การประเมินและให้คะแนนการ Complete charting …



Appendix 2

Review of system

และ

Antibiotic Prophylaxis

1. The Review of Systems

คือชุดคำถามเพื่อใช้สำรวจว่าผู้ป่วยมีโรคทางระบบหรือไม่ เป็นคำถามเกี่ยวกับอาการของโรคทางระบบโดยแบ่งเป็นกลุ่มอวัยวะ ถ้าผู้ป่วยมีอาการที่น่าสงสัยว่าจะเป็นโรคทางระบบนั้น ๆ ควรซักถามรายละเอียด เรื่องความถี่ ระยะเวลาที่เป็น ความรุนแรงของอาการ บทบาทของทันตแพทย์คือ เมื่อพบอาการเช่นนี้แล้ว ควรส่งต่อผู้ป่วยไปให้แพทย์เพื่อให้การตรวจและวินิจฉัย

1.1 General health

อาการที่ชี้แสดงว่า สุขภาพทั่วไปของผู้ป่วยเสื่อมโทรม เช่น น้ำหนักลด เป็นไข้เรื้อรัง เหงื่อออกตอนกลางคืน อ่อนเพลีย รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัวไม่สบาย ถ้าหากมีอาการแสดงชัดเจนเกินกว่า 1 เดือน ควรให้ผู้ป่วยไปปรึกษาแพทย์

1.2 Cardiovascular system

โรคในระบบนี้มีความสำคัญต่อทันตแพทย์มาก ควรซักถามเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยไม่มีโรคทางระบบเหล่านี้

ตารางที่ 1 อาการแสดงที่พบบ่อยว่าน่าจะมีปัญหาของโรคทางระบบหลอดเลือดและหัวใจ

|Conditions /Diseases |อาการของผู้ป่วย |

|Ischemic heart disease |- เจ็บหน้าอก หรือเหนื่อยง่าย หรือหายใจถี่ ๆ สั้น ๆ เวลาออก |

| |แรงเบา ๆ เช่น เดินขึ้นบันได หรือทำงานบ้าน |

|Coronary artery disease |- เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ (dyspnea) |

|Congestive heart failure |- บวมตามแขนขา ข้อเท้า |

| |- เล็บและริมฝีปากซีดเขียวคล้ำ (cyanosis) |

| |- ปลายมือ ปลายเท้าเย็น |

| |- หายใจลำบากเมื่อนอนราบ (orthopnea) |

|Arrythmia |- ใจเต้นแรงหรือเต้นไม่เป็นจังหวะ |

1.3 Pulmonary system

อาการที่แสดงว่าน่าจะมีปัญหาเรื่องโรคทางระบบหายใจได้แก่ ไอเรื้อรัง หายใจถี่ ๆ สั้น ๆ (shortness of breath) เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ (dyspnea) ไอมีเสมหะเป็นเลือด (hemoptysis) หรือสีเหลืองของหนอง

1.4 Gastrointestinal system and Liver

อาการที่แสดงว่าน่าจะมีปัญหาเรื่องโรคทางระบบทางเดินอาหารและตับ ได้แก่ อาเจียนเป็นเลือด (hematemesis) อาเจียนเรื้อรัง เจ็บแสบท้องบริเวณลิ้นปี่ (epigastric pain or heart burn) เรอเปรี้ยว (หรือ gastric reflux) ทั้งหมดเป็นอาการความผิดปกติ บริเวณทางเดินอาหารส่วนต้น อาการของความผิดปกติบริเวณทางเดินอาหารส่วนล่าง ได้แก่ ปวดท้อง มวนท้อง มีไขมันหรือเลือดในอุจจาระ ท้องผูกหรือท้องเสีย อาการที่เกิดเนื่องจากอาหารรสจัดหรือความเครียดอาจทำให้เกิดอาการผิดปกติบริเวณทางเดินอาหารส่วนล่างได้ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่มีผลสำคัญมากนัก นอกจากว่าจะเป็นบ่อย ๆ หรือรุนแรง อาการความผิดปกติของตับทำให้เกิด ตัวเหลือง ตาเหลือง (หรือดีซ่าน = jaundice) และมีปัญหาเลือดหยุดยาก

1.5 Immune system

ภาวะความผิดของภูมิคุ้มกันร่างกาย อาจแบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ

1) ภูมิคุ้มกันบกพร่อง (immune deficiency) อาการได้แก่ ติดเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัสได้ง่ายและมีอาการรุนแรงรวมทั้งติดเชื้อฉวยโอกาสที่มีอยู่ในบริเวณร่างกายตามปกติ (opportunistic infections) ต่อมน้ำเหลืองโต ไข้เรื้อรัง อ่อนเพลีย

2) ภาวะภูมิคุ้มกันไวเกิน (immune hypersensitivity) เช่น แพ้โลหะที่เป็นเครื่อง ประดับ หรือ สารเคมี ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีโอกาสแพ้ยาปฏิชีวนะ (antibiotic) ได้ง่าย นอกจากนี้อาการภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น ไร ละอองเกสร ทำให้เกิดอาการคัดจมูก มีน้ำมูกใส หรือ หลอดลมตีบ หายใจขัดได้

3) ภาวะภูมิคุ้มกันต่อต้านเนื้อเยื่อตัวเอง (autoimmune disease) ทำให้เกิดรอยโรคที่ ผิวหนัง เยื่อเมือก และมีอาการเจ็บ อักเสบ บวมตามข้อต่อต่าง ๆ ของร่างกาย อาการอื่น คือ อาการซีด เจ็บ เย็นที่ปลายมือปลายเท้า เมื่อถูกความเย็น (Raynaud’s phenomena)

