รายงานโครงการหมายเลข COE2005-00



รายงานโครงการหมายเลข COE2007-01

ระบบตอบรับอัตโนมัติ

เพื่อแจ้งผลการเรียนของนักศึกษา

โดย

นายธนวัฒน์ กันพานิชย์ รหัส 473040581-3

นายวิทวัฒน์ วะสุรี รหัส 473040613-6

รายงานนี้เป็นรายงานงานโครงการของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ซึ่งเสนอเป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บันฑิต

ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Project Report No. COE2007-01

Interactive Voice Respond System

for Students' Grades Notification

By

Mr Thanawat Kanpanit I.D. 473040581-3

Mr Wittawat Wasuree I.D. 473040613-6

This is the report of fourth year project assignment submitted in partial fulfillment of the requirement for the Degree of Bachelor of Engineering

Department of Computer Engineering

Faculty of Engineering Khon Kaen University

เรื่อง

ระบบตอบรับอัตโนมัติ

เพื่อแจ้งผลการเรียนของนักศึกษา

โดย นายธนวัฒน์ กันพานิชย์ รหัส 473040581-3

นายวิทวัฒน์ วะสุรี รหัส 473040613-6

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ

.......................................

(ผศ.ดร. กานดา สายแก้ว)

อาจารย์ผู้ร่วมประเมินโครงการ

1. ........................................

(ผศ. พิเชษฐ เชี่ยวธนะกุล)

2. ........................................

(ผศ. วิโรจน์ ทวีปวรเดช)

ประเมินผล ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

กิตติกรรมประกาศ

โครงการนี้สามารถดำเนินงานได้ด้วยความกรุณายิ่งจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กานดา สายแก้ว อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ ที่ช่วยติดต่อประสานงานกับทางศูนย์คอมพิวเตอร์และสำนักทะเบียนมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการขอข้อมูล ความคิดเห็น และการสนับสนุน เพื่อให้โครงการนี้สามารถนำไปใช้งานได้จริง และกรุณาให้คำปรึกษา แนะนำ สนับสนุน แก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ และช่วยเหลือดูแลด้วยความเอาใจใส่อย่างยิ่งในช่วงระยะเวลาที่ศึกษาและทำโครงการ ขอขอบพระคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิเชษฐ เชี่ยวธนะกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิโรจน์ ทวีปวรเดช อาจารย์ผู้ร่วมประเมินโครงการ ที่กรุณาให้คำปรึกษาแนะนำข้อคิดที่เป็นประโยชน์

ขอขอบคุณศูนย์คอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างของระบบโทรศัพท์ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น วิธีการเชื่อมต่อ PBX กับ IP PBX ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ และให้คำแนะนำในการนำระบบตอบรับอัตโนมัติเพื่อแจ้งผลการเรียนของนักศึกษาไปติดตั้งเพื่อให้สามารถใช้งานได้จริง ขอบคุณสำนักทะเบียนมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการที่จะทำระบบ Call Center เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารทั่วไปเกี่ยวกับงานสำนักทะเบียน และให้คำแนะนำในแนวทางการนำระบบตอบรับอัตโนมัติเพื่อแจ้งผลการเรียนของนักศึกษาไปใช้งานได้จริง ตลอดจนจะให้ความช่วยเหลือในส่วนของโครงสร้างของฐานข้อมูลและข้อมูลที่เกี่ยวกับเฉพาะวิชาที่เปิดสอน พร้อมทั้งเกรดนักศึกษาบางคนเพื่อใช้ในการจำลองระบบให้สามารถใช้งานได้ก่อน ขอขอบคุณศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ที่มีความอนุเคราะห์ให้ใช้โปรแกรม VAJA เวอชั่น 5 แบบไม่กำจัดอายุการใช้งาน ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักในโครงการนี้ในการแปลงข้อความให้เป็นเสียง

บทคัดย่อ

โครงการนี้เป็นการพัฒนาระบบตอบรับอัตโนมัติเพื่อแจ้งผลการเรียนของนักศึกษา โดยระบบนี้จะเพิ่มช่องทางในการแจ้งผลการเรียนของนักศึกษานอกเหนือจากการแจ้งผ่านทางเว็บไซต์ อีกทั้งยังอำนวยสะดวกแก่นักศึกษาในการตรวจสอบผลการเรียน เพราะนักศึกษาเพียงแค่โทรศัพท์เข้ามาที่ระบบตอบรับอัตโนมัติ ระบบตอบรับอัตโนมัติก็จะทำการแจ้งผลการเรียนของภาคการศึกษาล่าสุดในแต่ละรายวิชาและผลการเรียนเฉลี่ยผ่านทางโทรศัพท์ โดยไม่จำเป็นต้องเสียเวลาเข้ามาดูที่เว็บไซต์ของสำนักทะเบียน นอกจากนี้ระบบยังมีการแจ้งข่าวสารหรือประกาศต่างๆที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา โดยมีทั้งข่าวสารหรือประกาศทั่วๆไปและข่าวสารถึงเฉพาะนักศึกษาคนนั้นอีกด้วย

ในการพัฒนาโครงการนี้ได้นำเทคโนโลยีการสื่อสารด้วยเสียงผ่านเครือข่ายไอพี (Voice over IP : VoIP) มาทำงานร่วมกับเทคโนโลยีการสังเคราะห์เสียงพูด (Text-to-Speech Synthesis : TTS) และเทคโนโลยีเว็บเซอร์วิส (Web Services) โดยพัฒนาเป็นระบบตอบรับอัตโนมัติ (Interactive Voice Respond : IVR) บนระบบโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายไอพี (IP Telephony) ซึ่งใช้ซอฟต์แวร์ IP PBX ที่เป็นโอเพนซอร์ส คือ Asterisk ที่มีอินเตอร์เฟสสำหรับเพิ่มแอปพลิเคชัน คือ Asterisk Gateway Interface (AGI) ที่รองรับภาษาต่างๆ เช่น Perl, Python, PHP, Ruby และ C เป็นต้น และใช้เว็บเซอร์วิสในการร้องขอข้อมูลผลการเรียนจากฐานข้อมูลในฝั่งของสำนักทะเบียน และใช้โปรแกรมสังเคราะห์เสียงพูดในการแปลงข้อมูลผลการเรียนเป็นเสียง เพื่อส่งไปให้กับนักศึกษาที่โทรศัพท์เข้ามาฟังโดยไม่ต้องใช้คนอัดเสียงเก็บไว้

Abstract

This project is to develop an Interactive Voice Response System for Students' Grades Notification. By doing this, it will help increase a channel for inquiry students’ grades, besides the only way through accessing a Web page. Using this new approach, a student can call the Interactive Voice Response System. Then, the system will notify the latest semester grade of each course including GPA through using a telephone. In addition, the system has the feature that announces both public and private information to students.

