สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ



สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ โครงการวิจัย

แบบเสนอโครงการวิจัย (research project)

ประกอบการเสนอของบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ตามมติคณะรัฐมนตรี

------------------------------------

ชื่อโครงการวิจัย (ภาษาไทย) การศึกษาผลของเปลือกมะไฟจีนในหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิด เบาหวาน

(ภาษาอังกฤษ) Study the effect of Clausena lansium (Lour.) Skeels peel in the C rat model

ชื่อแผนงานวิจัย (ภาษาไทย) การศึกษาความเป็นไปได้ในการนำมะไฟจีนเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร

เพื่อสุขภาพ

(ภาษาอังกฤษ) Feasibility study on Clausena lansium (Lour.) Skeels extract for Health products

ส่วน ก : ลักษณะโครงการวิจัย

( โครงการวิจัยใหม่

( โครงการวิจัยต่อเนื่องระยะเวลา…….ปี ปีนี้เป็นปีที่..….. รหัสโครงการวิจัย..…....….....…..

I ระบุความสอดคล้องของโครงการวิจัยกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)

- ยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน

II ระบุความสอดคล้องของโครงการวิจัยกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2555-2559)

- ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 3 การอนุรักษ์ เสริมสร้างและพัฒนาทุนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

- กลยุทธ์การวิจัยที่ 2 บริหารจัดการและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

- แผนงานวิจัย 1.2 การวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาองค์ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน

- กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช

III ระบุความสอดคล้องของโครงการวิจัยกับยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติรายประเด็น(

- ยุทธศาสตร์การวิจัยรายประเด็นด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

IV ระบุความสอดคล้องของโครงการวิจัยกับนโยบายรัฐบาล((

- รอรายละเอียดในคำแถลงนโยบายรัฐบาลชุดใหม่

ส่วน ข : องค์ประกอบในการจัดทำโครงการวิจัย

1. ผู้รับผิดชอบ:

1.1 หัวหน้าโครงการวิจัย: นางสาวรัชนีพร กงซุย

ตำแหน่ง: อาจารย์

หน่วยงาน สาขาวิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

มหาวิทยาลัยพะเยา

ที่อยู่ ต.แม่กา อ.เมือง จ.พะเยา 56000

โทรศัพท์ 09-3432-5902 / 054-466666 ต่อ 1750

โทรสาร 054-466663

e-mail rat_nick@

บทบาท หัวหน้าโครงการวิจัย

สัดส่วนที่ทำการวิจัย: 50%

1.2 ผู้ร่วมโครงการวิจัย: ดร.วาทิตา ผจญภัย

ตำแหน่ง: อาจารย์

หน่วยงาน: สาขาวิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

มหาวิทยาลัยพะเยา

โทรศัพท์: 054-466666 ต่อ 1750

โทรสาร: 054-466663

อีเมล: phachonpai@

บทบาท: ผู้ร่วมวิจัย

สัดส่วนที่ทำการวิจัย: 30%

1.3 ผู้ร่วมโครงการวิจัย: ดร. ภัคสิริ สินไชยกิจ

ตำแหน่ง: อาจารย์

หน่วยงาน: สาขาวิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

มหาวิทยาลัยพะเยา

โทรศัพท์: 054-466666 ต่อ 1758

โทรสาร: 054-466663

อีเมล: puksiri1@

บทบาท: ผู้ร่วมวิจัย

สัดส่วนที่ทำการวิจัย: 10%

1.4 ผู้ร่วมโครงการวิจัย: ผศ.ดร.สุภาพร มัชฌิมะปุระ

ตำแหน่ง: ผู้ช่วยศาสตราจารย์

หน่วยงาน: ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

โทรศัพท์: 0-4334-8394

โทรสาร: 0-4334-8394

อีเมล: supmuc@kku.ac.th

บทบาท: ผู้ร่วมวิจัย

สัดส่วนที่ทำการวิจัย: 10%

1.5 หน่วยงานหลัก:

สาขาวิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา

1.6 หน่วยงานสนับสนุน:

ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2. ประเภทการวิจัย:

การวิจัยประยุกต์ (Applied research)

3. สาขาวิชาการและกลุ่มวิชาที่ทำการวิจัย:

สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์

4. คำสำคัญ (keywords) ของโครงการวิจัย

มะไฟจีน (Clausena lansium (Lour.) Skeels), เบาหวาน (Diabetes Mellitus), ภาวะเครียดออกซิเดชั่น (oxidative stress), สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant)

5. ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย

โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) เป็นโรคทางระบบต่อมไร้ท่อที่เรื้อรังและเป็นปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญของประชากรโลกรวมทั้งในประเทศไทย รายงานสถานการณ์ของโรคนี้พบว่า ปัจจุบันมีผู้เป็นเบาหวานทั่วโลกแล้ว 366 ล้านคน ในขณะที่แนวโน้มผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยเพิ่มสูงมากขึ้น จากร้อยละ 4.4 ในปีพ.ศ. 2540 เป็นร้อยละ 6.9 ในปี พ.ศ. 2552 (1) จากการที่จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบไปยังครอบครัว ชุมชน รวมไปถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งเป้าหมายของการรักษาโรคเบาหวานในปัจจุบัน คือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเพื่อชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ โดยการใช้ยาเม็ดลดระดับน้ำตาลในเลือด และยาฉีดอินซูลินซึ่งมีราคาค่อนข้างสูง เกิดผลข้างเคียง และยังมีข้อจำกัดของการใช้ยาอยู่มาก (2), (3) ดังนั้นการนำพืชผักสมุนไพรมาใช้ลดระดับน้ำตาลในเลือด หรือบรรเทาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดจากโรคเบาหวาน จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในการศึกษาวิจัยเพื่อดูผลของพืชสมุนไพรนั้นๆในการลดระดับน้ำตาลในเลือด และหากประเทศไทยสามารถพัฒนายารักษาโรคเบาหวานจาก พืชสมุนไพรภายในประเทศได้ก็จะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของชาติ ลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศ และเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรอีกทางหนึ่งซึ่งจะนำไปสู่การทดลองทางคลินิกและพัฒนาต่อไปจนถึงการผลิตเชิงพาณิชย์

รายงานการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า มีพืชสมุนไพรไทยหลายชนิดที่มีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เช่น ใบสะแกเครือ (Combretum decandrum Roxb.) หญ้าหนวดแมว (Orthosiphon arisatus Miq.) (4) เป็นต้น ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาในการนำพืชสมุนไพรท้องถิ่นทางภาคเหนือ มาศึกษาฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด และจากการตรวจสอบเอกสารรายงานการวิจัย พบว่า สารในกลุ่มphenolic compounds ที่มีอยู่มากมายในพืช ผัก สมุนไพร ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถป้องกันหรือรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของอนุมูลอิสระในร่างกาย หรือที่เรียกว่า “ภาวะเครียดออกซิเดชั่น (oxidative stress)” ได้ เช่น โรคหัวใจ มะเร็ง ความดันโลหิตสูง รวมทั้งโรคเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และ 2 (5), (6) ดังนั้นสารสกัดจากพืชผักสมุนไพรต่างๆ ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จึงอาจสามารถรักษาหรือบรรเทาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้

