หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด (สาขาประเภทที่ 3 )



เกณฑ์การเปิดหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด

เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ ความชำนาญ ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม

อนุสาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย

(หลักสูตรใหม่) พ.ศ.2547

1. ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ ความชำนาญ ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม

อนุสาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด

ภาษาอังกฤษ Fellowship Training in Vascular Surgery

2. ชื่อคุณวุฒิ

ชื่อภาษาไทย วุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม

อนุสาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด

ชื่อภาษาอังกฤษ Diploma, Thai Subspecialty Board of Vascular Surgery

3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

คณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบอนุสาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด เสนอโดยราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทยรับรองโดยแพทยสภา เป็นผู้ดำเนินการกำหนดหลักสูตร จัดการประเมินผลและสอบเพื่อวุฒิบัตร

4. หลักการและเหตุผลในการจะเปิดหลักสูตร

โรคของหลอดเลือดเป็นสาเหตุการตาย และภาวะทุพพลภาพ อันดับต้นๆ ของประชากรในประเทศไทย อุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดพบได้ประมาณ ร้อยละ 5 ของประชากรทีมีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป โรคของหลอดเลือดนั้น หากไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องหรือได้รับการดูแลรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพจากการสูญเสียแขนขา หรือเสียชีวิต ได้โดยง่าย เป็นภาระแก่สังคมและมีการสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมาก ดังนั้นแพทย์ผู้ดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือด จำเป็นต้องมีความรู้ เรื่องโรคหลอดเลือดที่ถูกต้องทั้งด้านป้องกันรักษา และฟื้นฟูสุขภาพรวมถึงมีเจตคติที่ดีในการแนะนำให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ

1

หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดเพื่อวุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด พ.ศ.2547

ประเทศไทยยังขาดแคลนศัลยแพทย์ที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านศัลยกรรมหลอดเลือด ไม่สามารถรองรับปริมาณผู้ป่วยโรคหลอดเลือดที่มีอยู่เป็นจำนวนมากทั่วประเทศได้ การผ่าตัดโดยศัลยแพทย์ ที่ไม่คุ้นเคยกับโรคหลอดเลือด อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนภายหลังการรักษา หรือการสูญเสียแขนขาโดยไม่จำเป็นและต้องส่งผู้ป่วยมารับการรักษาต่อมากขึ้นเรื่อยๆ

การฝึกอบรมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในสาขาวิชาศัลยศาสตร์หลอดเลือด เป็นแนวทางในการลดปัญหาความขาดแคลนศัลยแพทย์โรคหลอดเลือด แพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมจะมีความรู้ความชำนาญในการดูแลรักษา ผู้ป่วยโรคนี้ได้เป็นอย่างดี เป็นที่พึ่งทั้งด้านบริการและทางวิชาการแก่โรงพยาบาลในจังหวัดใกล้เคียงได้อย่างเต็มที่

5. กำหนดการเปิดฝึกอบรม

เปิดการฝึกอบรมวันที่ 1 มิถุนายน ของทุกปีการศึกษา

6. อาจารย์แพทย์ผู้ให้การฝึกอบรม

6.1 คุณสมบัติของอาจารย์ผู้ให้การฝึกอบรม

อาจารย์ผู้ให้การฝึกอบรม จะต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 2 คน โดยเป็นผู้ที่ได้รับ วุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติบัตรอนุสาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด หรือปฏิบัติงานทางด้านศัลยศาสตร์หลอดเลือดเป็นเวลาอย่างน้อย 10 ปี

6.2 จำนวนอาจารย์ผู้ให้การฝึกอบรม

6.2.1 สถาบันฝึกอบรมต้องมีอาจารย์ผู้ฝึกอบรมเต็มเวลาอย่างน้อย 2 คน หากมีจำนวนอาจารย์ผู้ฝึกอบรมเต็มเวลาไม่พอ ต้องจัดให้มีอาจารย์แบบไม่เต็มเวลาได้ไม่มากกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนอาจารย์ทั้งหมดและภาระงานอาจารย์แบบไม่เต็มเวลาเมื่อรวมกันทั้งหมดจะต้องไม่น้อยกว่าภาระงานของจำนวนอาจารย์ผู้ให้การฝึกอบรมแบบเต็มเวลาที่ขาดไป

6.2.2 ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย กำหนดให้สถาบันฝึกอบรมรับผู้เข้าฝึกอบรมได้ในสัดส่วนปีละชั้นละ 1 คน ต่ออาจารย์ผู้ฝึกอบรมเต็มเวลา 2 คน

7. จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม

ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย กำหนดให้สถาบันฝึกอบรมรับผู้เข้าฝึกอบรมได้ในสัดส่วนปีละชั้นละ 1 คน ต่ออาจารย์ผู้ฝึกอบรมเต็มเวลา 2 คน ยกเว้นใน 5 ปีแรก ให้มีการอบรมในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 และสถาบันฝึกอบรมต้องมีงานบริการตามตารางดังนี้