In this project, we have applied VoIP with Web Services Technologies and Text-to-Speech Synthesis (TTS) to develop the Interactive Voice Respond System. Based on IP Telephony System, an open source software IP PBX called Asterisk has the Asterisk Gateway Interface (AGI) to add anew application. AGI also supports several programming languages such as Perl, Python, PHP, Ruby, and C. The Interactive Voice Response System uses Web Services to get information from Registration Office's database. The system uses TTS to convert students’ grades in the text format to the speech format and then sends the speech to the student who makes a phone call.

สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ ก

บทคัดย่อ ข

Abstract ค

สารบัญ ง

สารบัญรูปภาพ ฉ

สารบัญตาราง ช

บทที่ 1 บทนํา 1

1. ความสําคัญและที่มาของโครงการ 1

2. วัตถุประสงค์ของโครงการ 1

3. ขอบเขตของโครงการ 1

4. แผนการดําเนินงาน 2

5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 2

บทที่ 2 ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3

1. ทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง 3

1. เทคโนโลยีการสื่อสารด้วยเสียงผ่านเครือข่ายไอพี 3

2. เทคโนโลยีการสังเคราะห์เสียงพูด 4

3. เทคโนโลยีเว็บเซอร์วิส 4

4. Asterisk 5

1. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 7

1. การแจ้งผลการเรียนของนักศึกษา 7

2. การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนระบบโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 9

บทที่ 3 การออกแบบ 11

1. วิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ 11

1. ศูนย์คอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 11

2. สำนักทะเบียนมหาวิทยาลัยขอนแก่น 12

2. โครงสร้างของระบบ 13

3. เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา 13

1. ฮาร์ดแวร์ที่ใช้ 13

2. ซอฟต์แวร์ที่ใช้ 14

4. การออกแบบระบบตอบรับอัตโนมัติ 15

1. ขั้นตอนการทำงานของระบบตอบรับอัตโนมัติ 15

2. ฟังก์ชันการทำงานของระบบตอบรับอัตโนมัติ 16

5. การออกแบบเว็บเซอร์วิส 16

บทที่ 4 การพัฒนาโปรแกรม 18

1. การพัฒนาระบบตอบรับอัตโนมัติ 18

2. การพัฒนาเว็บเซอร์วิส 18

3. การสังเคราะห์เสียง 19

4. ฐานข้อมูลของสำนักทะเบียน 19

บทที่ 5 บทสรุปและข้อเสนอแนะ 21

1. บทสรุปการดำเนินงาน 21

2. ปัญหาที่พบในการดำเนินงาน 21

3. ข้อเสนอแนะ 22

4. แนวทางในการประยุกต์และพัฒนาต่อไป 22

ภาคผนวก ก การติดตั้งและการใช้งาน trixbox 2.4.0 24

1. การติดตั้ง trixbox 2.4.0 24

2. การใช้งาน trixbox 2.4.0 26

ภาคผนวก ข การติดตั้งและการใช้งาน X-Lite 3.0 for Windows 31

1. การติดตั้ง X-Lite 3.0 for Windows 31

2. การใช้งาน X-Lite 3.0 for Windows 32

ภาคผนวก ค การติดตั้งโปรแกรม 36

1. การติดตั้งโปรแกรมในส่วนของเว็บเซอร์วิส 36

2. การติดตั้งโปรแกรมในส่วนของระบบตอบรับอัตโนมัติ 39

ภาคผนวก ง การใช้งานโปรแกรม 42

บรรณานุกรม 44

สารบัญรูปภาพ

รูปที่ 2.1 ระบบเครือข่ายแบบ Packet-Switched IP Network 3

รูปที่ 2.2 มาตรฐานที่ใช้ในการพัฒนาเว็บเซอร์วิส 5

รูปที่ 2.3 ขั้นตอนการทำงานของระบบฟังข่าวอัตโนมัติ 10

รูปที่ 3.1 โครงสร้างของระบบโทรศัพท์ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น 11

รูปที่ 3.2 โครงสร้างของระบบตอบรับอัตโนมัติเพื่อรายงานผลการเรียนสำหรับนักศึกษา 13

รูปที่ 3.3 ขั้นตอนการทำงานของระบบตอบรับอัตโนมัติเพื่อแจ้งผลการเรียนของนักศึกษา 15