1.6 Endocrine system

อาการผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อที่พบโดยทั่วไป คือ มีความผิดปกติของการเจริญเติบโต ไม่ค่อยมีแรงเหนื่อยง่าย รู้สึกเย็นหรือร้อนง่ายเมื่ออุณหภูมิสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงแม้เพียงเล็กน้อย น้ำหนักลด อาการของโรคเบาหวานที่พบบ่อยคือ ปัสสาวะบ่อย (polyuria) กระหายน้ำ (polydipsia) หิวบ่อยกินเก่ง (polyphagia) แต่น้ำหนักไม่ขึ้น

1.7 Haematopoietic system

อาการผิดปกติของระบบการสร้างเม็ดเลือดที่พบโดยทั่วไป คืออาการปวดเมื่อยตามตัว ซีด (สังเกตที่เยื่อเมือกในปากและเปลือกตา) เป็นอาการที่พบบ่อยของโรคเลือดจาง (anaemia) อาการเกิดจ้ำเลือดขนาดใหญ่เมื่อกระแทกของแข็ง เลือดหยุดยาก เมื่อมีมีดบาด หรือเป็นแผล แสดงถึงโรคเลือดหยุดยาก สาเหตุอาจเกิดจากความผิดปกติของเกล็ดเลือด (platelet) หรือ clotting factors deficiency (จากพันธุกรรม หรือจากโรคตับ) หรือ ความผิดปกติของ bone marrow (จาก neoplasia หรือ กดการสร้างเม็ดเลือดจากยาหรือสารพิษ)

1.8 Genitourinary system

อาการของโรคไต ได้แก่ การขับถ่ายปัสสาวะผิดปกติความถี่ของปัสสาวะผิดปกติ (บ่อยเกินไปหรือถี่น้อยลง) ปริมาณปัสสาวะ สีผิดปกติ แสบขณะปัสสาวะ ปัสสาวะขุ่นหรือมีเลือดออก ปวดที่บริเวณไต อาการแผล หรือตุ่มเนื้อ มีหนอง หรือคันที่อวัยวะเพศแสดงถึงโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์

1.9 Musculoskeletal system

อาการปวดที่บริเวณกล้ามเนื้อและข้อตามร่างกาย อาจมีความเกี่ยวข้องกับ Temporomandibular disorders ควรประเมินเรื่อง จำนวนข้อที่มีอาการผิด การเคลื่อนที่ อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ความรุนแรงของอาการปวด

1.10 Integumentary system

อาการแสดงของโรคระบบผิวหนัง เช่น ผื่นแดง (rash) คันที่ผิวหนัง (pruritus) การเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติของผมและเล็บ

1.11 Special organs of head and neck

ความผิดปกติของหู ตา จมูก และ oropharynx เป็นสิ่งที่ทันตแพทย์ควรให้ความสนใจ เนื่องจากเป็นอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียงกับช่องปากและใบหน้า อาการตาแห้ง มีน้ำตามาก หรือตาแดง แสดงถึงการอักเสบของเยื่อบุตา (conjunctivitis) การมองเห็นภาพซ้อน (diplopia) มองเห็นไม่ชัด หรือ ขอบเขตการมองเห็นลดลง แสดงถึงมีความผิดปกติของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 2, 3, 4, 6 โรคหูที่พบบ่อยคือ หูชั้นนอกอักเสบ (otitis) มีอาการปวด มีหนองไหลจากรูหู มีเสียงดังในหู (tinnitus) หรืออาจมีบ้านหมุน ซึ่งเป็นอาการความผิดปกติของน้ำในหูเรียกอาการนี้ว่า Vertigo อาการเจ็บคอ กลืนแล้วเจ็บ (dysphagia) เสียงแหบ แสดงถึงโรคในบริเวณลำคอ และกล่องเสียง

1.12 Neurological system

อาการของความผิดปกติของระบบประสาท ได้แก่ เป็นลม ชัก เวียนศีรษะ นอนไม่หลับ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานสัมพันธ์กัน (ataxia) กล้ามเนื้ออ่อนแรง อัมพฤติ อัมพาต กล้ามเนื้อหดเกร็งกระตุก อาการชา หรืออาการเจ็บปวดแสบร้อนที่ผิวหนังโดยไม่มีรอยโรค

1.13 Psychiatric

อาการวิตกกังวล เครียด ซึมเศร้า คิดฆ่าตัวตาย ซึ่งการถามอาการคิดฆ่าตัวตายไม่ควรถามในครั้งแรกที่นักศึกษาพบผู้ป่วย เนื่องจากอาจจะเกินความจำเป็นสำหรับทันตแพทย์

2. Antibiotic prophylaxis

อ้างอิงจาก Pickett PA and Gurenlian JR. The Medical History : Clinical implication and Emergency Prevention in Dental settings. 1st edition. Lippincott. Williams & Wilkins. 2005.

