากการให้เลือด อาจมีอาการเกิดขึ้นเร็วกว่านี้

อาการจะเกิดหลังจากได้รับเชื้อโดยถูกยุงก้นปล่องกัดประมาณ ๑๐-๑๔ วัน แต่อาจนานหลายสัปดาห์ หรือหลายเดือนก็ได้ ใน ๒-๓ วันแรก อาจมีอาการปวดศีรษะ ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อยตามตัวคล้ายไข้หวัดใหญุ่ ต่อมาจึงจะมีอาการไข้จับสั่นเป็นเวลา ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของมาลาเรียอาการจับไข้ แบ่งออกเป็น ๓ ระยะ ดังนี้

๑. ระยะหนาว มีอาการหนาวสั่นมากและไข้เริ่มขึ้น ปวดศีรษะ ผิวหนังซีด อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ระยะนี้กินเวลา ๒๐-๖๐ นาที

๒. ระยะร้อน ไข้ขึ้นสูงประมาณ ๔๐ ํซ. ปวดศีรษะมาก อาจปวดลึกเข้าไปในกระบอกตา หน้าแดงตาแดงกระสับกระส่าย เพ้อ กระหายน้ำ ชีพจรเต้นเร็ว อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อในเด็กอาจชักได้ กินเวลาประมาณ ๒ ชั่วโมง (อาจนาน ๓-๘ ชั่วโมง)

๓. ระยะเหงื่อออก จะมีเหงื่อออกชุ่มทั้งตัว ไข้จะลดลงเป็นปกติ แต่จะรู้สึกอ่อนเพลีย และหลับไปกินเวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง

ผู้ป่วยมาลาเรียชนิดไวแวกซ์ มักจับไข้วันเว้นวัน หรือทุก ๔๘ ชั่วโมง เวลาไม่จับไข้จะรู้สึกสบายดี มักจะคลำได้ม้ามโตในปลายสัปดาห์ที่ ๒ ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะมีไข้วันเว้นวันอยู่ประมาณ ๖ สัปดาห์ถึง ๓ เดือน (อาจนานกว่านั้น) แล้วจะหายไปเอง ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาหรือรักษาไม่ถูกต้อง แม้ว่าไข้จะหายไปแล้ว แต่ก็อาจกลับเป็นได้ใหม่หลังจากหายไป ๒-๓ สัปดาห์ หรือ ๒-๓ เดือน แต่อาการจะน้อยกว่าครั้งแรก ผู้ป่วยอาจมีอาการกำเริบเป็น ๆ หาย ๆ บ่อย และมักไม่มีโรคแทรกร้ายแรง บางคนอาจกินเวลานานถึง ๒-๓ ปี กว่าจะหายขาด จึงเรียกว่า "มาลาเรียเรื้อรัง"

ผู้ป่วยมาลาเรียชนิดฟาลซิพารัม มักจับไข้ทุกวันหรือทุก ๓๖ ชั่วโมง แต่อาจจับไม่เป็นเวลา อาจจับทั้งวัน หรือวันละหลายครั้ง ระยะไม่จับไข้ก็ยังรู้สึกไม่ค่อยสบาย และอาจมีไข้ต่ำ ๆ อยู่เรื่อย บางรายอาจ

มีอาการปวดท้อง ท้องเดินร่วมด้วย ม้ามจะโตในวันที่ ๗- ๑๐ ของไข้ ถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ไข้จะลงภายใน ๓-๕ วัน ถ้ารักษาไม่ถูกต้อง อาจมีโรคแทรกร้ายแรงถึงตายได้ จึงเรียกว่า "มาลาเรียชนิดร้ายแรง"

โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่ มาลาเรียขึ้นสมอง (หมดสติหรือชัก), มาลาเรียลงตับหรือตับอักเสบ (ดีซ่าน), มาลาเรียลงกระเพาะลำไส้ (ท้องเดิน เป็นบิดถ่ายเป็นมูกเลือด), มาลาเรียลงไตหรือภาวะไตวาย (ปัสสาวะออกน้อย หรือไม่ออกเลย), ปอดบวมน้ำ (Pulmonary edema, ภาวะเม็ดเลือดแดงแตก (ซีดและปัสสาวะดำ), ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ, ภาวะการเสียสมดุลน้ำและอีเล็กโทรไลต์, โรคไตเนโฟรติก (๑๓เป็นต้น ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ อาจเกิดเพียงอย่างเดียวหรือหลายอย่างพร้อมกัน เป็นอันตรายถึงตายได้ถ้าเกิดในหญิงตั้งครรภ์ อาจทำให้แท้งบุตร หรือคลอดก่อนกำหนด

