บทที่ 1 – Introduction to E-Business and E-Commerce



     บทที่ 1 – Introduction to E-Business and E-Commerce

          ในปัจจุบันมีความนิยมในการใช้งาน Virtual World และ Social Network มากขึ้น มีการนำเสนอสื่อรูปแบบต่างๆบนเว็บไซต์ให้มีความน่าสนใจและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานมากขึ้น และแนวโน้มการใช้งาน Mobile Commerce มีอัตราที่สูงขึ้น เนื่องจากการพัฒนาของ Mobile Device 

คำศัพท์น่ารู้ 

          - Virtual World หรือ โลกเสมือน คือ การจำลองสภาพแวดล้อมที่สามารถตอบสนองต่อการใช้ งานของผู้ใช้หลายคนพร้อมๆกัน ผ่านเครือข่ายออนไลน์ ตลอด 24 ชั่วโมง

          - Location Base Service หรือ LBS เป็นบริการอย่างหนึ่งที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีไร้สาย ที่ทำให้บุคคลหรือองค์กรใดๆ ระบุตำแหน่งที่อยู่ของผู้ใช้อุปกรณ์ไร้สายได้อย่างแม่นยำ เป็นการค้นหาสถานที่ คน สัตว์ หรือ สิ่งของ

          - Social Network Service หรือ บริการเครือข่ายสังคม เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ในการสร้างเครือข่ายสังคม สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต เขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น เช่น การแชท ส่งข้อความ ส่งอีเมล์ วิดีโอ เพลง อัพโหลด รูป บล็อก โดยมีลักษณะการทำงาน คือ คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลพวกนี้ไว้ในรูปฐานข้อมูล SQL ส่วนวิดีโอหรือรูปภาพ อาจะเก็บเป็นไฟล์ก็ได้ บริการเครือข่ายสังคมที่เป็นที่นิยม ได้แก่ Hi5 MySpace Facebook Multiply เป็นต้น          

          จากปัจจัยดังกล่าว ทำให้รูปแบบของการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันเปลี่ยนไป อันเนื่องมาจากผลกระทบของการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจใดที่มีการปรับเปลี่ยนองค์กร นำเทคโนโลยีของการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์มาปรับเปลี่ยนกระบวนการขั้นตอนในการดำเนินธุรกิจ องค์กรนั้นก็ย่อมอยู่รอดได้ในปัจจุบัน

[pic]

ผลกระทบของการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อธุรกิจในปัจจุบัน

          – ความนิยมที่ในการใช้งาน Virtual Worlds และ Social Network ที่เพิ่มมากขึ้น

          – การนำเสนอสื่อรูปแบบต่าง ๆ บนเว็บไซต์ให้น่าสนใจและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมหรือผู้ใช้งานให้มากที่สุด

          – แนวโน้มในการใช้งาน Mobile Commerce สูงขึ้นอันเนื่องมาจากการพัฒนาของ Mobile Device เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ Smartphoneและ Tablet

          – LBS : Local Base Service ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์

ความแตกต่างระหว่าง e-commerce กับ e-business

          พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจ โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ECRC Thailand,1999)        พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือ การขนส่งผลิตภัณฑ์ หรืออีกความหมายถึง หมายถึงองค์กรที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ เพื่อส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพในองค์กรและบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (WTO,1998)

          พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ และครอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลายเช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์, การค้าอิเล็กทรอนิกส์, อีดีไอหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์, โทรสาร,คะตะล้อกอิเล็กทรอนิกส์, การประชุมทางไกล และรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์กร (ESCAP,1998)

          พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กร และส่วนบุคคล บนพื้นฐานของการประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ (OECD,1997)

          พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประมวล และการส่งข้อมูลที่มีข้อความ เสียง และภาพ ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการขายสินค้า และบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์,การขนส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาข้อมูลแบบดิจิทัลในระบบออนไลน์, การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์, การจำหน่วยหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์, การประมูล, การออกแบบทางวิศวกรรมร่วมกัน, การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ,การขายตรง, การให้บริการหลังการขาย ทั้งนี้ใช้กับสินค้า (เช่น สินค้าบริโภค,อุปกรณ์ทางการแพทย์) และบริการ (เช่น บริการขายข้อมูล, บริการด้านการเงิน, บริการด้าน กฎหมาย) รวมทั้งกิจการทั่วไป (เช่น สาธารณสุข,การศึกษา, ศูนย์การค้าเสมือน (Virtual Mall) (European union,1997)

          พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรโดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลงเช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขายพนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้าเป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้

E-Commerce คืออะไร

          พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic Commerce หรือ E-Commerce คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเตอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลขที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น เป็นการลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลา

E-Business คืออะไร

          E-Business คือ รูปแบบของการทำธุรกิจโดยอาศัยระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ระบบเครือข่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ การจัดการด้านการตลาดสำหรับองค์กร หรือ หน่วยงาน เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

 

[pic]

[pic]

[pic]

          Buy-side e-commerce: E-commerce transactions between a purchasing organization and its suppliers.

        Sell-side e-commerce: E-commerce transactions between a supplier organization and its customers.

          E-business คือ การดำเนินกิจกรรมทาง “ธุรกิจ”ต่างๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและอินเทอร์เน็ต เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจ มีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของคู่ค้า และลูกค้าให้ตรงใจ และรวดเร็วและเพื่อลดต้นทุน และขยายโอกาสทางการค้า และการบริการ เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลจะมีคำศัพท์ที่ได้ยินบ่อยๆ อาทิ   

คำนิยม อิคอมเมิร์ชในมุมมองต่างๆ

Biz Process ในทางกระบวนการธุรกิจนั้น ได้นำกระบวนการทางสารสนเทศและคอมพิวเตอร์เพื่ออำนวยความสะดวก และเพิ่มประสิธิภาพการทำงาน

Service อิคอมเมิร์ชช่วยในด้านการบริหารจัดการเป็นเครื่องมือในการตอบสนองลูกค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการที่ดีขึ้นกว่าเดิม

Learning มีลักษะการบริหารแบบออนไลน์ การจัดตารางเรียการเรียนการสอน รวมถึงการ

ฝึกอบรมเพื่อสนับสนุนให้องกรการศึกษามีประสิธิภาพมากาขึ้น

Community มุมมองทางด้านสังคม เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการชุมนุม พบปะสังสรรค์กัน

คุณสมบัติ 8 ประการของ e-commerce

1.การมีอยู่ทั่วไปทุกแหน่งหน (Ubiquity)

เป็นลักษณะที่โดดเด่นของ E-commerce ในข้อนี้เพราะการซื้อ และเลือกดูสินค้าไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่หน้าร้านอีกต่อไป ซื้อที่ไหนก็ได้

2.ขอบเขตครอบคลุมทั่วโลก (Global Reach)

ลักษณะธุรกิจที่ไร้พรหมแดน ระยะทางไม่เป็นอุปสรรคกับการซื้อสินค้าอีกต่อไป

3.มาตราฐานระดับสากลในโลกของการสื่อสาร (Universal Standard)