มะไฟจีน (Clausena lansium (Lour.) Skeels) พืชในตระกูลส้ม พบมากทางภาคเหนือตอนบน โดยเฉพาะจังหวัดน่าน ข้อมูลการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า มะไฟจีนมีสรรพคุณหลายด้าน เช่น ปกป้องเซลล์ตับ (hepatoprotective) (7) ต้านไวรัส (antiviral activities) (8) และช่วยเพิ่มการส่งสัญญาณประสาท (9) ที่สำคัญยังช่วยป้องกันภาวะเครียดออกซิเดชั่น เนื่องจากผล และเปลือกของมะไฟจีนมีสารในกลุ่มโพลีฟีนอล (polyphenol) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณมาก (10) และเมื่อวิเคราะห์ดูสารสำคัญที่มีในเปลือกมะไฟจีน พบว่ามีสาร clausenacoumarine ที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดในปริมาณที่สูง (11) ผู้วิจัยจึงได้คัดเลือกมะไฟจีนในส่วนของเปลือกผลที่เหลือจากโครงการที่ 1 และ 2 ในแผนงานวิจัยเดียวกันนี้ มาศึกษาเพิ่มเติมถึงฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดในหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้เกิดภาวะเบาหวาน ซึ่งในปัจจุบัน ยังมีรายงานการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ที่แสดงฤทธิ์ของสารสกัดเปลือกมะไฟจีน ในประเด็นดังกล่าวน้อยมาก ผลจากการศึกษาครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม (value-added products) ส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศให้ดียิ่งขึ้นแล้ว ยังเป็นการต่อยอดพัฒนาองค์ความรู้ด้านการวิจัยมาประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ (complimentary alternative medicine) โดยการนำสารสกัดจากเปลือกมะไฟจีนที่เหลือใช้ มาแปรรูปเป็นอาหารเสริมสุขภาพในการช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคดังกล่าวได้ในอนาคต

6. วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย

1) เพื่อสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

2) เพื่อศึกษาผลของสารสกัดเปลือกมะไฟจีนต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวาน

3) เพื่อศึกษาผลของสารสกัดเปลือกมะไฟจีนต่อการตอบสนองของอินซูลินในกระแสเลือดของหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวาน

4) เพื่อศึกษาผลของสารสกัดเปลือกมะไฟจีนต่อผลของระดับน้ำตาลที่เกาะอยู่ที่ส่วนประกอบในเม็ดเลือดแดง (glycated hemoglobin; HbA1c) ของหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวาน

7. ขอบเขตของโครงการวิจัย

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาผลของสารสกัดเปลือกมะไฟจีนต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูขาวที่เหนียวนำให้เกิดภาวะเบาหวานโดยสเตรปโตโซโตซิน (streptozotocin)

สัตว์ทดลองที่ใช้การวิจัยครั้งนี้ จะใช้หนูขาวเพศผู้ เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมน estrous cycle ส่วนการแบ่งกลุ่มสัตว์ทดลองจะทำเป็น parallel กันไประหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองเพื่อป้องกันผลกระทบทางด้านฤดูกาล

กรรมวิธีการสกัดสารจากเปลือกมะไฟจีน จะทำโดย ดร.ภัคสิริ สินไชยกิจ สาขาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา เปลือกมะไฟจีนที่นำมาสกัด ได้มาจากเปลือกผลมะไฟจีนที่เหลือจากโครงการที่ 1 และ 2 ในแผนงานวิจัยนี้ ในการป้อนสารต่างๆ จะทำในช่วงเวลาเดียวกันตลอดการทดลองเพื่อหลีกเลี่ยงจากผลกระทบเรื่อง biological rhythm สำหรับระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ประมาณ 1 ปี หลังผ่านการพิจารณาจรรยาบรรณการใช้สัตว์ทดลอง

8. ทฤษฎี สมมุติฐาน และกรอบแนวความคิดของโครงการวิจัย

กรอบแนวคิด

โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีพยาธิสภาพของโรคเกี่ยวกับกลไก 2 ชนิดคือ ภาวะไกลเคชั่น (Glycation) และการทำลายตับอ่อนโดยอนุมูลอิสระ (Oxidative Stress) รายงานการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าสารต้านอนุมูลอิสระจากพืช ผัก ผลไม้ หรือสมุนไพรต่างๆ สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้ ดังนั้นสารสกัดเปลือกมะไฟจีนซึ่งมีระดับของสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณมาก รวมทั้งมีสาร clausenacoumarine ที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดในปริมาณที่สูงจึงน่าจะมีศักยภาพในการลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันภาวะเบาหวานได้

สมมุติฐาน

1) ถ้าสารสกัดเปลือกมะไฟจีนสามารถป้องกันภาวะเบาหวานได้ หนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะเบาหวาน และได้รับสารสกัดดังกล่าว จะมีระดับน้ำตาลในเลือดน้อย กว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัด 2) ถ้าสารสกัดเปลือกมะไฟจีนสามารถป้องกันภาวะเบาหวานได้ หนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะเบาหวาน และได้รับสารสกัดดังกล่าว จะมีการตอบสนองของอินซูลิน ต่อระดับน้ำตาลในกระแสเลือดดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัด

3) ถ้าสารสกัดเปลือกมะไฟจีนสามารถป้องกันภาวะเบาหวานได้ หนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะเบาหวาน และได้รับสารสกัดดังกล่าว จะมีระดับของ HbA1c น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัด

9. การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ (information) ที่เกี่ยวข้อง

โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus)เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของกระบวนการเมทาบอลิซึม ในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (hyperglycemia) ซึ่งมีสาเหตุมาจากเซลล์สร้างอินซูลินในตับอ่อนซึ่งสร้างอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดถูกทำลาย ทำให้ร่างกายหยุดการหลั่งอินซูลิน หรือมีการหลั่งอินซูลินน้อยลง หรืออาจเกิดจากอินซูลินที่หลั่งออกมา ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เนื่องจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลินผลกระทบของโรคเบาหวานต่อร่างกายในระยะยาว เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ อาทิเช่น ภาวะของการมองเห็นที่แย่ลง ภาวะไตวาย โรคทางระบบประสาทและโรคหลอดเลือดหัวใจ พยาธิสรีรภาพของโรคนี้จะเกี่ยวข้องกับกลไกที่สำคัญ 2 ชนิด คือภาวะไกลเคชั่น (glycation) และ การทำลายโดยอนุมูลอิสระ (oxidative stress) ระดับนํ้าตาลในเลือดที่สูงขึ้นในผู้ป่วยเบาหวานสามารถชักนำให้เกิดสารอนุมูลอิสระ และยังทำให้การทำงานของระบบต้านอนุมูลอิสระในร่างกายลดลง (12) ทั้งสองปัจจัยเป็นสาเหตุของภาวะเครียดออกซิเดชั่น ซึ่งกลไกการชักนำให้เกิดสารอนุมูลอิสระเกิดได้หลายแบบ เช่น กระบวนการออกซิเดชั่นของกลูโคส (glucose oxidation) กระบวนการการรวมตัวกันระหว่างนํ้าตาลกับโปรตีน (nonenzymatic glycation of proteins) และการย่อยสลายผ่านปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของโปรตีนที่เกาะกับนํ้าตาล (oxidative degradation of glycated proteins) (13)

