ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ …



พัฒนาการทางระบบประสาทและการได้ยิน

ของทารกแรกเกิดครบกำหนด ที่มีภาวะตัวเหลือง

และระดับบิลิรูบินมากกว่าหรือเท่ากับ 20 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

ทรงเกียรติ อุดมพรวัฒนะ

ที่มา:ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดเป็นปัญหาที่พบบ่อย อีกทั้งภาวะตัวเหลืองที่รุนแรงสามารถส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางระบบประสาทและการได้ยิน

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาพัฒนาการทางระบบประสาทและการได้ยินของทารกแรกเกิดครบกำหนดที่มี

ภาวะตัวเหลืองที่ระดับบิลิรูบินมากกว่าหรือเท่ากับ 20 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ในโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก

วัสดุและวิธีวิจัย :เป็นการศึกษาแบบพรรณนาไปข้างหน้า โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทารกแรกเกิดอายุครรภ์

มากกว่าหรือเท่ากับ 35 สัปดาห์ น้ำหนักมากกว่าหรือเท่ากับ 2,500 กรัม ที่มีระดับบิลิรูบินมากกว่าหรือเท่ากับ 20 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยใน ในโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ระหว่าง 1 ตุลาคม 2549 ถึง 30 กันยายน 2550 ทำการทดสอบพัฒนาการ โดยแบบทดสอบพัฒนาการ DDST II เมื่อทารกอายุ 2, 4, 6, 9 และ 12 เดือน และตรวจการได้ยินโดยวิธี Otoacoustic emission (OAE)

ผลการศึกษา :ทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองในช่วงเวลาที่ศึกษา104 คน เป็นเพศชาย 69 คน (66.3%) 80 คน ( 76.9%) อายุครรภ์มากกว่า 37 สัปดาห์ 65 คน (62.5%) มีระดับบิลิรูบินสูงสุดอยู่ระหว่าง 20 – 24.9 mg/dlร้อยละ 94.2 ของทารกมีระดับบิลิรูบินสูงสุดเมื่ออายุ 24 ชั่วโมงหลังเกิด โดยร้อยละ 29.8 ตรวจพบตัวเหลืองหลัง 96 ชั่วโมง ทารก 35 คน (33.6%) ไม่ทราบสาเหตุของภาวะตัวเหลือง ที่ทราบสาเหตุพบว่าส่วนใหญ่เกิดจากนมมารดาไม่เพียงพอ โดยพบร้อยละ 27 ทารก 99 คน (96.1%) ได้รับการรักษาโดยการส่องไฟ ในขณะที่ 5 คน (3.9%) ได้รับการเปลี่ยนถ่ายเลือดร่วมกับการส่องไฟ ผลการทดสอบพัฒนาการโดยใช้แบบทดสอบพัฒนาการ DDST II ใน ทารก 96 คน จากทั้งหมด 104 คน (92.3%) ที่อายุ 12 เดือน พบว่า 95 คน (99%) มีพัฒนาการปกติ ส่วนผลการตรวจคัดกรองการได้ยินที่อายุ 2 เดือนพบว่าผ่านทุก

สรุป :ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดครบกำหนดที่ระดับบิลิรูบินที่มากกว่าหรือเท่ากับ 20 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร มีโอกาสเกิดความผิดปกติของระบบประสาท ร้อยละ 1 และไม่พบความผิดปกติของการได้ยิน

Neurodevelopmental and Hearing Outcomes among Term Newborns with Total Serum Bilirubin Level of 20 mg per deciliter or more

Songkiat Udompornwattana

Background : Neonatal hyperbilirubinemia is a commom problem, and severe cases can cause neurodevelopmental delay and hearing impairment.

Objectives : To assess the neurodevelopmental outcomes and hearing impairment of term newborns with total serum bilirubin levels of 20 mg per deciliter or more who were admitted at Buddhachinaraj Phitsanulok Hospital.