ใช้ระบบการสื่อสารมาตราฐาน เช่น TCP/IP

4.ความสมบูรณ์ในข่าวสาร (Richness)

หมายถึงความซับซ้อนทางด้านข้อมูลข่าวสาร สามารถอ้างอิงถึงข้อมูลได้อย่างถูกต้องเช่นการดูไฟล์วีดีโอภาพ ฯลฯ

5.ความสามารถในการโต้ตอบระหว่างกัน (Interactive)

ในอดีตเราจะนึกถึงการโทรศัพท์เพื่อติอต่อสื่อสารกัน ปัจจุบันเป็นการโทรแบบออนไลน์ อีกทั้งเป็น VDO Call สนทนาทั้งภาพและเสียง

6.ความหนาแน่นของสารสนเทศ (Information Density)

ข้อมูลทั้งสินค้าและราคามีอยู่มากมายบนโลกออนไลน์ ในอีกมุมมองหนึ่งก็เป็นประโยชน์ต่อการเปรีบยเทียบทั้งสินค้าและบริการก่อนกรตัดสินใจ

7.ความเป็นเฉะพาะตัวและการปรับแต่ง (Personalization / Customization)

มุ่งเน้นที่ผู้ประกอบการจะทำการจะแนกกลุ่มลูกค้าและนำเสนอสินค้าและบริการให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย

8.ก่อเกิดเทคโนโลยีทางสังคม (Social Technology)

Internet ส่งผลอย่างสูงสำหรับการเกิดขึ้นมายมายของสังคมออนไลน์ มักมีการแบ่งบันประสบการเกี่ยวกับสินค้าและบริกการนั้นๆ

          BI=Business Intelligence: การรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านตลาด ข้อมูลลูกค้า และ คู่แข่งขัน EC=E-Commerce: เทคโนโลยีที่ช่วยทำให้เกิดการสั่งซื้อ การขาย การโอนเงินผ่าน อินเทอร์เน็ต

          CRM=Customer Relationship Management: การบริหารจัดการ การบริการ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ทำให้ลูกค้าพึงพอใจกับทั้งสินค้า บริการ และ บริษัท – ระบบ CRM จะใช้ไอทีช่วยดำเนินงาน และ จัดเตรียมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการบริการลูกค้า, เปลี่ยนลูกค้าขาจร เป็น ขาประจำ => Brand Royality

          ECRM => นำเอาอิเล็กทรอนิกส์มาช่วย เช่น Gift Voucher ในวันเกิด

          E-CRM หมายถึง กระบวนการจัดการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าทาง internet มีการผสมผสานการใช้งานเทคโนโลยี บุคลากร และกระบวนการขายสินค้าหรือบริการเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งลูกค้า รักษาลูกค้าไว้และสร้างกำไรสูงสุดจากลูกค้า

          SCM=Supply Chain Management: การประสาน ห่วงโซ่ทางธุรกิจ ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ ผู้ผลิต ผู้จัดส่ง ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก จนถึงมือผู้บริโภค

          ERP=Enterprise Resource Planning: กระบวนการของสำนักงานส่วนหลัง และ การผลิต เช่น การรับใบสั่งซื้อการจัดซื้อ การจัดการใบส่งของ การจัดสินค้าคงคลัง แผนและการจัดการการผลิต– ระบบ ERP จะช่วยให้ประบวนการดังกล่าวมีประสิทธิภาพและลดต้นทุน

[pic]

[pic]

Intranet หรือเครือข่ายส่วนบุคคล

          อินทราเน็ต คือ ระบบเครือข่ายภายในองค์กร เป็นระบบที่ได้การกล่าวขวัญถึงกันอย่างมากคู่กับอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กรต่าง ๆ ได้มีการนำอินทราเน็ตมาใช้กันอย่างแพร่หลาย จนทำให้ระบบที่เกี่ยวกับอินทราเน็ตเป็นระบบที่ผู้ค้าต่าง ๆ มุ่งเข้ามาสู่กันมากที่สุด โดยสามารถให้นิยามของอินทราเน็ตได้คือ ระบบเครือข่ายอินทราเน็ต ก็คือระบบเครือข่ายภายในองค์การที่นำเทคโนโลยีแบบเปิดจากอินเตอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยในการทำงานร่วมกัน (Workgroup) การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนการทำงานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ในองค์การ

Extranet

          เอ๊กซ์ทราเน็ต หรือ เครือข่ายภายนอกองค์กร ก็คือระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายภายในองค์กร (INTERNET) เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายนอกองค์กร เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ของสาขาของผู้จัดจำหน่ายหรือของลูกค้า เป็นต้น โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายอาจเป็นได้ทั้ง การเชื่อมต่อโดยตรง (Direct Link) ระหว่าง 2 จุด หรือการเชื่อมต่อแบบ เครือข่ายเสมือน (Virtual Network) ระหว่างระบบเครือข่ายอินทราเน็ต จำนวนหลาย ๆ เครือข่ายผ่านอินเตอร์เน็ตก็ได

          ระบบเครือข่ายแบบเอ็กซ์ทราเน็ต โดยปกติแล้วจะอนุญาตให้ใช้งานเฉพาะสมาชิกขององค์กรหรือผู้ที่ได้รับสิทธิในการใช้งานเท่านั้น โดยผู้ใช้จากภายนอกที่เชื่อมต่อเข้ามาผ่านเครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ตอาจถูกแบ่งเป็นประเภท ๆ เช่น ผู้ดูแลระบบ สมาชิก คู่ค้า หรือผู้สนใจทั่ว ๆ ไป เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้แต่ละกลุ่มจะได้รับสิทธิในการเข้าใช้งานเครือข่ายที่แตกต่างกันไป

          เครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ตเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก เนื่องจากแนวโน้มการใช้งานเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เริ่มมีการนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์มากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น การเปิดร้านค้าบนอินเตอร์เน็ต หรือการเปิดบริการข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งบริการเหล่านี้จะต้องมีการเชื่อมต่อกับบุคคลและเครือข่ายภายนอกองคกรจำนวนมาก จึงต้องมีระบบการจัดการการเชื่อมต่อเครือข่ายภายนอกที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่ด

Internet เครือข่ายสาธารณะ

          อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นล้านๆเครื่องเชื่อมต่อเข้ากับระบบและยังขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี อินเทอร์เน็ตมีผู้ใช้ทั่วโลกหลายร้อยล้านคน และผู้ใช้เหล่านี้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้อย่างอิสระ โดยที่ระยะทางและเวลาไม่เป็นอุปสรรค นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเข้าดูข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกตีพิมพ์ในอินเทอร์เน็ตได้ อินเทอร์เน็ตเชื่อมแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจ มหาวิทยาลัย หน่วยงานของรัฐบาล หรือแม้กระทั่งแหล่งข้อมูลบุคคล องค์กรธุรกิจหลายองค์กรได้ใช้อินเทอร์เน็ตช่วยในการทำการค้า เช่น การติดต่อซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตหรืออีคอมเมิร์ช (E-Commerce)ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับการทำธุรกิจที่กำลังเป็นที่นิยม เนื่องจากมีต้นทุนที่ถูกกว่าและมีฐานลูกค้าที่ใหญ่มาก ส่วนข้อเสียของอินเทอร์เน็ตคือ ความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างที่แลกเปลี่ยนผ่านอินเทอร์เน็ตได้ อินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอลที่เรียกว่า

