สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ



สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ โครงการวิจัย

แบบเสนอโครงการวิจัย (research project)

ประกอบการเสนอของบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ตามมติคณะรัฐมนตรี

------------------------------------

ชื่อโครงการวิจัย (ภาษาไทย) ฤทธิ์ปกป้องแผลในกระเพาะอาหารของเปลือกมะไฟจีนในหนูขาว

(ภาษาอังกฤษ) Antiulcer activity of Clausena lansium (Lour.) Skeels peel in rats

ชื่อแผนงานวิจัย (ภาษาไทย) การศึกษาความเป็นไปได้ในการนำมะไฟจีนเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร

เพื่อสุขภาพ

(ภาษาอังกฤษ) Feasibility study on Clausena lansium (Lour.) Skeels extract

for Health products

ส่วน ก : ลักษณะโครงการวิจัย

( โครงการวิจัยใหม่

โครงการวิจัยต่อเนื่องระยะเวลา…….ปี ปีนี้เป็นปีที่..….. รหัสโครงการวิจัย..…....….....…..

I ระบุความสอดคล้องของโครงการวิจัยกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)

- ยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน

II ระบุความสอดคล้องของโครงการวิจัยกับนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2555-2559)

- ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 3 การอนุรักษ์ เสริมสร้างและพัฒนาทุนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

- กลยุทธ์การวิจัยที่ 2 บริหารจัดการและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

- แผนงานวิจัย 1.2 การวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาองค์ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน

- กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช

III ระบุความสอดคล้องของโครงการวิจัยกับยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติรายประเด็น(

- ยุทธศาสตร์การวิจัยรายประเด็นด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

IV ระบุความสอดคล้องของโครงการวิจัยกับนโยบายรัฐบาล((

- รอรายละเอียดในคำแถลงนโยบายรัฐบาลชุดใหม่

ส่วน ข : องค์ประกอบในการจัดทำโครงการวิจัย

1. ผู้รับผิดชอบโครงการ

หัวหน้าโครงการวิจัย

ชื่อ (ภาษาไทย) ดร. สิทธิศักดิ์ ทองรอง

(ภาษาอังกฤษ) Sitthisak Thongrong

หน่วยงาน สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

มหาวิทยาลัยพะเยา

ที่อยู่ ต.แม่กา อ.เมือง จ.พะเยา 56000 โทรศัพท์ 097-2385628 / 054-466666 ต่อ 3207

โทรสาร 054-466663

e-mail sitthisak_th@

บทบาท หัวหน้าโครงการ

สัดส่วนที่ทำการวิจัย: 60%

ผู้ร่วมงานวิจัย 1

ชื่อ (ภาษาไทย) ดร. ณภัทร ศรีรักษา

(ภาษาอังกฤษ) Napatr Sriraksa

หน่วยงาน สาขาวิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

มหาวิทยาลัยพะเยา

ที่อยู่ ต.แม่กา อ.เมือง จ.พะเยา 56000

โทรศัพท์ 054-466666 ต่อ 1750

โทรสาร 054-466663

e-mail napatr.sri@

บทบาท ผู่ร่วมวิจัย

สัดส่วนที่ทำการวิจัย: 10%

ผู้ร่วมงานวิจัย 2

ชื่อ (ภาษาไทย) ดร. วาทิตา ผจญภัย

(ภาษาอังกฤษ) Wathita Phachonpai

หน่วยงาน สาขาวิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

มหาวิทยาลัยพะเยา

ที่อยู่ ต.แม่กา อ.เมือง จ.พะเยา 56000

โทรศัพท์ 08-0416-7173 / 054-466666 ต่อ 1750

โทรสาร 054-466663

e-mail phachonpai@

บทบาท ผู่ร่วมวิจัย

สัดส่วนที่ทำการวิจัย: 10%

ผู้ร่วมงานวิจัย 3

ชื่อ (ภาษาไทย) รศ.ดร.จินตนาภรณ์ วัฒนธร

(ภาษาอังกฤษ) Jintanaporn Wattanathorn

ตำแหน่ง: รองศาสตราจารย์

หน่วยงาน: ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

โทรศัพท์: 0-4334-8394

โทรสาร: 0-4334-8394

อีเมล: jintanapornw@

บทบาท: ผู้ร่วมวิจัย

สัดส่วนที่ทำการวิจัย: 10%

ผู้ร่วมงานวิจัย 4

ชื่อ (ภาษาไทย) นางสาวรัชนีพร กงซุย

(ภาษาอังกฤษ) Ratchaniporn Kongsui

หน่วยงาน สาขาวิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

มหาวิทยาลัยพะเยา

ที่อยู่ ต.แม่กา อ.เมือง จ.พะเยา 56000

โทรศัพท์ 09-3432-5902 / 054-466666 ต่อ 1750

โทรสาร 054-466663

e-mail rat_nick@

บทบาท ผู่ร่วมวิจัย

สัดส่วนที่ทำการวิจัย: 10%

หน่วยงานหลัก: สาขาวิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา

หน่วยงานสนับสนุน: ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2. ประเภทการวิจัย

- การวิจัยประยุกต์ (applied research)

3. สาขาวิชาการและกลุ่มวิชาที่ทำการวิจัย

- สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์

4. คำสำคัญ (keywords) ของโครงการวิจัย

มะไฟจีน Clausena lansium (Lour.), ภาวะเครียดเรื้อรัง (chronic stress), เปลือกมะไฟจีน (Clausena lansium (Lour.) Skeels peel), แผลในกระเพาะอาหาร (peptic ulcer)

5. ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย

ในปัจจุบันภาวะเครียดเรื้อรัง (chronic stress) จัดเป็นภาวะที่อันตรายและส่งผลคุกคามต่อสุขภาพ เนื่องจากภาวะเครียดที่มากเกินไปส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ก่อให้เกิดการเสียสมดุล นอกจากนี้ความเครียดยังทำให้หลอดเลือดเกิดการหดเกร็ง ส่งผลให้เลือดที่ไปเลี้ยงในส่วนต่างๆ ของร่างกายลดลง และมีผลทำให้ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ผลของความเครียดต่อระบบทางเดินอาหารคือทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารเนื่องจากมีการหลั่งกรดเพิ่มขึ้น (1), (2), (3) นอกจากนั้นความเครียดยังมีผลต่อระบบประสาท ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ หงุดหงิดง่าย เกิดภาวะซึมเศร้า และทำลายเซลล์ประสาท ส่งผลรบกวนการเรียนรู้และความจำ (4) ภาวะเครียดเรื้อรังยังทำให้เกิดภาวะอนุมูลอิสระ (free radical) ในร่างกายเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย (5), (6) ซึ่งภาวะอนุมูลอิสระเกินเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ อีกมากมาย เช่น โรคทางระบบประสาท และโรคทางระบบทางเดินอาหาร ภาวะการสะสมของอนุมูลอิสระในกระเพาะอาหารทำความสียหายแก่เยื่อบุกระเพาะ (mucosa) โดยปฏิกิริยาเปอร์ออกซิเดชันของลิปิด (lipid peroxidation) ส่งผลให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารในที่สุด (7), (8) ภาวะแผลในกระเพาะอาหารจะส่งผลที่รุนแรง หากกระเพาะอาหารทะลุเนื่องจากอาการแผลเรื้อรังเป็นผลให้เกิดการติดเชื้อจากแบคทีเรีย และอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเสียชีวิต ปัจจุบันการรักษาอาการแผลในกระเพาะอาหารมีค่ารักษาที่สูงขึ้น ดังนั้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีสรรพคุณในการป้องการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่มีสาเหตุมาจากภาวะเครียดจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มาจากพืชในท้องถิ่นของประเทศไทย เพื่อเป็นลดต้นทุนในการรักษาอาการแผลในกระเพาะอาหารที่มีสาเหตุมาจากภาวะเครียด

ในปัจจุบันทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยเล็งเห็นความสำคัญของพืช ผัก ผลไม้ และสมุนไพร เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการแปรรูปหรือนำมาสกัดเอาสารที่มีฤทธิ์ทางเภสัชเพื่อใช้ในการป้องกันและรักษาโรคต่างๆ รวมทั้งโรคในทางระบบทางเดินอาหาร โดยสมุนไพรส่วนใหญ่จะมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ (9) อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเพื่อใช้ในการป้องกันโรคแผลในกระเพาะอาหารยังมีหลักฐานงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์มาสนับสนุนน้อยมาก ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นเพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของพืชสมุนไพรในการป้องกันความเครียดและการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร สืบเนื่องมาจากโครงอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทำให้มะไฟจีน Clausena lansium (Lour.) ซึ่งเป็นพืชที่พบได้มากในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย เป็นพืชที่กำลังได้รับความสนใจ และสามารถนำไปพัฒนาต่อได้ในเชิงอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารหรือยา จากรายงานการศึกษา พบว่าสารสกัดเปลือกมะไฟจีนมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลายอย่างเช่น ฤทธิ์ต้านไวรัส ต้านเชื้อรา ต้านมะเร็ง และลดอาการปวดท้อง โดยสารออกฤทธิ์ที่สำคัญเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่อยู่กลุ่มของโพลีฟีนอลิก (polyphenolic compounds) คาโรทีนอยด์ส (carotenoids) ฟลาโวนอยด์ส (flavonoids) และกรดแอสคอร์บิก (ascorbic acid) (10) เนื่องจากเปลือกมะไฟจีนมีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่สูง ดังนั้นสารสกัดเปลือกมะไฟจีนจึงน่าจะมีศักยภาพในการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่มีสามาเหตุมาจากความเครียดชักนำให้เกิดอนุมูลอิสระเกินอีกด้วย

6. วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย

1) เพื่อสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

2) ศึกษาฤทธิ์ของเปลือกมะไฟจีนต่อการลดระดับฮอร์โมนต้านความเครียด cortisol

3) ศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดเปลือกมะไฟจีนในการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารเนื่องจากภาวะเครียดเรื้อรัง

4) ศึกษากลไกการออกฤทธิ์ของสารสกัดเปลือกมะไฟจีนในการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารเนื่องจากภาวะเครียดเรื้อรัง

7. ขอบเขตของโครงการวิจัย

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษาผลและกลไกการออกฤทธิ์ของสารสกัดจากเปลือกมะไฟจีนที่ ความเข้มข้นต่างๆ คือ ต่ำ กลาง และสูง (200, 400 และ 600 mg/kg) (11) ต่อการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะเครียดเรื้อรัง ซึ่งสัตว์ทดลองที่ใช้จะเป็นหนูขาวเพศผู้ เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน estrous cycle การแบ่งกลุ่มสัตว์ทดลองจะต้องทำเป็น parallel กันไประหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง เพื่อป้องกันผลกระทบด้านฤดูกาล กรรมวิธีการสกัดสารจากเปลือกมะไฟจีน จะทำโดย ดร.ภัคสิริ สินไชยกิจ สาขาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา เปลือกมะไฟจีนที่นำมาสกัด ได้มาจากเปลือกผลมะไฟจีนที่เหลือจากโครงการที่ 1 และ 2 ในแผนงานวิจัยนี้ ในการป้อนสารต่างๆ จะทำในช่วงเวลาเดียวกันตลอดการทดลองเพื่อหลีกเลี่ยงจากผลกระทบเรื่อง biological rhythm สำหรับระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ประมาณ 1 ปี หลังผ่านการพิจารณาจรรยาบรรณการใช้สัตว์ทดลอง

8. ทฤษฎี สมมุติฐาน (ถ้ามี) และกรอบแนวความคิดของโครงการวิจัย

กรอบแนวความคิด

ภาวะเครียดส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของระดับอนุมูลอิสระในร่างกาย ซึ่งส่งผลทำให้เกิดพยาธิสภาพกับโครงสร้างและรบกวนการทำงานของระบบต่างๆ รวมถึงการทำงานที่ผิดปกติของกระเพาะอาหาร ทำให้มีการหลั่งกรดเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การเกิดแผลในกระเพาะอาหารยังเป็นผลเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของอนุมูลอิสระในกระเพาะอาหารอีกด้วย ดังนั้นเปลือกมะไฟจีนซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงตามรายงาน จึงน่าจะมีศักยภาพในการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่เป็นผลเนื่องจากภาวะเครียดเรื้อรัง

สมมุติฐาน

8.1 ถ้าสารสกัดเปลือกมะไฟจีนมะไฟมีผลต่อการต้านภาวะเครียดเรื้อรัง สัตว์ทดลองที่ได้รับสารสกัดมะไฟจีนจะมีระดับฮอร์โมน cortisol น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัด

8.2 ถ้าสารสกัดเปลือกมะไฟจีนมีผลในการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะเครียดเรื้อรัง สัตว์ทดลองดังกล่าวที่ได้รับสารสกัดจากเปลือกมะไฟจีนจะมีภาวการณ์เกิดแผลในกระเพาะอาหารน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัดจากเปลือกมะไฟจีน

8.3 ถ้าสารสกัดเปลือกมะไฟจีนมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารเนื่องจากภาวะเครียดเรื้อรัง โดยผ่านกลไกการทำงานของการลดปริมาณอนุมูลอิสระ สัตว์ทดลองที่ได้รับสารสกัดเปลือกมะไฟจีน จะมีระดับ lipid peroxidation ต่ำกว่า แต่มี scavenging enzyme activity คือ (superoxide dismutase และ glutathione peroxidase) มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัดเปลือกมะไฟจีน

9. การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ (information) ที่เกี่ยวข้อง

ภาวะเครียดส่งผลกระทบต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก ผลจากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าภาวะเครียดที่ถูกเหนี่ยวนำโดยวิธีต่างๆ อาทิเช่น การจำกัดการเคลื่อนไหวของหนู (restraint stress) และการบังคับหนูให้ว่ายน้ำ (forced swimming test) จะมีผลทำให้ความเครียดเพิ่มขึ้น เกิดการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้นจนทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร (12) มีรายงานวิจัยที่พบว่า ภาวะเครียดเรื้อรังจะมีผลทำให้ปริมาณของอนุมูลอิสระในกลุ่ม ไฮดรอกซิลเรดิคอล (hydroxyl radical) เพิ่มสูงขึ้น ทำให้เกิดภาวะแผลในกระเพาะอาหาร (13)