9.1 Prophylactic antibiotic premedication to prevent infective Endoconditis

Prophylatic antibiotic premedication to prevent hematogeneous joint infection after total joint replacement

TABLE 1

เชื้ออาจมีการดื้อยาในช่วงสั้น ๆ ได้ในระหว่างหลังการ premedication ด้วยยาปฏิชีวนะ ประมาณไม่เกิน 9-14 วัน ดังนั้นถ้าจำเป็นต้อง premedication ในระหว่าง 14 วันหลังการ premedication ครั้งแรก AHA แนะนำให้เลือกยาปฏิชีวนะจากกลุ่มที่แตกต่างจากการให้ยาครั้งแรก ตัวอย่างต่อไปนี้เช่นการให้ premedication ผู้ที่จำเป็นต้องรับการ premedication ในช่วง 9 วัน หลังจากการ premedication ครั้งแรก

TABLE 2

TABLE 2

BOX 1

BOX 2

BOX 3

การประเมินผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีความเสี่ยงต่อ Infective Endoconditis

BOX 4

BOX 5

BOX 5

Appendix 3

ตัวอย่างการปรึกษาเพื่อการวางแผนการรักษาและการตอบการขอคำปรึกษา

ตัวอย่างการปรึกษาเพื่อการวางแผนการรักษาและการตอบการขอคำปรึกษา

ระหว่างคลินิกต่าง ๆ ในคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

CONSULTATION REQUEST

NAME Mrs. Manee Tharee AGE 53 H.N. 9999 CLINIC OD

Date …………………

( ) Emergent ( ) Urgent ( / ) Not urgent

Referred to Crown and bridge Division ……….Department ……..

From …………………………Division …………Department …….

Provisional diagnosis 47 irriversible pulpitis with apical periodontitis

( / ) Consultation only

( ) Consultation for joint management

( ) Consultation for transfer

Noted Please provide your comment / suggestion on the next page.

47 dental caries exposed pulp with carious lesion at distal surface extended under gingival margin. Please give an opinion of the possibility to reconstruct the tooth after endodontic treatment. Periapical film (parellel) is enclosed.

Attending staff ………………………………………….

REPORT OF CONSULTATION

Date …………………

Refer to : Oral Diagnosis Clinic from : Crown and bridge Clinic

Regarding : Mrs. Manee Thavee AGE 53 Years.

Report : The distal margin of 46 is extended deep under alveolar crest but can be made a proper margin after endodontic treatment and crown lengthening. Please refer the patient to the related clinics.

Attending staff ………………………

Division ……………………. Department ……………………

( / ) will follow ( ) will not follow

Transfers to OD clinic…………………………………………………………………

หมายเหตุ การขอคำปรึกษาอาจใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ

Appendix 3

รายละเอียดเกณฑ์การส่งต่อผู้ป่วยไปคลินิกต่าง ๆ

คลินิกต่าง ๆ ในคณะทันตแพทยศาสตร์

1. คลินิกเฉพาะทาง

ผู้ป่วยที่จะส่งเข้าคลินิกเฉพาะทางได้แก่ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาในงานชนิดที่ยากกว่าปกติ ผู้ให้การรักษาคือ อาจารย์ทันตแพทย์ผู้ชำนาญการณ์และมีประสบการณ์เชี่ยวชาญในสาขานั้น ๆ ในบางคลินิกอาจมีนักศึกษาหลังปริญญาให้การรักษาร่วมด้วย คลินิกเฉพาะทางในโรงพยาบาลทันตกรรม ได้แก่

1) คลินิกรังสี (x-ray clinic) งานที่บริการได้แก่ ถ่ายภาพรังสีเทคนิคต่าง ๆ รวมทั้งให้คำปรึกษาภาพถ่ายรังสีด้วย

2) คลินิกทันตกรรมหัตถการ (Operative Clinic) งานที่ให้บริการได้แก่การอุดฟันที่กว้างและ

ใหญ่มาก (อาจต้องมีการใช้ pin retain ร่วมด้วย) งานปิดdiastema, root surface caries, inlay, onlay, vital bleaching

3) คลินิกปริทันต์ (Periodontal Clinic) งานที่ให้บริการได้แก่ โรคเหงือกที่มีอาการรุนแรงใช้การรักษาด้วย scaling และ root planning ไม่เพียงพอ และกรณีโรค Aggressive periodontitis ควรส่งต่ออย่างรีบด่วน

4) คลินิกครอบและสะพานฟัน (Crown & Bridge Clinic) งานที่ให้บริการ ได้แก่สะพานฟัน ที่มีความยาวมากกว่า 4 ยูนิต (long span) ปิดหน้าฟันที่มีสีคล้ำ เช่น tetracycline staining teeth

5) คลินิกเอ็นโดดอนติกส์ (Endodontic Clinic) งานที่ให้บริการได้แก่ การรักษาคลองรากฟันที่ยากเช่น ฟันกรามที่รากตีบฟันที่รากโค้งมากฟันที่มี pulp stone อยู่ในโพรง ประสาทฟัน ฟันที่ต้องการรักษาร่วมกัน เช่น combined endo-perio treatment

6) คลินิกทันตกรรมประดิษฐ์ (Prosthodontic and Oral Maxillofacial Prosthetic Clinic) ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาโดยการใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ในรายที่การใส่ฟันยาก เช่น ต้องทำเป็น overdenture, high muscle attachment, shallow floor of mouth, exostoses on maxilla or mandible, flabby tissue on residual ridge, patient with systemic disease การทำ full mouth rehabilitation การใส่อวัยวะเทียมบริเวณช่องปากและใบหน้าหรือมีพยาธิสภาพในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใส่ฟัน เป็นต้น

7) คลินิกจัดฟัน (Orthodontic Clinic) ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาโดยการจัดฟัน

8) คลินิกอายุรศาสตร์ช่องปาก คลินิกระงับปวดบริเวณช่องปาก ใบหน้า และข้อต่อขากรรไกร และ Oral Medicine/ Orofacial pain & TMD,OM-OPT ผู้ป่วยที่มีรอยโรคของ oral soft tissue เช่น oral lichen planus, vesiculobullus lesions, recurrent apthous stomatitis, chronic ulcers/discomfort, infectious lesions, pigmented lesions, soft tissue lump

ให้การรักษาและวินิจฉัย ผู้ป่วยที่มีอาการปวดบริเวณช่องปาก ใบหน้า และข้อต่อขากรรไกร เช่น temporomandibular disorders, burning mouth syndrome, atypical odontalgia, atypical facial pain, นอนกัดฟัน กัดเน้นฟัน เป็นต้น

9) คลินิกศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล (Oral & Maxillofacial Surgery Clinic) ให้การรักษาทางศัลยกรรมแก่ผู้ป่วย เช่น การถอนฟัน surgical removal of impacted tooth, pre-prosthesis surgery, implant, orthognathic treatment เป็นต้น

10) คลินิกทันตกรรมป้องกัน (Preventive Clinic) ให้การควบคุมป้องกันการเกิดโรคช่องปาก (oral diseases control)

2. คลินิกบริการในเวลาและนอกเวลาราชการ (Service Clinic)

ให้การรักษาโดยอาจารย์ทันตแพทย์ และทันตแพทย์GP เพื่อรองรับการบริการผู้ป่วยทั่วไป ผู้ป่วยที่ไม่มีเวลามารับการรักษาต่อเนื่อง ผู้ป่วยฉุกเฉิน (Emergency) หรือเร่งด่วน (Urgency) ผู้ป่วยที่มีเงื่อนไขบางประการที่ทำให้ไม่เหมาะสมที่จะทำการรักษาในคลินิกอื่น ๆ

3. คลินิกบำบัดฉุกเฉิน (PTU) ให้การรักษาโดยทันตแพทย์ประจำคลินิก PTU กรณีฉุกเฉิน (Emergency) หรือเร่งด่วน (Urgency) และ/หรือ Chief complaint สามารถรองรับผู้ป่วยที่เกินขีดความสามารถของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

4. คลินิก OPD ให้การรักษาโดยนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 5 และ 6 กรณีฉุกเฉิน (Emergency) หรือเร่งด่วน (Urgency) และ/หรือ Chief complaint

5. คลินิกบัณฑิตศึกษา ให้การรักษาโดยนักศึกษาระดับหลังปริญญาตรี ซึ่งจะเป็นงานที่มีความเฉพาะ เจาะจงตรงกับสาขาวิชานั้น งานที่ให้บริการผู้ป่วยมีความยากและซับซ้อนกว่าระดับคลินิกนักศึกษาปริญญาตรี มีความจำเป็นที่ต้องได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น

- คลินิกทันตกรรมประดิษฐ์

- คลินิกทันตกรรมบูรณะ

- คลินิกปริทันตวิทยา

- คลินิกรักษาคลองรากฟัน

- คลินิกทันตกรรมจัดฟัน

- คลินิกทันตกรรมสำหรับเด็ก

- คลินิกอายุรศาสตร์ช่องปาก

- คลินิกศัลยศาสตร์

นักศึกษาสามารถส่งต่อผู้ป่วยมารับบริการที่คลินิกบัณฑิตศึกษาได้ภายใต้ความเห็นชอบจากอาจารย์นิเทศงานและอาจารย์ที่กำกับดูแลคลินิกบัณฑิตศึกษาสาขาวิชานั้น ๆ

Appendix 4

เกณฑ์การประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคในช่องปาก

เกณฑ์ในการประเมินระดับความเสี่ยงในการเกิดฟันผุ

| |ปัจจัย/ลักษณะเชิงลบ |ปัจจัย/ลักษณะเชิงบวก |

|การซักประวัติ | | |

| |พบทันตแพทย์เมื่อมีอาการ |ตรวจฟันสม่ำเสมอด้วยตนเองหรือทันตแพทย์ |

| | |ไม่มีโรคประจำตัวและไม่มีการใช้ยาที่มีผลต่อการหลั่งของน้ำลาย |

| |มีโรคทางระบบหรือใช้ยาที่มีผลต่อการหลั่งของน้ำลาย |ได้รับฟลูออไรด์สม่ำเสมอ |

| |ไม่ได้รับฟลูออไรด์สม่ำเสมอ |มีการบริโภคอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลต่ำ |

| |มีการบริโภคอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูง |ไม่มีวิถีชีวิตหรืออาชีพที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ |

| |มีวิถีชีวิตหรืออาชีพที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุสูง เช่น ขายขนมหวาน | |

| |เคยได้รับการฉายรังสี รักษาบริเวณใบหน้าที่มีผลต่อต่อมน้ำลาย | |

| |ผู้ป่วยมีความพิการด้านร่างกายและสมอง | |

| |ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำ (อาชีพ รายได้ ระดับการศึกษา) |ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูง |

|การตรวจทางคลิ|มีฟันผุใหม่หลายซี่ (กรณีมีการติดตาม) |ไม่มีฟันผุใหม่ |

|นิก |ฟันผุ active หลายซี่ (( 2 ซี่) |ไม่มีฟันผุ active หรือมีน้อยมาก |

| |(active = incipient และ cavitated caries) | |

| |มีฟันที่อุดหลายซี่ |ไม่มีหรือมีฟันอุดน้อย |

| |มีฟันที่ถอนเพราะฟันผุหลายซี่ |ไม่มีฟันที่ถอนเพราะฟันผุหรือมีน้อย |

| |ฟันผุหรืออุดในฟันหน้าหลายซี่ |ไม่มีฟันผุหรืออุดในฟันหน้า |

| |มีฟันผุเกิดซ้ำ (Secondary caries) |ไม่มีฟันผุเกิดซ้ำ |

| |อนามัยช่องปากไม่ดี (Pl สูง) |อนามัยช่องปากดี (Pl ต่ำ) |

| |ฟันซ้อนเก ทำความสะอาดได้ยาก |มีเคลือบหลุมร่องฟันที่มีสภาพดี |

| |- มีเนื้อฟันผิดปกติที่มีผลต่อการทำความ | |

| |สะอาดช่องปาก | |

| |ฟันที่ควรเคลือบหลุมร่องฟัน ไม่ได้เคลือบ | |

| |กำลังจัดฟัน | |

| |ใส่ฟันเทียมฐานพลาสติก | |

| |ปัจจัย/ลักษณะเชิงลบ |ปัจจัย/ลักษณะเชิงบวก |

|การตรวจ | | |

|ทางห้อง ปฏิบัติการ | | |

| |อัตราการหลั่งน้ำลายต่ำ |อัตราการหลั่งน้ำลายปกติ |

| |((0.5 -0.7 ml/min ในภาวะกระตุ้น) |(> 0.7 ml /min) |

| |Snyder test ให้ผลบวกภายใน 24 ชม. |Snyder test ให้ผลบวกใน 3 วัน |

| |Buffer capacity ต่ำ (pH < 4) |Buffer capacity สูง (pH ( 4) |

| |ในน้ำลาย S. mutans |ในน้ำลาย S. mutans |

| |> 10 6 CFU/ml |10 4 CFU/ml |

| |> 100 CFU/1.5 cm2 |= 0 CFU/ 1.5 cm2 |

| |Lactobacilli ในน้ำลาย |Lactobacilli ในน้ำลาย |

| |> 10 5 CFU/ml | 100 CFU/1.5 cm 2 | |

| | |= 0 CFU/ 1.5 cm 2 |

เสี่ยงระดับสูง: เมื่อปัจจัยหรือลักษณะส่วนใหญ่เป็นลักษณะทางลบ

เสี่ยงระดับปานกลาง: เมื่อปัจจัยหรือลักษณะที่เกิดขึ้นมีทั้งทางบวกและทางลบใกล้เคียงกันหรือ

มีลักษณะก้ำกึ่งกันระหว่างปัจจัยทางบวกและทางลบ

เสี่ยงระดับต่ำ: เมื่อปัจจัยหรือลักษณะส่วนใหญ่เป็นลักษณะทางบวก

แนวทางและเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคปริทันต์

การประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคปริทันต์ มีเป้าหมายเพื่อทราบระดับความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะมีโอกาสไปสู่สภาวะรุนแรงมากน้อยเพียงใด ระดับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นระดับความรุนแรงในสภาวะปัจจุบัน แต่บอกถึงโอกาสในอนาคต (ทำนายอนาคต เพื่อลดโอกาสความรุนแรงต่อไป)

ก่อนประเมินความเสี่ยง ให้นักศึกษาประเมินว่า ผู้ป่วยมีสภาวะโรคเป็นเหงือกอักเสบ (Gingivitis) หรือเป็นโรคปริทันต์อักเสบ (Periodontitis) และทำเครื่องหมายวงกลมสภาวะดังกล่าวก่อนระบุระดับความเสี่ยงต่อไป เช่น Gingivitis/ Periodontitis ( ) High ( / ) Moderate ( ) Low

ทั้งนี้พิจารณาเป็นโรคปริทันต์อักเสบ เมื่อพบ PD>5 มม. และ CAL >3 มม.)

เกณฑ์ความเสี่ยงของการเกิดและลุกลามของโรคเหงือกอักเสบ/โรคปริทันต์อักเสบ

|Risk |Gingivitis/Periodontitis |

|High |ต้องมีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อยหนึ่งข้อ และ/หรือ ปัจจัยเชิงลบมากกว่าเชิงบวก |

|Moderate |ไม่มีปัจจัยเสี่ยง แต่มีปัจจัยเชิงลบมากกว่าเชิงบวก หรือปัจจัยเชิงลบเท่ากับเชิงบวก |

|Low |ไม่มีปัจจัยเสี่ยง แต่มีปัจจัยเชิงลบน้อยกว่าเชิงบวก |

|ปัจจัยเสี่ยง |ปัจจัย/ลักษณะเชิงลบ |ปัจจัย/ลักษณะเชิงบวก |

|- Uncontrolled/poor |- plaque/calculus สูง |- plaque/calculus ต่ำ |

|controlled DM |- มีโรคประจำตัวอื่นๆ เช่น |- ไม่มีโรคประจำตัว |

|= FBS ≥ 200 mg/dl |Osteoporosis/osteopenia |- ไม่สูบบุหรี่เลย |

|หรือ FBS ไม่คงที่ ขึ้น ๆ |Cardiovascular disease |- ไม่ได้ตั้งครรภ์ |

|ลง ๆ แม้จะน้อยกว่า 200 |Compromised immune system / |- ไม่ได้อยู่ในช่วงวัยรุ่น |