          “TCP/IP (Transport Connection Protocol/Internet Protocol)”ในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย ซึ่งโปรโตคอลนี้เป็นผลจากโครงการหนึ่งของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ โครงการนี้มีชื่อว่า ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) ในปี ค.ศ.1975 จุดประสงค์ของโครงการนี้เพื่อเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกัน และภายหลังจึงได้กำหนดให้เป็นโปรโตคอลมาตรฐานในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

          ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นเครือข่ายสาธารณะ ซึ่งไม่มีผู้ใดหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง การเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตต้องเชื่อมต่อผ่านองค์กรที่เรียกว่า “ISP (Internet Service Provider)” ซึ่งจะทำหน้าที่ให้บริการในการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต นั่นคือ ข้อมูลทุกอย่างที่ส่งผ่านเครือข่าย ทุกคนสามารถดูได้ นอกเสียจากจะมีการเข้ารหัสลับซึ่งผู้ใช้ต้องทำเอง

สรุป

          Internet หมายถึง ระบบเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก กลุ่มผู้ใช้ระบบ Internet จะไม่จำกัดกลุ่มผู้ใช้งาน

          Intranet หมายถึง ระบบเครือข่ายที่ใช้กันภายในบริษัทหรือภายในองค์กรเท่านั้น เป็นระบบเครือข่าย Intranet 2 ระบบ ที่มีการส่งข้อมูลหรือติดต่อกันผ่านระบบ Internet

          Extranet เพื่อให้สามารถเชื่อมติดต่อขอข้อมูลกันได้เหมือนอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน

ความหมายของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ Electronic Business คือ กระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่าย ที่เรียกว่า องค์การเครือข่ายร่วม Internetworked Network ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Electronic Commerce การติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน หรือแม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Electronic Commerce คือ การดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Electronic Commerce คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์และบริการ โดยใช้สื่อิเล็กทรอนิกส์

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Electronic Commerce คือ ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีประเภทต่างๆและครอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลาย เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ โทรสาร แคตตาล็อคอิเล็กทรอนิกส์ การประชุมทางไกล และรูปแบบต่างๆที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์กร

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Electronic Commerce คือ ธุรกรรมทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กร และส่วนบุคคล บนพื้นฐานของการประมวล และการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Electronic Commerce คือ การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประมวล และการส่งข้อมูล ที่มีข้อความ เสียง และภาพ ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการขายสินค้าและบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การขนส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาข้อมูลแบบดิจิทัลในระบบออนไลน์ การประมูล การออกแบบทางวิศวกรรมร่วมกัน การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ การขายตรง การให้บริการหลังการขาย ทั้งนี้ใช้กับสินค้า (เช่น สินค้าบริโภค อุปกรณ์ทางการแพทย์) และบริการ (เช่น บริการขายข้อมูล บริการด้านการเงิน บริการด้านกฎหมาย) รวมทั้งกิจการทั่วไป (เช่น สาธารณสุข การศึกษา ศูนย์การค้าเสมือน Virtual Mall)

สรุป

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Electronic Commerce คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเตอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลาลงได้

 

E-Business และ E-Commerce เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

[pic]

E-Business คือ การดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจต่างๆ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและอินเตอร์เน็ต เพื่อทำให้กระบวนการทางธุรกิจ มีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของลูกค้า และลูกค้าให้ตรงใจและรวดเร็ว เพื่อลดต้นทุนและขยายโอกาสทางการค้าและการบริการ 

E-Commerce คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุหรือแม้แต่อินเตอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลาลงได้

จากความหมายของ E-Business กับ E-Commerce จะเห็นได้ว่าสองคำนี้มีความหมายที่ใกล้เคียงกัน แต่ไม่เหมือนกันทีเดียว โดย E-Business มีขอบเขตที่กว้างกว่า เป็นการทำกิจกรรมทุกๆอย่าง ทุกขั้นตอนของกระบวนการทางธุรกิจ ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่ E-Commerce จะเน้นเฉพาะการซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เนตเท่านั้น จึงสรุปได้ว่า E-Commerce เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ E-Business เท่านั้น

 

กรอบการทำงานและโครงสร้างพื้นฐานของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

กรอบการทำงาน E-Commerce Framework

 

[pic]

E-Commerce Framework ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่

1.       การประยุกต์ใช้ E-Commerce Application

2.       โครงสร้างพื้นฐาน E-Commerce Infrastructure

3.       การสนับสนุน E-Commerce Supporting

4.       การจัดการ E-Commerce Management 

1. การประยุกต์ใช้ E-Commerce Application

- การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ E-Retailing

- การโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์ E-Advertisement

- การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ E-Auctions

- การบริการอิเล็กทรอนิกส์ E-Service

- รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ E-Government

- การพาณิชย์ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ M-Commerce : Mobile Commerce

2. โครงสร้างพื้นฐาน E-Commerce Infrastructure

องค์ประกอบหลักสำคัญด้านเทคโนโลยีพื้นฐาน ที่จะนำมาใช้เพื่อการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่

1.       ระบบเครือข่าย Network System

2.       ช่องทางการติดต่อสื่อสาร Communication Channel

3.       การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา Format and Content Publishing

4.       การรักษาความปลอดภัย Security

3. การสนับสนุน E-Commerce Supporting

ส่วนของการสนับสนุน จะทำหน้าที่ช่วยเหลือและสนับสนุนส่วนของการประยุกต์ใช้งานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปรียบเสมือนเสาหลักของบ้าน ที่ทำหน้าที่ค้ำจุนให้หลังคาบ้าน อย่างไรก็ตามเสาบ้านก็ต้องอาศัยพื้นบ้านในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานเพื่อที่จะยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงต่อไป สำหรับส่วนสนับสนุนของ E-Commerce มีองค์ประกอบ 5 ส่วน ดังนี้

1.       การพัฒนาระบบงาน E-Commerce Application Development

2.       การวางแผนกลยุทธ์ E-Commerce Strategy

3.       กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce Law

4.       การจดทะเบียนโดเมนเนม Domain Name Registration

5.       การโปรโมทเว็บไซต์ Website Promotion 

ปัจจัยที่ทำให้ E-Commerce ประสบความสำเร็จการนำ E-commerce ไปใช้ในธุรกิจจำเป็นต้องมีสารสนเทศที่ถูกต้อง มีโครงสร้างพื้นฐาน และมีระบบสนับสนุน ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จมี 5 อย่างดังนี้

-          คน (People) หมายถึง ผู้ขาย ผู้ซื้อ คนกลาง พนักงาน IT และอื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