รูปที่ 4.1 Class Diagram ในส่วนของระบบตอบรับอัตโนมัติ 18

รูปที่ 4.2 Class Diagram ในส่วนของเว็บเซอร์วิส 18

รูปที่ ก.1 เริ่มติดตั้ง trixbox 2.4.0 24

รูปที่ ก.2 ตั้งค่า Keyboard Type 24

รูปที่ ก.3 ตั้งค่า Time Zone 25

รูปที่ ก.4 ตั้งค่า Root Password 25

รูปที่ ก.5 trixbox 2.4.0 ขณะติดตั้ง 25

รูปที่ ก.6 หน้าตาของ trixbox 2.4.0 เมื่อบูทเครื่องขึ้นมา 26

รูปที่ ก.7 ล็อกอินเข้าสู่ trixbox 2.4.0 26

รูปที่ ก.8 กำหนด IP address ให้กับ trixbox 2.4.0 27

รูปที่ ก.9 คำสั่ง help-trixbox 27

รูปที่ ก.10 เข้าสู่ Admin GUI 28

รูปที่ ก.11 หน้าของ FreePBX configuration GUI 28

รูปที่ ก.12 หน้า module admin ของ FreePBX 29

รูปที่ ก.13 หน้า extensions ของ FreePBX 29

รูปที่ ก.14 หน้าของ Add SIP Extension ของ FreePBX 30

รูปที่ ก.15 ยืนการตั้งค่า SIP Extension 30

รูปที่ ข.1 การติดตั้ง X-Lite v3.0 for Windows 31

รูปที่ ข.2 หน้าตาของโปรแกรม X-Lite v3.0 for Windows 32

รูปที่ ข.3 ปุ่ม show menu 32

รูปที่ ข.4 หน้าต่างของ SIP Account 33

รูปที่ ข.5 หน้าต่างของ Properties of Account 34

รูปที่ ข.6 หน้าต่างของ SIP Account 34

รูปที่ ข.7 ชื่อ account ของเราที่ทำการ register ไป 35

รูปที่ ข.8 หน้าต่างเตือนว่ามีคนโทรเข้ามา 35

รูปที่ ค.1 สร้างไดเรกทอรีชื่อ studentgrade 36

รูปที่ ค.2 อัปโหลดไฟล์โปรแกรม 36

รูปที่ ค.3 เปลี่ยนสิทธิ์ในกาเข้าถึงโฟล์เดอร์ 37

รูปที่ ค.4 โปรแกรม phpMyAdmin 37

รูปที่ ค.5 นำเข้าไฟล์ฐานข้อมูล 38

รูปที่ ค.6 ตั้งค่าตัวแปรสำหรับเว็บเซอร์วิส 38

รูปที่ ค.7 เข้าสู่ Admin GUI ของ trixbox 39

รูปที่ ค.8 หน้าของ phpconfig for Asterisk PBX 40

รูปที่ ค.9 แทรกสคริปต์ใน extensions_custom.conf 40

รูปที่ ค.10 ตั้งค่าตัวแปรในระบบตอบรับอัตโนมัติ 41

รูปที่ ง.1 โปรแกรม X-Lite 3.0 for Windows 42

สารบัญตาราง

ตารางที่ 1.1 ระยะเวลาและแผนการดําเนินงาน 2

ตารางที่ 4.1 ตาราง student เก็บข้อมูลของนักศึกษา 19

ตารางที่ 4.2 ตาราง course เก็บข้อมูลของรายวิชาที่มีอยู่ 19

ตารางที่ 4.3 ตาราง grade เก็บข้อมูลเกรดที่ได้ในแต่ละรายวิชาของนักศึกษา 20

ตารางที่ 4.4 ตาราง webmsg เก็บข่าวสารหรือประกาศต่างๆที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา 20

บทที่ 1

บทนํา

1. ความสําคัญและที่มาของโครงการ

ในปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารด้วยเสียงผ่านเครือข่ายไอพีเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เริ่มใช้กันโดยแพร่หลาย ข้อดีของเทคโนโลยีการสื่อสารด้วยเสียงผ่านเครือข่ายไอพี คือ การให้บริการบนเครือข่ายที่รวมการให้บริการเสียงและข้อมูลไว้ด้วยกันไม่แยกกันเหมือนในปัจจุบัน ทำให้สามารถเกิดการประยุกต์ใช้งานแบบใหม่ๆ เช่น การใช้โทรศัพท์เข้าถึงข้อมูลข่าวในอินเทอร์เน็ต โดยอ่านออกมาเป็นเสียงพูดผ่านเทคโนโลยีสังเคราะห์เสียงพูด เป็นต้น

ระบบตอบรับอัตโนมัติเพื่อแจ้งข้อมูลของนักศึกษาที่จะทำการพัฒนาขึ้นมานี้ จะใช้เทคโนโลยีการสื่อสารด้วยเสียงผ่านเครือข่ายไอพี (Voice over IP : VoIP) มาทำงานร่วมกับเทคโนโลยีการสังเคราะห์เสียงพูด (Text-to-Speech Synthesis : TTS) และเทคโนโลยีเว็บเซอร์วิส (Web Services) เพื่อเพิ่มช่องทางในการแจ้งผลการเรียนของนักศึกษาสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกที่จะเข้ามาตรวจสอบที่เว็บไซต์ อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนระบบโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายไอพีให้มีความหลากหลายและเป็นประโยชน์มากขึ้น โดยการนำเทคโนโลยีเว็บเซอร์วิสมาใช้งานให้การรับส่งข้อมูลเป็นไปอย่างอัตโนมัติและมีความปลอดภัยมากขึ้น และการนำเทคโนโลยีการสังเคราะห์เสียงพูดแปลงข้อความเป็นเสียงโดยไม่จำเป็นต้องใช้คน

2. วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. ให้นักศึกษาสามารถโทรศัพท์เข้ามาฟังผลการเรียนของตนเองหรือฟังข่าวสารหรือประกาศต่างๆที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษาที่ระบบตอบรับอัตโนมัติได้

2. นำเทคโนโลยีการสื่อสารด้วยเสียงผ่านเครือข่ายไอพี มาทำงานร่วมกับเทคโนโลยีการสังเคราะห์เสียงพูดและเทคโนโลยีเว็บเซอร์วิส

3. เพิ่มโปรแกรมประยุกต์บนระบบโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายไอพีให้มีความหลากหลายและเป็นประโยชน์มากขึ้น

3. ขอบเขตของโครงการ

1. ใช้งานได้กับระบบโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายไอพีเท่านั้น

2. สามารถโทรศัพท์เข้าฟังผลการเรียนได้เป็นภาษาไทยเท่านั้น

4. แผนการดำเนินงาน

1. ศึกษาค้นคว้าข้อมูล โดยศึกษางานวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา และศึกษาฐานข้อมูลของสำนักทะเบียน

2. ออกแบบระบบ ซึ่งมี 3 ส่วนหลักๆ คือ

2.1 ระบบตอบรับอัตโนมัติ (Interactive Voice Respond : IVR) ใช้ในการตอบรับการทำงานเมื่อมีนักศึกษาโทรศัพท์เข้ามาที่ระบบ และมีการร้องข้อมูลผลการเรียนหรือข่าวประกาศจากเว็บเซอร์วิส

2.2 เว็บเซอร์วิส (Web Services) ใช้ในการร้องข้อมูลผลการเรียนหรือข่าวประกาศจากฐานข้อมูลของสำนักทะเบียน ซึ่งจะมีการส่งข้อมูลร้องขอและตอบกลับในรูปแบบของเอกสารเอกซ์เอ็มแอล (eXtensible Markup Language : XML)

2.3 สังเคราะห์เสียงพูด (Text-to-Speech Synthesis : TTS) ใช้ในการแปลงข้อมูลผลการเรียนเป็นข้อมูลเสียงแล้วส่งให้ผู้ที่โทรศัพท์เข้ามาฟัง

3. พัฒนาระบบ

4. ทดสอบและปรับปรุงระบบ

5. จัดทำรายงานและคู่มือการใช้งาน

จากแผนการดำเนินงานข้างต้นสามารถแสดงผลได้ดังตารางที่ 1.1

ตารางที่ 1.1 ระยะเวลาและแผนการดําเนินงาน

|ลำดับ |แผนงาน |2550 |2551 |

| |

1. getGrade ใช้การดึงข้อมูลเกรดของนักศึกษาจากฐานข้อมูลของสำนักทะเบียน

ตัวอย่างของเอกสาร XML ที่ข้อมูลเกรดที่ได้ในแต่ละรายวิชาของนักศึกษา

| |

| |

|1701101 |

|170110 |

|หลักมูลสำหรับวิศวกร |

|2 |

|C+ |

| |

|. |

|. |

|. |

| |

2. getWebmsg ใช้การดึงข้อมูลข่าวประกาศของนักศึกษาจากฐานข้อมูลของสำนักทะเบียน

ตัวอย่างของเอกสาร XML ที่เป็นข้อมูลข่าวประกาศของนักศึกษา

| |

| |

|200001 |

|Download แบบฟอร์มเกี่ยวกับการลงทะเบียนวิชาเรียน |

|นักศึกษาทั้ง ระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา สามารถ Download แบบฟอร์มเกี่ยวกับการลงทะเบียนวิชาเรียน เช่น การลงทะเบียนน้อยกว่า มากกว่ากำหนด |

|การถอนวิชาโดยได้สัญลักษณ์ W การลงทะเบียนวิชาที่ต่ำกว่าหลักสูตร เป็นต้น โดย Click หัวข้อข้างบน |