|mg/dl |acquired or drug induced |- ไม่มีปัจจัยเฉพาะที่ |

|- Smoking /tobacco use |- Drug induced gingival conditions |- ฐานะทางเศรษฐกิจสังคมสูง |

|- HIV |- ผลของฮอร์โมน เช่น กำลังตั้งครรภ์ ช่วงวัยรุ่น |- ความตระหนักในการดูแลสุขภาพช่องปากสูง |

|- GI เฉลี่ย ≥ 2 |- เคยมีประวัติการสูบบุหรี่ | |

| |- มีปัจจัยเฉพาะที่ เช่น วัสดุอุดที่ไม่เหมาะสม ฟันซ้อนเก ขอบวัสดุอุดเกิน | |

| |ฟันผุที่สัมพันธ์กับเหงือก รูปร่างของฟันที่ผิดปกติ | |

| |- ฐานะทางเศรษฐกิจสังคมต่ำ | |

| |- ความตระหนักในการดูแลสุขภาพช่องปากต่ำ | |

เกณฑ์การประเมินความเสี่ยงในการเกิด Non carious lesion

(Tooth surface lesion: attrition, abrasion, erosion, abfraction)

ปัจจัยที่พิจารณา

• ลักษณะของฟัน การเรียงตัวของฟัน เช่น การมี steep cusp of premolar, malalignment. Enamel hypoplasia

• Improper occlusion เช่น traumatic occlusion

• การบริโภคอาหารเปรี้ยวหรือที่มีความเป็นกรดเป็นประจำ เช่น ผลไม้ แกงส้ม การดื่มน้ำอัดลม

• การสัมผัสสารเคมีในช่องปากเป็นประจำ เช่น การว่ายน้ำในสระน้ำเป็นประจำร่วมกับมีลักษณะฟันกร่อน ทำงานในโรงงานที่มีสารเคมีบางประเภท

• การทำความสะอาดช่องปากที่ไม่เหมาะสม เช่น ใช้แรงมากเกินไป ใช้แปรงสีฟันที่แข็งเกินไป การแปรงฟันทันทีหลังรับประทานอาหารเปรี้ยวหรืออาหารที่มีความเป็นกรด เป็นต้น

• Abnormal habits เช่น Bruxism, clenching การใช้ฟันผิดหน้าที่

• การทานอาหารที่แข็ง เช่น กระดูกอ่อน น้ำแข็ง เม็ดฝรั่ง เป็นต้น

ผู้ป่วยมีความเสี่ยง (บันทึกภายใต้ช่อง Y)

เมื่อมีรอยโรคอย่างน้อย 1 รอยโรค และ/หรือ มีอาการเสียวฟันที่สัมพันธ์กับ Tooth surface lesion ร่วมกับมีลักษณะหรือปัจจัยที่กล่าวมาอย่างน้อยหนึ่งอย่าง

ผู้ป่วยไม่มีความเสี่ยง (บันทึกภายใต้ช่อง N)

เมื่อไม่มีรอยโรค อาการ ลักษณะหรือปัจจัยที่กล่าวมา

เกณฑ์ในการประเมินความเสี่ยงในการเกิด Oral cancer

|ปัจจัย / ลักษณะเชิงลบ |ปัจจัย / ลักษณะเกี่ยวข้องเชิงลบ |

|การสูบบุหรี่ หรือ ยาเส้น |การรับประทานอาหารประเภทเนื้อ ผักที่ผ่านกระบวนการต่าง ๆ |

|การใช้ smokeless tobacco product |มันฝรั่งและมันฝรั่งหวาน |

|ถ้าใช้ไม่นานมีโอกาสเกิด benign hyperkeratosis and epithelial dysplasia |การมี chronic trauma นานๆร่วมกับการได้รับ carcinogen |

|ถ้าใช้นานมีโอกาสเกิด oral squamous cell carcinoma |มีโอกาสส่งเสริมให้เกิด oral cancer ได้ |

|Alcohol consumption |การติดเชื้อไวรัสบางชนิดเช่น Human papiiloma virus |

|การดื่ม wine มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิด oral cancer มากกว่า hard liquor | |

|Combine between tobacco and alcohol : เป็น synergistic effect | |

|มีโอกาสเสี่ยงมากขึ้นในการเกิด oral cancer | |

|Sun exposure : ถ้าทำงานในที่กลางแจ้งแดดจัดนานๆ เช่น ในฟาร์ม ก่อสร้าง มีโอกาสเกิด | |

|lip cancer มากกว่าคนที่อยู่ในร่ม | |

|ปัจจัย / ลักษณะเกี่ยวข้องเชิงบวก |ปัจจัย / ลักษณะไม่เกี่ยวข้อง |

|- การรับประทานอาหารประเภทผักสด ผลไม้สด ผลไม้รสเปรี้ยวสด ตับ ปลา และขนมหวาน |Denture wearing, denture irritating, irregular teeth & |

| |restoration, chronic biting habits |

| |การรับประทานอาหารร้อน ๆ หรือ เครื่องดื่มร้อนๆ การรับประทาน |

| |อาหารรสจัดและร้อน |

|ผู้ป่วยมีความเสี่ยง เมื่อพบประเด็นเชิงลบต่อการเกิด oral cancer อย่างใดอย่างหนึ่ง |

|ผู้ป่วยไม่มีความเสี่ยง เมื่อไม่พบประเด็นเชิงลบ ต่อการเกิด oral cancer อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือพบประเด็นเชิงบวกต่อการเกิด oral cancer อย่างใดอย่างหนึ่ง |