มะไฟจีน Clausena lansium (Lour.) เป็นพืชผลไม้ที่พบมากทางภาคเหนือ ซึ่งในอนาคตอาจจัดอยู่ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ตามโครงการพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา (อพ.สธ.) รายงานการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าเปลือกของพืชชนิดนี้มีสารต้านอนุมูลอิสระปริมาณมาก ซึ่งเป็นสารในกลุ่มโพลีฟีนอล (polyphenol) อาทิเช่น ฟีนอลิค แอซิดส์ (phenolic acids) ฟลาโวนอยด์ (flavonoids) แอนโธไซยานิดินส์ (anthocyanidins) และแทนนินส์ (tannins) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ต้านโรคหลอดเลือดและหัวใจ รวมทั้งมีสาร clausenacoumarine ที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดในปริมาณที่สูงจึงน่าจะมีศักยภาพในการลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันภาวะเบาหวานได้ (14), (15) ดังนั้นผู้วิจัยจึงมุ่งศึกษาเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว เพื่อนำสารสกัดเปลือกมะไฟจีนต้นแบบ มาใช้เป็นข้อมูลในการทำผลิตภัณฑ์อาหารเสริมบำรุงสุขภาพป้องกันภาวะเบาหวานในอนาคต ที่สำคัญยังเป็นการอนุรักษ์พันธุ์พืชพื้นเมืองของภาคเหนือไม่ให้สูญหายไป

10. เอกสารอ้างอิงของโครงการวิจัย

1. นิพา ศรีช้าง. (2554). การคาดประมาณจำนวนประชากรที่เป็นโรคเบาหวานในประเทศไทย ในปี พ.ศ.2554-2563. กรุงเทพฯ: สำนักโรคไม่ติดต่อ.

2. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ (2551). การประเมิน ความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2551.กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์ จำกัด.

3. วิโรจน์ เจียมจรัสรังศรีและวิฑูรย์ โล่สุนทร. (2550). ทบทวนวรรณกรรมเรื่อง การปรับเปลี่ยน วิถีชีวิตกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน.กรุงเทพฯ: ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

4. มาลี บรรจบ, และสุธิดา ไชยราช. (2541). การศึกษาสรรพคุณลดน้ำตาลในเลือดของพันธุ์ไมไทย. นนทบุรี :เอส.อาร.พริ้นติ้งแมสโปรดักส.

5. Chakraborti A, Gulati K, Dev Banerjee B, Raya A. Possible involvement of free radicals in the differential neurobehavioral responses to stress in male and female rats. Behavioural Brain Research. 2007; 179: 321–5.

6. Vendemiale G, Grattagliano I, Altomare E. An update on the role of free radicals and antioxidant defense in human disease. International Journal of Clinical and Laboratory Research. 1999; 29: 49–55.

7. Liu GT , Li WX, Chen YY, and Wei HL. Hepatoprotective action of nine constituents isolated from the leaves of Clausena lansium in mice. Drug Development Research. 1996; 39: 174–8.

8. Ng TB, Lam SK, and Fong WP. A homodimeric sporamin-type trypsin inhibitor with antiproliferative, HIV reverse transcriptase-inhibitory and antifungal activities from wampee (Clausena lansium) seeds. Biological Chemistry. 2003; 384: 289–93.

9. Wang Y, Huang Lu-qi, Xi-can Tang Xi-can, Zhang Hai-yan. Retrospect and prospect of active principles from Chinese herbs in the treatment of dementia. Acta Pharmacologica Sinica. 2010; 31: 649–64.

10. Nagendra KP, Jing H, Chun Yi, Dandan Z, Shengxiang Q, Yueming J, Mingwei

Z, Feng C. Antioxidant and Anticancer Activities of Wampee (Clausena lansium (Lour.) Skeels) Peel. Journal of Biomedicine and Biotechnology. 2009; 1-6.

11. Shen ZF, Chen QM, Liu HF, and Xie MZ. The hypoglycemic effect of clausenacoumarine. Acta Pharmaceutica Sinica. 1989; 24: 391–2.

12. Koya D, Hayashi K, Kitada M, et al. Effects of antioxidants in diabetes-induced oxidative stress in the glomeruli of diabetic rats. J Am Soc Nephrol 2003; 14(8 Suppl 3): 250-253.

13. Levy Y, Zaltzberg H, Amotz AB, et al. ß-Carotene affects antioxidant status in non-insulin-dependent diabetes mellitus. Pat physiol 1999; 6(3): 157-161.

14. Hai YJ, Cheng FW, Li F, Kai Y, Jiang B F, Zhu FG, Jing X, Zhi WD, Shu SD, Hai BY. Cytotoxic Constituents from the Stems of Clausena lansium (Lour.) Skeels. Molecules. 2013; 18: 10768-75.

15. Adebajo AC, Iwalewa EO, Obuotor EM, Ibikunle GF, Omisore NO, Adewunmi CO, et al. Pharmacological properties of the extract and some isolated compounds of Clausena lansium stem bark: Anti-trichomonal, antidiabetic, anti-inflammatory, hepatoprotective and antioxidant effects. Journal of Ethnopharmacology. 2009; 122: 10–19.

