การติดตั้งไดร์ฟเวอร์การ์ดเน็ตเวิอร์ก



การติดตั้งไดร์ฟเวอร์การ์ดเน็ตเวิอร์ก

หลังจากที่ได้ติดตั้งตัวการ์ดเน็ตเวิร์คลงไปบนเครื่องเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการติดตั้งไดร์ฟเวอร์ ของการ์ดเน็ตเวิร์ค เพื่อให้เครื่องรู้จักและมองเห็นการ์ดตัวนี้ ถ้าการ์ดเน็ตเวิร์คที่เสียบอยู่ในเครื่องเป็นการ์ดที่นิยมใช้งานกัน (เช่น 3com, Intel, LinkSysฯ) ก็แทบจะไม่ต้องไปเซตอะไร เพราะระบบ Plug & Play จะทำการเซต I/O แอดเดรส, อินเทอร์รัพท์ (IRQ) และแอดเดรสหน่วยความจำของการ์ดให้เรียบร้อย แต่ถ้าต้องการเซตอัพแอดเดรสและอินเทอร์รัพท์ต่างๆ ด้วยตัวเอง (เนื่องจากในเครื่องมีสารพัดการ์ดเสียบอยู่ หรือเป็นการ์ดเน็ตเวิร์คแบบ ISA รุ่นเก่า) ก็สามารถจะทำได้ แต่สิ่งที่ต้องทราบคือ หมายเลขพอร์ตแอดเดรสของระบบฮาร์ดแวร์และอินเทอร์รัพท์ต่างๆ เพื่อป้องกันการชนกันกับอุปกรณ์ตัวอื่น

รู้จักกับ I/O แอดเดรส

I/O แอดเดรส หรือ พอร์ตแอดเดรส เป็นหมายเลขที่ทีมงานผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ได้กำหนดตำแหน่ง เป็นมาตรฐานเอาไว้สำหรับชิพเซตและอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ โดยเริ่มจากแอดเดรส 000-0FF ซึ่งเป็นหมายเลข I/O แอดเดรสของตัวอุปกรณ์ที่อยู่บนเมนบอร์ดทั้งหมด สำหรับแอดเดรส 100-3FF เป็นหมายเลข I/O แอดเดรสของการ์ดอินเทอร์เฟสต่างๆ เช่น การ์ดแสดงผล การ์ดเสียง การ์ดแอนตี้ไวรัส การ์ดเน็ตเวิร์ค รวมทั้งพอร์ตขนานที่ใช้เชื่อมต่อเครื่องพิมพ์ และพอร์ตอนุกรมที่เชื่อมต่อกับโมเด็ม ดังตารางที่ 3.1