Appendix 5

ตัวอย่างแบบฟอร์ม Summary of Treatment plan

และแบบฟอร์ม Treatment Record s

Summary of Treatment plan

Patient’s name …นายสังคม ดีงาม……...HN …11111…

|Kinds of work |Estimated |Refer to |Complete |Instructor |Note |

| |Fee | |Date | | |

|1. Systemic phase | | | | | |

| Consult the physician for uncontrolled DM | | | | | |

|2. Treatment and Prevention | | | | | |

| 2.1 Emergency/ Urgency Tx. | | | | | |

|#46 OM AmF |100 | | | | |

| 2.2 Orofacial pain / TMJ | | | | | |

| 2.3 Treatment of Oral lesions | | | | | |

| 2.4 Prevention | | | | | |

|OHI | | | | | |

| 2.5 Sc & Rp | | | | | |

|FM |250 | | | | |

| 2.6 Operative Tx. | | | | | |

|#11M, #21M CP |300 | | | | |

|#16OD, #17OM, #36OD, #37O AmF |700 | | | | |

| 2.7 Endodontic Tx. | | | | | |

|#23 |400 | | | | |

| 2.8 Extraction / Surgery | | | | | |

|#18, #48 |400 | | | | |

| 2.9 Minor occlusal adjustment | | | | | |

| 2.10 Others | | | | | |

|3. Reconstruction & Rehabilitation | | | | | |

| 3.1 Removable Prostheses | | | | | |

|U/L RPD |3000 | | | | |

| 3.2 Fixed Prostheses | | | | | |

|Post core with crown #23 |3000 | | | | |

| 3.2 Periodontal surgery | | | | | |

| 3.4 Orthodontic Tx. | | | | | |

| 3.5 Occlusion | | | | | |

|4. Maintenance phase | | | | | |

| 4.1 Recheck | | | | | |

|after RPD insertion 1 – 2 wks | | | | | |

| 4.2 Evaluation | | | | | |

| 4.2 Recall 6 mths | | | | | |

|Estimated total Fee |8,150 | | | | |

| | | | | | |

Student ..นทพ.มีสุข ยิ่งนัก..... Instructor ...อ.เปรมใจ............... Date ......2 เม.ย.2550.....

Treatment Records

|Date |Treatment Details |Operator |Instructor |Fee |Paid |

|30 ,มี.ค.51 |Completed comprehensive charting |Student A |Arjarn B | | |

| | | | | | |

| | | | | | |

| | | | | | |

| | | | | | |

| | | | | | |

| | | | | | |

| | | | | | |

| | | | | | |

| | | | | | |

| | | | | | |

| | | | | | |

| | | | | | |

| | | | | | |

| | | | | | |

| | | | | | |

| | | | | | |

| | | | | | |

| | | | | | |

| | | | | | |

| | | | | | |

| | | | | | |

| | | | | | |

| | | | | | |

| | | | | | |

| | | | | | |

| | | | | | |

| | | | | | |

[pic]

-----------------------

Oral Procedures Requiring Antibiotic Prophylaxis

( Procedures in which significant bleeding is anticipated

( Extractions, periodontal surgery, scaling, and root planing

( Oral prophylaxis in which significant bleeding is expected

( Subgingival placement of antibiotic fibers or strips

( Implant placement, tooth reimplantation

( Placement of orthodontic bands (not brackets)

( Endodontic surgery or instrumentation beyond apex of tooth

( Intraligamentary injections

(Reprinted with permission from Dajani As, Taubert KA, Wilson W, et al. Prevention of bacterial endocarditis: recommendations by the American Heart Association. JAMA 1997; 277: 1794-1801.)

Cardiac Conditions and Risk Categories

Endocarditis prophylaxis recommended

High risk Prosthetic heart valves

Previous bacterial endocarditis

Complex congenital heart disease (tetralogy of

Fallot, transposition of great arteries, single ventricle

state)

Surgically constructed systemic pulmonary shunts

or conduits

Moderate risk Most other congenital cardiac malformations

Acquired valvular dysfunction(rheumatic heart dis-

ease, others)

Hypertrophic cardiomyopathy

Mitral valve prolapse with valvular regurgitation, or

thickened leaflets

Endocarditis prophylaxis NOT recommended

Negligible risk Isolated secundum atrial septal defect

Surgical repair of atrial septal, ventricular septal de-

fect with no residual pathology, or patent ductus ar-

teriousus ( without complications beyond 6 months)

Previous coronary artery bypass graft surgery,

stents, patches, vascular grafts

Mitral valve prolapse without valvular regurgitation

Physiologic, functional, or innocent heart murmurs

Previous Kawasaki disease or rheumatic fever with-

out valvular dysfunction

Cardiac pacemakers and implanted defibrillators

(Adapted from Dajani As, Taubert KA, Wilson W, et al. Prevention of bacterial endocarditis : recommendations by the American Heart Association. JAMA 1997; 277: 1794-1801; and Baddour LM, et al. Nonvalvular cardiovascular device-related infections. Circulation 2003; 108: 2015-2031.)