11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

11.1 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

- เพื่อสนองพระราชดำริในโครงการการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี

- ต่อยอดองค์ความรู้เดิมในการนำเปลือกผลมะไฟจีนมาสกัดได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถประยุกต์ใช้เป็นอาหารเสริมบำรุงสุขภาพสำหรับแนวทางเลือกใหม่ในการช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน

- เผยแพร่ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ในการประชุมวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ

- มีการพิสูจน์สรรพคุณของสารสกัดเปลือกมะไฟจีนในการช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน โดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์

- ส่งเสริมให้เกษตรกรไทยในจังหวัดพะเยาและทางภาคเหนือหันมานิยมปลูกมะไฟจีนเพื่อเป็นการเพิ่มพูนรายได้ ส่งเสริมการผลิตเชิงพาณิชย์ของพืชสมุนไพรไทย

- เป็นข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการออกฤทธิ์ของสารสกัดเปลือกมะไฟจีนที่มีต่อพยาธิสรีรวิทยาของโรคเบาหวาน เพื่อการศึกษาวิจัยขั้นสูงต่อไป

- จำนวนผลงานที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่มีมาตรฐาน ได้รับการยอมรับไม่ต่ำกว่า 1 เรื่อง

11.2 หน่วยงานที่ใช้ประโยชน์จากผลการวิจัย

- กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลต่างๆ องค์การเภสัชกรรม สำนักงานอาหารและยา หรือหน่วยงานที่มีนักวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น มหาวิทยาลัย หรือสถาบันวิจัยต่างๆ หรือหน่วยงานเอกชน สามารถนำความรู้จากการวิจัยนี้ ไปศึกษาต่อและนำไปประยุกต์ใช้ทางการแพทย์และสาธารณสุขมูลฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรมประชาสัมพันธ์ กระทรวงศึกษาธิการสามารถนำข้อมูลไปส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติในประเทศ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน และการเสียดุลทางการค้าจากการซื้อยาหรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพในการป้องกันภาวะเบาหวานจากต่างประเทศ

- หน่วยงานส่งเสริมการเกษตร องค์การบริหารส่วนจังหวัดสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการกำหนดทิศทางการสนับสนุนการเกษตรของประชาชนในเชิงพาณิชย์เพื่อเป็นการรองรับภาคอุตสาหกรรม

12. แผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือผลการวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมาย

นำเสนอผลงานวิจัยที่ได้ลงในสื่อต่างๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ เว็ปไซต์ รายการทีวี และรายการวิทยุ ให้ประชาชนได้ทราบถึงประโยชน์ของสารสกัดเปลือกมะไฟจีน เป็นการกระตุ้นให้ประชาชนหันมาบริโภคผลิตภัณฑ์ที่สกัดจากจากพืชผลไม้พื้นบ้านภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น แทนการซื้อยารักษา หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบำรุงสุขภาพจากต่างประเทศที่มีราคาแพง ลดการขาดดุลทางการค้า ส่งเสริมรายได้ของคนในท้องถิ่น และใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้กระทรวงสาธารณสุข หรือสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยนำไปพัฒนาเพื่อเป็นแนวทางประกอบการรักษาโรคเบาหวานในอนาคต

13. วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล

การดำเนินการวิจัยจะเริ่มเมื่อโครงการนี้ได้ผ่านการพิจารณาการรับทุนวิจัย และผ่านการพิจารณาจรรยาบรรณการใช้สัตว์ทดลองจากมหาวิทยาลัยพะเยาเรียบร้อยแล้ว

13.1 การเตรียมสารสกัดจากมะเกี๋ยง

นำเปลือกผลมะไฟจีนสุกที่เหลือจากโครงการวิจัยที่ 1 และ 2 ในแผนงานวิจัยนี้ ซึ่งเป็นมะไฟจีนที่ได้รับการอนุเคราะห์และผ่านการคัดเลือกสายพันธุ์ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาทำความสะอาด จากนั้นนำมาสกัดแยกโดยการใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย และทำให้เป็นสารสกัดเข้มข้นด้วย Rotary evaporator ซึ่งกรรมวิธีการสกัดจะทำโดยภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา ส่วนการป้อนสารสกัดดังกล่าวให้หนูทดลองจะใช้น้ำกลั่นเป็นตัวทำละลาย และใช้เข็มป้อนสาร ป้อนทุกวันเวลาเดียวกัน วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 28 วัน

13.2 สัตว์ทดลอง

การศึกษาครั้งนี้ใช้หนูขาวเพศผู้พันธุ์ Spraque Dawley อายุประมาณ 8 สัปดาห์ น้ำหนัก 180-200 กรัม เป็นสัตว์ทดลอง เลี้ยงในสภาวะที่มี light / dark cycle คงที่ประมาณ 12:12 ชั่วโมง อุณหภูมิ 25 ± 2 ˚C ความชื้น 50-70%

13.3 การเหนี่ยวนำให้หนูขาวเป็นเบาหวาน

งดอาหารหนูขาวก่อนฉีดสเตรปโตโซโตซิน 24 ชั่วโมง ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดก่อนทำการทดลอง จากนั้นฉีด streptozotocin ขนาด 80 มก./กิโลกรัม เข้าทางช่องท้อง วันละครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลา 3 วัน ให้นํ้าและอาหารอย่างอิสระ หลังฉีด streptozotocin เข็มที่1 เป็นเวลา 7 วัน ตรวจระดับนํ้าตาลในเลือดของหนู และคัดเลือกเฉพาะหนูขาวที่มีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 132 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เข้าทำการทดลอง และถือเป็นหนูขาวเบาหวานที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้

13.4 การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดจากเปลือกมะไฟจีนต่อระดับน้ำตาลในเลือดของหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวาน

นำหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานในข้อ 13.3 แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ตัว ดังนี้

กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม ป้อนน้ำกลั่น (vehicle)

กลุ่มที่ 2 ป้อน Glibenclamide 5 มก./กิโลกรัม

กลุ่มที่ 3 ป้อนสารสกัดจากเปลือกมะไฟจีนขนาด 200 มก./กิโลกรัม

กลุ่มที่ 4 ป้อนสารสกัดจากเปลือกมะไฟจีนขนาด 400 มก./กิโลกรัม

กลุ่มที่ 5 ป้อนสารสกัดจากเปลือกมะไฟจีนขนาด 600 มก./กิโลกรัม

ทำการป้อนสารดังกล่าวทุกวัน วันละ 1 ครั้ง ในหนูขาวเบาหวานทั้ง 5 กลุ่ม

ติดต่อกันนาน 7 วัน และหยุดป้อนสารดังกล่าวในหนูขาวเบาหวานทั้ง 5 กลุ่ม เป็นเวลา 14 วัน งดอาหารหนูขาวเบาหวานก่อนทำการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด 8 ชั่วโมง ทำการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ระดับ HbA1c และการตอบสนองของอินซูลินต่อระดับน้ำตาลในเลือดในหนูขาวเบาหวานทั้ง 5 กลุ่ม ในวันที่ 1, 7 และ 14

13.5 การวิเคราะห์ข้อมูล

ข้อมูลการทดลองถูกแสดงในรูปค่าเฉลี่ย (Means) ( ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SEM) เปรียบเทียบผลของสารสกัดเปลือกมะไฟจีนต่อการลดระดับนํ้าตาลในเลือด ระดับ HbA1c และการตอบสนองของอินซูลินต่อระดับน้ำตาลในเลือดทั้งในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง โดยใช้หลักการทางสถิติ ANOVA และ post-hoc Tukey’s test ผ่านโปรแกรม SPSS โดยการเปลี่ยนแปลงที่ถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ตั้งแต่ p-value < 0.05

13.6 สถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล

คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา และภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