2

หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดเพื่อวุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด พ.ศ.2547

|จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมปีละ ชั้นละ |1 |2 |3 |4 |5 |

|จำนวนอาจารย์ผู้ให้การฝึกอบรม |2 |3 |4 |5 |6 |

|จำนวนผู้ป่วยนอกโรคหลอดเลือด ครั้ง/ปี |500 |850 |1362 |1495 |1826 |

|จำนวนผู้ป่วยในโรคหลอดเลือด ครั้ง/ปี |250 |400 |560 |720 |880 |

|หัตถการ(ทำเอง).........ครั้ง/ปี |225 |375 |525 |675 |820 |

|หัตถการ(ช่วย)……….ครั้ง/ปี |300 |500 |700 |900 |1100 |

8. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม

1. ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา

2. ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขา

ศัลยศาสตร์จากแพทยสภา

3. ได้รับวุฒิบัตรสาขาศัลยศาสตร์จากสถาบันต่างประเทศ โดยการรับรองของแพทยสภา

9. ระยะเวลาการฝึกอบรม

หลักสูตรการฝึกอบรมมีระยะเวลา 2 ปี

10. วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม

เมื่อผ่านการฝึกอบรม ผู้รับการฝึกอบรมสามารถ

10.1 มีความรู้ทักษะและประสบการณ์ในการวินิจฉัยโรคหลอดเลือด และให้การรักษาผู้ป่วยอย่างมี

ประสิทธิภาพ 10.2 มีความรู้ทักษะ และประสบการณ์ในการวิจัย เกี่ยวกับโรคของหลอดเลือด เพื่อนำองค์ความรู้ใหม่มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วย

10.3 มีความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคของหลอดเลือด สามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่ แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ตลอดทั้งให้คำปรึกษาแนะนำปัจจัยเสี่ยงและการป้องกันการเกิดโรคของหลอดเลือดแก่ชุมชนได้

10.4 มีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติ ที่ดีต่อผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย ผู้ร่วมงานเพื่อนร่วมวิชาชีพ และชุมชนโดยคำนึงถึงหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพและกฎหมาย

3

หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดเพื่อวุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด พ.ศ.2547

11. เนื้อหาสังเขปการฝึกอบรม ( รายละเอียดอยู่ในภาคผนวก )

11.1 ความรู้พื้นฐานทางด้านศัลยศาสตร์หลอดเลือด

11.1.1 กายวิภาคประยุกต์ของระบบหลอดเลือด

11.1.2 สรีรวิทยาประยุกต์ของระบบไหลเวียนเลือด

11.1.3 พยาธิวิทยาของโรคหลอดเลือด

11.1.4 การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดทางคลินิก

11.1.5 การตรวจพิเศษเพื่อการวินิจฉัย และประเมินความรุนแรงของโรคหลอดเลือด

11.1.6 การประเมิน และเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดหลอดเลือดและการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด

ทั้งในภาวะฉุกเฉินและไม่ฉุกเฉินตลอดจนภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ พร้อม

ทั้งการแก้ไขและป้องกัน

11.1.7 ขั้นตอนและวิธีการผ่าตัดหลอดเลือด การใช้หลอดเลือดเทียม และเครื่องมือพิเศษที่

ใช้ในการผ่าตัดหลอดเลือด

11.2 ทักษะทางการดูแลและรักษาโรคศัลยศาสตร์หลอดเลือด

11.2.1 สามารถให้การวินิจฉัยทางคลินิกของโรคทางศัลยศาสตร์หลอดเลือด

11.2.2 สามารถใช้เครื่องมือพิเศษเช่น Doppler ultrasound หรือ Duplex scanning ใน

การวินิจฉัยโรคหลอดเลือด ตลอดจนการแปลผลและประเมินสภาพความรุนแรง

ของโรคได้อย่างถูกต้อง

11.2.3 สามารถประเมินวางแผน และเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดตลอดจนสามารถให้การดูแล

หลังผ่าตัดได้อย่างถูกต้อง

11.2.4 สามารถทำการผ่าตัดหลอดเลือดชนิดต่างๆ ได้ถูกต้องตามขั้นตอนดังนี้

- การเย็บซ่อมหลอดเลือดแดง-ดำ

- การผ่าตัดแก้ไขภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ของหลอดเลือดแดง ( Arterial Embolism )

- การผ่าตัดเปลี่ยนทางเดินหลอดเลือดแดง ( Arterial Bypass Surgery )

- การผ่าตัดใส่หลอดเลือดเทียมในโรคหลอดเลือดโป่งพอง ( Graft Replacement

for the Treatment of Aneurysms)

- การผ่าตัดรักษา ภาวะอุบัติเหตุของหลอดเลือด(Vascular Trauma)

การผ่าตัดสร้างและ แก้ไขหลอดเลือดเพื่อการฟอกเลือด ( Vascular Access Surgery for Hemodialysis )

4

หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดเพื่อวุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด พ.ศ.2547

- การผ่าตัดรักษาโรคหลอดเลือดดำขอด (Varicose Veins) และการผ่าตัดโรคที่มีการเสื่อมสภาพที่ลิ้นของหลอดเลือดดำ (Venous Valvuloplasty, Venous Valve Reconstruction)

11.2.5 สามารถให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคของหลอดเลือดดำ

11.2.6 สามารถให้การดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของทางเดินน้ำเหลือง

