โปรแกรม Windows - Tripod



โปรแกรม Windows

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

1) ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ที่ต่อเป็นคอมพิวเตอร์ เช่น เมาส์, คีย์บอร์ด

2) ซอฟแวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรมต่างๆ เช่น Windows ,Word,Excel

3) พีเพิลแวร์ (Peopleware) หมายถึง บุคคลากรทางคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมเมอร์,พนักงานคีย์ข้อมูล

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

[pic]

ค่าของหน่วยความจำ

1 Byte (ไบต์ ) = 8 Bit (บิต ) = 1 ตัวอักษร

1000 Byte = 1 KB (กิโลไบต์ ) = 1024 ตัวอักษร

1000 KB = 1 MB (เมกกะไบต์ ) = 10242 (ประมาณ 1 ล้าน ตัวอักษร )

1000 MB = 1 GB (จิกะไบต์ ) = 10243 (ประมาณ 1 พันล้านตัวอักษร )

จะใช้กับ RAM, Harddisk และ Floppy Disk หรือ ตัวเก็บข้อมูลต่างๆ

ค่าของความเร็วซีพียู

1000 Hertz (เฮิร์ตซ์ = Hz ) = 1 KHz (กิโลเฮิร์ตซ์ )

1000 KHz = 1 MHz (เมกกะเฮิร์ตซ์ )

1000 MHz = 1 GHz (จิกะเฮิร์ตซ์ )

1 เฮิร์ตซ์ คือความเร็วหรือความถี่ของสัญญาณที่เคลื่อนที่ 1 รอบ ในเวลา 1วินาที

การใช้เมาส์



ปุ่มซ้าย ปุ่มขวา

คลิก (Click) หมายถึง การคลิกเมาส์ปุ่มซ้าย 1 ครั้ง เพื่อเลือกข้อมูล

ดับเบิ้ลคลิก (Double Click) หมายถึง การคลิกเมาส์ปุ่มซ้าย 2 ครั้งติดต่อกันอย่างรวดเร็วเพื่อเปิดโปรแกรม

คลิกขวา (Right Click) หมายถึงการคลิกเมาส์ปุ่มขวาเพื่อเปิดเมนูย่อย

ลากแล้ววาง (Drag and Drop) หมายถึงการคลิกเมาส์ปุ่มซ้ายค้างไว้ ลากไปยังตำแหน่งที่ต้องการ แล้วปล่อยปุ่มเมาส์

การปิดเครื่อง (Windows XP)

คลิกปุ่ม Start > คลิกปุ่ม Turn Off Computer > คลิกปุ่ม Turn Off

พัฒนาการของ Windows

1) Windows 3.1 ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว

2) Windows 95 ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว

3) Windows 98 มีใช้แต่น้อย

4) Windows ME มีใช้พอสมควร

5) Windows 2000 มีใช้พอสมควรเนื่องจากสนับสนุนระบบเครือข่ายมากกว่า

6) Windows NT จะใช้กับองค์กรที่ใช้ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่

7) Windows CE ใช้กับคอมพิวเตอร์มือถือ เช่น ปาล์ม(Palm) และคอมพิวเตอร์ติดรถยนต์

8) Windows XP เป็นรุ่นปัจจุบัน มีอยู่หลายรุ่นได้แก่รุ่น V2006,V2007

9) Windows Vista เป็นรุ่นล่าสุดในปัจจุบัน เครื่องต้องมีความเร็ว 1 GHz ขึ้นไป RAM อย่างน้อย 512 MB

การใช้โปรแกรมเสริมของ Windows

โปรแกรมเครื่องคิดเลข

1) ที่เมนู Start > Programs > Accessories > คลิก Calculator

2) จะปรากหน้าจอของเครื่องคิดเลข

3) การใช้งาน

-ใช้เมาส์คลิกบนแป้นตัวเลขเหมือนการใช้เครื่องคิดเลขทั่วไป

-หรือใช้คีย์ตัวเลขบนแป้นพิมพ์ของคอมพิวเตอร์

4) การเปลี่ยนมุมมองของเครื่องคิดเลขทั่วไปเป็นแบบวิทยาศาสตร์

-ที่เมนู View > คลิก Scientific

ระบบใน Windows

1)ไฟล์ (Files) หมายถึงกลุ่มของข้อมูลของโปรแกรมนั้นๆ เปรียบเสมือนแฟ้มเอกสาร ถ้าดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์จะไปเปิดโปรแกรมนั้นๆ

2)โฟลเดอร์ (Folders) หมายถึงพื้นที่ที่เก็บกลุ่มของไฟล์เอกสาร เปรียบเสมือนตู้เก็บเอกสาร ดังนั้นเราควรสร้างโฟลเดอร์ไว้เก็บงานของเรา