|2007-10-09 23:20:12 |

|2008-12-31 23:20:43 |

|กลุ่มภารกิจทะเบียนเรียน |

| |

|. |

|. |

|. |

| |

บทที่ 4

การพัฒนาโปรแกรม

1. การพัฒนาระบบตอบรับอัตโนมัติ

การพัฒนาระบบตอบรับอัตโนมัติ จะมีการสร้างคลาสชื่อว่า StudentGradeIVR ซึ่ง extends คลาสชื่อว่า AGI ซึ่งเป็น API ของ Asterisk ที่สามารถเรียกใช้งานได้ โดยมีสคริปต์ของ IVR มาเรียกใช้งานคลาสนี้ ซึ่งในคลาสจะมีเมธอดให้เรียกใช้งานได้แก่ ฟังก์ชันในการรับสายและวางสาย ฟังก์ชันเกี่ยวกับเมนู ฟังก์ชันเกี่ยวกับการรับข้อมูลจากผู้ใช้งาน ฟังก์ชันเกี่ยวกับการดึงข้อมูลผลการเรียนซึ่งจะเรียกวาจาเว็บเซอร์วิส และฟังก์ชันเกี่ยวกับการแปลงข้อความเป็นเสียงซึ่งเรียกใช้วาจาเว็บเซอร์วิส

[pic]

รูปที่ 4.1 Class Diagram ในส่วนของระบบตอบรับอัตโนมัติ

2. การพัฒนาเว็บเซอร์วิส

การพัฒนาเว็บเซอร์วิส จะมีการสร้างคลาสชื่อว่า StudentGradeService ซึ่งมีสคริปต์ที่ให้บริการเว็บเซอร์วิสมาเรียกใช้งานคลาสนี้ โดยในคลาสมีเมธอดให้เรียกใช้งานโดยจะดึงข้อมูลของนักศึกษาจากฐานข้อมูลของสำนักทะเบียนและคืนค่าเป็นข้อมูล XML

[pic]

รูปที่ 4.2 Class Diagram ในส่วนของเว็บเซอร์วิส

3. การสังเคราะห์เสียง

ในส่วนของการสังเคราะห์เสียงจะเรียกใช้ VAJA Web Service ที่พัฒนาโดย NECTEC ซึ่งเรียกใช้บริการได้ที่ โดยส่งข้อความที่เป็นภาษาไทยเข้าไปและผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นไฟล์นาสกุล .wav ซึ่งจะทำการคัดลอกไฟล์นั้นมาไว้ที่ระบบเพื่อไม่ให้เรียกใช้การสังเคราะห์เสียงทุกครั้งสำหรับข้อความที่เคยสร้างเป็นเสียงไว้แล้ว

4. ฐานข้อมูลของสำนักทะเบียน

ในส่วนของฐานข้อมูลจะใช้เก็บข้อมูลของนักศึกษา จะเก็บข้อมูลอยู่ในฐานข้อมูล MySQL ฐานข้อมูลชื่อ regdb และรายละเอียดของตารางในฐานข้อมูลมีดังนี้

ตารางที่ 4.1 ตาราง student เก็บข้อมูลของนักศึกษา

|Field |Type |Key |Description |

|studentid |DECIMAL(12,0) |PK |รหัสนักศึกษาในระบบ |

|studentcode |VARCHAR(16) | |รหัสนักศึกษา |

|studentname |VARCHAR(100) | |ชื่อ (ภาษาไทย) |

|studentsurname |VARCHAR(100) | |นามสกุล (ภาษาไทย) |

|studentnameeng |VARCHAR(100) | |ชื่อ (ภาษาอังกฤษ) |

|studentsurnameeng |VARCHAR(100) | |นามสกุล (ภาษาอังกฤษ) |

|birthdate |DATE | |วันเดือนปีเกิด |

ตารางที่ 4.2 ตาราง course เก็บข้อมูลของรายวิชาที่มีอยู่

|Field |Type |Key |Description |

|courseid |DECIMAL(12,0) |PK |รหัสรายวิชาในระบบ |

|coursecode |VARCHAR(16) | |รหัสรายวิชา |

|revisioncode |VARCHAR(4) | |รหัส version รายวิชา |

|coursename |VARCHAR(100) | |ชื่อรายวิชา (ภาษาไทย) |

|coursenameeng |VARCHAR(100) | |ชื่อรายวิชา (ภาษาอังกฤษ) |

|credittotal |DECIMAL(5,2) | |จำนวนหน่วยกิต |

|grademode |VARCHAR(2) | |ระบบเกรด |

ตารางที่ 4.3 ตาราง grade เก็บข้อมูลเกรดที่ได้ในแต่ละรายวิชาของนักศึกษา

|Field |Type |Key |Description |

|studentid |DECIMAL(12,0) |PK, FK |รหัสนักศึกษาในระบบ |

|acadyear |DECIMAL(4,0) |PK, FK |ปีการศึกษา |

|semester |DECIMAL(1,0) |PK |ภาคการศึกษา |

|grade |VARCHAR(4) |PK |เกรดที่ได้ |

|grademode |VARCHAR(2) | |ระบบเกรด |

|courseid |DECIMAL(12,0) | |รหัสรายวิชาในระบบ |

|section |DECIMAL(6,0) | |กลุ่ม |

|lastupdatedatetime |DATETIME | |วันและเวลาที่ปรับปรุงล่าสุด |

ตารางที่ 4.4 ตาราง webmsg เก็บข่าวสารหรือประกาศต่างๆที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา

|Field |Type |Key |Description |

|webmsgid |DECIMAL(12,0) |PK |รหัสข้อความ |

|webtitle |VARCHAR(100) | |หัวข้อ |

|webmsg |TEXT | |ข้อความ |

|datefrom |DATETIME | |วันที่เริ่มประกาศ |

|dateto |DATETIME | |วันที่สิ้นสุดประกาศ |

|sender |VARCHAR(100) | |ผู้ส่ง |

|studentid |DECIMAL(12,0) | |ผู้รับ (ถ้ามี) |

บทที่ 5

ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ

1. บทสรุปการดำเนินงาน

การดำเนินงานแบ่งออกเป็น 5 ช่วงหลักๆ คือ ศึกษาค้นคว้าข้อมูล ออกแบบระบบ พัฒนาระบบ ทดสอบและปรับปรุงระบบ และจัดทำรายงานและคู่มือการใช้งาน

ช่วงที่ 1 ศึกษาค้นคว้าข้อมูล ศึกษารูปแบบการแจ้งผลการเรียนให้นักศึกษาได้ทราบของแต่ละมหาวิทยาลัยและเทคโนโลยีที่นำมาใช้ เช่น WAP, SMS, IVR เป็นต้น เนื่องจากโครงการนี้เป็นการนำเทคโนโลยี VoIP มาใช้เป็นหลัก เราจึงทำการศึกษาการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้จริงรวมทั้งปัญหาและอุปสรรคของหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะศูนย์คอมพิวเตอร์และสำนักทะเบียนซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับโครงงานนี้ จากนั้นศึกษาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ VoIP