11.2.7 สามารถให้การดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของหลอดเลือดโดยกำเนิด

11.2.8 สามารถให้การวินิจฉัยและรักษา ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคของหลอดเลือด

ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

11.2.9 มีความรู้ ความเข้าใจ ในศัลยศาสตร์หลอดเลือดแนวใหม่ที่เป็นทางเลือกจากการ

รักษาผ่าตัดมาตรฐาน เช่น Endovascular Surgery และ Minimally Invasive

Vascular Surgery

11.3 งานวิจัย

11.3.1 มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำวิจัย หลักการและวิธีการวิจัยโรคหลอดเลือด

11.3.2 สามารถวิเคราะห์ และนำเสนอผลงานวิจัยได้

12. การจัดประสบการณ์เรียนรู้

12.1 ร่วมกิจกรรมทางวิชาการต่างๆ ของสาขาวิชาโดยสม่ำเสมอ ได้แก่

12.1.1 Morbidity& Mortality Conference ไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง/เดือน

12.1.2 Case Conference/ Interesting Case ไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง/เดือน

12.1.3 ประชุมวารสารสโมสร(Journal Club) ไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง/เดือน

12.1.4 การบรรยายทางวิชาการ/Topic Review ไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง/เดือน

12.1.5 การเรียนการสอนข้างเตียง/Grand Round ไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง/เดือน

12.1.6 การประชุมระหว่างสถาบัน (Interhospital) ไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง/ปี

12.2 ปฏิบัติงานทางคลินิก

12.2.1 ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือด ที่อยู่ภายใต้การดูแลของศัลยแพทย์ประจำหลักสูตร

12.2.2 ทำหน้าที่ศัลยแพทย์ หรือ ศัลยแพทย์ผู้ช่วย ในการทำผ่าตัดหลอดเลือดทั้งใน

ภาวะฉุกเฉิน และไม่ฉุกเฉิน

12.2.3 ตรวจผู้ป่วยใหม่ และติดตามผลการรักษาผู้ป่วยหลังผ่าตัด ในคลินิกโรคหลอด

เลือด

5

หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดเพื่อวุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด พ.ศ.2547

12.2.4 รับปรึกษาโรคหลอดเลือดจากหน่วยอื่น ภายในโรงพยาบาลหรือผู้ป่วยรับ ส่งต่อ

12.2.5 ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้แก่ แพทย์ประจำบ้านศัลยศาสตร์ ในการวินิจฉัย และ

ดูแลรักษาโรคหลอดเลือด ทั้งในและนอกเวลาราชการ

12.2.6 ต้องปฎิบัติงานในสถาบันหลักไม่น้อยกว่า 18 เดือน

12.2.7 มีช่วงเวลา elective ไม่เกิน 6 เดือน ในแผนกรังสีวิทยา ( Noninvasive

vascular imaging vascular intervention radiology, Noninvasive

vascular imaging vascular intervention radiology) และแผนก

Cerebrovascular unit

12.3 มีประสบการณ์การผ่าตัดที่สำคัญดังนี้

12.3.1 ผ่าตัดด้วยตนเองดังนี้

• Vascular access for hemodialysis อย่างน้อย 50 ราย

• Arterial bypass surgery อย่างน้อย 10 ราย

• Surgery for aneurysm อย่างน้อย 10 ราย

• Surgery for vascular injury อย่างน้อย 20 ราย

• Surgery for acute arterial occlusion อย่างน้อย 10 ราย

• Amputation อย่างน้อย 20 ราย

• Venous surgery อย่างน้อย 20 ราย

12.3.2 ได้เป็นผู้ช่วยคนแรก (first assistant) ในการผ่าตัดต่างๆ ไม่น้อยกว่า 100 ราย

12.3.3 ได้ตรวจผู้ป่วยนอกด้านโรคหลอดเลือดไม่ต่ำกว่า 200 ราย

12.3.4 ได้ดูแลรักษาผู้ป่วยในด้านโรคหลอดเลือดไม่ต่ำกว่า 100 ราย

12.4 การวิจัย ต้องมีผลงานการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ หรือนำเสนอในที่ประชุมราชวิทยาลัยศัลยแพทย์ฯ หรือในการประชุมนานาชาติ หรือในการประชุมระดับชาติ หรือในการประชุมวิชาการประจำปีของชมรมแพทย์โรคหลอดเลือดแห่งประเทศไทยอย่างน้อย 1 เรื่อง

คุณสมบัติของสถาบันฝึกอบรม

1. สถาบันฝึกอบรมต้องผ่านการรับรองมาตรฐานการฝึกอบรมตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น โดยคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบฯ สาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย

ได้รับการแต่งตั้งโดยแพทยสภา

6

หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดเพื่อวุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด พ.ศ.2547

2. สถาบันฝึกอบรมต้องมีศักยภาพเพียงพอในการจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยต้องมีจำนวนผู้ป่วยที่เพียงพอ จัดตารางการอยู่เวรนอกเวลาราชการอย่างเหมาะสม มีแหล่งค้นคว้าที่ทันสมัย จัดเวลาให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เข้าร่วมประชุมวิชาการในระดับต่างๆ ทั้งนี้ระบบการฝึกอบรมต้องอยู่ในการดูแลและแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับจากคณะอนุกรรมการฝึกอบรม และสอบฯสาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยแพทยสภา

3. ผู้รับผิดชอบดูแลการฝึกอบรมและอาจารย์ผู้ฝึกอบรมต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนด โดยคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบฯสาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยแพทยสภา

4. สถาบันฝึกอบรมต้องมีอาจารย์ผู้ให้การฝึกอบรมที่มีคุณสมบัติครบถ้วนอย่างน้อย 2 คน

5. ระบบการฝึกอบรมสาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด ต้องไม่ซ้ำซ้อนกับระบบการฝึกอบรมของแพทย์ประจำบ้านที่มีอยู่แล้วในสถาบันนั้นๆ ทั้งนี้หลักสูตรการฝึกอบรมจะมุ่งเน้นให้ผู้ฝึกอบรมเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการรักษาโรคหลอดเลือดซับซ้อน และมีความรู้เฉพาะด้านในแนวลึก สามารถเป็นที่ปรึกษาให้กับแพทย์ประจำบ้านได้

13. การประเมินผู้เข้ารับการฝึกอบรม

สถาบันฝึกอบรมจะต้องจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ที่ฝึกอบรม ดังนี้

13.1 การประเมินระหว่างการฝึกอบรม สถาบันฝึกอบรมจะต้องจัดให้มีการประเมินผลผู้เข้ารับการฝึก

อบรมเมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรม ในแต่ละปีเพื่อเลื่อนระดับชั้น (ระดับในด้าน clinical skill, research progression และ attitude)

13.2 การประเมินเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม อนุสาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด

13.2.1 ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

1. ผู้สมัครสอบเพื่อวุฒิบัตรอนุสาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด ต้องเป็นสมาชิกราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย หรือ เป็นผู้ได้รับหนังสืออนุมัติหรือ วุฒิบัตรในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาศัลยศาสตร์ของแพทยสภาแล้ว

2. ผู้สมัครสอบเพื่อวุฒิบัตร มีสิทธิในการสมัครสอบ ภายในเวลา 5 ปีนับจากหลังการฝึกอบรม

3. ต้องเป็นผู้ที่สถาบันที่ให้การฝึกอบรมเห็นสมควรให้เข้าสอบได้

7

หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดเพื่อวุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด พ.ศ.2547

4. มีหลักฐานรับรองจากสถาบันฝึกอบรมว่ามีประสบการณ์ภาคปฏิบัติตามที่กำหนด และสมควรให้เข้าสอบได้

5. มีผลงานวิจัยอย่างน้อย 1 เรื่อง ในระหว่างการฝึกอบรมภายใต้การกำกับดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา ผลงานการศึกษาที่จบสิ้นแล้วนั้นจะต้องมีนิพนธ์ต้นฉบับ และต้องผ่านการนำเสนอในที่ประชุมวิชาการภายในหรือภายนอกประเทศ หรือได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์

13.2.2 วิธีการประเมินประกอบด้วยการสอบข้อเขียนและการสอบสัมภาษณ์

ก. การสอบข้อเขียน (Written Examination) เป็นการสอบภาคทฤษฎี เช่น ข้อสอบ MCQ, MEQ,

True-False

ข. การสอบสัมภาษณ์ ( Oral Examination) ประกอบด้วยการสอบสัมภาษณ์เพื่อดู แนวทางการปฏิบัติ แนวทางการตัดสินใจ และการให้การรักษา การสอบ spot diagnosis ฯลฯ

ค. เกณฑ์การตัดสินผ่าน

• ต้องผ่านทั้งการสอบข้อเขียน และการสอบสัมภาษณ์

• การสอบข้อเขียน ตัดสินแบบอิงเกณฑ์ กำหนดเกณฑ์ผ่าน ร้อยละ 60

• การสอบสัมภาษณ์ ต้องได้คะแนนสอบผ่านจากคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ 5 ใน 6 ท่าน

• ในกรณีที่สอบผ่านข้อเขียน แต่สอบสัมภาษณ์ไม่ผ่าน ให้ทำการสอบซ่อมเฉพาะการสอบสัมภาษณ์ ภายในเวลา 6 เดือน ซึ่งคณะกรรมการฝึกอบรมและสอบอนุสาขาศัลยศาสตร์หลอด

เลือด จะจัดให้มีขึ้นในเดือนมกราคมของปีถัดไป ถ้าหากยังสอบสัมภาษณ์ไม่ผ่านอีก จะต้องไปสอบทั้งข้อเขียน และสอบสัมภาษณ์ ในปีถัดไป

• ถ้าผู้สอบเพื่อวุฒิบัตร สอบไม่ผ่านในระยะเวลา 5 ปีหลังจากการฝึกอบรม ถือว่าผู้สอบหมดสิทธิในการสมัครสอบเพื่อวุฒิบัตร

13.3 การสอบเพื่อหนังสืออนุมัติฯ

13.3.1 ต้องเป็นผู้ที่ได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ในการประกอบวิชาชีพ เวชกรรมสาขาศัลยศาสตร์ของแพทยสภา