การสร้าง Folders

ในที่นี้จะสร้างที่ My Document

1) ดับเบิ้ลคลิกไอคอน My document

2) คลิกขวาบนหน้าเอกสาร > New > คลิก Folders

3) พิมพ์ชื่อ Folders ลงไป

4) กดคีย์ Enter

การเปลี่ยนชื่อ Folders หรือ Files

1) คลิกขวาบน Folders หรือ Files ที่ต้องการ > คลิก Rename

2) พิมพ์ชื่อใหม่ทับลงไป > กดคีย์ Enter

การลบ Folders หรือ Files

1) คลิกขวาบน Folders หรือ Files ที่ต้องการลบ > คลิก Delete

2) คลิกปุ่ม Yes

การกู้ Folders หรือ Files ที่ลบไปกลับคืนมา

1) ดับเบิ้ลคลิกไอคอน Recycle Bin (ถังขยะ)

2) คลิกขวาบน Folders หรือ Files ที่ต้องการ

3) คลิก Restore

การเลือกไฟล์ข้อมูล

1) เลือกไฟล์ที่ติดกัน

-คลิกที่ไฟล์แรก

-กดคีย์ Shift ค้างไว้แล้วคลิกเลือกไฟล์ต่อไปที่อยู่ติดกัน

2) การเลือกไฟล์ที่ห่างกัน (หรือติดกันและห่างกันสลับกันไป)

-คลิกที่ไฟล์แรก

-กดคีย์ Ctrl ค้างไว้แล้วคลิกเลือกไฟล์ต่อไปที่อยู่ห่างกัน

การคัดลอกไฟล์ข้อมูลมาเก็บที่ Folders ที่สร้างไว้ (ข้อมูลเดิมยังอยุ่)

1) เลือกไฟล์ข้อมูล

2) คลิกขวาบนไฟล์หรือกลุ่มไฟล์ > คลิก Copy (คัดลอก)

3) ดับเบิ้ลคลิก Folders ที่สร้างไว้

4) คลิกขวาบนเอกสาร > คลิก Paste

การย้ายไฟล์ข้อมูลมาเก็บที่ Folders ที่สร้างไว้ (ข้อมูลเดิมหายไป)

1) เลือกไฟล์ข้อมูล

2) คลิกขวาบนไฟล์หรือกลุ่มไฟล์ > คลิก Cut (ตัด)

3) ดับเบิ้ลคลิก Folders ที่สร้างไว้

4) คลิกขวาบนเอกสาร > คลิก Paste

การจัดเรียงข้อมูล (Windows XP)

1) คลิกปุ่ม start > Programs > Accessories > System Tools > คลิก Disk Defragmenter

2) คลิกเลือกไดร์ฟที่ต้องการ

3) คลิกปุ่ม Analyze

4) คลิกปุ่ม Defragment

5) คลิกปุ่ม Close

6) คลิกปุ่ม

7) ควรทำอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง จะทำให้เครื่องทำงานเร็วขึ้นและลดอาการแฮงก์ของเครื่อง

การเปลี่ยนรูปภาพบนหน้าจอ (Windows XP)