|หมายเลขพอร์ต |หน้าที่การใช้งาน |

| 0000-000F |ตัวควบคุม DMA 1 (Direct Memory Access controller) |

| 0020-0021 |ตัวควบคุมอินเทอร์รัพ1 (Programmable Interrupt Controller) |

| 0022-003F |ทรัพยากรของเมนบอร์ด |

| 0040-0043 |ตัวควบคุมไทเมอร์ (System Timer) |

| 0060-0060 |Standard 101/102-Key or Microsoft Natural Keyboard |

| 0061-0061 |ตัวควบคุมเสียง (System speaker) |

| 0064-0064 |Standard 101/102-Key or Microsoft Natural Keyboard |

| 0070-0071 |System CMOS/Real Time Clock |

| 0080-0090 |DMA Page Register (Direct Memory Access) |

| 0094-009F |Direct Memory Access Controller |

| 00A0-00A1 |ตัวควบคุมอินเทอร์รัพ 2 (Programmable Interrupt Controller) |

| 00C0-00DF |ตัวควบคุม DMA 2 (Direct Memory Access Controller) |

| 00F0h-00FF |เกี่ยวกับแมทโคโพรเซสเซอร์ (Numeric data processor) |

| 0170-0177 |Standard Dual PCI IDE Controller |

| 0170-0177 |Secondary IDE controller (single FIFO) |

| 01F0-01F7 |Standard Dual PCI IDE Controller |

| 01F0-01F7 |Primary IDE controller (single FIFO) |

| 0200-0201 |เกมพอร์ต (Joystick) |

| 0274-0277 |IO read data port for ISA Plug and play numerator |

| 02F8-02FF |ตัวควบคุมพอร์ตอนุกรม 2 (Communications Port (com2)) |

| 0300-030F |การ์ดเน็ตเวิร์ค 3 com (ขึ้นอยู่กับการ์ดแต่ละยี่ห้อ) |

| 0376-0376 |Secondary IDE controller (single FIFO) |

| 0376-0376 |Standard Dual PCI IDE Controller |

| 0378-037F |ตัวควบคุมพอร์ตขนาน 1(Printer Port (LPT1)) |

| 03B0-03BB |การ์ดแสดงผล (NVIDIA GeForce 4) |

• จากตารางที่3.1 เราสามารถจะเรียกดูข้อมูลจาก Windows ได้ ด้วยการคลิกเมาส์ขวาที่ไอคอน My Computer แล้วเลือกคำสั่ง Properties จะปรากฎไดอะล็อกซ์ System Properties

• ให้คลิกปุ่ม Properties จะแสดงไดอะล็อกซ์ Computer Properties ให้คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Input/out put [I/O] เป็นการแสดงหมายเลข I/O แอดเดรสของระบบ

รู้จักกับหมายเลข IRQ

IRQ (Interrupt Request) หรือ อินเทอร์รัพท์ หมายถึงการขัดจังหวะการทำงานของระบบ โดยจะมีทั้งการอินเทอร์รัพท์ทางซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ นอกจากนี้ยังแบ่งออกเป็นอินเทอร์รัพท์ภายในและภายนอกอีกด้วย สำหรับอินเทอร์รัพท์ภายนอกจะมีทั้งแบบนอนมาสเคเบิลอินเทอร์รัพท์ (Non-Maskable Interrupt) และมาสเคเบิลอินเทรอ์รัพท์ (Maskable Interrupt) ในที่นี้เราจะสนใจแต่มาสเคเบิลอินเทอร์รัพท์ หรือ INT

ทีมงานวิศวกรผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ได้มีการจัดทำลำดับหมายเลขอินเทรอ์รัพท์ในช่วงแรกเอาไว้เพียง 8 ลำดับ โดยใช้ชิพเบอร์ 8259 มาเชื่อมต่อกันแบบคลาสเคด

ในการจัดทำลำดับของอินเทอร์รัพท์จะกำหนดให้ IRQ0 มีลำดับความสำคัญสูงสุด และ IRQ15 มีลำดับความสำคัญต่ำสุด เราจะไม่เจาะลึกถึงการโปรแกรมมิ่งเพื่อสั่งใช้งานอินเทอร์รัพท์ แต่ให้รู้จักความหมายและหน้าที่การทำงานของหมายเลข IRQ แต่ละตัว ดังตารางที่ 3.2

|หมายเลขพอร์ต |หน้าที่การใช้งาน |

|00 |อินเทอร์รัพท์ของฐานเวลา (System Timer) |

|01 |อินเทอร์รัพท์ของคีย์บอร์ด (101/102-Keyboard) |

|02 |อินเทอร์รัพท์จากสเลฟ (Programmable Interrupt Controller) |

|03 |อินเทอร์รัพท์สำหรับพอร์ตสื่อสาร 2 (COM 2) |

|04 |อินเทอร์รัพท์สำหรับพอร์ตสื่อสาร 1 (COM 1) |

|05 |อินเทอร์รัพท์สำหรับพอร์ตขนาน 2 หรืออุปกรณ์ตัวอื่น เช่น USB |

|06 |อินเทอร์รัพท์สำหรับดิสก์ไดร์ฟ (Floppy Disk Controller) |

|07 |อินเทอร์รัพท์สำหรับพอร์ตขนาน 1 (LPT1) |

|08 |อินเทอร์รัพท์สำหรับ Real Time Clock (CMOS/Real Time Clock) |

|09 |สงวนไว้ สำหรับอุปกรณ์อื่นๆ |

|10 |สงวนไว้ สำหรับอุปกรณ์อื่นๆ |

|12 |อินเทอร์รัพท์สำหรับเมาส์ PS/2 |

|13 |Numeric data Processor |

|14 |อินเทอร์รัพท์สำหรับฮาร์ดดิสก์ (Primary IDE Controller) |

|14 |สงวนไว้ สำหรับอุปกรณ์อื่นๆ |

|15 |Standard Dual PCI IDE Controller |

|15 |อินเทอร์รัพท์สำหรับฮาร์ดดิสก์ 2(Secondary IDE Controller) |

• จากตาราง 3.2 เราสามารถจะเรียกดูข้อมูลจาก Windows ได้ ด้วยการคลิกเมาส์ขวาที่ไอคอน My Computer แล้วเลือกคำสั่ง Properties จะปรากฎไดอะล็อกซ์ System Properties