13.3.2 ต้องเป็นผู้ที่ได้ทำงานเกี่ยวกับศัลยศาสตร์หลอดเลือดมาไม่น้อยกว่า 10 ปี

13.3.3 การสอบและเกณฑ์การตัดสินขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบฯ

13.3.4 ศัลยแพทย์ที่ทำงานเกี่ยวกับศัลยศาสตร์หลอดเลือดมาไม่น้อยกว่า 10 ปีและมีผลงานการวิจัยทางด้านศัลยศาสตร์หลอดเลือด อย่างสม่ำเสมอ เป็นที่ยอมรับในวงการศัลยศาสตร์หลอดเลือด จะทำการสอบสัมภาษณ์ เพียงประการเดียว

8

หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดเพื่อวุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด พ.ศ.2547

13.3.5 ศัลยแพทย์ผู้ได้วุฒิบัตรอนุสาขา ศัลยศาสตร์หลอดเลือดจากต่างประเทศที่แพทยสภารับรองจะทำการสอบสัมภาษณ์ เพียงประการเดียว

14. การประกันคุณภาพการฝึกอบรม

คณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบอนุสาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด ซึ่งแต่งตั้งโดยราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย และได้รับการรับรองโดยแพทยสภาจะมีอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบในการประกันคุณภาพการศึกษาดังนี้คือ

1. ตรวจรับรองคุณสมบัติของสถาบันฝึกอบรม

2. กำหนดระยะเวลา ในการรับรองและติดตามผล สถาบันฝึกอบรมตามระเบียบของแพทยสภา

3. กำกับดูแล ควบคุม ให้การฝึกอบรม เป็นไปตามหลักสูตรที่กำหนดไว้

4. จัดการสอบเพื่อให้ได้ วุฒิบัตร หรือ หนังสืออนุมัติฯ ปีละ 1 ครั้ง

9

หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดเพื่อวุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด พ.ศ.2547

ภาคผนวกที่ 1

รายนามคณะอนุกรรมการจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด

อนุสาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด

นายแพทย์โสภณ จิรสิริธรรม ประธานคณะอนุกรรมการ

นายแพทย์จอมจักร จันทรสกุล อนุกรรมการ

นายแพทย์ระวี พิมลศาสนติ์ อนุกรรมการ

นายแพทย์ประเสริฐ ไตรรัตน์วรกุล อนุกรรมการ

นายแพทย์นพดล วรอุไร อนุกรรมการ

นายแพทย์สุทัศน์ ศรีพจนารถ อนุกรรมการ

นายแพทย์กำพล เลาหเพ็ญแสง อนุกรรมการ

นายแพทย์ประมุข มุทิรางกูร อนุกรรมการ

นายแพทย์สุวิทย์ ศรีอัษฎาพร อนุกรรมการ

นายแพทย์ธำรงโรจน์ เต็มอุดม อนุกรรมการและเลขานุการ

10

หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดเพื่อวุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด พ.ศ.2547

ภาคผนวกที่ 2

เกณฑ์มาตรฐานสถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด

สาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด

1. เกณฑ์ทั่วไป

ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย กำหนดให้สถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมอนุสาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด จะต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ทั่วไปตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการเสนอขอเปิดการฝึกอบรมเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาต่างๆ พ.ศ.2547

โดยที่สถาบันฝึกอบรมควรเป็นโรงพยาบาล/สถาบันที่ได้รับการรับรองคุณภาพ หรือกำลังดำเนินการพัฒนาเพื่อการรับรองคุณภาพ มีระบบการบริหารจัดการที่ดี มีสถานที่ เครื่องมืออุปกรณ์ และจำนวนผู้ป่วยพอเหมาะแก่การฝึกอบรมผู้ป่วยทั้งประเภทผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก มีแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนเพียงพอรับผิดชอบในสาขาที่ฝึกอบรมหรือในสาขาที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังจะต้องพิจารณาก่อนว่าโรงพยาบาลนั้นมีหน่วยงานกลางพื้นฐานที่จำเป็น หน่วยงานที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยสาขาที่ฝึกอบรม รวมทั้งมีกิจกรรมวิชาการที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีการเรียนรู้ ทั้งนี้โครงการฝึกอบรมจะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาสูงสุดของโรงพยาบาล/สถาบันนั้น รายละเอียดให้ทำเป็นประกาศแพทยสภา

2. เกณฑ์เฉพาะ

1. สถาบันฝึกอบรมต้องผ่านการรับรองมาตรฐานการฝึกอบรม ตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดย คณะอนุกรรมการฝึกอบรม และสอบฯ สาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยแพทยสภา

2. สถาบันฝึกอบรมต้องมีศักยภาพ เพียงพอในการจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมโดยต้องมีจำนวนผู้ป่วยที่เพียงพอ จัดตารางการอยู่เวรนอกเวลาราชการอย่างเหมาะสม มีแหล่งค้นคว้าที่ทันสมัย จัดเวลาให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เข้าร่วมประชุมวิชาการในระดับต่างๆ ทั้งนี้ระบบฝึกอบรมต้องอยู่ในการดูแลและแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับจากคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบฯ สาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยแพทยสภา

3.ผู้รับผิดชอบดูแลการฝึกอบรมและอาจารย์ผู้ฝึกอบรมต้องมีคุณสมบัติ ตามที่กำหนดโดยคณะ

กรรมการฝึกอบรมและสอบฯ สาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์ประเทศไทย ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยแพทยสภา

4.สถาบันฝึกอบรมต้องมีอาจารย์ผู้ให้การฝึกอบรมที่มีคุณสมบัติครบถ้วนอย่างน้อย 2 คน

11

หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดเพื่อวุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด พ.ศ.2547

5. ระบบการฝึกอบรมสาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือดต้องไม่ซ้ำซ้อน กับระบบการฝึกอบรมของแพทย์

ประจำบ้านที่มีอยู่แล้วในสถาบันนั้นๆ ทั้งนี้หลักสูตรการฝึกอบรมจะมุ่งเน้นให้ผู้ฝึกอบรมเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการรักษาโรคหลอดเลือดที่ซับซ้อน และมีความรู้เฉพาะด้านในแนวลึก สามารถเป็นที่ปรึกษาให้กับแพทย์ประจำบ้านได้

6. เป็นสถาบันที่มีความพร้อมทางด้านห้องปฏิบัติการห้องรังสี วินิจฉัย ห้องผ่าตัด และหออภิบาลผู้

ป่วยหนักที่มีความพร้อมในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดได้

7. ต้องมีห้องสมุด และระบบบริการ สารสนเทศ ที่เหมาะสมกับการฝึกอบรม เป็นแหล่งค้นคว้าทางด้าน

การแพทย์

8. มีศักยภาพและความพร้อมที่จะส่งเสริมงานวิจัย

9. มีกิจกรรมทางวิชาการอย่างสม่ำเสมอ เช่น Journal Club, conference และสนับสนุนให้ผู้เข้ารับ

การฝึกอบรมไปประชุมวิชาการทั้งระดับในประเทศ และต่างประเทศ ตามโอกาส

10. มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น อายุรแพทย์หลอดเลือด ฯลฯ

สถาบันฝึกอบรมใดขาดหน่วยงานหรือคุณสมบัติข้อใดก็อาจใช้สถาบันสมทบอื่นร่วมด้วย โดยลักษณะเป็นการฝึกอบรมระบบหมุนเวียน โดยความเห็นชอบของคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบฯ สาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์ประเทศไทย ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยแพทยสภา

12

หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดเพื่อวุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวช

กรรม สาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด พ.ศ.2547

ภาคผนวกที่ 3

เนื้อหาการฝึกอบรมโดยสังเขป

หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดเพื่อวุฒิบัตร/หนังสืออนุมัติบัตร แสดงความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด จะต้องครอบคลุมเนื้อหาดังต่อไปนี้

ก. ความรู้ด้านปัญญาพิสัย (Cognitive domain)

ต้องมีความรู้ครอบคลุมเนื้อหาการฝึกอบรม ศัลยศาสตร์หลอดเลือดดังนี้

1. Basic Principle in Vascular Surgery

- Embryology and Anatomy

- Vascular Physiology and Pathology

- Vascular Hemodynamics

- Hemostasis and Antithrombotic Therapy

- Vascular Graft and Prosthesis

2. Vascular Investigations

2.1 Non Invasive Vascular Laboratory

Segmental Blood Pressure Measurement

Venous Plathysmography

Color Duplex Scanning

2.2 Noninvasive and Invasive Vascular Imaging Study

Vascular Ultrasound

CT Angiography

MR Angiography

Arteriography and Venography

3. Diagnosis and management of Aneurysmal Disease

Aortic and Iliac Artery Aneurysms

Peripheral Artery Aneurysms

Extra-cranial Carotid Aneurysms

Subclavian/Axillary Artery Aneurysms

Femoral/Popliteal Artery Aneurysms

Splanchnic and Renal Artery Aneurysms

Thoracoabdominal Aortic Aneurysms

Thoracic/Abdominal Aortic Dissection

13

หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดเพื่อวุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด พ.ศ.2547

4. Diagnosis and Management of Extremity Arterial Occlusive Disease

Aortoiliac Occlusive Disease

Femoral-Popliteal-Tibial Occlusive Disease

Upper Extremity Occlusive Disease

Combined Aortoiliac and Infrainguinal Occlusive Disease

Arterial Bypass Graft Surveillance

Failing Arterial Bypass Graft

Ischemic Foot Lesions

5. Diagnosis and Management of Renal Artery Occlusive Disease

Renovascular Hypertension

Ischemic Nephropathy

Renal Artery Surgery

Renal Angioplasty

Diagnostic Studies to Detect Functionally Significant Renal Artery Stenosis

6. Diagnosis and Management of Visceral Ischemia

Chronic Visceral Ischemia

Acute Visceral Ischemia

Non-Occlusive Mesenteric Ischemia

Mesenteric Venous Occlusive Disease

7. Diagnosis and Management of Carotid Artery Occlusive Disease

Atherosclerotic Carotid Artery disease

Carotid Artery Fibromuscular Dysplasia

Carotid Artery Coils and Kinks

Carotid Artery Radiation Injury

Carotid Body Tumor

Overall Management of Stroke

Spontaneous Carotid Artery Dissection

Aortic Arch Disease Leading to Proximal Carotid Artery Stenosis

14

หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดเพื่อวุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด พ.ศ.2547