มะไฟจีน Clausena lansium (Lour.) เป็นพืชในวงศ์ส้ม (Rutaceae) และเป็นพืชในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ตามโครงการพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา (อพ.สธ.) มีฤทธิ์ด้านเภสัชวิทยาหลายอย่างเช่น ใบของมะไฟจีนมีฤทธิ์ต้านโรคหอบหืด ต้านไวรัสตับอีกเสบ รักษาอาการของโรคทางผิวหนัง และโรคในระบบทางเดินอาหาร (14) นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าเปลือกผลมะไฟจีนมีสารต้านอนุมูลอิสระปริมาณมาก ซึ่งเป็นสารในกลุ่มโพลีฟีนอล ตัวอย่างเช่น ฟีนอลิค แอซิดส์ (phenolic acids) ฟลาโวนอยด์ (flavonoids) แอนโธไซยานิดินส์ (anthocyanidins) และแทนนินส์ (tannins) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ต้านโรคหลอดเลือดและหัวใจ (15) จากงานวิจัยพบว่าอนุมูลอิสระเป็นสาเหตุที่มีสาเหตุมาจากความเคียดเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร และสัตว์ทดลองที่ได้รับสารต้านอนุมูลอิสระมีอัตราการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่มีสาเหตุมาจากความเครียดน้อยกว่าหนูที่ไม่ได้รับสารต้านอนุมูลอิสระ (16) จากวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทำให้ทีมผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดเปลือกผลมะไฟจีนต่อการป้องกันแผลในกระเพาะอาหารที่มีสาเหตุมาจากความเครียดและภาวะอนุมูลอิสระเกิน และเพื่อเป็นการต่อยอดองค์ความรู้ในการประยุกต์ใช้พืชมะไฟจีนให้เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพ เพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน และเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ชาวบ้านในท้องถิ่นหันมาอนุรักษ์ปลูกพืชมะไฟจีน เพื่อเป็นการสนองนโยบายตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีอีกด้วย

10. เอกสารอ้างอิงของโครงการวิจัย

1. Chakraborti A, Gulati K, Dev BB, Raya A. Possible involvement of free radicals in the differential neurobehavioral responses to stress in male and female rats. Behav. Brain Res. 2007; 179:321–5.

2. Fashey JW and Moringa O. A Review of the Medical Evidence for Its Nutritional, Therapeutic, and Prophylactic Properties. Part 1. Trees for Life Journal. 2005; 1:5.

3. Mizoguchi K, Yuzurihara M, Ishige A, Sasaki H, Chui DH, Tabira T. Chronic stress induces impairment of spatial working memory because of prefrontal dopaminergic dysfunction. J. Neurosci. 2000; 20(4):1568–74.

4. Clark R, Zola S, Squire L. Impaired recognition memory in rats after damage to the hippocampus. J. Neurosci. 2000; 20(23):8853-60.

5. Conrad C, Galea L, Kuroda Y, McEwen B. Chronic stress impairs rat spatial memory on the Y maze, and this effect is blocked by tianeptine treatment. Behavioral Neuroscience. 1996; 110(6):1321-34.

6. Kondo H, Miura M, Itokawa Y. Oxidative stress in muscle atrophied by immobilization. Acta Physiol Scand. 1991; 142:527-8.

7. Demir S, Yilmaz M, Köseoğlu M, Akalin N, Aslan D, Aydin A. Role of free radicals in peptic ulcer and gastritis. Turk J Gastroenterol. 2003;14(1):39-43.

8. Tandon R, Khanna HD, Dorababu M, Goel RK. Oxidative stress and antioxidants status in peptic ulcer and gastric carcinoma. Indian J Physiol Pharmacol 2004; 48 (1): 115–118.

9. Harbu PV, Mahadevan KM, Kulkarni PV, Daulasingh C, Veerapur VP, Shastry RA. Adaptogenic and in vitro antioxidant activity of flavonoids and other fractions of Agyreia speciosa (Burm f) Boj in acute and chronic stress paradigm s in rodents. Ind J Exp Biol. 2010; 48:53-60.

10. Nagendra KP, Jing H, Chun Yi, Dandan Z, Shengxiang Q, Yueming J, Mingwei Z, Feng C. Antioxidant and Anticancer Activities of Wampee (Clausena lansium (Lour.) Skeels) Peel. Journal of Biomedicine and Biotechnology. 2009; 1-6.

11. Adebajo AC, Iwalewa EO, Obuotor EM, Ibikunle GF, Omisore NO, Adewunmi CO, Obaparusi OO, Klaes M, Adetogun GE, Schmidt TJ, Verspohl EJ. Pharmacological properties of the extract and some isolated compounds of Clausena lansium stem bark: anti-trichomonal, antidiabetic, anti-inflammatory, hepatoprotective and antioxidant effects. J Ethnopharmacol. 2009; 122(1):10-19.

12. Panossian A, Wikman G. Evidence-based efficacy of adaptogens in fatigue and molecularmechanisms relared to their stress-protective activity. International Evidence–BasedComplementary Medicine Conference. Armidale, Australia, 2009; p.10.

13. Dipak D, Debashis B, Mrinalini B, Ranajit KB. Hydroxyl radical is the major causative factor in stress-induced gastric ulceration. Free Radical Biology & Medicine. 1997; 8–18.

14. Hai YJ, Cheng FW, Li F, Kai Y, Jiang B F, Zhu FG, Jing X, Zhi WD, Shu SD, Hai BY. Cytotoxic Constituents from the Stems of Clausena lansium (Lour.) Skeels. Molecules. 2013 (18); 10768-10775.

15. Halliwell B. Dietary polyphenols: good, bad or indifferent for your health. Cardiovascular research. 2009 (73); 341-347.

16. Hirota M, Inoue M, Ando Y, Hirayama K, Morino Y, Sakamoto K, Mori H, Akagi M. Inhibition of stress-induced gastric injury in the rat by glutathione.Gastroenterology. 1989 (97): 853–859.