ช่วงที่ 2 ออกแบบระบบ กำหนดโครงสร้างของระบบ และเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา จากนั้นออกแบบโปรแกรมในแต่ละส่วน ได้แก่ ระบบตอบรับอัตโนมัติ และเว็บเซอร์วิส ในส่วนของการสังเคราะห์เสียงจะเรียกใช้ Vaja เว็บเซอร์วิสของ NECTEC และในส่วนของฐานข้อมูลได้ทำหนังสือขอฐานข้อมูลผลการเรียนของสำนักทะเบียนมหาวิทยาลัยขอนแก่น นอกจากนี้ยังได้ทำหนังสือขออุปกรณ์สวิตซ์ที่รองรับ QoS สำหรับ VoIP และโทรศัพท์ไอพี เพื่อนำมาเพิ่มประสิทธิภาพในการทดสอบระบบด้วย

ช่วงที่ 3 พัฒนาระบบ มีการพัฒนาโปรแกรมใน 4 ส่วนหลักๆ ตามที่ได้ออกแบบไว้ คือ ระบบตอบรับอัตโนมัติ เว็บเซอร์วิส การสังเคราะห์เสียง และฐานข้อมูล

ช่วงที่ 4 ทดสอบและปรับปรุงระบบ ได้มีการทดสอบระบบเพื่อหาข้อบกพร่องของโปรแกรม และทำการปรับปรุงและเพิ่มเติมโปรแกรมบางส่วน คือ การออกจากการฟังระหว่างที่ฟังข้อมูลอยู่

ช่วงที่ 5 จัดทำรายงานและคู่มือการใช้งาน

จากการดำเนินงานทั้ง 5 ช่วง เราได้ระบบตอบรับอัตโนมัติที่สามารถแจ้งผลการเรียนล่าสุด แจ้งผลการเรียนตามภาคเรียนและปีการศึกษา แจ้งข่าวประกาศทั่วไป และแจ้งข่าวประกาศส่วนตัว

2. ปัญหาที่พบในการดำเนินงาน

เพื่อที่จะทำให้ระบบนี้ใช้งานได้จริงเราจึงได้ไปขอคำปรึกษาจากสำนักทะเบียน จึงทำให้ทราบปัญหาว่าทางสำนักทะเบียนไม่มีตู้ PBX เป็นของตัวเอง และทางศูนย์คอมพิวเตอร์ไม่มีเบอร์โทรศัพท์เหลือที่จะให้ทำการทดสอบระบบนี้ ทางสำนักทะเบียนก็ได้เสนอแนวทางแก้ไข คือ ให้ทำระบบนี้เป็นระบบจำลองก่อน และทางสำนักทะเบียนจะสนับสนุนในเรื่องของโครงสร้างของฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และระบบนี้อาจจะได้นำไปใช้จริงเมื่อทุกอย่างพร้อม

3. ข้อเสนอแนะ

ควรจะสามารถใช้งานบนระบบโทรศัพท์พื้นฐาน (PSTN) ได้ด้วย

4. แนวทางในการประยุกต์และพัฒนาต่อไป

ให้สามารถเชื่อมต่อกับระบบโทรศัพท์พื้นฐาน เพื่อใช้งานได้ทั้งในระบบโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายไอพีและระบบโทรศัพท์พื้นฐาน โดยใช้การ์ดเชื่อมต่อกับระบบโทรศัพท์พื้นฐาน (PSTN Interface card) และสามารถพัฒนาระบบให้สามารถอ่านข่าวประกาศจากเว็บไซต์ได้

ภาคผนวก

ภาคผนวก ก

การติดตั้งและการใช้งาน trixbox 2.4.0

1. การติดตั้ง trixbox 2.4.0 [27]

ข้อควรระวัง ในการติดตั้งโดยใช้ ISO นี้ จะทำการฟอร์แมทเครื่องคอมพิวเตอร์และลบข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ออกทั้งหมด

1. ดาวน์โหลด trixbox 2.4.0 จาก ซึ่งจะได้เป็นไฟล์ trixbox -2.2.4.iso ซึ่งเป็นไฟล์ ISO ออกมา แล้วเขียนไฟล์ ISO ลงแผ่นซีดี

2. เริ่มติดตั้ง trixbox 2.4.0 โดยบูทเครื่องจากแผ่นซีดี แล้วกด ENTER เพื่อทำการติดตั้ง

[pic]

รูปที่ ก.1 เริ่มติดตั้ง trixbox 2.4.0

3. ตั้งค่า Keyboard Type

[pic]

รูปที่ ก.2 ตั้งค่า Keyboard Type

4. ตั้งค่า Time Zone

[pic]

รูปที่ ก.3 ตั้งค่า Time Zone

5. ตั้งค่า Root Password ที่ใช้ในการล็อกอินเข้าสู่ระบบบน Linux command line

[pic]

รูปที่ ก.4 ตั้งค่า Root Password

6. รอจนกระทั่งติดตั้งจนเสร็จสิ้น โดยจะมีการรีบูทเครื่อง 2 ครั้ง จากนั้นก็สามารถใช้งาน trixbox 2.4.0 ได้

[pic]

รูปที่ ก.5 trixbox 2.4.0 ขณะติดตั้ง

7. หน้าตาของ trixbox 2.4.0 เมื่อบูทเครื่องขึ้นมา

[pic]

รูปที่ ก.6 หน้าตาของ trixbox 2.4.0 เมื่อบูทเครื่องขึ้นมา

2. การใช้งาน trixbox 2.4.0 [27]

1. ล็อกอินเข้าสู่ trixbox 2.4.0 โดยใช้ username เป็น root และ password ตามที่เราได้กำหนดไว้ในระหว่างการติดตั้ง

[pic]

รูปที่ ก.7 ล็อกอินเข้าสู่ trixbox 2.4.0

2. เมื่อล็อกอินเข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้ว จะปรากฏ IP address ที่ได้จากตัว DHCP server เราสามารถกำหนด IP address ให้กับระบบโดยใช้คำสั่ง netconfig และเมื่อต้องการกำหนดค่าของ IP address ใหม่ให้ทำการรีบูทระบบโดยใช้คำสั่ง reboot

[pic]

รูปที่ ก.8 กำหนด IP address ให้กับ trixbox 2.4.0

3. เราสามารถดูคำสั่งทั้งหมดที่ใช้ในการกำหนดค่าให้กับ trixbox 2.4.0 โดยใช้คำสั่ง help-trixbox

[pic]

รูปที่ ก.9 คำสั่ง help-trixbox

4. เข้าโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์แล้วไปที่ URL หรือ IP Address ของเครื่องที่ได้ทำการติดตั้ง trixbox 2.4.0 ไว้