-          นโยบายสาธารณชน หมายถึง กฎหมาย ภาษี และนโยบายหลักๆ ที่สำคัญ เช่น สิทธิส่วนบุคคล ที่ถูกกำหนดด้วยรัฐบาล ในที่นี้นโยบายจะรวมถึงมาตรฐานด้านเทคนิค และ โปรโตคอล (Protocol)

-          การตลาด และการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เว็บไซต์เป็นสิ่งสำคัญเพื่อใช้ติดต่อกับลูกค้า และทำธุรกิจค้าขาย รวมถึงการมองหาตลาดแหล่งใหม่ ๆ และกลยุทธ์ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์

-          พันธมิตรธุรกิจ E-commerce ถูกนำมาใช้ในการบริหาร Supply Chain หรือ ระหว่างคู่ค้า และพันธมิตรทางการค้า

- บริการสนับสนุนอื่น สิ่งสำคัญ คือการวิจัยตลาด การสร้างเนื้อหา และการบริการอื่น ๆ เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็น ระบบการชำระ การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบรักษาความปลอดภัย

4. การจัดการ E-Commerce Management

แบบจำลองทางธุรกิจ Business Model The Dimensions Of E-Commerce

[pic]

Pure Electronic Commerce ทุกอย่างเป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ขายเพลงผ่านเว็บ จ่ายเงินผ่านเว็บด้วย

Partial Electronic Commerce เช่น ขายของบนเฟสบุ๊ค สินค้าวางหน้าร้าน ส่งทาง EMS ได้ 

Pure E-commerce คือ การทำธุรกรรม E-commerce ในรูปแบบดิจิตอล Digital ทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนที่เริ่มจาก

-          การสั่งซื้อสินค้า หรือ บริการ

-          กระบวนการชำระเงิน

-          การส่งมอบ

ตัวอย่างเช่น การซื้อขาย โปรแกรม เพลง หรือ เกมส์ ผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยบัตรเครดิต

Partial E-commerce คือ การทำธุรกรรม E-commerce ที่บางขั้นตอนยังอยู่ในรูปแบบกายภาพ (Physical) เช่น การสั่งซื้อตำรา ต้องมีการขนส่งผ่านระบบขนส่งปกติทั่วไป หรือ การชำระเงินโดยใช้วิธีโอนผ่านธนาคาร หรือ ATM เป็นต้น

Business Model Of E-Commerce

Brick – and – Mortar Organization

Old-economy organizations (corporations) that perform most of their business off-line ,selling physical product by means of physical agent. => Traditional

Virtual Organization

Organization that conduct their business activities solely online. => Pure

Click – and – Mortar Organization

Organization that conduct some e-commerce activities , but do their primary business in the physical world. => Partial

-          รูปแบบของการทำ e-commerce ที่มีรูปแบบการผสมผสานระหว่างผู้ที่มีธุรกิจร้านค้าหรือมีบริษัท เปิดให้บริการทำการค้าจริงๆ และมีเว็บไซต์เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการขาย

-          คำว่า Mortar คือการก่อสร้างบ้านอาคาร เปรียบได้กับธุรกิจที่มีหน้าร้านค้าจริงๆ โดยบางคนจะเลือกใช้คำว่า “Brick” แทนคำว่า Mortar

-          เหมาะสำหรับผู้ที่มีกิจการค้าเดิมอยู่แล้ว และต้องการขยายเพิ่มช่องทางการค้าไปสู่ภายนอกทั้งระดับประเทศและทั่วโลก

-          การทำ e-commerce ที่มีรูปแบบการค้าขายหรือให้บริการผ่านทางเว็บไซต์และอินเทอร์เน็ตเพียงช่องทางเดียวเท่านั้น ไม่มีธุรกิจหรือร้านค้าจริงๆ ที่ให้คนสามารถไปซื้อหรือรับสินค้าหน้าร้านได้

ประเภทของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

แบ่งออกเป็น

1.       กลุ่มธุรกิจที่ค้ากำไร Profit Organization

-          Business – to – Business (B2B)

คือรูปแบบการซื้อขาย สินค้าระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ เป็นการซื้อขายทีละปริมาณมากๆ มีมูลค่าการซื้อขาย แต่ละครั้งเป็นจำนวนมาก เป็นการค้าส่ง เช่น ผู้ผลิตขายส่งให้กับพ่อค้าคนกลางเป็นธุรกิจนำเข้า - ส่งออก ชำระเงินผ่านระบบธนาคารด้วยการเปิด L/C หรือในรูปของ Bill of Exchange อื่นๆ

-          Business – to – Customer (B2C)

คือรูปแบบการจำหน่ายสินค้าโดยตรงจากผู้ค้ากับผู้บริโภคโดยตรง เป็นการค้าปลีก

-          Business – to – Business – to – Customer (B2B2C)

หมายถึง การเชื่อมต่อ B2B และ B2C เข้าด้วยกัน นั่นก็คือ เป็นรูปแบบการดำเนินธุรกรรมที่ธุรกิจได้ขายช่วงต่อไปยังภาคธุรกิจด้วยกัน ซึ่งอาจเป็นบริษัทในเครือหรือกลุ่มธุรกิจเดียวกันแต่ในด้านการส่งมอบสินค้าหรือบริการ ก็ยังคงส่งมอบไปยังผู้บริโภคโดยตรงในแต่ละราย หรือองค์กรธุรกิจขายให้องค์กรธุรกิจด้วยกัน แต่องค์กรจะจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าอีกทีหนึ่ง

-          Customer – to – Customer (C2C)

เป็นรูปแบบการซื้อขาย สินค้าระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค เช่นการประกาศขายสินค้าใช้แล้ว

-          Customer – to – Business (C2B)

หมายถึง เป็นการดำเนินธุรกรรมระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการในอีกรูปแบบหนึ่งที่ผู้บริโภคกลับมีสถานะเป็นผู้ค้าและมีบทบาทในการต่อรองเพื่อตั้งราคาสินค้า จากนั้นผู้ประกอบการก็จะนำราคาที่ลูกค้าเสนอมาให้กับผู้ขายปัจจัยการผลิตพิจารณาว่าสามารถจำหน่ายหรือขายได้ในราคานี้หรือไม่ หรือการที่ลูกค้าสามารถระบุตัวสินค้าหรือบริการเฉพาะเจาะจงลงไป แล้วองค์กรเป็นตัวจัดหาสินค้าหรือบริการให้ลูกค้า

เป็นรูปแบบการค้าที่ใกล้ตัวมากๆ จนเรานึกไม่ถึง เป็นรูปแบบการค้าที่ Consumer หรือผู้ใช้นำสินค้ามา Reviews หรือวิเคราะห์สินค้า จนเว็บเราดังมีคนสนใจเข้ามาชมมาก เราก็จะทำธุรกิจ (Business) กับ Amazon โดยการเอาสินค้าที่เกี่ยวข้องกับที่เรา Reviews มาขาย ซึ่งถ้าขายได้ Amazon ก็จะแบ่งตังให้กับเรา หรือแม้แต่ Adsense ก็เป็นธุรกิจแบบ C2B คือ Consumer ทำธุรกิจกับ Business โดยนำเสนอสิ่งที่ Business ต้องการ ซึ่งในกรณี Adsense ที่เขาต้องการก็คือเนื้อหาเว็บที่ดีมีประโยชน์ของ Consumer ที่ทาง Google จะเอาไปขายต่อให้กับพวกที่ต้องการโฆษณาบนเว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสินค้าตนเอง หรือพวกที่ทำ Adwords ไงครับ