11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

11.1 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

- เป็นการสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมมราชกุมารี

- ได้องค์ความรู้ใหม่ในการใช้สารสกัดเปลือกมะไฟจีนที่เหลือจากการบริโภค ซึ่งเป็นพืชพื้นเมืองในโครงการ (อพ.สธ.) มาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางเลือกในการป้องกันการเกิดโรคแผลในกระเพาะอาหารเนื่องมาจากภาวะเครียดเรื้อรัง

- เผยแพร่ข้อมูลการใช้เปลือกมะไฟจีนพืชพื้นเมืองในโครงการ (อพ.สธ.) มาประยุกต์ใช้ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารเนื่องจากภาวะเครียดเรื้อรังทั้งในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ

- ส่งเสริมให้มะไฟจีนเป็นพืชเศรษฐกิจทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น

11.2 หน่วยงานที่ใช้ประโยชน์จากผลการวิจัย

- กระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลต่างๆ สามารถนำความรู้จากการวิจัยนี้ไปประยุกต์ใช้ทางการแพทย์และสาธารณสุขมูลฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- หน่วยงานส่งเสริมการเกษตร องค์การบริหารส่วนจังหวัด สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการกำหนดทิศทางการสนับสนุนการเกษตรของประชาชนในเชิงพาณิชย์

- ประชาชนชาวไทยสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการวิจัย ไปเป็นแนวทางป้องกันภาวะแผลในกระเพาะอาหารเนื่องมาจากภาวะเครียดเรื้อรั้ง

12. แผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือผลการวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมาย

นำเสนอผลงานวิจัยที่ได้ลงในสื่อต่างๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ รายการทีวี และรายการวิทยุ ให้ประชาชนได้ทราบถึงประโยชน์ของเปลือกผลมะไฟจีน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น แทนการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพจากต่างประเทศที่มีราคาแพง และใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยในการพัฒนาเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์เปลือกผลมะไฟจีนเสริมสุขภาพในเชิงพาณิชย์ต่อไป

13. วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล

การดำเนินการวิจัยจะเริ่มเมื่อโครงการนี้ได้ผ่านการพิจารณาการรับทุนวิจัย และผ่านการพิจารณาจรรยาบรรณการใช้สัตว์ทดลอง

13.1 การเตรียมสารสกัดเปลือกผลมะไฟจีน

นำเปลือกผลมะไฟจีนสุกที่เหลือจากโครงการวิจัยที่ 1 และ 2 ในแผนงานวิจัยนี้ ซึ่งเป็นมะไฟจีนที่ได้รับการอนุเคราะห์และผ่านการคัดเลือกสายพันธุ์ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาทำความสะอาด จากนั้นนำมาสกัดแยกโดยการใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย และทำให้เป็นสารสกัดเข้มข้นด้วย Rotary evaporator ซึ่งกรรมวิธีการสกัดจะทำโดยภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา ส่วนการป้อนสารสกัดดังกล่าวให้หนูทดลองจะใช้น้ำกลั่นเป็นตัวทำละลาย และใช้เข็มป้อนสาร ป้อนทุกวันเวลาเดียวกัน วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 28 วัน

13.2 สัตว์ทดลอง

การศึกษาครั้งนี้ใช้หนูขาวเพศผู้พันธุ์ Wistar อายุประมาณ 8 สัปดาห์ น้ำหนัก 180-200 กรัม เป็นสัตว์ทดลอง เลี้ยงในสภาวะที่มี light / dark cycle คงที่ประมาณ 12 : 12 ชั่วโมง อุณหภูมิ 25 ± 2 ˚C ความชื้น 50-70% สัตว์ทดลองจะได้รับ อาหารและน้ำอย่างอิสระในช่วงที่เลี้ยง สัตว์ทดลองจะถูกแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ ดังนี้

1. กลุ่มที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะเครียดเรื้อรังและได้รับน้ำกลั่น (vehicle) ใช้สัตว์ทดลอง 8 ตัว

2. กลุ่มที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะเครียดเรื้อรังและได้รับสารสกัดเปลือกมะไฟจีนในขนาดต่ำ กลาง และสูง (200, 400 และ 600 mg/kg) จะใช้สัตว์ทดลอง 8 ตัวในการทดลองหนึ่งความเข้มข้น

3. กลุ่มที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะเครียดเรื้อรังและได้รับ diazepam (positive control) ใช้สัตว์ทดลอง 8 ตัว

สัตว์ทุกกลุ่มจะได้รับสารดังกล่าว 1 สัปดาห์ (pre-treatment) ก่อนการชักนำให้เกิดความเครียด และหลังจากเหนี่ยวนำให้เกิดความเครียดเรื้อรังต่ออีกเป็นเวลา 8 สัปดาห์

ในการเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะเครียดเรื้อรัง จะใช้วิธีการจำกัดการเคลื่อนไหวของหนู (restraint stress) และงดน้ำ งดอาหาร เป็นเวลาวันละ 12 ชั่วโมง ทุกๆวันในช่วงเวลาเดียวกันตลอด ในระหว่างการทดลองจะมีการจดบันทึก น้ำหนักของสัตว์ทดลอง ปริมาณอาหารและน้ำที่สัตว์ทดลองบริโภค เพื่อดูผลของแผลในกระเพาะอาหารความเครียด ต่อการเปลี่ยนแปลงของสัตว์ทดลอง

13.3 การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดเปลือกมะไฟจีนต่อการลดระดับความเครียด

สัตว์ทดลองทุกกลุ่มจะถูกนำมาวัดระดับของฮอร์โมน cortisol ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ใช้ต้านความเครียด โดยวัดก่อนเริ่มการทดลอง และ 1 สัปดาห์ก่อน และหลังชักนำให้เกิดความเครียด

13.4 การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดเปลือกมะไฟจีนต่อการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารเนื่องจากภาวะเครียดเรื้อรัง

หลังจากสิ้นสุดการทดลองกระเพาะอาหารของสัตว์ทดลองจะถูกนำมาผ่านกระบวนการตัดและย้อมเนื้อเยื่อด้วยสี haematoxylin และ eosin เพื่อดูฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัดมะไฟจีน

13.5 การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดเปลือกผลมะไฟจีนต่อการลดระดับอนุมูลอิสระ

สัตว์ทดลองทุกกลุ่มจะถูกนำมาวัดระดับของ lipid peroxidation ในกระเพาะอาหาร และตรวจวัดการทำงานของ scavenging enzymes (superoxide dismutase และ glutathione peroxidase)

13.6 การวิเคราะห์ข้อมูล

เปรียบเทียบผลของสารสกัดเปลือกผลมะไฟจีนต่อการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารเนื่องจากภาวะเครียดเรื้อรังในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง โดยใช้หลักการทางสถิติ ANOVA และ post-hoc Tukey’s test ผ่านโปรแกรม SPSS การเปลี่ยนแปลงที่ถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ตั้งแต่ p-value < 0.05

13.7 สถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล

คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา และภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

14. ระยะเวลาทำการวิจัย และแผนการดำเนินงานตลอดโครงการวิจัย

1 ปี (เริ่มจาก 1 ตุลาคม 2559 – 30 กันยายน 2560)