8. Diagnosis and Management of Innominate, Subclavian and Vertebrobasilar Arterial

Disease

Stenotic and Embolic Innominate Artery Disease

Stenotic and Embolic Vertebral Artery Disease

Stenotic and Embolic Subclavian Artery Disease

Subclavian Steal Syndrome

9. Diagnosis and Management of Thoracic Outlet Syndrome

Cervical Rib/Abnormal First Rib

Arterial Complications

Venous Complications

Neurogenic Complications

10. Diagnosis and Management of Acute Arterial Occlusion

Acute Thrombotic Disease

Atheroembolic Disease

Thromboembolectomy Techniques

Thrombolysis: Percutaneous& Intraoperative

Systemic Complications of Reperfusion Injury

Compartment Syndrome

11. Diagnosis and Management of Diabetic Foot Problems

Pathophysiology of Ischemia, Neuropathy and Infection

Antibiotic Treatment

Amputation Types

Wound Management

Foot Care

12. Diagnosis and Management of Complications of Vascular Therapy

Pseudoaneurysms

Aortoenteric Fistulae/Erosions

Vascular Graft Infections

Colon Ischemia after Aortic Surgery

15

หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดเพื่อวุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด พ.ศ.2547

Prosthetic Graft Dilation

13. Diagnosis and Management of Vascular Trauma

Aortic Trauma

Carotid Trauma

Brachiocephalic trauma

Visceral Arterial Trauma

Extremity Trauma

Venous Trauma

Diagnosis of Vascular Trauma- Arteriography/Duplex

Nonoperative Therapy

Traumatic A-V Fistulae

Iatrogenic Vascular Trauma

14. Diagnosis and Management of Venous Thromboembolic Disease

Deep Venous Thrombosis

Deep Venous Thrombosis Prophylaxis

Pulmonary Emboli

Caval Interruption

Subclavian/Axillary Thrombosis

Venous Thrombectomy/ Thrombolytic Therapy

15. Diagnosis and Management of Lymphedema

16. Indications and Techniques for Extremity Amputation

Determination of Amputation Level

Post-Amputation Care

Phantom Pain Syndrome

17. Techniques for the Diagnosis of Peripheral Vascular Disease

Hemodynamic Assessment of Arterial and venous Disease

Duplex Evaluation of Carotid, Venous, Mesenteric, Renal and Extremity

Vascular Disease

Arteriography

16

หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดเพื่อวุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด พ.ศ.2547

Computerized Tomography

MRI/MRA

Intraoperative Duplex Evaluation

18. Use of Endovascular Therapy in the Management of Peripheral Vascular Disease

Lytic Therapy

Balloon Angioplasty

Endoluminal Stents

Stent Grafts

Embolization

19. Risk Stratification in Patients with Peripheral Vascular Disease

Cardiac Risk Evaluation

Pulmonary Risk Evaluation

Atherosclerotic Risk Factor Assessment

Lipid Disorder Evaluation and Management

20. Diagnosis and Management of Coagulation Disorders in Patients with

Peripheral Vascular Disease

Bleeding Disorder/ Intraoperative Bleeding

Heparin Assosiated Thrombocytopenia

Hypercoagulable States

Low Molecular Weight Heparin

Antiplatelet agents

21. Diagnosis and Management of Miscellaneous Vasculogenic Problems

Vasospastic Diseases

Neurogenic Thoracic Outlet Syndrome

Causalgia/ Reflex Sympathetic Dystrophy

22. Diagnosis and Management of Non-Atherosclerotic Vascular Diseases

Systemic Vasculitis

Giant Cell Arteritis

Takayasu’s Disease

17

หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดเพื่อวุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด พ.ศ.2547

Radiation Induced Arterial Disease

Arterial Infections

Adventitial Cystic Disease

Popliteal Entrapment Syndrome

Buerger’s Disease

Congenital Problems

Coarctation

Persistent Sciatic Artery

Aberrant Subclavian Artery

Arteriopathies

Marfan’s Syndrome

Ehlers-Danlos Syndrome

Arterial Magna Syndrome

Cystic Medial Necrosis

Behcet’s Disease

Homocystinuria

Intra-Arterial Drug Induced Injury

23. Indications for and Techniques of Vascular Access

Vascular Access for Hemodialysis

Ischemic Hand after Vascular Access

Peripheral Dialysis Access

24. Indications for and Results of Sympathectomy in Patients with Peripheral

Vascular Disease

25. Diagnosis and Management of Portal Hypertension

26. Operative Procedures

Graft replacement, Endovascular Grafting for AAA and Peripheral Aneurysms Thromboembolectomy or Bypass for acute arterial occlusion

Operative Procdures for Chronic Arterial Occlusion

- Aortofemoral Bypass

- Extreanatomical Bypass

18

หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดเพื่อวุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด พ.ศ.2547