14. ระยะเวลาทำการวิจัย และแผนการดำเนินงานตลอดโครงการวิจัย

ระยะเวลาทำการวิจัย 1 ปี (1 ตุลาคม 2559-30 กันยายน 2560 )

แผนการดำเนินงานตลอดโครงการวิจัย

|กิจกรรม |เดือนที่ |ผู้รับผิดชอบ |

| |เดือนที่ |เดือนที่ |เดือนที่ |เดือนที่ | |

| |1-3 |4-6 |7-9 |10-12 | |

|1. ทบทวนวรรณกรรม | | | | |อ.รัชนีกร |

|2. เตรียมสารสกัด และกรรมวิธีเพื่อใช้สกัดเปลือกมะไฟจีน | | | | |ดร.ภัคสิริ |

|3. เตรียมสัตว์ทดลอง อุปกรณ์ สารเคมี | | | | | |

|4. ทดสอบฤทธิ์สารสกัดเปลือกมะไฟจีนต่อการลดระดับนํ้าตาลในเลือด | | | | |อ.รัชนีกร, ดร.วาทิตา |

|ระดับ HbA1c และการตอบสนองของอินซูลินต่อระดับน้ำตาลในเลือด | | | | |ดร.วาทิตา, อ.รัชนีกร |

|6. จัดทำรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัย | | | | |ผศ.ดร.สุภาพร |

|7. วิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย | | | | | |

|8. เผยแพร่ผลงานวิจัยในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง | | | | | |

|9. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ | | | | |อ.รัชนีกร |

| | | | | | |

| | | | | |อ.รัชนีกร, ดร.วาทิตา |

| | | | | |อ.รัชนีกร, ดร.วาทิตา |

| | | | | | |

| | | | | |อ.รัชนีกร |

15. ปัจจัยที่เอื้อต่อการวิจัย (ระบุเฉพาะปัจจัยที่ต้องการเพิ่มเติม)

-

16. งบประมาณของโครงการวิจัย

|รายการ |จำนวนเงิน |

|1. งบบุคลากร | |

|ค่าจ้างชั่วคราวผู้ช่วยนักวิจัยทำงานเต็มเวลา |36,000 |

|(วุฒิปริญญาตรี 9,000 บาท x จำนวน ....1.. คน ....4... เดือน) | |

|2. งบดำเนินการ | |

|2.1 ค่าตอบแทน | |

|ค่าตอบแทนคณะผู้วิจัยเหมาจ่าย |0 |

|2.2 ค่าใช้สอย | |

| - ค่าจ้างเหมาแรงงานเลี้ยงดูสัตว์ทดลอง (วันละ 5 บาท x 60 วัน x 50 ตัว) |15,000 |

| - ค่าสัตว์ทดลอง สั่งซื้อจากศูนย์สัตว์ทดลองศาลายา (50x250) |12,500 |

| - ค่าขนส่ง (ขนส่งสัตว์ทดลองโดยเครื่องบินจากสุวรรณภูมิ – เชียงราย และรวมค่ายานพาหนะไปส่งและรับที่สนามบิน) |12,000 |

| - ค่าวัสดุรองนอน (กระสอบละ 20 บาท) |2,000 |

| - อาหารสัตว์ทดลอง คิดตามราคาที่หน่วยจัดซื้อในปัจจุบัน +15% |3,500 |

| - ค่าสกัดสาร |30,000 |

|- ค่าทำเล่มรายงาน ค่าถ่ายเอกสาร ค่าสืบค้นข้อมูล |4,000 |

|- ค่าใช้เครื่องมืออุปกรณ์วิทยาศาสตร์ |5,000 |

|2.3 ค่าวัสดุและสารเคมี | |

| - ค่าวัสดุสำนักงาน |1,000 |

| - ค่าเครื่องแก้วและวัสดุวิทยาศาสตร์ (pipette tip, slide กล่องใส่ slide, cover slip Syringe, pipette tips, filter |10,000 |

|membrane, 1.5 ml centrifuge tube, etc.) | |

| - ค่ายา glibenclamide |800 |

| - ค่ายาสลบและสารเคมีต่างๆ (KH2PO4, NaH2PO4, NSS, etc.) |10,170 |

| - สาร Streptozocin ใช้เหนี่ยวนำการเกิดภาวะเบาหวาน ขวดละ 1 กรัม 15,100 บาท จำนวน 2 ขวด |30,200 |

|- ชุดตรวจ Insulin โดยใช้ elisa kit ราคาชุดละ 27,915 บาทใช้ 2 ชุด |55,830 | |

| | | |

| | | |

|- ค่าตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด 50 ตัว ตัวละ 3 ครั้ง ครั้งละ 80 บาท |12,000 | |

| - ค่าตรวจ OGTT 50 ตัว ตัวละ 3 ครั้ง ครั้งละ 250 บาท |37,500 | |

|- ค่าตรวจระดับ HbA1Cเลือด 50 ตัว ตัวละ 3 ครั้ง ครั้งละ 150 บาท |22,500 | |

|รวมงบประมาณที่เสนอขอ |300,000 | |

** หมายเหตุ – ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

17. ผลสำเร็จและความคุ้มค่าของการวิจัยที่คาดว่าจะได้รับ

หากโครงการวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนและดำเนินงานวิจัยโดยได้รับความสำเร็จลุล่วง คาดว่าผลจากงานวิจัยที่ได้ (ภายในปีที่1) จะจัดอยู่ใน G หมายถึง ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ (Goal results) และจะมีผลผลิต (output) และผลลัพธ์ (outcome) ดังนี้

ผลผลิต (output)

1. ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับฤทธิ์ของสารสกัดเปลือกมะไฟจีนในลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันภาวะเบาหวาน เผยแพร่ให้แก่ประชาชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาศึกษา เรียนรู้ประยุกต์ใช้เป็นแนวทางเลือกในการประกอบการรักษาโรคดังกล่าว ควบคู่กับการรักษาวิธีอื่นๆที่มีอยู่ในปัจจุบัน

2. ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบของสารสกัดเปลือกมะไฟจีนในการลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันภาวะเบาหวาน

3. เพิ่มประสบการณ์ในการทำวิจัยให้กับอาจารย์รุ่นใหม่ 1 คน นักวิทยาศาสตร์ 1 คน

ผลลัพธ์ (outcome)

1. เพื่อสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี

2. สร้างผลิตภัณฑ์อาหารเสริมบำรุงสุขภาพจากสารสกัดเปลือกมะไฟจีนให้เป็นที่รู้จักและยอมรับอย่างกว้างขวาง เพิ่มมูลค่าพืชผลไม้ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมตามแนวพระราชดำริ (อพ.สธ.)

3. ลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศและขาดดุลการค้าในการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารเสริมบำรุงสุขภาพลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันภาวะเบาหวานจากต่างประเทศ

4. อาจารย์รุ่นใหม่ 1 คน และนักวิทยาศาสตร์ 1 คน มีศักยภาพในการทำวิจัยเพิ่มขึ้น

5. ผลงานตีพิมพ์ในระดับชาติหรือนานาชาติอย่างน้อย 1 เรื่อง หรือเสนอผลงานในการประชุมวิชาการอย่างน้อย 1 เรื่อง ทำให้เกิดการเผยแพร่องค์ความรู้ในวงกว้าง

18. โครงการวิจัยต่อเนื่องปีที่ 2 ขึ้นไป

- ไม่มี

19. คำชี้แจงอื่น ๆ (ถ้ามี)

- ไม่มี

20. ลงลายมือชื่อ หัวหน้าโครงการวิจัย พร้อมวัน เดือน ปี

[pic]

(รัชนีพร กงซุย)

24/…มิถุนายน.../…2558…

ส่วน ค : ประวัติคณะผู้วิจัย

1. หัวหน้าโครงการ

ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย) นางสาวรัชนีพร กงซุย

ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ) Miss Ratchaniporn Kongsui

หมายเลขบัตรประชาชน 3410800067771

ตำแหน่งปัจจุบัน พนักงานสายวิชาการ (อาจารย์)

เงินเดือน 30,100.00

เวลาที่ใช้ทำวิจัย 8 ชั่วโมง/สัปดาห์

หน่วยงาน สาขาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

มหาวิทยาลัยพะเยา

โทรศัพท์ 054-466666 ต่อ 1750

โทรสาร 054-466663

โทรศัพท์มือถือ 093-4325902

อีเมล์ rat_nick@

ประวัติการศึกษา

- วิทยาศาสตร์บัณฑิต (กายภาพบำบัด) คณะเทคนิคการแพทย์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น (พ.ศ. 2546)

- วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (สรีรวิทยาทางการแพทย์) คณะแพทยศาสตร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น (พ.ศ. 2549)

สาขาวิชาการที่มีความชำนาญเป็นพิเศษ

-Behavioral Neuroscience

-Neuroinflammation

ผลงานวิชาการ

1. Kongsui, R, Beynon, S.B., Walker, F.R. A quantitative stereological and morphological analysis of microglia in the prefrontal cortex. Australian Neuroscience Society. Melbourne, Australia. 2013.

2. Kongsui, R, Walker, F.R. Chronic restraint stress induced remodelling of astrocytes in the rat hippocampus. Australian Neuroscience Society. Adelaide, Australia. 2014

3. Kongsui R, Beynon SB, Johnson SJ, Walker FR. (2014) Quantitative assessment of microglial morphology and density reveals remarkable consistency in the distribution and morphology of cells within the healthy prefrontal cortex of the rat. J Neuroinflammation, 11.

4. Kongsui R, Beynon SB, Johnson SJ, Mayhew J, Kuter P, Nilsson M, Walker FR. (2014). Chronic stress induces prolonged suppression of the P2X7 receptor within multiple regions of the hippocampus: a cumulative threshold spectra analysis. Brain Behav Immun, 42, 69-80.

2. ผู้ร่วมโครงการ

ชื่อ - นามสกุล (ภาษาไทย) นางสาววาทิตา ผจญภัย

ชื่อ - นามสกุล (ภาษาอังกฤษ) Miss Wathita Phaconpai

หมายเลขบัตรประชาชน 3120101227713

ตำแหน่งปัจจุบัน พนักงานสายวิชาการ (อาจารย์)

เงินเดือน 36,400 บาท

เวลาที่ใช้ทำวิจัย 8 ชั่วโมง/สัปดาห์

หน่วยงาน สาขาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

มหาวิทยาลัยพะเยา

โทรศัพท์ 054-466666 ต่อ 1750

โทรสาร 054-466663

โทรศัพท์มือถือ 080-416-7173

อีเมล์ phachonpai@

ประวัติการศึกษา - พยาบาลศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล 2533-2537

- วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (สรีรวิทยาทาง การแพทย์) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2546-2548

- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ประสาทวิทยาศาสตร์) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2548- 2552

สาขาวิชาการที่มีความชำนาญพิเศษ Neuropharmacology

Drug delivery system

Cognitive neuroscience

Alternative medicine

ผู้อำนวยการแผนงานวิจัย:

- ชื่อแผนงานวิจัย: การประยุกต์ใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพจากมะเกี๋ยงสำหรับต้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โครงการ อพ.สธ. 58)

หัวหน้าโครงการวิจัย:

- โครงการวิจัยการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากยอดสะเดาที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง (วช พ.ศ. 2557; ปิดโครงการแล้ว)

- ศักยภาพในการเพิ่มความจำและการชะลอความเสื่อมของเซลล์ประสาทของสารสกัดข้าวแดงมันปูในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม (วช พ.ศ. 2557; ปิดโครงการแล้ว)

- โครงการวิจัยการศึกษาผลของการบริโภคสารสกัดมะเกี๋ยงต้นแบบต่อการต้านความจำบกพร่องในหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้เกิดภาวะหลอดเลือดสมอง (โครงการ อพ.สธ. 58; ดำเนินการวิจัยไปแล้ว 60%)

- การศึกษาฤทธิ์และกลไกในการปกป้องเซลล์ประสาทของสารสกัดสาหร่ายเตาในแบบจำลองโรคสมองเสื่อม (โครงการ อพ.สธ. 58; ดำเนินการวิจัยไปแล้ว 60%))

- การศึกษาฤทธิ์และกลไกในการปกป้องเซลล์ประสาทของสารสกัดดอกสะเดาในแบบจำลองโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ (วช พ.ศ. 58; ดำเนินการวิจัยไปแล้ว 80%))

ผลงานวิชาการและงานวิจัย

1. Wathita Phachonpai, Sinthuporn Maharun, Supaporn Muchimapura, Jintanaporn Wattanathorn and Terdthai Tong-Un. Effect of Dietary Kaempferia parviflora on Ischemic Brain Injury in the rat. OnLine Journal of Biological Sciences. 2012; 12 (1): 27-33.

2. Wathita Phachonpai, Jintanaporn Wattanathorn, Terdthai Tong-un, Chonlathip Thipkaew, Nongnut Uabundit, Wipawee Thukhammee and Supaporn Muchimapura. Assessment of Neuropharmacological Activities of Terminalia Chebula in Rats. American Journal of Pharmacology and Toxicology. 2012; 7 (2): 41-48.

3. Terdthai Tong-un, Supaporn Muchimapura, Jintanaporn Wattanathorn, Panakaporn Wannanon, Wipawee Thukhammee, Chonlathip Thipkaew and Wathita Phachonpai. The 100-Days Oral Toxicity of Tomato Pomace in Healthy Mice. American Journal of Pharmacology and Toxicology. 2012; 7 (1): 27-32.

4. Supaporn Muchimapura, Wathita Phachonpai, Terdthai Tong-Un, Panakaporn Wannanon and Jintanaporn WattanathornEvaluation of Neuropharmacological Activities of Stephania Venosa Herb Consumption in Healthy Rats. American Journal of Agricultural and Biological Sciences. 2012; 7 (3): 239-246.