-          Mobile Commerce

หรือ M-Commerce หมายถึง การดำเนินกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมหรือการเงิน โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือการค้าขายตามระบบแนวความคิดของระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce ที่ใช้อุปกรณ์พกพาไร้สายเป็นเครื่องมือในการสั่งซื้อและขายสินค้าต่างๆ ทั้งการสั่งซื้อสินค้าที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม รวมทั้งการรับ-ส่งอีเมล์ หรือการทำธุรกรรมเชิงพาณิชย์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งมีความสะดวกสบาย ไม่มีข้อจำกัดในการจับจ่าย โดย M-Commerce เป็นการแตกแขนงของเทคโนโลยีที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการขยายตัวของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่ง M-Commerce จะช่วยเร่งอัตราการเติบโตให้กับการดำเนินธุรกรรมผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ได้เร็วกว่าการใช้เทคโนโลยี E-Commerce

ขอบเขตของ M-Commerce จะครอบคลุมทั้งการดำเนินธุรกรรมระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจกับผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ B2C และระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจด้วยกันเอง B2B

2.       กลุ่มธุรกิจที่ไม่ค้ากำไร Non-Profit Organization

-          Intrabusiness (Organization) E-Commerce

อีคอมเมิร์ซภายในองค์กรหรือแบบอินทราออร์ก (Intra-Org E-commerce) คือ การใช้อีคอมเมิร์ซในการช่วยให้บริษัทหรือองค์ใดองค์กรหนึ่งสามารถปรับปรุงการทำงานภายในและให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้

-          การติดต่อสื่อสารภายในองค์กรจะสะดวกรวดเร็วจะได้ผลดีขึ้น โดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ และป้ายประกาศ เป็นต้น

- การจัดพิมพ์เอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีพับลิซซิง (Electronic Publishing) ช่วยให้บริษัทสามารถออกแบบเอกสาร จัดพิมพ์เอกสาร และแจกจ่ายเอกสารได้สะดวกรวดเร็ว และใช้ค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ว่าจะเป็นคู่มือข้อกำหนดสินค้า (Product Specifications) รายงานการประชุม เป็นต้น ทั้งนี้โดยผ่านเว็บ

- การปรับปรุงประสิทธิภาพพนักงานขาย การใช้อีคอมเมิร์ซแบบนี้ช่วยปรับปรุงการสื่อสารระหว่างฝ่ายผลิตกับฝ่ายขาย และระหว่างฝ่ายขายกับลูกค้า ทำให้ได้ประสิทธิภาพดีขึ้น

-          Business – to – Employee (B2E)

การทำธุรกรรมระหว่างธุรกิจกับพนักงาน (Business-To-Employee–B2E) มุ่งเน้นการให้บริการแก่พนักงานในด้านต่าง ๆ เช่น ข้อมูลของสินค้าและบริการ กิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างผู้ประกอบการ องค์กร กับพนักงาน โดยอาศัยระบบเครือข่าย

-          Government – to – Citizen (G2C)

การทำธุรกรรมระหว่างองค์กรของรัฐกับประชาชน (Government-To-Citizen–G2C) เป็นการทำธุรกรรมระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับประชาชนโดยไม่หวังผลกำไร แต่เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้ บริการข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน เช่น การยื่นแบบชำระภาษีของกรมสรรพากร

-          Collaborative Commerce (C-Commerce) เช่น เครือซีเมนต์ไทย

ซี คอมเมิร์ซ (c-Commerce) หรือ Collaborative Commerce เป็นที่รู้จักกันในต่างประเทศได้เป็นเวลานานพอควรแล้วภายหลังจากการเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ต เนื่องจากได้สร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive advantage) แก่บริษัทที่นำไปใช้อย่างเห็นได้ชัด อุตสาหกรรมที่ริเริ่มใช้ ได้แก่ อุตสาหกรรมรถยนต์ และอุตสาหกรรมอากาศยาน และในปัจจุบันได้แพร่ขยายไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ก่อสร้าง เครื่องจักร รวมไปถึงอุตสาหกรรมบริการต่างๆ

สำหรับในประเทศไทยซี-คอมเมิร์ซ เริ่มมีการกล่าวถึงมากขึ้น เนื่องจากการตระหนักถึงความสำคัญของการลงทุนทางด้านเทคโนโลยี เพื่อเตรียมความพร้อมในการต่อสู้กับสภาวะการแข่งขันที่รุนแรงของตลาดโลก และตัวอย่างของความสำเร็จที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ Wasserstein Perella Securities, Inc. ได้ออกรายงานการศึกษาว่า นับจากนี้ไปถึง 5 ปีข้างหน้า บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านอุตสาหกรรมรถยนต์ทั้งสามของสหรัฐอเมริกา จะสามารถ

-          Exchange – to – Exchange (E2E)

การทำธุรกรรมด้านการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ (Exchange-To-Exchange–E2E) เป็นช่องทางสำหรับใช้แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างองค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชน

-          E-Learning

e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น 

E-Commerce Business Model แบบจำลองทางธุรกิจ

แบบจำลองทางธุรกิจ หมายถึง วิธีการดำเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ อันจะทำให้บริษัทอยู่ต่อไปได้ นอกจากนี้ ยังรวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม Value Add ให้กับสินค้าและบริการ

วิธีการที่องค์กรคิดค้นขึ้นมา เพื่อประยุกต์ใช้ทรัพยากรขององค์กรอย่างเต็มที่ อันจะก่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดและเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ 

ธุรกิจที่หารายได้จากค่าสมาชิก

ตัวอย่างของธุรกิจที่หารายได้จากค่าสมาชิกในการศึกษาได้แก่ AOL (ธุรกิจ ISP), Wall Street Journal (หนังสือพิมพ์), (ข้อมูลตลาดงาน), และ Business Online (ข้อมูลบริษัท) ธุรกิจในกลุ่มนี้หลายรายเป็นธุรกิจที่ได้กำไรแล้วเนื่องจากรายได้จากค่าสมาชิกเป็นรายได้ที่มีความมั่นคงกว่ารายได้จากแหล่งอื่นเช่น รายได้จากการโฆษณาหรือค่านายหน้า อย่างไรก็ตาม ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจที่จะสามารถหารายได้จากค่าสมาชิกได้ก็คือ การมีสารสนเทศหรือบริการที่มีคุณภาพที่ดี พอที่จะทำให้ลูกค้ายอม