การรักษา ให้การรักษาตามอาการ, ให้ยาลดไข้ และให้ยารักษามาลาเรีย ตามชนิดของเชื้อที่พบ การป้องกัน เมื่อต้องเดินทางเข้าไปในเขตป่าเขา ควรป้องกันไม่ให้ยุงก้นปล่องกัด โดยการนอนกางมุ้ง และใช้ยากันยุง ยาที่ใช้ป้องกัน ตามที่เคยแนะนำในอดีตนั้น พบว่า ไม่ได้ผลมากนัก ดังนั้นในปัจจุบัน จึงไม่แนะนำให้กินยาป้องกันล่วงหน้า แต่แนะนำว่า ถ้าออกจากป่าแล้วมีอาการไข้ หรือมีอาการสงสัยเป็นมาลาเรีย ให้รีบทำการตรวจรักษา

๙.๕ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสจากอะมีบา (Amoebic Meningo Encephalitis ) มีสาเหตุจากเชื้ออะมีบาใน Genus Naegleria และ Acanthamoeba ซึ่งทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบและเนื้อสมองอักเสบ และมีอาการรุนแรงถึงแก่ความตายได้ไรคนี้เคยมีรายงานในประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม เช็คโกสโสวาเกีย เป็นต้น เชื้ออะมีบาใน Genus Naegleria และ Acanthamoeba ซึ่งโดยปกติแล้วเป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิตอยู่เป็นอิสระ อาศัยอยู่ในบ่อน้ำ หรือในที่ที่บริเวณน้ำไหลช้าๆ และที่ที่เป็นดินโคลน โดยอาศัยกินของเสียจากแบคทีเรีย มีการเพิ่มจำนวนโดยการแบ่งตัวแบบ binary fission และสามารถเปลี่ยนสภาพเป็นซีสท์ หรือมี flagella ได้ถ้าสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม ระยะโทรโฟซอยท์ (trophozoite) ของอะมีบาชนิดนี้จะมีขนาดเล็กกว่าของเชื้อ Entamoeba โรคติดได้โดยผ่านเข้าทางจมูก และผ่านเข้าเยื่อบุจมูก มักเกิดกับเด็กหรือผู้ใหญ่ที่ไปเล่นน้ำในบริเวณที่มีเชื้อนี้อยู่ เมื่อเชื้อผ่านเข้าเยื่อบุจมูก อาจโดยการสำลักน้ำเข้าทางจมูก เชื้อจะผ่านเข้าไปยัง olfactorybulb ทำให้เกิดอาการอักเสบที่ประสาทส่วน olfactory และลามต่อไปยังเนื้อสมองและเยื่อหุ้มสมองได้ โรคนี้มักพบมากในหน้าร้อน

พบมีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดเป็นหนองแบบเฉียบพลัน (acute purulent meningitis) มีการ

อักเสบของ Subarachnoid area มีเลือดออก และมี fibrous thickening ของเยื่อหุ้มสมองร่วมด้วย โดยเฉพาะบริเวณที่ฐานของสมอง เนื่อสมองเองพบมีการบวม นุ่มและมีการอักเสบทั่วไปได้เมื่อส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์พบว่ามี fibrous purulent meningeal reaction ซึ่งประกอบไปด้วยโมโนนิวเครียส เซลศ์ และโพลรมอร์ฤ พบที่สมองและไขสันหลัง มีnecrotizing vasculitis ได้ในรายที่มีการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองมากๆมักพบตัวอะมีบาร่วมด้วย ในเนื้อสมองพบมีตัวอะมีบารุกล้ำเข้าไปในคอร์เท็กซ์ของสมองโดยตรง และทำให้เกิดเนื้อเยื่อสมองอักเสบโดยมีเซลส์ไป infiltrate เกิดมีthrombosis / necrosis ของหลอดเลือดได้ ที่บริเวณ Cribriform plate และ olfactory mucosa มีการเปลี่ยนแปลงมากที่มิวโคซ่าจะมีแผลและอักเสบมาก ซึ่งมักจะพบตัวอะมีบาในบริเวณนั้นด้วย ตัวประสาท olfactory ก็มีการอักเสบและบางคราวก็พบมีเนื้อเยื่อตายและมีตัวอะมีบาอยู่มาก ที่บริเวณ olfactory bulb ก็มีการอักเสบมากมีเลือดออกร่วมด้วยอาจมีขนาดและรูปร่างเปลี่ยนไปได้ จะไม่พบอะมีบาในประสาทสมองอันอื่นเลยนอกจากนั้นยังมีรายงานว่าเชื้อสามารถกระจายเข้าสู่กระแสโลหิตไปยังอวัยวะอื่นๆได้ เช่น ปอด ตับ ม้ามและกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบได้ ในการตรวจน้ำไขสันหลังจะพบว่ามีลักษณะขุ่น มีสีแดงปนน้ำตาล เมื่อส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์พบตัวอะมีบาชนิดนี้ได้ นอกจากนี้จะพบเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวด้วย แต่ไม่พบแบคทีเรีย