5. Wathita Phachonpai, Sinthuporn Maharun, Terdthai Tong-Un, Supaporn Muchimapura and Jintanaporn Wattanathorn. The Functional Effect of Kaempferia Parviflora on Ischemic Stroke in Rats American Journal of Agricultural and Biological Sciences. 2012; 7 (2): 173-179.

6. Phachonpai W, Wattanathorn J, Muchimapura S, Tong-Un T and Preechagoon D. Neuroprotective Effect of Quercetin Encapsulated Liposomes: A Novel Therapeutic Strategy against Alzheimer’s Disease. American Journal of Applied Sciences. 2010; 7(4): 480-485.

7. Tong-Un T, Muchimapura S, Phachonpai W and Wattanathorn J. Nasal Administration of Quercetin Liposomes Modulate Cognitive Impairment and Inhibit Acetylcholinesterase Activity in Hippocampus. American Journal of Neuroscience. 2010; 1(1): 21-27.

8. Tong-Un T, Wannanon P, Wattanathorn W and Phachonpai W. Quercetin Liposomes via Nasal Administration Reduce Anxiety and Depression-Like Behaviors and Enhance Cognitive Performances in Rats. American Journal of Pharmacology and Toxicology. 2010; 5(2): 80-88.

9. Tong-Un T, Muchimapura S, Phachonpai W and Wattanathorn J. Nasal Administration of Quercetin Liposomes Improves Memory Impairment and Neurodegeneration in Animal Model of Alzheimer’s Disease. American Journal of Agricultural and Biological Sciences. 2010; 5(3): 286-293.

10. Tong-Un T, Muchimapura S, Phachonpai W andWattanathorn J. Effects of Quercetin Encapsulated Liposomes via Nasal Administration: A Novel Cognitive Enhancer. American Journal of Applied Sciences. 2010; 7(7): 893-900.

11. Tong-Un T, Wannanon P, Wattanathorn J and Phachonpai W. Cognitive-Enhancing and Antioxidant Activities of Quercetin Liposomes in Animal Model of Alzheimer’s Disease. OnLine Journal of Biological Sciences. 2010; 10(2):84-91.

12. Priprem A, Watanatorn J, Sutthiparinyanont S, Phachonpai W, Muchimapura S. Anxiety and cognitive effects of quercetin liposomes in rats. Nanomedicine: Nanotechnology, Biology, and Medicine. 2008; 4: 70–78.

13. Wattanathorn J, Phachonpai W, Priprem A and Suthiparinyanont S. Intranasal Administration of Quercetin Liposome Decreases Anxiety-like Behavior and Increases Spatial Memory. American Journal of Agricultural and Biological Science 2007; 2(1): 31-35.

3. ผู้ร่วมโครงการ

ชื่อ - นามสกุล (ภาษาไทย) นางสาวภัคสิริ สินไชยกิจ

ชื่อ - นามสกุล (ภาษาอังกฤษ) Miss. Puksiri Sinchaiyakit

หมายเลขบัตรประชาชน 3101701888606

ตำแหน่งปัจจุบัน พนักงานสายวิชาการ (อาจารย์)

เงินเดือน 32,100 บาท

เวลาที่ใช้ทำวิจัย 8 ชั่วโมง/สัปดาห์

หน่วยงาน สาขาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

มหาวิทยาลัยพะเยา

โทรศัพท์ 054-466666 ต่อ 1758

โทรสาร 054-466663

โทรศัพท์มือถือ 084-560-7093

อีเมล์ puksiri1@

ประวัติการศึกษา - วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีการอาหาร) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2541)

- วิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ชีวภาพ)

มหาวิทยาลัยนเรศวร (2554)

สาขาวิชาการที่มีความชำนาญพิเศษ

- Natural product

- Antioxidant activity

- Anti-DNA Damage

- Clinical Nutrition

ผลงานวิชาการ

1. Sinchaiyakit, P., Ezure, Y., Sriprang, S., Pongbangpho, S., Povichit, N. and Suttajit, M. (2011) Tannins of tamarind seed husk: preparation, structural characterization and antioxidant activity. Natural Product Communication, 6(6), 829-834.

2. Sinchaiyakit, P., Ezure, Y., Sriprang, S., Pongbangpho, S., Povichit, N. and Suttajit, M. (2011) Analysis of the Interference of Polyphenols and Proanthocyanidins on the Neutral Red Assay for Cell Viability, Science Journal Faculty of Science Naresuan University, 8(2)

3. ภัคสิริ สินไชยกิจ, ไมตรี สุทธจิตต์ (2554) คุณสมบัติชีวเคมีและคุณประโยชน์ของเมล็ดมะขาม : ทบทวนบทความ, วารสารวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยพะเยา ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 พฤศภาคม- สิงหาคม, หน้า 5-16.

4. ผู้ร่วมโครงการ

ชื่อ - นามสกุล (ภาษาไทย) ผศ.ดร.สุภาพร มัชฌิมะปุระ

ชื่อ - นามสกุล (ภาษาอังกฤษ) Miss. Supaporn Muchimapura

หมายเลขบัตรประชาชน 3349900859911

ตำแหน่งปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์

เงินเดือน 45,100 บาท

เวลาที่ใช้ทำวิจัย 8 ชั่วโมง/สัปดาห์

หน่วยงาน ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

โทรศัพท์ 043348394

โทรสาร 043348394

อีเมล supmuc@kku.ac.th, s.muchimapura@

ประวัติการศึกษา

ปริญญาตรี สาขาวิชา วทบ.(กายภาพบำบัด) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2533

ปริญญาโท สาขาวิชา วทม. (สรีรวิทยา) มหาวิทยาลัยมหิดล 2537

ปริญญาเอก สาขาวิชา สรีรวิทยา Nottingham University, UK 2544

ประวัติการทำงาน

- นักกายภาพบำบัด สถานสงเคราะห์เด็กพิการบ้านปากเกร็ด 2533-2534

- อาจารย์ประจำ ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัย รังสิต 2534-2538

- อาจารย์ประจำ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2538- ปัจจุบัน

ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์

1. Chonpathompikunlert P, Wattanathorn J , Muchimapura S. Piperine, the main alkaloid of Thai black pepper, protects against neurodegeneration and cognitive impairment in animal model of cognitive deficit like condition of Alzheimer’s disease. Food Chem Toxicol. 2010, 48 (3); 798-802. Impact factor 2.321

2. Uabundit N, Wattanathorn J*, Mucimapura S, Ingkaninan K. Cognitive enhancement and neuroprotective effects of Bacopa monnieri in Alzheimer's disease Model. J.Ethnopharmacol 2010; 127(1); 26-31 Impact factor 2.341