แผนการดำเนินงานตลอดโครงการวิจัย

|กิจกรรม |เดือนที่ |ผู้รับผิดชอบ |

| |เดือนที่ |เดือนที่ |เดือนที่ |เดือนที่ | |

| |1-3 |4-6 |7-9 |10-12 | |

|1.การทบทวนองค์ความรู้ | | | | |สิทธิศักดิ์ |

|(ติดตามรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับงานวิจัยและวิธีการตรวจประเมินค่| | | | | |

|าดัชนีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย) | | | | | |

|2. กรรมวิธีการสกัดสารจากปลือกผลมะไฟจีน | | | | | |

|3.เตรียมสัตว์ทดลอง อุปกรณ์ สารเคมี | | | | |ณภัทร, รัชนีพร |

|4.ทดสอบฤทธิ์ของเปลือกผลมะไฟจีน | | | | | |

|ต่อการลดระดับอนุมูลอิสระเนื่องจากภาวะเครียดเรื้อรัง และวัดระดับ | | | | |สิทธิศักดิ์ |

|cortisol ในเลือด | | | | |สิทธิศักดิ์, วาทิตา, รัชนีพรจินตนาภรณ์, ณภัทร |

|5.วิเคราะห์และสรุปผล | | | | | |

|6. เผยแพร่ผลงานวิจัยในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง | | | | | |

|(ส่งผลงานการวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ | | | | |จินตนาภรณ์, สิทธิศักดิ์ |

|หรือนำเสนอผลงานการวิจัยในการประชุมวิชาการ) | | | | | |

|6.จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ | | | | |สิทธิศักดิ์ |

| | | | | | |

| | | | | | |

| | | | | |สิทธิศักดิ์ |

15. ปัจจัยที่เอื้อต่อการวิจัย ระบุเฉพาะปัจจัยที่ต้องการเพิ่มเติม

- ไม่มี

16. งบประมาณของโครงการวิจัย

งบประมาณจำนวน 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน)

|รายการ |จำนวนเงิน |

|ค่าบริหารแผนงานวิจัย |0 |

|งบบุคลากร  |45,000 |

|- ค่าจ้างเหมาชั่วคราวผู้ช่วยวิจัย วุฒิปริญญาตรี  จำนวน 1 คน เป็นเวลา 5 เดือน (5 x 9,000 = 45,000 บาท) | |

|งบดำเนินงาน | |

| 1) หมวดค่าตอบแทน | |

|- ค่าตอบแทนผู้วิจัย |20,000 |

| 2) หมวดค่าใช้สอย | |

|- ค่าสืบค้นข้อมูลและค่าถ่ายเอกสาร |3,000 |

|- ค่าจัดทำรายงาน |3,000 |

| - ค่าจ้างเหมาแรงงานเลี้ยงดูสัตว์ทดลอง (วันละ 5 บาท x 75 วัน x 40 ตัว) |15,000 |

| - ค่าสัตว์ทดลอง สั่งซื้อจากศูนย์สัตว์ทดลองศาลายา (40x250) |10,000 |

| - ค่าขนส่ง (ขนส่งสัตว์ทดลองโดยเครื่องบินจากสุวรรณภูมิ – เชียงราย และรวมค่ายานพาหนะไปส่งและรับที่สนามบิน) |12,000 |

| - ค่าสกัดสาร |30,000 |

|- ค่าตรวจระดับ cortisol เลือด 40 ตัว ตัวละ 3 ครั้ง ครั้งละ 150 บาท |18,000 |

|- ค่าวัสดุรองนอน |2,000 |

| 3) หมวดค่าวัสดุ | |

|- วัสดุสารเคมี, และย้อมชิ้นเนื้อ heamatoxylin, eosin, xylene, absolute alcohol, 95% alcohol permount, |50,000 |

|paraffin pellet | |

|- ค่าอุปกรณ์และสารเคมีในการตรวจวัด lipid peroxidation, scavenging enzymes |65,000 |

|- ใบมีดสำหรับตัดชิ้นเนื้อ |5,000 |

|- วัสดุเครื่องแก้วและอุปกรณ์ต่างๆในห้องปฏิบัติการ |18,000 |

|- ค่าวัสดุหนังสือ วารสารและตำรา |3,000 |

|- วัสดุสำนักงาน/วัสดุคอมพิวเตอร์ |1,000 |

|รวมงบประมาณที่เสนอขอ |300,000 |

** หมายเหตุ – ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

17. ผลสำเร็จและความคุ้มค่าของการวิจัยที่คาดว่าจะได้รับ

หากโครงการวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนและดำเนินงานวิจัยโดยได้รับความสำเร็จลุล่วง คาดว่า ผลจากงานวิจัยที่ได้จะจัดอยู่ในประเภท G หมายถึง ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ (Goal results) และมีผลผลิต (output) และผลลัพธ์ (outcome) ดังนี้

ผลผลิต (output)

1. ได้องค์ความรู้ใหม่ของเปลือกผลมะไฟจีนที่ใช้ในการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารเนื่องจากภาวะเครียดเรื้อรัง

2. เพิ่มประสบการณ์การทำวิจัยให้กับอาจารย์รุ่นใหม่ 1 คน นักวิทยาศาสตร์ 1 คน

ผลลัพธ์ (outcome)

1. เป็นการอนุรักษ์มะไฟจีน เพื่อสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

2. สร้างผลิตภัณฑ์สุขภาพจากมะไฟจีนให้เป็นที่ยอมรับและรู้จักอย่างกว้างขวาง ช่วยเพิ่มมูลค่าของพืชในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรม ตามแนวพระราชดำริ (อพ.สธ.)

3. ส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ ลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศ และขาดดุลการค้า

4. อาจารย์รุ่นใหม่ 1 คน และนักวิทยาศาสตร์ 1 คน มีศักยภาพในการทำวิจัยเพิ่มขึ้น

5. ผลงานตีพิมพ์ในระดับชาติหรือนานาชาติอย่างน้อย 1 เรื่อง หรือเสนอผลงานในการประชุมวิชาการอย่างน้อย 1 เรื่อง ทำให้เกิดการเผยแพร่องค์ความรู้ในวงกว้าง

18. โครงการวิจัยต่อเนื่องปีที่ 2 ขึ้นไป

- ไม่มี

19. คำชี้แจงอื่น ๆ

- ไม่มี

20. ลงลายมือชื่อ หัวหน้าโครงการวิจัย พร้อมวัน เดือน ปี

ลงชื่อ

(ดร. สิทธิศักดิ์ ทองรอง)

หัวหน้าโครงการ

วันที่ 27 มิถุนายน 2558

ส่วน ค : ประวัติคณะผู้วิจัย

1. หัวหน้าโครงการวิจัย

ชื่อ-สกุล ภาษาไทย นายสิทธิศักดิ์ ทองรอง

ชื่อ-สกุล ภาษาอังกฤษ Mr. Sitthisak Thongrong

หมายเลขประจำตัวประชาชน 3-4301-00780-77-7

ตำแหน่งปัจจุบัน พนักงานสายวิชาการ (อาจารย์)

เงินเดือน 33,812 บาท

เวลาที่ใช้ทำวิจัย 8 ชั่วโมง/สัปดาห์

หน่วยงานที่สังกัดและที่ตั้ง สาขากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

มหาวิทยาลัยพะเยา อ.เมือง จ.พะเยา 56000

โทร 054-66666 ต่อ 3207

e-mail: sitthisak_th@

ประวัติการศึกษา

|ปีที่จบการศึกษา |ระดับปริญญา |อักษรย่อปริญญาและชื่อเต็ม |สาขาวิชา |ชื่อสถาบัน |ประเทศ |

|พ.ศ. 2546 |ตรี |วท.บ. วิทยาศาสตร์บัณฑิต |ชีววิทยา |มหาวิทยาลัยขอนแก่น |ไทย |

|พ.ศ. 2549 |โท |วท.ม. |กายวิภาคศาสตร์ |มหาวิทยาลัยขอนแก่น |ไทย |

| | |วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต | | | |

|พ.ศ. 2557 |เอก |Doctor of Philosophy |Neuroscience |Innsbruck Medical University |Austria |

หัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาโท Study the effect of Morus alba extract on the function of sciatic nerve after crush injury in rats.

หัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก Sprouty2/4 deficiency reduces neurodegeneration and stimulates astrocytosis induced by kainic acid in the dorsal hippocampus.

สาขาวิชาการที่มีความชำนาญพิเศษ

Cell culture. Neurodegeneration in brain. Testing of herbal extract on rat nervous system.

ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย

หัวหน้าโครงการวิจัย -

ผู้ร่วมโครงการวิจัย (ผู้ร่วมรับทุน ผู้วิจัย) -

ผลงานตีพิมพ์

1. Supaporn Mucimapura, Jintanaporn Wattanathorn, Sittisak Thongrong, Kowit Chaisiwamongkol and Bungorn Sripanidkulchai. Morus alba Enhanced Functional Recovery After Sciatic Nerve Crush Injury. American Journal of Agricultural and Biological Sciences. 2010; 294-300.

2. Enhanced axon outgrowth and improved long-distance axon regeneration in sprouty2 deficient mice. Marvaldi L, Thongrong S, Kozłowska A, Irschick R, Pritz CO, Bäumer B, Ronchi G, Geuna S, Hausott B, Klimaschewski L. Dev Neurobiol. 2015.

3. Sepsis otopathy: experimental sepsis leads to significant hearing impairment due to apoptosis and glutamate excitotoxicity in murine cochlea. Schmutzhard J, Glueckert R, Pritz C, Blumer MJ, Bitsche M, Lackner P, Fille M, Riechelmann H, Harkamp M, Sitthisak T, Schrott-Fischer A. Dis Model Mech. 2013.

4. Rho-independent stimulation of axon outgrowth and activation of the ERK and Akt signaling pathways by C3 transferase in sensory neurons. Auer M, Schweigreiter R, Hausott B, Thongrong S, Höltje M, Just I, Bandtlow C, Klimaschewski L.

Front Cell Neurosci. 2012.

Presentations/Proceeding

Thongrong S, Marvaldi L, Hausott B, Klimaschewski L. Reduction of Sprouty2 and Sprouty4 proteins inhibits hippocampal neurodegeneration induced by kainic acid. Neuroscience Day 2013. Innsbruck, Austria. Poster presentation.

2. ผู้ร่วมโครงการ

ชื่อ - นามสกุล (ภาษาไทย) นางสาวณภัทร ศรีรักษา

ชื่อ - นามสกุล (ภาษาอังกฤษ) Miss Napatr Sriraksa

หมายเลขบัตรประชาชน 3440400612624

ตำแหน่งปัจจุบัน พนักงานสายวิชาการ (อาจารย์)

เงินเดือน 33,100 บาท

เวลาที่ใช้ทำวิจัย 8 ชั่วโมง/สัปดาห์

หน่วยงาน สาขาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

มหาวิทยาลัยพะเยา

โทรศัพท์ 054-466666 ต่อ 1750

โทรสาร 054-466663

โทรศัพท์มือถือ 089-7098573

อีเมล์ napatr.sri@

ประวัติการศึกษา - วิทยาศาสตร์บัณฑิต (กายภาพบำบัด)คณะเทคนิค การแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (พ.ศ. 2546)

- วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (สรีรวิทยาทางการแพทย์) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (พ.ศ. 2549)

- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ประสาทวิทยาศาสตร์)

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (พ.ศ. 2554)

สาขาวิชาการที่มีความชำนาญพิเศษ

- Neuropharmacology

- Cognitive neuroscience

- Alternative medicine

ผลงานวิชาการ

1. Napatr Sriraksa, Jintanaporn Wattanathorn, Supaporn Muchimapura, Somsak Tiamkao, Aroonsri Priprem. Neuroprotective and cognitive enhancing effects of quercetin on 6-hydroxydopamine induced Parkinsonism in rats. The First National Neuroscience Conference, Thailand Science Park Convention Center, Thailand.

2. Napatr Sriraksa, Jintanaporn Wattanathorn, Supaporn Muchimapura, Somsak Tiamkao, Aroonsri Priprem. Quercetin decreases lipid peroxidation and enhances scavenging enzymes activity in Parkinson rat’s brain. The 14th Biennial Meeting of the Society for Free Radical Research International (14th SFRR), Beijing China.

3. Napatr Sriraksa, Jintanaporn Wattanathorn, Supaporn Muchimapura, and Somsak Tiamkao. Oral quercetin administration attenuates the neurodegeneration in Parkinson’s disease model induced by 6-hydroxydopamine in rats. The 38th Physiological society of Thailand annual meeting, 1st-3rd April 2009, Phetchabun, Thailand.

4. Napatr Sriraksa, Jintanaporn Wattanathorn, Somsak Tiamkao , Kamoltip Brown and Kovit Chaisivamongkol. Transdermal biodegradable zein based polymer loaded with quercetin attenuates the neurodegeneration in Parkinson’s disease model induced by 6-hydroxydopamine in rats. The Northeastern Neuroscience Association Annual Meeting 2010. Thailand.

5. Napatr Sriraksa, Jintanaporn Wattanathorn, Supaporn Muchimapura and Somsak Tiamkao. Quercetin improves spatial memory impairment in Parkinson’s disease model induced by 6-hydroxydopamine. The 2nd Sino-Thai International conference.

6. Napatr Sriraksa, Jintanaporn Wattanathorn, Supaporn Muchimapura, Somsak Tiamkao, Kamoltip Brown, and Kowit Chaisiwamongkol. Cognitive enhancing effect of quercetin in a rat model of Parkinson’s disease induced by 6-hydroxydopamine. Open access 2011, Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine.