5. คลิกที่ User mode switch เพื่อไปที่หน้าของ Admin GUI ให้ทำการล็อกอินโดยใช้ user เป็น maint และ pass เป็น password

[pic]

รูปที่ ก.10 เข้าสู่ Admin GUI

6. คลิกที่ Asterisk -> FreePBX เพื่อไปที่หน้าของ FreePBX configuration GUI

[pic]

รูปที่ ก.11 หน้าของ FreePBX configuration GUI

7. คลิกที่ tools -> module admin ดู module ที่เราสามารถ install ได้และทำการ install module ที่เราต้องการ

[pic]

รูปที่ ก.12 หน้า module admin ของ FreePBX

8. คลิกที่ setup -> extensions แล้วทำการเลือก Device เป็น Generic SIP Device เพื่อทำการเพิ่ม extension ใหม่ จากนั้นก็ทำการกด Submit

[pic]

รูปที่ ก.13 หน้า extensions ของ FreePBX

9. ที่หน้าของ Add SIP Extension ให้ใส่ค่าของ extension number ในช่องของ User Extension (เช่น 2163) ใส่ค่าของ Display Name (เช่น Tom) และใส่ค่าของ secret (เช่น 2163) เป็นอย่างน้อย เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้วให้กดที่ปุ่ม Submit

[pic]

รูปที่ ก.14 หน้าของ Add SIP Extension ของ FreePBX

10. เมื่อทำการ Submit แล้วให้กดแท่งสีแดงที่อยู่ด้านบนเพื่อเป็นการยืนการตั้งค่า

[pic]

รูปที่ ก.15 ยืนการตั้งค่า SIP Extension

ภาคผนวก ข

การติดตั้งและการใช้งาน X-Lite 3.0 for Windows

1. การติดตั้ง X-Lite 3.0 for Windows [26]

1. ดาวน์โหลด X-Lite v3.0 for Windows จาก . html ซึ่งจะได้ไฟล์ชื่อ X-Lite_Win32_1011s_41150.exe ดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์เพื่อทำการติดตั้ง

2. เริ่มติดตั้ง X-Lite v3.0 สำหรับ Windows

[pic] [pic]

[pic] [pic]

[pic] [pic]

รูปที่ ข.1 การติดตั้ง X-Lite v3.0 for Windows

3. เมื่อทำการติดตั้ง X-Lite v3.0 for Windows เสร็จ หน้าตาของโปรแกรมก็เป็นดังรูป

[pic]

รูปที่ ข.2 หน้าตาของโปรแกรม X-Lite v3.0 for Windows

2. การใช้งาน X-Lite 3.0 for Windows [26]

1. ไปที่ปุ่ม show menu แล้วเลือกที่ SIP Account Settings...

[pic]

รูปที่ ข.3 ปุ่ม show menu

2. เมื่อขึ้นหน้าต่างของ SIP Account ขึ้นให้เลือกที่ปุ่ม add...

[pic]

รูปที่ ข.4 หน้าต่างของ SIP Account

3. เมื่อขึ้นหน้าต่างของ Properties of Account ก็ทำการกำหนดค่าต่างๆเข้าไปดังนี้ เมื่อทำการตั้งค่าเสร็จให้กดปุ่ม OK

Display Name: ชื่อที่จะแสดงเมื่อมีการโทรออก

User Name: Account ที่ใช้ในการ register

Password: Password ที่ใช้ในการ register

Authorization user name: เบอร์ที่ใช้ในการโทรเข้า (ชื่อเดียวกับ User Name)

Domain: ชื่อที่อยู่ของเซิร์ฟเวอร์

Domain Proxy: ที่อยู่ของเซิร์ฟเวอร์ที่จะทำการโทรเข้าไปยังเครื่องเป้าหมาย

[pic]

รูปที่ ข.5 หน้าต่างของ Properties of Account

4. เมื่อทำการตั้งค่าเสร็จ หน้าต่างของ SIP Account ก็จะมีค่าที่เรากำหนดไว้ กดที่ปุ่ม close เพื่อทำการ register ไปยังเซิร์ฟเวอร์

[pic]

รูปที่ ข.6 หน้าต่างของ SIP Account

5. ถ้าทำการ register สำเร็จ บนหน้าจอของโปรแกรมก็จะขึ้นชื่อ account ของเราที่ทำการ register ไป

[pic]

รูปที่ ข.7 ชื่อ account ของเราที่ทำการ register ไป

6. ทำการทดสอบโดยกดเบอร์เพื่อโทรมาที่เครื่องตัวเอง ตรง taskbar ก็จะปรากฏหน้าต่างว่ามีคนโทรเข้ามา แสดงโปรแกรมสามารถใช้งานได้แล้ว

[pic]

รูปที่ ข.8 หน้าต่างเตือนว่ามีคนโทรเข้ามา

ภาคผนวก ค

การติดตั้งโปรแกรม

1. การติดตั้งโปรแกรมในส่วนของเว็บเซอร์วิส

1. ที่เซิร์ฟเวอร์ trixbox ให้สร้างไดเรกทอรีชื่อ studentgrade ที่โฟล์เดอร์ /var/www/html/ ด้วยคำสั่ง

mkdir /var/www/html/studentgrade

[pic]

รูปที่ ค.1 สร้างไดเรกทอรีชื่อ studentgrade

2. อัปโหลดไฟล์ที่อยู่ในโฟล์เดอร์ Setup Program (ในแผ่น CD) มาไว้ที่โฟล์เดอร์ /var/www/html/studentgrade ในเซิร์ฟเวอร์ trixbox

[pic]

รูปที่ ค.2 อัปโหลดไฟล์โปรแกรม

3. พิมพ์คำสั่งดังนี้

chmod -R 755 /var/www/html/studentgrade/

chown -R asterisk:asterisk /var/www/html/studentgrade/

[pic]

รูปที่ ค.3 เปลี่ยนสิทธิ์ในกาเข้าถึงโฟล์เดอร์

4. ที่เซิร์ฟเวอร์ trixbox สร้างฐานข้อมูลและนำข้อมูลของนักศึกษาลงในฐานข้อมูล MySQL ดังนี้

1. เข้าโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์แล้วไปที่ URL ที่ติดตั้ง phpMyAdmin ไว้ โดย username เป็น root และ password เป็น passw0rd

[pic]

รูปที่ ค.4 โปรแกรม phpMyAdmin

2. คลิกที่ import แล้วเลือกไฟล์ database/database_regdb.sql (ในแผ่น CD) แล้วกดปุ่ม Go เพื่อสร้างฐานข้อมูล

[pic]

รูปที่ ค.5 นำเข้าไฟล์ฐานข้อมูล

5. ที่เซิร์ฟเวอร์ trixbox ในไฟล์ /var/www/html/studentinfo/webservices/StudentGradeService.conf.php ให้แก้ไขตัวแปร STUDENTGRADE_DATABASE_HOST เป็น host ที่เราติดตั้งฐานข้อมูลอยู่ (เช่น 10.161.68.250)