3. Mato L , Wattanathorn J*, Muchimapura S , Tongun T , Piyawatkul N, Yimtae K, Thanawirattananit P, Sripanidkulchai B. Centella asiatica improves physical performance and health related quality of life in healthy elderly volunteer. ECAM 2009; 177: 1-7 Impact factor 2.535

4. Wattanathorn J, Chonpathompikunlert P, Muchimapura S, Pripre Tankamnerdthai O. 2008 Piperine, the potential functional food for mood and cognitive disorders. Food Chem Toxicol. 46(9): 3106-3110 Impact factor 2.321

5. Jintanaporn Wattanathorn, Lugkana Mator, Supaporn Muchimapura, Terdthai Tongun, Orapin Pasuriwong, Nawanant Piyawatkul, Kwanchanok Yimtae, Bungorn Sripanidkulchai and Jintana Singkhoraard. 2008 Positive modulation ofcognition and mood in the healthy elderly volunteer following the administration of Centella asiatica. J. Ethnopharmacol. 116(2):325-32 Impact factor 2.341

6. Jintanaporn Wattanathorn, Nongnut Uabundit, Wanchai Itarat, Supaporn Mucimapura, Pisamai Laopatarakasem, Bungorn Sripanidkulchai. 2006 Neurotoxicity of Coscinium fenestratum stem, a medicinal plant used in traditional medicine Food Chem Tox. 44(8) 1327-33. Impact factor 2.321

บทความวิจัยในวารสารระดับประเทศ (ไม่เกิน 5 เรื่อง)

1. Maharana S,Tong-un T,Wattanathorn J,Muchimapura S,Sripanidkulchai B. Study the protective effect of Kaempferia parviflora against neurodegeneration in stroke condition. North Eastern Thai Journal of Neuroscience. 2007; 3:18-27.

2. Jintanaporn Wattanathorn, Thaneeya Hawised, Supaporn Muchimapura, Bungorn Sripanidkulchai. 2007 Anxiolytic and anti-depression like activity of Centella asiatica. Northeastern Thai Neuroscience Journal. 1

บทความวิจัยในเอกสารการประชุมทั้งระดับนานาชาติและระดับประเทศ (ไม่เกิน 5 เรื่อง) 1.Wannapo W, Muchimapura S, Wattanathorn J, Wannanon P, Boongang W, Pangpookiew P, Sirisa-ard P. The Effects of Cashew Apple Fruit and Propolis Extracts Supplementation on Endurance and Blood Sugar Levels of Adult Male Rats. Proceeding book of the 3rd Sino-Thai Conference on Traditional Medicine and Natural Products. October 30th-31st, 2008, Nanning, Guangxi, P.R.China.

2. Wattanathorn J, Muchimapura S, Tong-un T, Wannanon P, Saenghong N, Matau L, Rungsrisagee P, Sripanidkulchai B, Singkora-ard J. Kaempferia parviflora Improves Working Memory in the Healthy Elderly Volunteer . Proceeding book of the 3rd Sino-Thai Conference on Traditional Medicine and Natural Products October 30th-31st, 2008, Nanning, Guangxi, P.R.China.

3. Saenghong N, Wattanathorn J, Tong-un T, Muchimapura S, Sripanicdkulchai B, Piyawatkul N, Singkornard J, Matau L. Zingiber officinale Improves Cognitive Performance in Middle-aged and Elderly Women. Proceeding book of the 3rd Sino-Thai Conference on Traditional Medicine and Natural Products. October 30th-31st, 2008, Nanning, Guangxi, P.R.China

4. Phunchago N, Wattanathorn J, Chaisiwamongkol K, Muchimapura S, Kaewruang V, Boongvang W. Mulberry fruits improve cognitive deficit and anxiety like behavior induced by alcohol in rats. Proceeding book of the 3rd Sino-Thai Conference on Traditional Medicine and Natural Products. October 30th-31st, 2008, Nanning, Guangxi, P.R.China.

5. Chonpathompikunlert P, Wattanathorn J, Muchimapura S. Effect of Piperine on Cognition and Oxidative Stress in Animal Model of Alzheimer’s disease. Proceeding book of the 3rd Sino-Thai Conference on Traditional Medicine and Natural Products. October 30th-31st, 2008, Nanning, Guangxi, P.R.China.

ทรัพย์สินทางปัญญา

1. จินตนาภรณ์ วัฒนธร สันติ แม้นศิริ สุภาพร มัชฌิมะปุระ แผ่นปิดผิวหนังและเยื่อบุนาโนผสมกรดเฟอรูริกเพื่อเพิ่มความจำ ป้องกันและรักษาความจำบกพร่องและการตายของเซลล์ประสาทในโรคอัลไซเมอร์ คำขอรับสิทธิบัตร เลขที่ 0901000718 ยื่น ณ 20 กุมภาพันธ์ 2552

2. จินตนาภรณ์ วัฒนธร สันติ แม้นศิริ สุภาพร มัชฌิมะปุระ แผ่นปิดผิวหนังและเยื่อบุนาโนผสมแกมมาออริซานอลเพื่อเพิ่มความจำ ป้องกันและรักษาความจำบกพร่องและการตายของเซลล์ประสาทในโรคอัลไซเมอร์ คำขอรับสิทธิบัตร เลขที่ 0901000719 ยื่น ณ 20 กุมภาพันธ์ 2552

3. จินตนาภรณ์ วัฒนธร สันติ แม้นศิริ สุภาพร มัชฌิมะปุระ วิภาวี บุญกว้าง ประเสริฐ ผางภูเขียว แผ่นปิดผิวหนังและเยื่อบุนาโนผสมเคอร์ซิตินเพื่อกระตุ้นป้องกันและรักษาภาวะความจำบกพร่องและการตายของเซลล์ประสาทในโรคอัลไซเมอร์ คำขอรับสิทธิบัตร เลขที่ 0901000817 ยื่น ณ 26 กุมภาพันธ์ 2552

4. จินตนาภรณ์ วัฒนธร สันติ แม้นศิริ สุภาพร มัชฌิมะปุระ ประเสริฐ ผางภูเขียว ชลทิพย์ ทิพย์แก้ว แผ่นปิดผิวหนังและเยื่อบุนาโนของเส้นใยโปรตีนจากข้าวโพดที่มีส่วนผสมเคอร์ซิตินเพื่อเร่งการหายของแผลเบาหวาน คำขอรับสิทธิบัตร เลขที่ 0901000816 ยื่น ณ 26 กุมภาพันธ์ 2552

-------------------------------------

( สามารถดูรายละเอียดได้จากเว็บไซต์ nrct.go.th

(( รอรายละเอียดในคำแถลงนโยบายรัฐบาลชุดใหม่

-----------------------

(ฉบับปรับปรุงปี พ.ศ. 2557)

................
................

In order to avoid copyright disputes, this page is only a partial summary.

Google Online Preview   Download

To fulfill the demand for quickly locating and searching documents.

It is intelligent file search solution for home and business.

Literature Lottery

Related searches