หัวหน้าโครงการวิจัย : ชื่อโครงการวิจัย

1) โครงการวิจัยเรื่อง “The Effect of Aroma inhalation of Nelumbo nucifera Gaertn. and Cymbopogon citratus essential oils on Working Memory in Healthy Volunteers” แหล่งทุน: งบแผ่นดิน 2557 (วช.) ได้รับทุนเมื่อเดือนมกราคม-ธันวาคม พ.ศ. 2557 ทำวิจัยเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างการเตรียม manuscript เพื่อเผยแพร่

งานวิจัยที่ทำเสร็จแล้ว : ชื่อผลงานวิจัย ปีที่พิมพ์ การเผยแพร่ และแหล่งทุน (อาจมากกว่า 1 เรื่อง)

1) ผู้ร่วมโครงการวิจัยเรื่อง “The Effect of Aroma inhalation of Citrus sinensis and Ocimum sanctum oils on Working Memory in Female Humans” แหล่งทุน: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้รับทุนเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 - เดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 ทำวิจัยเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างการส่ง manuscript เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่

งานวิจัยที่กำลังทำ : ชื่อข้อเสนอการวิจัย แหล่งทุน และสถานภาพในการทำวิจัยว่าได้ทำการวิจัยลุล่วงแล้วประมาณร้อยละเท่าใด

1) หัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง “Efficacy of Makiang tea on diabetic neuropathic pain” แหล่งทุน: อพ.สธ. งบปี 2558 ได้รับทุนเมื่อเดือนมกราคม - ธันวาคม พ.ศ. 2558 ทำวิจัยไปแล้วประมาณร้อยละ 30

3. ผู้ร่วมโครงการ

ชื่อ - นามสกุล (ภาษาไทย) นางสาววาทิตา ผจญภัย

ชื่อ - นามสกุล (ภาษาอังกฤษ) Miss Wathita Phaconpai

หมายเลขบัตรประชาชน 3120101227713

ตำแหน่งปัจจุบัน พนักงานสายวิชาการ (อาจารย์)

เงินเดือน 38,000 บาท

เวลาที่ใช้ทำวิจัย 8 ชั่วโมง/สัปดาห์

หน่วยงาน สาขาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

มหาวิทยาลัยพะเยา

โทรศัพท์ 054-466666 ต่อ 1750

โทรสาร 054-466663

โทรศัพท์มือถือ 080-416-7173

อีเมล์ phachonpai@

ประวัติการศึกษา - พยาบาลศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล 2533-2537

- วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (สรีรวิทยาทาง การแพทย์) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2546-2548

- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ประสาทวิทยาศาสตร์) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2548- 2552

สาขาวิชาการที่มีความชำนาญพิเศษ Neuropharmacology

Drug delivery system

Cognitive neuroscience

Alternative medicine

ผลงานวิชาการและงานวิจัย

1. Wathita Phachonpai, Sinthuporn Maharun, Supaporn Muchimapura, Jintanaporn Wattanathorn and Terdthai Tong-Un. Effect of Dietary Kaempferia parviflora on Ischemic Brain Injury in the rat. OnLine Journal of Biological Sciences. 2012; 12 (1): 27-33.

2. Wathita Phachonpai, Jintanaporn Wattanathorn, Terdthai Tong-un, Chonlathip Thipkaew, Nongnut Uabundit, Wipawee Thukhammee and Supaporn Muchimapura. Assessment of Neuropharmacological Activities of Terminalia Chebula in Rats. American Journal of Pharmacology and Toxicology. 2012; 7 (2): 41-48.

3. Terdthai Tong-un, Supaporn Muchimapura, Jintanaporn Wattanathorn, Panakaporn Wannanon, Wipawee Thukhammee, Chonlathip Thipkaew and Wathita Phachonpai. The 100-Days Oral Toxicity of Tomato Pomace in Healthy Mice. American Journal of Pharmacology and Toxicology. 2012; 7 (1): 27-32.

5. Supaporn Muchimapura, Wathita Phachonpai, Terdthai Tong-Un, Panakaporn Wannanon and Jintanaporn WattanathornEvaluation of Neuropharmacological Activities of Stephania Venosa Herb Consumption in Healthy Rats. American Journal of Agricultural and Biological Sciences. 2012; 7 (3): 239-246.

7. Wathita Phachonpai, Sinthuporn Maharun, Terdthai Tong-Un, Supaporn Muchimapura and Jintanaporn Wattanathorn. The Functional Effect of Kaempferia Parviflora on Ischemic Stroke in Rats American Journal of Agricultural and Biological Sciences. 2012; 7 (2): 173-179.

8. Phachonpai W, Wattanathorn J, Muchimapura S, Tong-Un T and Preechagoon D. Neuroprotective Effect of Quercetin Encapsulated Liposomes: A Novel Therapeutic Strategy against Alzheimer’s Disease. American Journal of Applied Sciences. 2010; 7(4): 480-485.

9. Tong-Un T, Muchimapura S, Phachonpai W and Wattanathorn J. Nasal Administration of Quercetin Liposomes Modulate Cognitive Impairment and Inhibit Acetylcholinesterase Activity in Hippocampus. American Journal of Neuroscience. 2010; 1(1): 21-27.

10. Tong-Un T, Wannanon P, Wattanathorn W and Phachonpai W. Quercetin Liposomes via Nasal Administration Reduce Anxiety and Depression-Like Behaviors and Enhance Cognitive Performances in Rats. American Journal of Pharmacology and Toxicology. 2010; 5(2): 80-88.

11. Tong-Un T, Muchimapura S, Phachonpai W and Wattanathorn J. Nasal Administration of Quercetin Liposomes Improves Memory Impairment and Neurodegeneration in Animal Model of Alzheimer’s Disease. American Journal of Agricultural and Biological Sciences. 2010; 5(3): 286-293.

12. Tong-Un T, Muchimapura S, Phachonpai W andWattanathorn J. Effects of Quercetin Encapsulated Liposomes via Nasal Administration: A Novel Cognitive Enhancer. American Journal of Applied Sciences. 2010; 7(7): 893-900.

13. Tong-Un T, Wannanon P, Wattanathorn J and Phachonpai W. Cognitive-Enhancing and Antioxidant Activities of Quercetin Liposomes in Animal Model of Alzheimer’s Disease. OnLine Journal of Biological Sciences. 2010; 10(2):84-91.

14. Priprem A, Watanatorn J, Sutthiparinyanont S, Phachonpai W, Muchimapura S. Anxiety and cognitive effects of quercetin liposomes in rats. Nanomedicine: Nanotechnology, Biology, and Medicine. 2008; 4: 70–78.

15. Wattanathorn J, Phachonpai W, Priprem A and Suthiparinyanont S. Intranasal Administration of Quercetin Liposome Decreases Anxiety-like Behavior and Increases Spatial Memory. American Journal of Agricultural and Biological Science 2007; 2(1): 31-35.

4. ผู้ร่วมโครงการ

ชื่อ - นามสกุล (ภาษาไทย) นางจินตนาภรณ์ วัฒนธร

ชื่อ - นามสกุล (ภาษาอังกฤษ) Mrs. Jintanaporn Wattanathorn

หมายเลขบัตรประชาชน 3-1005-0429-21-6

ตำแหน่งปัจจุบัน รองศาสตราจารย์

เงินเดือน 42,300 บาท

เวลาที่ใช้ทำวิจัย 8 ชั่วโมง/สัปดาห์

หน่วยงาน ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

โทรศัพท์ 043- 348394

โทรสาร 043- 348394

อีเมล์ jintanapornw@

ประวัติการศึกษา - วิทยาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล 2526

- วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สรีรวิทยา) มหาวิทยาลัยมหิดล 2529

- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ประสาทวิทยาศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหิดล 2537

สาขาวิชาการที่มีความชำนาญพิเศษ

- Neuroscience, Physiology, Endocrinology

ผลงานวิชาการ

1. Chonpathompikunlert P, Wattanathorn J , Muchimapura S. Piperine, the main alkaloid of Thai black pepper, protects against neurodegeneration and cognitive impairment in animal model of cognitive deficit like condition of Alzheimer’s disease. Food Chem Toxicol.