จ่ายค่าสมาชิกดังกล่าว เช่น ต้องมีสารสนเทศที่แตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น (Wall Street Journal หรือ Business Online) หรือใช้กลยุทธ์ทางการตลาดในการรักษาฐานลูกค้าไว้ เช่น AOL รักษาฐานลูกค้าของตนด้วยหมายเลขอีเมล์หรือหมายเลข ICQ ซึ่งลูกค้าท่ใี ช้บริการไปแล้วระยะหนึ่งไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง ธุรกิจที่มีรายได้จากสมาชิกยังสามารถใช้ฐานลูกค้าของตนที่มีอยู่ขยายต่อ ไปยังธุรกิจต่อเนื่องอื่นๆ เช่น AOL ใช้ฐานสมาชิกของตนในการหารายได้จากการโฆษณาออนไลน์ และธุรกิจค้าปลีก

ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน

ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานเป็นธุรกิจ E-Commerce ที่ให้บริการแก่ธุรกิจ Ecommerce อื่น ตัวอย่างของธุรกิจพื้นฐานในการศึกษา ได้แก่ Consonus (ธุรกิจศูนย์ข้อมูล และ ASP), Pay Pal (ธุรกิจชำระเงินออนไลน์), Verisign (ธุรกิจออกใบรับรองดิจิตัล), BBBOnline (ธุรกิจรับรองการประกอบธุรกิจที่ได้มาตรฐาน), Siamguru (บริการเสิร์ชเอนจิ้น), และ FedEx (บริการจัดส่งพัสดุ) ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจในกลุ่มนี้จะขึ้นอยู่กับการขยายตัวของตลาด E-Commerce โดยรวม กล่าวคือ หากเศรษฐกิจ อยู่ในช่วงขยายตัวและมีผู้ประกอบการ E-Commerce มาก รายได้ของธุรกิจเหล่านี้ก็จะเพิ่มขึ้น ดังนั้น หากเรามองว่าธุรกิจ E-Commerce มีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องในระยะยาว ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งได้ ก็จะมีแนวโน้มที่จะเติบโต และน่าจะทำกำไรได้ในระยะยาว เช่น True Money 

ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์

ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์เป็นรูปแบบของธุรกิจ E-Commerce ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีที่สุด เมื่อกล่าวถึงธุรกิจ E-Commerce คนทั่วไป จึงมักจะนึกถึงธุรกิจในกลุ่มนี้ ตัวอย่างของธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (Online Retailer) ในกรณีศึกษาได้แก่ Amazon (หนังสือ), 7dream (ของชำ), EthioGift (ของขวัญวันเทศกาลของเอธิโอเปีย), 1-800-Flowers (ดอกไม้), Webvan (ของชำ), Tony Stone Image (รูปภาพ), และ Thaigem (อัญมณี) รายได้หลักของธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์มาจากการจำหน่ายสินค้า ในช่วงแรกผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ มักคาดหวังว่า การประกอบการโดยไม่ต้องมีร้านค้าทางกายภาพจะช่วยให้ตนมีต้นทุนที่ต่ำ และสามารถขายสินค้าให้แก่ ลูกค้าในราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่งได้ อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาต่อมาเราจะพบว่า ปัจจัยในความสำเร็จของโมเดลทางธุรกิจดังกล่าวมักจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดการส่งสินค้าและให้บริการหลังการขายให้แก่ลูกค้า เราจึงพบว่าธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่มีร้านค้าทางกายภาพมีแนวโน้มที่จะต้องสร้าง ร้านค้าหรือคลังสินค้าขึ้นด้วยจนกลายเป็นธุรกิจที่ รียกว่า Clickand-Mortar หรืออาจใช้วิธีการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจกับร้านค้าปลีกแบบเดิม

ตัวอย่างของธุรกิจที่เรียกว่า Click-and-Mortar ได้แก่การที่ Amazon ได้ลงทุนสร้างคลังสินค้าและพยายามทำความตกลงเป็นพันธมิตรกับ Walmart ซึ่งเป็นร้านค้าปลีกที่มีช่องทางจัดจำหน่าย ในขณะเดียวกันเรายังเห็นแนวโน้มของการที่ร้านค้าปลีกแบบเดิมเช่น 7-Eleven หันมาประกอบธุรกิจออนไลน์ด้วย ดังตัวอย่างของ 7dream ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากการมีร้านค้าทางกายภาพ และการทำธุรกิจออนไลน์ ร่วมกัน

ธุรกิจที่หารายได้จากโฆษณา

ในช่วงหลังธุรกิจ E-Commerce ที่หวังหารายได้จากการโฆษณาซบเซาลงไปมาก เนื่องจากการเข้าสู่ตลาดดังกล่าวทำได้ง่าย ทำให้จำนวนพื้นที่โฆษณาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลทำให้เกิดการแข่งขันอย่างรุนแรง และมีผลกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการแทบทุกราย นอกจากนี้ การจัดทำเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาดึงดูดให้ผู้ใช้เข้ามาใช้ต้องอาศัยการลงทุนสูง และจำเป็นต้องทำการตลาดและการประชาสัมพันธ์ผ่าน สื่อต่างๆมาก ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจในกลุ่มนี้จึงได้แก่การสร้างจุดเด่นที่แตกต่างจากธุรกิจในแนวเดียวกัน ในขณะท่สี ามารถควบคุมต้นทุนได้ ตัวอย่างของธุรกิจที่หารายได้จากค่าโฆษณาที่ยังคงสามารถทำกำไรได้ คือ Yahoo! ซึ่งเป็นเว็บท่า (Portal Site) ที่มีชื่อเสียงมานานและมี ต้นทุนในการสร้างเนื้อหาน้อย เนื่องจากใช้วิธีการเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาของผู้อื่นนอกจากนี้ยังมีอีกตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ คือ GreaterGood ซึ่งเป็นตัวอย่างของธุรกิจที่หารายได้จากการแนะนำลูกค้าให้แก่เว็บไซต์อื่นๆ ซึ่งคล้ายกับการหารายได้จากค่าโฆษณา 

บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

ตัวอย่างของบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) ในกรณีศึกษา ได้แก่ MERX (การให้ข้อมูลการประกวดราคาของโครงการรัฐ), (การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ) และ eCitizen (การให้บริการของรัฐแก่ประชาชน) บริการในกลุ่มนี้มักมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนและธุรกิจในการติดต่อกับภาครัฐ (eCitizen) เพิ่มความโปร่งใสในการดำเนินงาน (MERX) เพิ่มประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของภาครัฐ () เป็นต้น ปัจจัยในความสำเร็จของบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์คือการศึกษาความต้องการของประชาชนหรือผู้ใช้บริการ แล้วออกแบบระบบให้มีความสอดคล้องกับความต้องการนั้น นอกจากนี้ ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งต่อความสำเร็จของบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์คือ การกำหนด มาตรฐานของข้อมูลและโปรแกรมประยุกต์ของบริการต่างๆ ที่ต้องทำงานร่วมกันให้มีความสอดคล้องกันเช่น ในกรณีของ eCitizen ซึ่งสามารถ ทำให้เกิดบริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (Single StopService) 

ธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์

ธุรกิจในกลุ่มนี้มีรูปแบบการหารายได้ทั้งในแบบ B2C ซึ่งหารายได้จากการจำหน่ายสินค้าส่วนเกินของบริษัทโดยไม่เกิดความขัดแย้งกับช่องทางเดิม นอกจากนี้ตลาดประมูลออนไลน์ยังช่วยให้ธุรกิจสามารถหาราคาที่เหมาะสมของสินค้า ตัวอย่างของธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์ แบบ B2C ในกรณีศึกษาได้แก่ Egghead (สินค้าอิเล็กทรอนิกส์) และPriceline (สินค้าท่องเที่ยว) เป็นต้น รูปแบบธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์อีกประเภทหนึ่ง คือแบบ C2C ธุรกิจในกลุ่มนี้จะหารายได้จากค่านายหน้าในการให้บริการตลาดประมูลซึ่งช่วยจับคู่ผู้ซื้อและผู้ขายเข้าด้วยกัน ตัวอย่างของธุรกิจตลาดประมูลดังกล่าวนี้คือ Ebay ซึ่งเป็นตลาดประมูลออนไลน์ที่มีชื่อเสียง และมีผลประกอบการที่ได้กำไรตั้งแต่ปี 1996 ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจประมูลแบบ B2C คือความสามารถในการหาสินค้าที่มีคุณภาพดีแต่มีต้นทุนต่ำมาประมูลขาย ซึ่งจำเป็น ต้องอาศัยการมีพันธมิตรรายใหญ่ที่มีสินค้าเหลือจำนวนมาก ส่วนปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจประมูลแบบ C2C คือ ความสามารถในการสร้างความภักดีของลูกค้าและป้องกันการฉ้อโกงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย 

ธุรกิจตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์

ตัวอย่างของธุรกิจตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace) ในกรณีศึกษา ได้แก่ PaperExchange (กระดาษ), FoodMarketExchange (อาหาร), DoubleClick (แบนเนอร์ในอินเทอร์เน็ต), (สินค้าใช้แล้ว), และ Translogistica (ขนส่งทางบก) ธุรกิจในกลุ่มนี้จะหารายได้จากค่านายหน้าในการให้บริการตลาดกลางซึ่งช่วยจับคู่ผู้ซื้อและผู้ขายเข้าด้วยกัน ในช่วงแรกธุรกิจตลาดกลางมักดำเนินการโดยผู้บริหารตลาดที่เป็นอิสระจากผู้ซื้อหรือผู้ขาย (Independent Market Maker) อย่างไรก็ตามต่อมาพบว่า ผู้บริหารตลาดอิสระมักไม่สามารถชักชวนผู้ซื้อหรือผู้ขายให้เข้าร่วมในตลาดจนมีจำนวนที่มากพอได้ ในช่วงหลังเราจึงเริ่มเห็นผู้ประกอบการรายใหญ่ หรือกลุ่มของผู้ประกอบการรายใหญ่ที่รวมตัวกันในลักษณะของ consortium เป็นแกนกลางในการบริหารตลาดกลางเอง โดยชักชวนให้ซัพพลายเออร์และลูกค้าของตนเข้าร่วมในตลาด ปัจจัยในความสำเร็จของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์คือ ความสามารถในการดึงดูดผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมากให้มาเข้าร่วมในตลาดทำให้ตลาดมีสภาพคล่อง (liquidity) มากพอ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการมีความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ซื้อหรือผู้ขายแล้วแต่กรณี 

ธุรกิจที่ใช้ E-Commerce ในการเพิ่ม Productivity

รูปแบบในการใช้ E-Commerce ในการเพิ่ม productivity ที่มีประสิทธิผลมากที่สุดมักได้แก่ การบริหารซัพพลายเชน (Supply Chain Management) และการให้บริหารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management) ตัวอย่างของการบริหารซัพพลายเชน ในกรณีศึกษาได้แก่ Dell (คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล), Boeing (เครื่องบิน), TESCO (ของชำ), W.W.Grainger (สินค้า MRO), และ GMBuyPower (ยานยนต์) ระบบบริหารซัพพลายเชนดังกล่าวมักจะช่วยลดต้นทุนในการติดต่อกับซัพพลายเออร์ ลดต้นทุนการบริหารคลังสินค้า (Inventory) เนื่องจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ผลิตและซัพ

พลายเออร์จะช่วยให้สามารถคาดการยอดขายได้ดีขึ้น ตลอดจนลดเวลาในการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าส่วนตัว อย่างของการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่นำเสนอในการศึกษาได้แก่ CISCO(อุปกรณ์โทรคมนาคม) Southern Airlines (สายการบิน) Wells Fargo (ธนาคาร), GE Appliance (ศูนย์บริการลูกค้า), DaimlerChrysler (ยานยนต์), The Value System (เทคโนโลยีสารสนเทศ) และ Cement Thai Online (อุปกรณ์ก่อสร้าง) ระบบบริการลูกค้าสัมพันธ์ที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจเหล่านี้สามารถให้บริการลูกค้าโดยมีต้นทุนที่ลดลงจากการลดพนักงานหรือสำนักงานทางกายภาพ ในขณะที่สามารถเพิ่มหรือรักษาระดับความพึงพอใจของลูกค้าได้การเพิ่มผลิตภาพของธุรกิจจากการนำเอาระบบ E-Commerce มาใช้ในทั้งสองลักษณะดังกล่าวจะช่วยให้ธุรกิจมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การเพิ่มผลิตภาพของธุรกิจจาก E-Commerce จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากธุรกิจไม่มีระบบภายใน (Back Office) ท่พี ร้อม ซึ่งถอื เป็นปัจจัยในความสำเร็จที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง

 

ข้อแตกต่างระหว่างการทำธุรกิจทั่วไปกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

|ขั้นตอนการขาย |ระบบเดิม |พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ |

|หาข้อมูลของสินค้า |วารสาร / แคตาล็อค |เว็บเพจ |

|ตรวจสอบราคา |แคตาล็อค / สิ่งพิมพ์ |ออนไลน์แคตาล็อค |

|ส่งรายการสั่งซื้อ (ผู้ซื้อ) |โทรศัพท์ / โทรสาร |อีเมล์ / EDI |

|ตรวจสอบสินค้าในคลัง |แบบฟอร์ม / โทรสาร |ฐานข้อมูลแบบออนไลน์ |

|ยืนยันการรับสินค้า |แบบฟอร์ม |อีเมล์ |

|ส่งเงินไปชำระ (ผู้ซื้อ) |ไปรษณีย์ |EDI / EFT |

ข้อแตกต่างระหว่างการทำธุรกิจทั่วไปกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ข้อแตกต่างระหว่างการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับการทำธุรกิจทั่วไป ข้อแตกต่างระหว่างการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับการทำธุรกิจทั่วไป คือ

1. การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการและผู้บริโภคโดยการ ใช้ระบบข้อมูลร่วมกันในการบริหารสินค้าคงคลัง การขนส่งสินค้า และช่วยเพิ่มประสิทธิผล ความคุ้มค่าในการลงทุนให้กับผู้ประกอบการ