• ให้คลิกปุ่ม Properties จะแสดงไดอะล็อกซ์ Computer Properties ให้คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Interrupt request [IRQ] เป็นการแสดงหมายเลข IRQ แต่ละตัวของระบบดังรูปที่ 3.7 ข.

รู้จักหน่วยความจำ

หน่วยความจำบนคอมพิวเตอร์จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ ROM (Read Only Memory) และ RAM (Random Access Memory) โดยที่ ROM จะเป็น ROM BIOS ที่เก็บโปรแกรมควบคุมการทำงานของเครื่องเอาไว้ ส่วนRAM จะเป็นหน่วยความจำของระบบที่แอปพลิเคชั่นโปรแกรมสามารถใช้งานอ่าน-เขียนได้ RAM จะมีตำแหน่งแอดเดรสเริ่มต้นที่ 0000-9FFFF สำหรับ ROM BIOS จะมีตำแหน่งแอดเดรสเริ่มที่ F000-0FFFF นอกจากนี้ยังมีพื้นทีของหน่วยความจำขยาย (Extened Memory) ที่เกินจาก 1024 กิโลไบต์ ซึ่งอาจมีขนาด 32, 64, 128, 256 เมกกะไบต์ จะมีตำแหน่งแอดเดรสที่ 00FFFF-FFFFFFF ส่วน ROM ของการ์ดแสดงผล, การ์ดเน็ตเวิร์ค, การ์ดเสียง, การ์ดคอนโทรลเลอร์ SCSI ตำแหน่งจะขึ้นอยู่กับแต่ละผลิตภัณฑ์ เช่น การ์ดแสดงผง NVIDIA มีแอดเดรสที่ 0A0000-0CCF77

• เราสามารถจะเรียกดูข้อมูลจาก Windows ได้ ด้วยการคลิกเมาส์ขวาที่ไอคอน My Computer แล้วเลือกคำสั่ง Properties จะปรากฎไดอะล็อกซ์ System Properties

• ให้คลิกปุ่ม Properties จะแสดงไดอะล็อกซ์ Computer Properties ให้คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Memory เป็นการแสดงตำแหน่งแอดเดรสของหน่วยความจำบนระบบดังรูปที่ 3.8

[pic]

การติดตั้งการ์ดแบบ Plug & Play

การติดตั้งการ์ดแบบ Plug & Play เป็นวิธีที่ง่ายและสบายที่สุดครับ เพียงแต่เสียบการ์ดเน็ตเวิร์กลงไป แล้วเปิดเครื่องเข้าสู่ Windows จากนั้นระบบเสียบแล้วเล่น (Plug & Play) ที่แสนฉลาดจะค้นหาไดร์ฟเวอร์ และติดตั้งให้ทันที ขั้นตอนการติดตั้งมีดังนี้

• เปิดเครื่องเพื่อบู๊ตเข้าสู่ Windows ระบบปฏิบัติการจะทำการค้นหาอุปกรณ์ Plug & Play ถ้ามีรายชื่อของไดร์ฟเวอร์อยู่ในวินโดวส์ ก็จะแสดงชื่อของการ์ดและรุ่นให้ทราบ หรือเข้าสู่วิซาร์ดเพื่อช่วยค้นหาการ์ด PCI ดังรูปที่ 3.9 ข. ให้เลือกหัวข้อ Search for the best driver for your device

[pic]

• ถ้าระบบตรวจพบ จะแสดงรายชื่อของการ์ดให้ทราบดังรูปที่ 3.10 ก. ให้เลือกชื่อการ์ดลงในช่อง Device แล้วคลิกปุ่ม Next จะทำการติดตั้งไดร์ฟเวอร์ให้การ์ดเน็ตเวิร์ก ดังรูปที่ 3.10 ข. แล้วคลิกปุ่ม Finish เป็นอันเรียบร้อย จากนั้นให้รีสตาร์ทเครื่องใหม่