2. Jittiwat J, Wattanathorn J, Tongun T, Mucimapura S, Bunchonglikitkul C . Porcine Brain Extract Attenuates Memory Impairments Induced by Focal Cerebral Ischemia. American Journal of Applied Sciences 2009; 9: 1662-68; 9: 1662-68.

3. Uabundit N, Wattanathorn J*, Mucimapura S, Ingkaninan K. Cognitive enhancement and neuroprotective effects of Bacopa monnieri in Alzheimer's disease Model. J.Ethnopharmacol 2009 in press.

4. Mato L , Wattanathorn J*, Muchimapura S , Tongun T , Piyawatkul N , Yimtae K, Thanawirattananit P, Sripanidkulchai B. Centella asiatica improves physical performance and health related quality of life in healthy elderly volunteer. ECAM 2009; 177: 1-7.

5. Wattanathorn J, Chonpathompikunlert P, Muchimapura S, Priprem A, Tankamnerdthai O. 2008 Piperine, the potential functional food for mood and cognitive disorders. Food Chem Toxicol. 46(9): 3106-3110.

6. Jintanaporn Wattanathorn, Lugkana Mator, Supaporn Muchimapura, Terdthai Tongun, Orapin Pasuriwong, Nawanant Piyawatkul, Kwanchanok Yimtae, Bungorn Sripanidkulchai and Jintana Singkhoraard. 2008 Positive modulation of cognition and mood in the healthy elderly volunteer following the administration of Centella asiatica. J. Ethnopharmacol. 116(2):325-32.

7.Aroonsri Priprem, Jintanaporn Watanatorn, Saengrawee Sutthiparinyanont, Wathita Phachonpai and Supaporn Muchimapura. 2008 Anxiety and cognitive effects of quercetin liposomes in rat. Nanomedicine. 4(1): 70-8

8. Jintanaporn Wattanathorn, Wathita Phachonpai, Aroonsri Priprem and Saengrawee Suthiparinyanont 2007 Intranasal Administration of Quercetin Liposome Decreases Anxiety-like Behavior and Increases Spatial Memory. AmJ. of Agricult Biol Sci 2(1): 31-35

9. Jintanaporn Wattanathorn, Prasert Pangpookiew, Kittisak Sripanidkulchai, Supaporn Muchimapura, Bungorn Sripanidkuchai 2007 Evaluation of the anxiolytic and antidepressant effects of alcoholic extract of Kaempferia parviflora in aged rats. AmJ. of Agricult Biol Sci 2(2): 94-98.

10. Maharana S,Tong-un T,Wattanathorn J,Muchimapura S,Sripanidkulchai B. Study the protective effect of Kaempferia parviflora against neurodegeneration in stroke condition. North Eastern Thai Journal of Neuroscience. 2007; 3:18-27.

11. Jintanaporn Wattanathorn, Nongnut Uabundit, Wanchai Itarat, Supaporn Mucimapura, Pisamai Laopatarakasem, Bungorn Sripanidkulchai. 2006 Neurotoxicity of Coscinium fenestratum stem, a medicinal plant used in traditional medicine Food Chem Tox. 44(8) 1327-33

12. Settheetham-Ishida W, Yuenyao P, Tassaneeyakul W, Kanjanavirojkul N, Thawmor A, Kularbkaew C, Hahvajanawong C, Settheetham D, Wattanathorn J, Kashima T, Ishida T. 2006 Selected risk factors, human papillomavirus infection and the p53 codon 72 polymorphism in patients with squamous intraepithelial lesions in northeastern Thailand. Asian Pac J Cancer Prev. 7(1):113-8.

13. Jintanaporn Wattanathorn, Thaneeya Hawised, Supaporn Muchimapura, Bungorn Sripanidkulchai. 2007 Anxiolytic and anti-depression like activity of Centella asiatica. Northeastern Thai Neuroscience Journal. 1,

14. Auvichayapat N, Auvichayapat P, Watanatorn J, Thamaroj J, Jitpimolmard S. Kluver-Bucy syndrome after mycoplasmal bronchitis. Epilepsy Behav. 2006 Feb; 8 (1): 320-2.

15. Auvichayapat N, Auvichayapat P, , Jedsrisuparp A, Thinkhamrop B, Sriroj S, Piyakulmala T, Paholpak S, Wattanatorn J. Incidence of febrile seizures in thalassemic patients. J Med Assoc Thai. 2004 Aug; 87 (8): 970-3.

5. ผู้ร่วมโครงการ

ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย) นางสาวรัชนีพร กงซุย

ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ) Miss Ratchaniporn Kongsui

หมายเลขบัตรประชาชน 3410800067771

ตำแหน่งปัจจุบัน พนักงานสายวิชาการ (อาจารย์)

เงินเดือน 30,100.00

หน่วยงาน สาขาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

มหาวิทยาลัยพะเยา

โทรศัพท์ 054-466666 ต่อ 1750

โทรสาร 054-466663

โทรศัพท์มือถือ 093-4325902

อีเมล์ rat_nick@

ประวัติการศึกษา

- วิทยาศาสตร์บัณฑิต (กายภาพบำบัด) คณะเทคนิคการแพทย์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น (พ.ศ. 2546)

- วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (สรีรวิทยาทางการแพทย์) คณะแพทยศาสตร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น (พ.ศ. 2549)

สาขาวิชาการที่มีความชำนาญเป็นพิเศษ

-Behavioral Neuroscience

-Neuroinflammation

ผลงานวิชาการ

1. Kongsui, R, Beynon, S.B., Walker, F.R. A quantitative stereological and morphological analysis of microglia in the prefrontal cortex. Australian Neuroscience Society. Melbourne, Australia. 2013.

2. Kongsui, R, Walker, F.R. Chronic restraint stress induced remodelling of astrocytes in the rat hippocampus. Australian Neuroscience Society. Adelaide, Australia. 2014

3. Kongsui R, Beynon SB, Johnson SJ, Walker FR. (2014) Quantitative assessment of microglial morphology and density reveals remarkable consistency in the distribution and morphology of cells within the healthy prefrontal cortex of the rat. J Neuroinflammation, 11.

4. Kongsui R, Beynon SB, Johnson SJ, Mayhew J, Kuter P, Nilsson M, Walker FR. (2014). Chronic stress induces prolonged suppression of the P2X7 receptor within multiple regions of the hippocampus: a cumulative threshold spectra analysis. Brain Behav Immun, 42, 69-80.

---------------------------------

( สามารถดูรายละเอียดได้จากเว็บไซต์ nrct.go.th

(( รอรายละเอียดในคำแถลงนโยบายรัฐบาลชุดใหม่

-----------------------

(ฉบับปรับปรุงปี พ.ศ. 2557)

................
................

In order to avoid copyright disputes, this page is only a partial summary.

Google Online Preview   Download

To fulfill the demand for quickly locating and searching documents.

It is intelligent file search solution for home and business.

Literature Lottery

Related searches