Materials and Methods : This study was a prospective, descriptive study. Data were derived from newborns with a gestation age of 35 weeks or more, birth weight more than 2,500 grams and total serum bilirubin levels of 20 mg/dL or more, who were admitted at Buddhachinaraj Hospital Phitsanulok between October 1st, 2006 and September 30th, 2007 and followed until October 31st. Evaluations of neurodevelopmental outcomes using Denver Developmental Screening Test version II ( DDST II ) were performed at 2, 4, 6, 9 and 12 months of age. Hearing screening test was evaluated by using otoacoustic emission (OAE) before discharge and at 2 months of age.

Results : There were 104 newborns recruited into this study, 69 males (66.3%). 80 infants (76.9%) were born at 37 or more weeks of gestation age. Serum bilirubin levels were between 20 – 24.9 mg/dL in 65 infants (62.5%). 94.2% of infants had reached their peak bilirubin levels after 24 hours of age, and 29.8% reached their peak after 96 hours. The most common cause of neonatal hyperbilirubinemia was unknown in 33.6%, while breast feeding jaundice was the most common cause in define group (27%). Most of infants were treated with phototherapy (96.1%), 5 (3.9%) infants had combined treatment of exchange transfusion and phototherapy. Neurodevelopmental outcomes that were evaluated at 12 month of age by DDST II were normal in 95 from 96 infants (99%) . All infants also passed a hearing test with OAE.

Conclusion : Term newborns with total serum bilirubin levels of 20 mg per deciliter or more revealed 1 % risk of neurodevelopmental delay , while none were found to have hearing impairment.

การศึกษาประสิทธิภาพของยา sildenafil ชนิดกิน

ในการรักษาภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด : รายงานผู้ป่วย

ปิยรัตน์ กรมราช

ที่มา : ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด (Persistent Pulmonary Hypertension of the Newborn : PPHN) เป็นภาวะที่แรงต้านทานของหลอดเลือดในปอดของทารกไม่ลดลงหลังเกิด มีลักษณะที่สำคัญคือมีการไหลของเลือดจากขวาไปซ้าย (right to left shunt) ทำให้เลือดขาดออกซิเจน (systemic hypoxemia) และไม่ตอบสนองต่อการให้ออกซิเจน จึงเป็นโรคที่มีอัตราตายสูง การรักษาภาวะนี้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลา 10-15 ปีที่ผ่านมาทั้งยาและเครื่องช่วยหายใจ ในปัจจุบันการรักษาที่มีประสิทฺธิภาพมากที่สุดคือ Extracorporeal membrane oxygenation (ECMO) ซึ่งมีราคาแพงและยังไม่มีการนำมาใช้ในประเทศไทย การรักษาอื่นๆที่พบว่าสามารถลดอัตราการใช้ ECMO คือ inhaled Nitric Oxide (iNO) แต่ด้วยปัญหาเรื่องราคาแพงและความชำนาญ การใช้ iNO จึงจำกัดอยู่เพียงโรงเรียนแพทย์และโรงพยาบาลศูนย์ไม่กี่แห่ง

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของ sildenafil ชนิดกิน ในการลด pulmonary vascular resistant ในผู้ป่วยทารกแรกเกิด ที่มีภาวะ PPHN

วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาแบบ Prospective descriptive study ในทารกแรกเกิดอายุไม่เกิน 14 วัน ที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะความดันเลือดในปอดสูง โดยค่า oxygen index (OI) มากกว่าหรือเท่ากับ 20 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2550 ถึง 30 พฤศจิกายน 2551 ทารกทั้งหมดจะได้รับ sildenafil ทาง orogastric tube ขนาด 1-2 mg/kg/dose ทุก 4-6 ชั่วโมง มีการติดตาม transcutaneous oxygen saturation, noninvasive blood pressure และ arterial blood gas (ABG) อย่างต่อเนื่อง 48 ชั่วโมงหลังได้รับยา