อาการและอาการแสดงส่วนมากพบในเด็กปกติที่หลังจากไปว่ายหรือเล่นในน้ำได้ไม่นาน มีระยะฟักตัวสั้นมาก อาการที่เริ่มแสดงออกจะมีอาการปวดศีรษะโดยทันที มีไข้ต่ำๆบางคราวร่วมกับการมีอาการเจ็บคอและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาการเหล่านี้จะเป็นมากและอย่างรวดเร็วภายใน ๓ วัน ไข้จะขึ้นสูง อาการปวดศีรษะจะเพิ่มมากขึ้นร่วมกับมีอาการอาเจียนและคอแห้ง และอาจถึงกับมีอาการหมดสติได้ภายในเวลา ๓ วัน มีอาการคล้ายกันมากกับรายที่เป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบเพราะเชื้อหนอง ผู้ป่วยมักจะตายในราววันที่ ๕-๖ ของโรคด้วยอาการหมดสติอย่างลึก ระบบหายใจและการหายใจล้มเหลว ตรวจระบบประสาทนอกจากอาการคอแข็งและอาการหมดสติแล้ว มักจะพบว่าอาจเสียการมองเห็น การเสียการรับรู้กลิ่นตรวจน้ำไขสันหลังจะพบเม็ดเลือดขาวเป็นจำนวนมาก อาจถึง ๒๐๐๐๐ เซลส์ต่อลูกบาศ์กมิลลิเมตรได้ ส่วนใหญ่เป็นโพลีมอร์ฟ ส่วนเม็ดเลือดแดงอาจไม่พบเลยไปจนถึงพบได้เป็นจำนวนมาก การตรวจโปรตีนในน้ำไขสันหลังพบค่าสูงกว่าปกติมากๆได้ ส่วนน้ำตาลมีระดับต่ำกว่าปกติ ที่สำคัญคือสามารถพบตัวอะมีบา ชนิดนี้ได้ประมาณร้อยละ ๓๐ ของผู้ป่วยที่เป้นโรคนี้ และเมื่อนำน้ำไขสันหลังนี้ไปเพาะเชื้อแบคทีเรียจะให้ผลลบ

การวินิจฉัยโรคจากประวัติมีอาการหลังการไปเล่นหรือว่ายน้ำ ตรวจพบตัวอะมีบานี้ในน้ำไขสันหลัง ซึ่งอาจสามารถตรวจพบโดยการส่องกล้องแบบธรรมดาหรือดูด้วยกล้อง phase contrast หรือจะดูด้วยกล้อง dark ground illumination ได้

รักษามักไม่ได้ผล ผู้ป่วยเกือบทุกรายมักเสียชีวิต

๙.๖ โรคติดเชื้อ Giardia lamlia(Giardiasis) เป็นโรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร จากเชื้อ Giardia lamlia เป็นสัตว์เซลล์เดียวมีหาง ๒ คู่ และมีนิวเคลียส ๒ อันทำให้ดูจากกล้องจุลทรรศน์คล้ายหน้าคน สามารถเปลี่ยนรูปร่างเป็นถุง cyst ได้เมื่อสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสม

การติดต่อของเชื้อ โรคนี้ติดต่อได้ทางอาหารและน้ำดื่ม ทำให้เกิดอาการท้องเสียค่อนข้างรุนแรง อุจจาระจะมีกลิ่นเหม็นรุนแรง และทำให้เกิดอาการท้องเสียแบบเรื้อรังได้ มักได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคบิดมีตัว

๙.๗ โรคติดเชื้อ Trichomonas vaginalis (Trichomoniasis) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชี้อ Trichomonas vaginalis เป็นอมีบาในสกุล Mastigophora ไม่สร้างถุง Cyst ติมต่อโดยการร่วมเพศ ผู้ติดเชี้อมีอาการตั้งแต่คันบริเวณอวัยวะเพศ จนถึงอาการปัสสาวะขัด มีหนองสีขาวขุ่นเป็นหนอง ในผู้หญิงมักมีอาการของปากมดลูกอักเสบ ในผู้ชายบางรายทำให้จำนวนเชื้ออสุจิลดลง

๙.๗ โรคติดเชื้อ Balantidium coli (Balantidiasis) เป็นโรคติดเชี้อทางเดินอาหาร จากเชื้อ Balntidium coli ซึ่งเป็นโปรโตซัวในกลุ่ม Ciliophora สามารถสร้างถุง Cyst ได้ซึ่งจะถูกขับออกมาทางอุจจากระ การติดต่อโดยทางอาหารและน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อ เชื้อจะทำให้เกดิอาหารอุจจาระร่วนอย่างแรง ร่วมกับมีแผลในลำไส้เล็ก

๙.๘ โรคติดเชื้อ Toxoplasma gondii (Toxoplasmosis) เป็นโรคติดเชี้อตามอวัยวะต่างๆของอวัยวะภายในของร่างกายได้หลายแห่งรวมทั้งกล้ามเนื้อ เกิดจากเชี้อ Toxoplasma gondii ซื่งอยู่ในสกุล Sporozoa เป็นโรคติดเชื้อ Protopzoa ที่พบได้มากที่สุดในคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่มีภูมิต้านทานต่ำ และมักจะมีอาการรุนแรง การติดเชื้อในหญิงตั้งครรภ์มักทำให้ทารกพิการหรือแท้ง

๙.๑๐ โรคมาลาเรีย (Malaria) มาลาเรียเป็นโรคติดเชี้อในกลุ่ม Plasmodium ซึ่งเป็น Sporozoa ชนิดหนึ่ง ปกติเชื้อมาลาเรียนั้นจะต้องอาศัยเจริญเติบโตใน host ๒ ชนิดได้แก่ คนและยุงก้นป่อง(Anopheles) โดยเชี้อในระยะที่ไม่อาศัยเพศจากยุง(asexual merozoite stage)ะเข้าสู่ตัวคนที่ถูกยุงกัดและเข้าไปเจริญเติบโตอยู่ในเม็ดเลือดแดงของคนและพัฒนาเป็นเชี้อในระยะที่อาศัยเพศ(sexual stage of plasmodium) จะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกและเชื้อก็จะออกมาสู่ภายนอกและเมื่อผู้ป่วยถูกยุงก้นป่องกัด เชื้อระยะนี้จะเข้าไปสู่ต่อมน้ำลายยุงและพัฒนาจะครบวงจรและเกิดเป็นระยะที่ไม่อาศัยเพศเพื่อการถ่ายทอดมีสู่คนอีก การแตกของเม็ดเลือดแดงนั้นทำให้ผู้ป่วยมีอาการไข้ หนาวสั่น ซีด และอ่อนเพลีย โดยปกติอาการไข้หนาวสั่นจะเกิดขึ้นเป็นระยะๆห่างกันประมาณ ๔๘-๗๒ ชั่วโมงซึ่งเกิดตามจังหวะการแตกของเม็ดเลือด ซึ่งเกิดจากเชี้อที่แตกต่างกัน

๙.๑๑ โรคติดเชื้อกลุ่ม Cryptosporidium (Cryptosporidiosis) เป็นโรคติดเชี้อทางเดินอาหารที่เกิดจากเชื้ในกลุ่ม Cryptosporidium เชื้อโรคนี้จะทำให้เกิดอาการอุจจาระร่วงเล็กน้อยในคนที่มีภูมิต้านทางปกติ แต่ถ้าเป็นคนที่มีภูมิต้านทานต่ำจะทำให้เกิดอาการอุจจาระร่วงอย่างรุนแรง

๙.๑๑ โรคติดเชี้อ Pneumocystis carinii(Pneumocystosis) เป็นการติดเชื้อโปรโตซัวในกลุ่ม Sporozoa แต่ในระยะหลังมีการจัดกลุ่มให้เป็นเชื้อรา การติดต่อโดยการหายใจ ในผู้ป่วยที่ภูมิต้านทานปกติอาจไม่มีอาการหรือมีอาการของทางเดินหายใจเพียงเล็กน้อย แต่ในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำเช่นคนไข้ที่ติดเชื้อเอดส์มักจะทำให้เสียชีวิต

................
................

In order to avoid copyright disputes, this page is only a partial summary.

Google Online Preview   Download