[pic]

การติดตั้งการ์ดแบบ Manual

การติดตั้งการ์ดแบบ Manual เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับอุปกรณ์ตัวนั้นไม่สนับสนุนคุณสมบัติ Plug & Play เราจึงต้องเซตอัพหมายเลข I/O แอดเดรส, อินเทอร์รัพท์ และตำแหน่งหน่วยความจำด้วยตัวเอง ขั้นตอนการติดตั้งมีดังนี้

• เปิด Control Panel แล้วดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน Add New Hardware จะเข้าสู่หน้าต่าง Add New Hardware wizard ให้เลือกหัวข้อ Yes [Recommended] แล้วคลิกปุ่ม Next โปรแกรมจะเริ่มค้นหาอุปกรณ์ทันที

[pic]

[pic]

• หลังจากตรวจค้นหาอุปกรณ์ที่ติดตั้งลงไปพบแล้ว จะแสดงรายชื่อของอุปกรณ์ให้ทราบ แต่ในกรณีที่เลือกหัวข้อ No, I want to select from a list. จะเข้ามาที่หน้าต่าง Hardware types: เพื่อให้เราเลือกชนิดของอุปกรณ์ที่ต้องการจะติดตั้ง ในที่นี้คือ Network adapters แล้วคลิกปุ่ม Next

• มาที่หน้าต่าง Select Device ให้เลือกยี่ห้อการ์ดในช่อง Manufactures และรุ่นในช่อง Models ถ้าต้องการใช้ไดร์ฟเวอร์จากแผ่นดิสก์ ให้คลิกปุ่ม Have Disk...

• จะแสดงกรอบ Install From Disk ให้ใส่แผ่นไดร์ฟเวอร์ของการ์ดเน็ตเวิร์คในไดร์ฟ A: หรือถ้าเป็น แผ่น CD-ROM ก็ใส่แผ่นซีดีรอมไดร์ฟ เสร็จแล้วคลิกปุ่ม OK จะเป็นการก็อปปี้ไดร์ฟเวอร์พร้อม ทั้งแสดงรายชื่อไดร์ฟเวอร์ของการ์ดให้ทราบ ดังรูปที่ 3.12

[pic]

• เข้าสู่การติดตั้งไดร์ฟเวอร์ และจะมีการเรียกแผ่น CD-ROM ของ Windows ด้วย เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Next แล้วบูตเครื่องใหม่

[pic]

• หลังจากบู๊ตเครื่องใหม่แล้วให้เปิดดู System Properties ด้วยการคลิกเมาส์ขวาที่ไอคอน My Computer แล้วเลือกคำสั่ง Properties จะปรากฎไดอะล็อกซ์ System Properties

• ให้คลิกเมาส์ซ้ายที่การ์ดเน็ตเวิร์ค เพื่อเลือก แล้วคลิกปุ่ม Properties จะปรากฎไดอะล็อกซ์…Adapter Properties มาที่แท็บResources ดังรูปที่ 3.14 ข. จะเห็นว่ามีการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับหมายเลข Interrupt Request, Memory Range และ input/output Range ของการ์ดเน็ตเวิร์คให้ทราบ ที่สำคัญในกรอบ Conflicting device list จะต้องเป็น No conflicts คือ อุปกรณ์ตัวนี้ไม่ไปชนกับตัวอื่นและใช้งานได้

[pic]

• ในกรณีที่การติดตั้งการ์ดเน็ตเวิร์คมีปัญหา คือ เกิดการชนกันของหมายเลข IRQ, I/O Address ทำให้การ์ดมีปัญหา และไอคอนเป็นรูป [pic]จะต้องทำการ Remove ออกไป โดยการคลิกปุ่ม Remove จะแสดงกรอบแมสเซจ Confirm Device Remove ดังรูปที่ 3.15

• ให้คลิกปุ่ม OK และ Yes ตามลำดับ เพื่อบูตเครื่องแล้วเซตอัพการ์ดใหม่

[pic]

................
................

In order to avoid copyright disputes, this page is only a partial summary.

Google Online Preview   Download