1) คลิกขวาบนหน้าจอ > คลิก Properties

2) คลิกแท็ป Desktop

3) ที่ Background > คลิกเลือกรูปภาพที่ต้องการ

4) ถ้าต้องการรูปภายนอก > คลิกปุ่ม Browse

- เลือกที่เก็บรูปภาพ

- คลิกเลือกไฟล์รูปภาพ > คลิกปุ่ม Open

5) ที่ Position

- Center ปรับภาพให้อยู่กลางจอ

- Tiles นำภาพมาเรียงต่อกัน

- Stretch ขยายภาพให้เต็มจอ

6) คลิกปุ่ม OK

การตั้ง Screen Saver

Screen Saver เป็นโปรแกรมรักษาหน้าจอกรณีที่เปิดเครื่องทิ้งไว้แต่ไม่ได้ใช้งาน

1) คลิกขวาบนหน้าจอ > คลิก Properties

2) คลิกแท็ป Screen Saver

3) ที่ช่อง Screen Saver เลือกรูปแบบที่ต้องการ

4) ที่ Wait ให้ตั้งเวลาการทำงาน

5) คลิกปุ่ม OK

ตัวอย่าง Screen Saver

พิมพ์ข้อความ 3 มิติ

1) ที่ช่อง Screen Saver เลือก 3D Text

2) คลิกปุ่ม Setting

3) คลิกที่ Custom Text แล้วพิมพ์ข้อความที่ต้องการ

4) ถ้าต้องการเปลี่ยนรูปแบบข้อความ

- คลิกปุ่ม Choose Font > เลือกรูปแบบที่ต้องการ > คลิก OK

5) ที่ช่อง Rotation Type เป็นการเปลี่ยนรูปแบบของการหมุน

6) ที่ Surface Style เป็นรูปแบบของพื้นผิว

7) ที่ Resolution เป็นการปรับความละเอียด

8) ที่ Size เป็นการปรับขนาด

9) ที่ Rotation Speed เป็นการปรับความเร็วในการหมุน

10) คลิกปุ่ม OK

11) คลิกปุ่ม OK อีกครั้ง

การพิมพ์ข้อความที่ยาวๆ

1) ที่ช่อง Screen Saver เลือก Marquee

2) คลิกปุ่ม Setting

3) ที่ Position

- Center ข้อความอยู่ตรงกลาง

- Random ข้อความวิ่งสลับ บน-กลาง-ล่าง

4) ที่ Background Color เปลี่ยนสีพื้นหลัง

5) ที่ช่อง Text พิมพ์ข้อความที่ต้องการ

- ถ้าต้องการเปลี่ยนรูปแบบข้อความ > คลิกปุ่ม Format Text > เลือกรูปแบบที่ต้องการ > คลิก OK

6) ที่ Speed เป็นการปรับความเร็วการเคลื่อนที่

7) คลิกปุ่ม OK

8) คลิกปุ่ม OK อีกครั้ง

การนำรูปภาพมาเป็น Screen Saver

1) สร้างโฟลเดอร์ แล้วนำรูปภาพมาเก็บที่โฟลเดอร์

2) ที่ช่อง Screen Saver เลือก My Pictures Slideshow

3) คลิกปุ่ม Setting

4) คลิกปุ่ม Browse > คลิกเลือกโฟลเดอร์รูปภาพ > คลิกปุ่ม OK

5) ที่ How often should pictures change? เป็นการตั้งเวลาการเปลี่ยนรูปภาพ

6) ที่ How big should pictures be? เป็นการตั้งขนาดภาพ

7) คลิกปุ่ม OK

8) คลิกปุ่ม OK อีกครั้ง

การตั้งเวลา

1) ดับเบิ้ลคลิกที่ตัวเวลาที่วางอยู่บนแถบสถานะ

2) ที่ Date คลิกเลือกวัน-เดือน—ปี ที่ต้องการ

3) ที่ Time ใช้เมาส์ป้ายแถบคลุมตัวเลข แล้วพิมพ์ตัวเลขที่ต้องการลงไป

4) คลิกปุ่ม OK

การตั้งเมาส์

1) คลิกปุ่ม Start > All Programs > คลิก Control Panel

2) ดับเบิ้ลคลิก ไอคอน Mouse

3) ที่แท็ป Buttons เป็นการตั้งความเร็วในการดับเบิ้ลคลิก ซึ่งที่ Speed (ความเร็ว) ควรตั้งไว้ตรงกลาง

4) เป็นการตั้งรูปเมาส์ตามรูปแบบต่างๆ เช่นการตั้งเมาส์ตัวชี้

- คลิกเลือก Normal Select

- คลิกปุ่ม Browse > เลือกรูปเมาส์ที่ต้องการ > คลิก Open

- คลิกปุ่ม OK

5) การทำให้เมาส์กลับเป็นเหมือนเดิม

- คลิกเลือก Normal Select

- คลิกปุ่ม Use Default

- คลิกปุ่ม OK

6) การตั้งให้เมาส์มีหาง

- คลิกแท็ป Pointer Options

- คลิกถูกที่ Display Pointer Trails

- ที่ Motion เป็นการปรับความเร็วที่หาง

- ถ้าต้องการแสดงตำแหน่งของเมาส์เวลากดคีย์ Ctrl ให้คลิกถูกที่ Show location of pointer when I press the CTRL key.