[pic]

รูปที่ ค.6 ตั้งค่าตัวแปรสำหรับเว็บเซอร์วิส

2. การติดตั้งโปรแกรมในส่วนของระบบตอบรับอัตโนมัติ

1. ที่เซิร์ฟเวอร์ trixbox ให้สร้างไฟล์ชื่อ StudentGrade.php ที่โฟล์เดอร์ /var/www/html/studentgrade/ivr/ ด้วยคำสั่ง

nano /var/www/html/studentgrade/ivr/StudentGrade.php

แล้วแทรกสคริปต์เข้าไปดังนี้

#!/usr/bin/php

จากนั้น Save ไฟล์นี้แล้วพิมพ์คำสั่ง

chmod -R 755 /var/www/html/studentgrade/ivr/StudentGradeIVR.php

chown -R asterisk:asterisk /var/www/html/studentgrade/ivr/StudentGradeIVR.php

2. เข้าโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์แล้วไปที่ URL หรือ IP Address ของเครื่องที่ได้ทำการติดตั้ง trixbox ไว้ คลิกที่ User mode switch เพื่อไปที่หน้าของ Admin GUI ให้ทำการล็อกอินโดยใช้ user เป็น maint และ password เป็น password

[pic]

รูปที่ ค.7 เข้าสู่ Admin GUI ของ trixbox

3. คลิกที่ Asterisk -> Config Edit เพื่อไปที่หน้าของ phpconfig for Asterisk PBX

[pic]

รูปที่ ค.8 หน้าของ phpconfig for Asterisk PBX

4. คลิกที่ extensions_custom.conf แทรกสคริปต์ก่อนบรรทัด [custom-meetme3] ดังนี้

exten => 2222,1,AGI(/var/www/html/studentgrade/ivr/StudentGrade.php)

คลิกปุ่ม Update แล้วคลิกที่ Re-Read Configs

[pic]

รูปที่ ค.9 แทรกสคริปต์ใน extensions_custom.conf

5. ที่เซิร์ฟเวอร์ trixbox ในไฟล์ /var/www/html/studentgrade/ivr/StudentGradeIVR.conf.php เพื่อแก้ไขค่าตัวแปรต่างๆ เช่น STUDENTGRADE_VAJA_WSDL เพื่อกำหนดที่อยู่เว็บเซอร์วิสของโปรแกรมสังเคราะห์เสียง และ STUDENTGRADE_SERVICE_WSDL เพื่อกำหนดที่อยู่ของเว็บเซอร์วิสเพื่อดึงข้อมูลของนักศึกษา

[pic]

รูปที่ ค.10 ตั้งค่าตัวแปรในระบบตอบรับอัตโนมัติ

6. ใช้โปรแกรม X-Lite 3.0 for Windows โทรศัพท์ไปที่หมายเลข 2222

ภาคผนวก ง

การใช้งานโปรแกรม

เปิดโปรแกรม X-Lite 3.0 for Windows จากนั้นโทรไปที่เบอร์ 2222

[pic]

รูปที่ ง.1 โปรแกรม X-Lite 3.0 for Windows

ฟังข้อความต้อนรับและเลือกโหมดการรับฟัง

- กด 1 เพื่อฟังข่าวประกาศทั่วไป โดยส่วนใหญ่จะเป็นข่าวประกาศจากทางมหาวิทยาลัยหรือจากอาจารย์

- กด 2 เมื่อต้องการฟังข้อมูลของนักศึกษา ซึ่งประกอบด้วย ข่าวประกาศส่วนตัว ผลการเรียนล่าสุด ผลการเรียนตามภาคเรียนและปีการศึกษา

กด 1

ระบบจะทำการอ่านประกาศทั่วไปให้ฟังโดยเริ่มจากหัวข้อของข่าวไปจนถึงรายละเอียดของข่าว โดยแต่ละข้อความของข่าวนั้นถูกแยกด้วยเสียงเงียบ หลังจากระบบอ่านข่าวประกาศทั้งหมดจนครบแล้ว ระบบจะให้ผู้ใช้เลือกว่าจะฟังซ้ำ, กลับสู่เมนูหลัก หรือ ออกจากระบบ โดย

- กด 1 เพื่อฟังซ้ำ

- กด 2 เพื่อกลับสู่เมนูหลัก

- กด 0 เพื่อออกจากระบบ

กด 2

ระบบจะตรวจผู้ใช้โดยให้ผู้ใช้ป้อนรหัสนักศึกษาจำนวน 10 หลัก ซึ่งเป็นตัวเลขทั้งหมดที่ไม่มีขีด เช่น ถ้าผู้ใช้มีรหัสนักศึกษาเป็น 493040160-9 ข้อมูลที่จะถูกป้อนเป็น 4930401609 ในกรณีที่ป้อนรหัสผิดให้หยุดป้อนสักครู่ ระบบจะแจ้งว่า “คุณป้อนข้อมูลไม่ถูกต้อง” และให้คุณป้อนใหม่ เมื่อป้อนครบ 10 หลักแล้ว ระบบจะให้ป้อนวันเดือนปีเกิดจำนวน 8 หลัก ในขั้นตอนต่อไป ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ใช้เกิดวันที่ 1 เดือน มีนาคม พ.ศ.2531 ข้อมูลที่ถูกป้อนจะเป็น 01032531 เป็นต้น

เมื่อผ่านการตรวจสอบผู้ใช้แล้วระบบจะทวนรหัสนักศึกษาที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไปให้ฟังอีกครั้งก่อนที่จะให้เลือกโหมดในการฟัง

- กด 1 เพื่อฟังข่าวประกาศส่วนตัว

- กด 2 เพื่อฟังผลการเรียนเทอมล่าสุด

- กด 3 เพื่อฟังผลการเรียนตามภาคเรียนและปีการศึกษาที่กำหนด

- กด 4 เพื่อกลับสู่เมนูหลัก ในที่นี้หมายถึงเมนูก่อนหน้า

เมื่อกด 1

ระบบจะอ่านข่าวประกาศส่วนตัวให้ฟัง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข่าวเกี่ยวกับการลงทะเบียนและหนี้ที่ค้างชำระ หลังจากระบบอ่านข่าวประกาศทั้งหมดจนครบแล้ว ระบบจะให้ผู้ใช้เลือกว่าจะฟังซ้ำ, กลับสู่เมนูหลัก หรือ ออกจากระบบ โดย