ADA/AAOS Single-Dose Regimen for Antibiotic Prophylaxis in the Selected TJR Client

( Clients not allergic to penicillin:

cephalexin, cephradine, or amoxicillin

( 2 g orally (four 500-mg tablets)

1 hour before dental procedure

( Clients not allergic to penicillin and unable to take oral medications:

cefazolin or ampicillin

( Cefazolin 1 g or ampicillin 2 g intramuscularly or intravenously 1 hour before

dental procedure

( Clients allergic to penicillin and unable to take oral medications: clindamycin

( 600 mg intravenously 1 hour before dental procedure

(ADA/AAOS. Advisory Statement. Antibiotic prophylaxis for dental patients with total joint replacements. J Am Dent Assoc 2003; 134: 895-898.)

Dental Procedures Most Likely To Cause Bacteremia Requiring Antibiotic Prophylaxis in TJR Client

( Tooth extraction, dental implant placement, reimplantation of avulsed teeth

( Periodontal surgery, subgingival placement of antibiotic fibers or strips, scaling

and root planing, probing, recall maintenance instrumentation

( Prophylactic cleaning of teeth or implants in which bleeding is expected

( Endodontic (root canal) instrumentation or surgery beyond the apex of the tooth

( Initial placement of orthodontic bands, but not brackets

( Intraligamentary and intraosseous local anesthetic injections

Low incidence of bacteremia; antibiotic prophylaxis not recommended unless significant bleeding is expected

( Restorative dentistry (operative or prosthodontic), taking impressions, placement

of rubber dam, fluoride treatments, taking radiographs

( Intracanal endodontic treatment, post placement and build up; placement of removable

prosthodontic or orthodontic appliances, orthodontic appliance adjustment

( Local anesthetic injections, suture removal

(Adapted from ADA/AAOS. Advisory Statement. Antibiotic prophylaxis for dental patients with total joint replacement. J Am Dent Assoc 2003; 134: 895-898.)

Canditions Indicating Increased Risk for Hematogenous Joint Infection After Total Joint Replacement

( First 2 years after joint replacement

( Immunocompromised or immunosuppressed patients(e.g., rheumatoid arthritis,

systemic lupus erythematosus, or drug-or radiation-induced immunosuppression)

( Insulin-dependent (type 1) diabetes mellitus

( Previous prosthetic joint infections

( Malnourishment

( Hemophilia

( HIV infection

( Malignancies

(Adapted from ADA/AAOS. Advisory Statement. Antibiotic prophylaxis for dental patients with total joint replacements. J Am Dent Assoc 2003; 134: 895-898.)

Multiple Dental Appointments Within 9-Day Period in Adult Client at Risk for Infective Endocarditis (no penicillin allergy)

First appointment Amoxicillin 2 g

Second appointment Macrolide (clarithromycin

(2-4 days later) or azithromycin) 500 mg

Third appointment Clindamycin 600 mg

(2-4 days later)

Fourth appointment Amoxicillin or cephalexin

(2-4 days later) or cefadroxil 2 g

Fifth appointment Macrolide 500 mg

(2-4 days later)

All antibiotics are to be taken 1 hour before the dental appointment.

1997 American Heart Association Regimen

Prophylactic Antibiotic Premedication to Prevent Infective Endocarditis (IE)

Indications: prosthetic heart valve, history of IE, valvular disease (organic murmur, MVP + regurgitation), hypertrophic cardiomyopathy, uncorrected congenital malformations (seek consultation from cardiologist)

All oral antibiotics are recommended 1 hour before appointment; no second dose is recommended. Amoxicillin-2 g; for patients unable to take oral medications: ampicillin 2 g IM or IV; child 50 mg/kg IM or IV within 30 minutes before procedure

If penicillin allergy exists:

Clindamycin-600 mg (IV 600 mg [child 15 mg/kg within 30 minutes of procedure)

Clarithromycin or azithromycin-500 mg

Cephalexin or cefad: oxil-2 g oral tablet (IM or IV cefazolin 1 g 30 minutes before procedure

Alteration to recommended regimen: If procedures cover several weeks, alternate between drug classes, of wait 2 weeks before next appointment if using same class antimicrobial.

Pediatric dose-1997 AHA antibiotic regimen-take 1 hour before dental procedure.

Amoxicillin-50 mg/kg of body weight

Suggested amoxicillin doses: 30 kg = 2 g

Clarithromycin or azithromycin: 15 mg/kg

Cephalexin: 50 mg/kg

Clindamycin: 20 mg/kg

Dental procedures recommended for antibiotic prophylaxis to prevent IE:

Any procedure that causes bleeding, such as tooth extraction, oral surgery

Oral prophylaxis (when significant bleeding is expected)

Incision and drainage of infected tissue

Replacement of avulsed teeth, placement of dental implant

Periodontal probing, flossing, oral irrigation, subgingival placement of fibers, strips

Initial placement of orthodontic bands (not brackets)

Intraligamentary local anesthetic injection

Endodontic instrumentation or surgery BEYOND apex (apicoectomy)

Dental procedures NOT requiring antibiotic prophylaxis:

Shedding of primary teeth, suture removal, placement of rubber dam clamp

Taking impressions, taking oral radiographs

Simple adjustment on orthodontic bands, placement of brackets

Restorations involving crown only

Injection of local anesthetics (except intraligamentary injections)

Intracanal endodontic treatment, post placement, and buildup

Fluoride treatment

Patients who have poor oral hygiene should use a pretreatment rinse (not irrigation) with chlorhexidine.

MVP, mitral valve prolapse; IM, intramuscularly; IV intravenously; mg, milligram; g, gram; kg, kilogram.

................
................

In order to avoid copyright disputes, this page is only a partial summary.

Google Online Preview   Download