2. การตอบสนองเพื่อการแข่งขันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ช่วยตอบสนองการแข่งขันทางธุรกิจได้ภายในระยะเวลาอันสั้น ในปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรงผู้ประกอบการต้องจัดเตรียมความพร้อม ในทุกด้าน เช่น ช่องทางการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าที่สะดวกและรวดเร็ว การจัดวางสินค้าหน้าร้านบนเว็บไซต์ที่ง่ายต่อการใช้งาน คุณภาพสินค้าและราคาที่เหมาะสมสามารถเปรียบเทียบได้ มีระเบียบและกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน และสามารถส่งมอบสินค้าถึงมือลูกค้าได้ตามระยะเวลาที่ได้แจ้งไว้ รวมถึงวิธีการอื่น ๆ ที่สร้างความแตกต่าง หรือสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขันให้เหนือกว่าคู่แข่งขัน เพื่อให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจสูงสุด ส่งผลให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น และประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

3. การให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าในการค้นหาข้อมูลของสินค้า เปรียบเทียบราคา ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าและบริการได้ตลอดเวลา

4. การควบคุมและการสร้างปฏิสัมพันธ์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ช่วยให้ลูกค้าสามารถควบคุมกิจกรรมทางธุรกิจในระหว่างการดำเนินงาน เช่น การค้นหาสินค้า การเปรียบเทียบสินค้าและราคา การติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น หรือแม้แต่การยกเลิกการสั่งซื้อได้ด้วยตนเอง โดยการโต้ตอบผ่านทางจอภาพ ปราศจากอิทธิพล และการครอบงำของผู้ขาย (ผู้ประกอบการ) ที่จะชวนเชื่อหรือชักจูงให้ซื้อสินค้าและบริการ

5. การสร้างร้านค้าเสมือนจริง พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุน ด้านสถานประกอบการ (ร้านค้า) ทำให้ลูกค้าประหยัด เวลาในการเดินทางเพื่อมาซื้อสินค้าและบริการที่ร้านค้าของผู้ประกอบการ

6. การติดตามพฤติกรรมของลูกค้า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ช่วยติดตามประวัติของลูกค้าที่มาใช้บริการผ่านทางเว็บไซต์ได้ ทั้งนี้เว็บไซต์ดังกล่าวจะต้องติดตั้งระบบติดตาม (tracking system) เพื่อการค้นหาและติดตามข้อมูลสินค้าและบริการที่ลูกค้าได้เข้าชมภายในเว็บไซ ต์ และพฤติกรรมของลูกค้า เช่น ระยะเวลาในการเข้าชมเว็บไซต์ สินค้าและบริการที่สนใจและทัศนคติ และค่านิยมที่มีต่อสินค้าและบริการ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงความต้องการมาก ที่สุด และสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาบริหารลูกค้าสัมพันธ์ได้ (Customer Relation Management–CRM)

7. โครงข่ายเศรษฐกิจ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการใช้เพิ่มช่องทางการ ค้าผ่านระบบเครือข่าย (network system) ได้แก่ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (internet system) อินทราเน็ต (intranet) เอ็กซ์ทราเน็ต (extranet) หรือแม้แต่เครือข่ายไร้สาย (wireless communication) ที่นิยมใช้กับเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่เรียกว่า โมบายคอมเมิร์ซ (mobile commerce–m-Commerce) ทำให้ระบบเครือข่ายเหล่านี้มีการเชื่อมโยงติดต่อกันเป็นโครงข่ายเศรษฐกิจ (network economics) ที่มีขนาดใหญ่และไร้พรมแดน นอกจากนี้ยังช่วยอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าในการติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร รวมถึงการทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึงและกว้างไกลยิ่งขึ้น

             8. การส่งเสริมภาพลักษณ์อันดี พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่ผู้ประกอบการ ด้วยการออกแบบเว็บไซต์ให้น่าสนใจและมีระบบที่มีประสิทธิภาพ ใช้งานง่าย ทันสมัย สะดวกและรวดเร็ว

[pic]

ข้อดีและข้อเสียของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ข้อดี

1.สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง

2.สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก

3.ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ

4.ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ

5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก

6.สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เนตได้ง่าย

7.ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย

8.ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ

ข้อเสีย

1.ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ

2.ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เนตได้

3.ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต

4.ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์

5.การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน

 

            พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คือทางเลือกการทำธุรกิจแบบใหม่ เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ที่ช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางด้าน ธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการใช้เพิ่มช่องทางการค้าผ่านระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต (internet system) อินทราเน็ต (intranet) เอ็กซ์ทราเน็ต (extranet) หรือแม้แต่เครือข่ายไร้สาย (wireless communication) ที่นิยมใช้กับเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่เรียกว่า โมบายคอมเมิร์ซ (mobile Commerce–m-Commerce) ทำให้ระบบเครือข่ายเหล่านี้มีการเชื่อมโยงติดต่อกันเป็นโครงข่ายเศรษฐกิจ (network economics) ที่มีขนาดใหญ่และไร้พรมแดน นอกจากนี้ยังช่วยอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าในการติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร รวมถึงการทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึงและกว้างไกลยิ่งขึ้น และสามารถประยุกต์ใช้ได้หลายลักษณะ เช่น การทำธุรกรรมระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ (Business-To-Business–B2B) การทำธุรกรรมระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภค (Business-To-Consumer–B2C) การทำธุรกรรมระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer-To-Consumer–C2C) และการทำธุรกรรมระหว่างผู้บริโภคกับธุรกิจ (Consumer-To-Business–C2B) หรือการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหากำไร เช่น การทำธุรกรรมระหว่างธุรกิจกับพนักงาน (Business-To-Employee–B2E) มุ่งเน้นการให้บริการแก่พนักงานในองค์กร การทำธุรกรรมระหว่างองค์กรของรัฐกับประชาชน (Government-To-Citizen–G2C) เป็นการทำธุรกรรมระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับประชาชน เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้ บริการข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน และการทำธุรกรรมด้านการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ(Exchange-To-Exchange– E2E) เป็นช่องทางสำหรับใช้แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างองค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชน เนื่องจากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานทางธุรกิจ ให้กับผู้ประกอบการและผู้บริโภคโดยการใช้ระบบข้อมูลร่วมกันบริหารสินค้าคง คลัง การขนส่งสินค้า และช่วยลดต้นทุนด้านต่าง ๆ ทั้งด้านสถานประกอบการของผู้ประกอบการ (ร้านค้า) ที่เป็นร้านเสมือนจริง คือตั้งอยู่บนเว็บไซต์ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้ลูกค้าประหยัดเวลาในการเดินทางเพื่อมาซื้อสินค้าและบริการที่ร้านค้า ของผู้ประกอบการ โดยสามารถทำการได้ตลอด 24 ชั่วโมง ตลอดทุกวัน ลูกค้าสามารถเข้าเว็บไซต์หาข้อมูล ติดต่อ และสั่งซื้อสินค้าและบริการได้ตลอดเวลา ซึ่งลูกค้ามีอิสระในการค้นหาสินค้า การเปรียบเทียบสินค้าและราคา

 

[pic]

[pic]

อ้างอิง

................
................

In order to avoid copyright disputes, this page is only a partial summary.

Google Online Preview   Download