- กด 1 เพื่อฟังซ้ำ

- กด 2 เพื่อกลับสู่เมนูหลัก ในที่นี้คือเมนูก่อนหน้า

- กด 0 เพื่อออกจากระบบ

เมื่อกด 2

ระบบจะอ่านข้อมูลของรายวิชาที่ผลการเรียนออกในเทอมล่าสุดให้ฟังโดยเริ่มต้นจากรหัสวิชา ชื่อวิชาที่เป็นภาษาไทย จำนวนหน่วยกิต และเกรดที่ได้ เมื่อระบบอ่านทุกวิชาที่ผลการเรียนออกจนครบ ระบบจะให้ผู้ใช้เลือกว่าจะฟังซ้ำ, กลับสู่เมนูหลัก หรือ ออกจากระบบ โดย

- กด 1 เพื่อฟังซ้ำ

- กด 2 เพื่อกลับสู่เมนูหลัก ในที่นี้คือเมนูก่อนหน้า

- กด 0 เพื่อออกจากระบบ

เมื่อกด 3

ระบบจะให้ผู้ใช้ระบบภาคการเรียนด้วยตัวเลขจำนวน 1 หลักและตามด้วยปีการศึกษาจำนวน 4 หลัก หลังจากนั้นระบบจะทำการอ่านข้อมูลเช่นเดียวกับการกด 2

บรรณานุกรม

1] นางสาวทิพวรรณ เกียรติสิน และคณะ. Voice over IP (VoIP) [ออนไลน์] 22 มีนาคม 2549 [อ้างเมื่อ 26 มิถุนายน 2007]. จาก

2] สมิทธิชัย ไชยวงศ์, รังสิมา เกียรติยุทธชาติ. Voice over IP (VoIP) คืออะไร [ออนไลน์] 6 เมษายน 2550 [อ้างเมื่อ 20 กรกฎาคม 2550]. จาก

3] งานวิจัยเทคโนโลยีเสียงพูด ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. วาจา – ข้อความสู่เสียงพูด (Vaja TTS) [ออนไลน์] 8 พฤษภาคม 2550 [อ้างเมื่อ 20 กรกฎาคม 2550]. จาก

4] วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. ซอฟต์แวร์สังเคราะห์เสียงพูด [ออนไลน์] 1 กันยายน 2549 [อ้างเมื่อ 20 กรกฎาคม 2550]. จาก ซอฟต์แวร์สังเคราะห์เสียงพูด

5] ผศ. ดร. กานดา รุณนะพงศา. XML and Web Services [ออนไลน์] 22 พฤษภาคม 2550 [อ้างเมื่อ 20 กรกฎาคม 2550]. จาก

6] นายปโยธร เวชกามา, นางสาว จิตราภรณ์ แก้วกิ่ง. เว็บ 2.0 ซอฟต์แวร์เพื่อบริการช่วยเหลือและสนับสนุนลูกค้า [ออนไลน์] 1 กันยายน 2549 [อ้างเมื่อ 20 กรกฎาคม 2550]. จาก

7] randulo. Asterisk Introduction [online] 2007 Jul 12 [Cited 2007 Jul 23]. Available from:

8] gaiz. Asterisk [ออนไลน์] 27 กุมภาพันธ์ 2549 [อ้างเมื่อ 23 กรกฎาคม 2550]. จาก

9] มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์. WAP คืออะไร [ออนไลน์] 24 ตุลาคม 2544 [อ้างเมื่อ 5 กรกฎาคม 2550]. จาก URL: คืออะไร.html

10] ฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา. ตรวจสอบผลการเรียนผ่านโทรศัพท์มือถือ [ออนไลน์] 9 กุมภาพันธ์ 2550 [อ้างเมื่อ 30 มิถุนายน 2550]. จาก

11] สำนักส่งเสริมวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. คู่มือการใช้งานการตรวจสอบผลการเรียนผ่าน wap ของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน [ออนไลน์] 28 มีนาคม 2549 [อ้างเมื่อ 30 มิถุนายน 2550]. จาก

12] วรมล ดำรงศิลป์สกุล. SMS ช่วยชีวิต...นาทีวิกฤตของคุณได้ [ออนไลน์] 24 สิงหาคม 2548 [อ้างเมื่อ 28 มิถุนายน 2550]. จาก

13] ระบบลงทะเบียนผ่านอินเตอร์เน็ต มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ฟรี! อัพเดททุกข่าวการศึกษา [ออนไลน์] 13 มิถุนายน 2550 [อ้างเมื่อ 30 มิถุนายน 2550]. จาก

14] มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. การตรวจสอบผลการเรียนด้วยระบบ SMS ผ่านโทรศัพท์มือถือ [ออนไลน์] 13 มิถุนายน 2550 [อ้างเมื่อ 30 มิถุนายน 2550]. จาก

15] nutty_comscikmitl@. ระบบ IVR ทำงานยังไง? [ออนไลน์] 13 มิถุนายน 2550 [อ้างเมื่อ 30 มิถุนายน 2550]. จาก

16] ระบบลงทะเบียนผ่านอินเตอร์เน็ต มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ขั้นตอนการลงทะเบียนเรียนทางโทรศัพท์ [ออนไลน์] 24 กรกฎาคม 2546 [อ้างเมื่อ 30 มิถุนายน 2550]. จาก

17] สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. มาทำความรู้จักกับระบบ IVR กันดีกว่า [ออนไลน์] 18 มกราคม 2545 [อ้างเมื่อ 26 มิถุนายน 2550]. จาก

18] ดร. กุลวดี ศรีพานิชกุลชัย และคณะ. ระบบฟังข่าวอัตโนมัติ [ออนไลน์] 20 มีนาคม 2549 [อ้างเมื่อ 20 กรกฎาคม 2550]. จาก

19] Diguim. Asterisk [online] 2007 Jun 14 [Cited 2007 Jun 19]. Available from:

20] Atengo. FreePBX [online] 2007 Jul 8 [Cited 2007 Jul 23]. Available from:

21] CentOS. CentOS The Community ENTerprise Operating System [online] 2007 Jun 4 [Cited 2007 Jun 4]. Available from:

22] Fonality and trixbox. What is trixbox? [online] 2007 Jun 19 [Cited 2007 Jun 19]. Available from:

23] The Apache Software Foundation. Apache HTTP Server Project [online] 2007 Aug 6 [Cited 2007 Aug 17]. Available from:

24] The PHP Group. What is PHP? [online] 2007 Aug 6 [Cited 2007 Aug 17]. Available from:

25] MySQL AB. MySQL The world's most popular open source database [online] 2007 Aug 16 [Cited 2007 Aug 17]. Available from:

26] CounterPath Solutions Inc. X-Lite [online] 2007 Jun 18 [Cited 2007 Jun 19]. Available from:

27] Fonality and trixbox. trixbox quick install guide [online] 2007 Sep 10 [Cited 2007 Sep 10]. Available from: , 10 September 2007

28] งานวิจัยเทคโนโลยีเสียงพูด ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. VAJA Web service [online] 2007 Jul 10 [Cited 2007 Sep 3]. Available from:

................
................

In order to avoid copyright disputes, this page is only a partial summary.

Google Online Preview   Download