- คลิกปุ่ม OK

การสร้าง Short Cut

Short Cut หมายถึง ไอคอนที่วางอยู่บนหน้าจอโดยเปิดโปรแกรมโดยการดับเบิ้ลคลิก

1) คลิกขวาบนไฟล์ที่ต้องการ

2) เลือก Send To > คลิก Desktop (Create Shot Cut)

การลบ Short Cut

1) คลิกชวาบนไอคอน > คลิก Delete

2) คลิกปุ่ม Yes

การสร้าง Quick Lunch

1) คลิกขวาบนแถบสถานะ > Toolbars > คลิกถูกที่ Quick Lunch

2) ลาก Short Cut มาวางบนแถบสถานะ โดยให้ปรากฏเครื่องหมาย [ แล้วปล่อยปุ่มเมาส์

3) ไอคอนของ Short Cut จะเปลี่ยนเป็นไอคอนของ Quick Lunch

การลบ Quick Lunch

1) คลิกชวาบนไอคอน > คลิก Delete

2) คลิกปุ่ม Yes

การคัดลอกข้อมูลจาก My Document มาเก็บที่ อุปกรณ์เก็บข้อมูลภายนอก

อุปกรณ์เก็บข้อมูลภายนอก เช่น แผ่นดิสก์เก็ต,Flash Drive,MP3 Drive

คลิกขวาบนข้อมูลหรือกลุ่มข้อมูล > Send To > คลิก 3.5 Floppy A: หรือ Removeable Disk Drive (Flash Drive หรือ MP3 Drive)

การคัดลอกข้อมูลจากอุปกรณ์เก็บข้อมูลภายนอกมาเก็บที่ My Document

คลิกขวาบนข้อมูลหรือกลุ่มข้อมูล > Send To > คลิก My Document

การใช้คีย์ที่สำคัญ

1) คีย์ Backspace หรือ ใช้ลบอักษรที่อยู่ด้านซ้ายของเคอร์เซอร์

2) คีย์ ใช้ลบอักษรที่อยู่ด้านขวาของเคอร์เซอร์ ถ้าป้ายแถบคลุมข้อความทั้งหมดแล้วกดคีย์นี้ข้อความจะถูกลบออกทั้งหมด

3) คีย์ ถ้ากดคีย์นี้ เคอร์เซอร์ จะกระโดดที่ละวรรค หรือตามตำแหน่งที่ตั้ง Tab เอาไว้

4) คีย์ ใช้พิมพ์สลับระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ หรือคลิกเลือกที่ EN

5) คีย์ Shift ถ้ากดคีย์นี้จะพิมพ์ภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ หรือภาษาไทยตัวบน

6) คีย์ Caps Lock ถ้ากดคีย์นี้จะล็อคให้พิมพ์ภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ หรือภาษาไทยตัวบน

7) คีย์ Num Lock ถ้ากดคีย์นี้จะล็อคให้พิมพ์ตัวเลขทางแป้นขวามือ

8) คีย์ Insert ถ้ากดคีย์นี้จะพิมพ์สลับระหว่างพิมพ์แทรกกับพิมพ์ทับ ถ้าอยู่ในสถานะพิมพ์แทรกจะปรากฏอักษร OVR

9) คีย์ Home ถ้ากดคีย์นี้จะไปต้นบรรทัดของการพิมพ์

10) คีย์ End ถ้ากดคีย์นี้จะไปท้ายบรรทัดของการพิมพ์

11) คีย์ Page Up ถ้ากดคีย์นี้จะเลื่อนขึ้นไป 1 หน้า

12) คีย์ Page Down ถ้ากดคีย์นี้จะเลื่อนลงมา 1 หน้า

13) คีย์ Esc ถ้ากดคีย์นี้จะยกเลิกคำสั่งหรือออกจากโปรแกรม

-----------------------

หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory)

ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk),แผ่น VCD,

แผ่น DVD,แผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk)

Flash Drive, MP3 Drive

หน่วยวามจำหลัก

(Main Memory)

ได้แก่ RAM (Random Access Memory)

ลำโพง

(Speaker)

เครื่องพิมพ์

(Printer)

จอแสดงผล

(Monitor)

Pentium III

Pentium 4

Pentium D

กล้องดิจิตอล (Digital Camera)

สแกนเนอร์ (Scanner)

คีย์บอร์ด (Keyboard)

เมาส์ (Mouse)

หน่วยความจำ

( Memory Unit )

หน่วยแสดงผล

( Output Unit)

หน่วยประมวลผล หรือ CPU

( Central Processing Unit )

หน่วยรับข้อมูล

( Input Unit )

Delete

เคอร์เซอร์

การเปิดเครื่อง

ปุ่ม Power .ใช้เปิดเครื่อง

ปุ่ม Reset หรือ Restart .ใช้กรณีที่เครื่องแฮงก์ หรือต้องการเปิดเครื่องใหม่อีกครั้ง

เช่น โปรแกรม เช่น Word

ปุ่มกลาง บางรุ่นเป็นลูกล้อ ใช้เลื่อนหน้าจอโปรแกรมพิมพ์งาน

Windows

Windows

เคอร์เซอร์

Tab

~ %

‘ T/ E

................
................

In order to avoid copyright disputes, this page is only a partial summary.

Google Online Preview   Download