ผลการศึกษา: ทารกที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดของการเข้าร่วมการศึกษา 6 ราย ค่า OI อยู่ระหว่าง 20 - 66 เป็นทารกเพศชาย 5 ราย และ เพศหญิง 1 ราย อายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ 3 ราย เข้าร่วมการศึกษาขณะอายุ 8 - 101 ชั่วโมง ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น meconium aspiration syndrome (MAS) 3 ราย respiratory distress syndrome (RDS) 2 ราย และ Pneumonia 1 ราย ทารกทุกรายได้รับการดูแลเบื้องต้นด้วยการ support ventilation ให้สารน้ำ และมีค่า arterial blood gas mean arterial pressure (MAP) อยู่ในเกณฑ์ปกติ ผลการรักษาพบว่าทารก 5 รายมีค่า oxygen index (OI) ลดลงเมื่อเทียบกับก่อนการรักษา 41% (20 - 73%) ภายใน 6 ชั่วโมงหลังได้รับยา และลดลงต่อเนื่องหลังได้รับการรักษานาน 12 ชั่วโมง 60% (40 - 82%) ทารกที่ได้รับยาทุก 4 ชั่วโมง มีค่า OI ลดลงเฉลี่ยมากกว่าทารกที่ได้ยาทุก 6 ชั่วโมง (83% และ 61%) ทารก 5 ราย ค่า OI กลับมาเป็นปกติภายหลังให้การรักษาด้วย sildenafil ชนิดกิน 48 ชั่วโมง ไม่พบว่ามีความดันโลหิตต่ำหรือผลข้างเคียงอื่นๆ จากยา ทารก 4 ราย สามารถจำหน่ายกลับบ้านได้ ทารก 2 รายที่มี OI มากกว่า 40 เสียชีวิต ที่ 24 ชั่วโมงหลังได้รับการรักษา 1ราย อีก 1 ราย เสียชีวิตเมื่ออายุ 93 วัน จาก viral pneumonia

สรุป: ยา sildenafil ชนิดกิน ช่วยลดค่า oxygen index ได้ในทารกแรกเกิดที่มีภาวะ PPHN ที่อาการไม่รุนแรง อย่างไรก็ตามยังจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันประสิทธิภาพ ขนาดที่เหมาะสม รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนและความปลอดภัยจากการใช้ยา

Effectiveness of oral sildenafil in Persistent Pulmonary

Hypertension of the Newborn (PPHN) : A Case Series

Piyarat Gromrat

Background: Persistent pulmonary hypertension of the newborn (PPHN) is a syndrome of acute hypoxic respiratory failure with a high mortality rate. Treatments were evolved over the past 10-15 years, before resorting to extracorporeal membrane oxygenation (ECMO) such as inhaled nitric oxide (iNO). However ECMO and iNO are expensive and unavailable in most neonatal centers of Thailand.

Objective: To evaluate the effectiveness of oral sildenafil for decreased pulmonary vascular resistance in newborns with PPHN by reduced oxygen index (OI).

Materials and Methods: A prospective descriptive study conducted in neonates less than 14 days old who hold PPHN defined as OI ≥ 20 admitted to the neonatal intensive care unit (NICU) Buddhachinaraj Hospital during March 2007 and November 2008 and treated with oral sildenafil (Viagra®) 1 - 2 mg/kg/dose every 4-6 hours. Transcutaneous oxygen saturation, noninvasive blood pressure and arterial blood gas (ABG) were monitored continuously until 48 hours after treatment.

Results: 6 neonates (5 males) with OI range from 20 - 66 were enrolled at 8 - 101 hours of age. Three were preterm with gestational ages less than 37 weeks. Three were diagnosed with meconium aspiration syndrome (MAS), two with respiratory distress syndrome (RDS) and one with pneumonia. All infants received standard therapy, ABG and mean arterial pressure (MAP) were maintained within normal range. In five cases, OI decreased 41%(20-73%) from base line within 6 hours after starting sildenafil and progressively decreased to 60% (40-82%) within 12 hours. OI decreased more in infants who received sildenafil every 4 hours compared to every 6 hours (83% and 61%). At 48 hours, OI was normal (7 or less) in 5 infants. Neither systemic hypotension nor noticeable adverse effects were present. Four infants were discharged and two infants, with OI more than 40, died. One infant died 24 hours after treatment, one died 93 days after treatment from viral pneumonia.

Conclusion: oral sildenafil may has benefit in improving oxygenation in neonates with PPHN. Confirmation of these results in a randomized, controlled clinical trial is essential.

................
................

In order to avoid copyright disputes, this page is only a partial summary.

Google Online Preview   Download