- Axillo Femoral Bypass

- Femoral to Femoral Crossover Bypass

- Femoral Distal Bypass

- Thromboendarterectomy

Vascular Access Procedures

Creation of Autogenous Arteriovenous Fistulae

AV Bridge Graft Placement

Permanent Double Lumen Catheter Placement

Temporary Double Lumen Catheter Placement

Revision of AVF

Peritoneal Dialysis Catheter Placement

Operative Procedures for Vascular Trauma

Repair, Patch Angioplasty

Reconstruction with Vascular Graft (Autogenous or Prosthetic)

Ligation

Carotid and Renal Artery Surgery

Bypass

Endarterectomy

Operative Procedures forThoracic Outlet Syndrome

First rib/cervical Rib Resection

Scalenectomy

Amputation

19

หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดเพื่อวุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด พ.ศ.2547

ข.ความสามารถด้านทักษะนิสัย (Psychomotor domain)

1. ทักษะในเชิงปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ได้แก่ ผู้ป่วย ญาติพี่น้อง ผู้ร่วมงานในระดับต่างๆ ในสถาบัน องค์กรของตน และองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

2. ทักษะในด้านเทคนิค ของหัตถการต่างๆ ผู้ป่วยทั้งในด้านการผ่าตัดและมิติอื่นๆ

โดยการจัดประสบการณ์ทางด้านศัลยรรมหลอดเลือดอย่างน้อย 18 เดือน โดยให้ฝึกปฏิบัติงานในหน่วยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านโรคหลอดเลือด นอกจากนี้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องได้รับประสบการณ์ดังต่อไปนี้

2.1 ได้ทำผ่าตัดด้วยตนเองตามรายละเอียดดังนี้

2.1.1 ผ่าตัดด้วยตนเองดังนี้

• Vascular access for hemodialysis อย่างน้อย 50 ราย

• Arterial bypass surgery อย่างน้อย 10 ราย

• Surgery for aneurysm อย่างน้อย 10 ราย

• Surgery for vascular injury อย่างน้อย 20 ราย

• Surgery for acute arterial occlusion อย่างน้อย 10 ราย

• Amputation อย่างน้อย 20 ราย

• Venous surgery อย่างน้อย 20 ราย

2.1.2 ได้เป็นผู้ช่วยคนแรก (first assistant) ในการผ่าตัดต่างๆ ไม่น้อยกว่า 100 ราย

2.1.3 ได้ตรวจผู้ป่วยนอกด้านโรคหลอดเลือดไม่ต่ำกว่า 200 ราย

2.1.4 ได้ดูแลรักษาผู้ป่วยในด้านโรคหลอดเลือดไม่ต่ำกว่า 100

3. ทักษะในการตรวจค้น และแปลผล

4. ทักษะในการให้คำปรึกษาแนะนำปัญหาต่างๆ ที่เกิดแก่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดได้อย่างเหมาะสมกับ

สภาพทางเศรษฐกิจ และสังคม ทั้งในปัญหาเฉียบพลัน การติดตามผู้ป่วยหลังการรักษาในระยะยาว (Follow-up) การบริหารจัดการกับผู้ที่มีอัตราเสี่ยงสูงในการเกิดโรคหลอดเลือด (high risk population) และการเฝ้าระวังการโรค (Surveillance)

5. ทักษะการดูแลผู้ป่วยหนัก ทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด

20

หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดเพื่อวุฒิบัตร แสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์หลอดเลือด พ.ศ.2547

6. ทักษะในการจัดประสบการณ์ เรียนรู้ และการสอนในวิชาศัลยศาสตร์หลอดเลือด

7. การวิจัย ต้องมีประสบการณ์ในการทำวิจัยเกี่ยวกับโรคหลอดเลือด และต้องมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวาร

สารวิชาการหรือนำเสนอในที่ประชุมราชวิทยาลัยศัลยแพทย์หรือที่ประชุมชมรมแพทย์โรคหลอดเลือดแห่งประเทศไทย ) อย่างน้อย 1 เรื่อง

ค. ด้านเจตคตินิสัย (Affective domain)

1. มีอุปนิสัย เจตคติ และค่านิยมที่ดีต่อวิชาชีพในสาขาศัลยศาสตร์ศัลยศาสตร์หลอดเลือด ต่อผู้ป่วยและ

เกี่ยวข้องได้แก่ ญาติพี่น้อง ครอบครัว ชุมชน และผู้ร่วมงานโดยตระหนักถึงอิทธิพลของโครงสร้างสาธารณสุข และสภาพเศรษฐกิจ สังคมของประเทศชาติ

2. มีความตระหนักถึงภาระงานหนัก และมีความอดทนมุ่งมั่นที่จะฟันฝ่าอุปสรรคงาน ทั้งปวงด้วยตนเอง

แต่ก็รู้ขอบเขตความสามารถของตน โดยมีการปรึกษาหารือหรือส่งต่อ ผู้ป่วยไปยังผู้ที่มีความรู้ความสามารถกว่า

3. มีความใฝ่รู้ ใฝ่ปฏิบัติ ทำตนให้มีความรู้ความสามารถทันต่อวิทยากรก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลาและใฝ่

สอนผู้ที่ด้อยกว่า

4. มีจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือด

- patient autonomy

- patient safety management

- distribution of finite resource

- end of life care

**************************

21

................
................

In order to avoid copyright disputes, this page is only a partial summary.

Google Online Preview   Download