บทที่ 1 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น



บทที่ 1 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น

ชนิดของคอมพิวเตอร์

พัฒนาการทางคอมพิวเตอร์ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จากอดีตเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้หลอดสุญญากาศขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และอายุการใช้งานต่ำ เปลี่ยนมาใช้ทรานซิสเตอร์ที่ทำจากชินซิลิกอนเล็ก ๆ ใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำ และผลิตได้จำนวนมาก ราคาถูก ต่อมาสามารถสร้างทรานซิสเตอร์จำนวนหลายแสนตัวบรรจุบนชิ้นซิลิกอนเล็ก ๆ เป็นวงจรรวมที่เรียกว่า ไมโครชิป (microchip) และใช้ไมโครชิปเป็นชิ้นส่วนหลักที่ประกอบอยู่ในคอมพิวเตอร์ ทำให้ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลง ไมโครชิปที่มีขนาดเล็กนี้สามารถทำงานได้หลายหน้าที่ เช่น ทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูล ทำหน้าที่เป็นหน่วยควบคุมอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก หรือทำหน้าที่เป็นหน่วยประมวลผลกลาง ที่เรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ ไมโครโพรเซสเซอร์ หมายถึงหน่วยงานหลักในการคิดคำนวณ การบวกลบคูณหาร การเปรียบเทียบ การดำเนินการทางตรรกะ ตลอดจนการสั่งการเคลื่อนข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หน่วยประมวลผลกลางนี้เรียกอีกอย่างว่า ซีพียู (Central Processing Unit : CPU)

การพัฒนาไมโครชิปที่ทำหน้าที่เป็นไมโครโพรเซสเซอร์มีการกระทำอย่างต่อเนื่องทำให้มีคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ ที่ดีกว่าเกิดขึ้นเสมอ จึงเป็นการยากที่จะจำแนกชนิดของคอมพิวเตอร์ออกมาอย่างชัดเจนครับเทคโนโลยีได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กอาจมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามพอจะจำแนกชนิดคอมพิวเตอร์ตามสภาพการทำงานของระบบเทคโนโลยีที่ประกอบอยู่และสภาพการใช้งานได้ดังนี้

ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (super computer)

ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานคำนวณที่ต้องมีการคำนวณตัวเลขจำนวนหลายล้านตัวภายในเวลาอันรวดเร็ว เช่น งานพยากรณ์อากาศ ที่ต้องนำข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอากาศทั้งระดับภาคพื้นดิน และระดับชั้นบรรยากาศเพื่อดูการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของอากาศ งานนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก นอกจากนี้มีงานอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ซึ่งมีความเร็วสูง เช่น งานควบคุมขีปนาวุธ งานควบคุมทางอวกาศ งานประมวลผลภาพทางการแพทย์ งานด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะทางด้านเคมี เภสัชวิทยา และงานด้านวิศวกรรมการออกแบบ

ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็ว และมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น การที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วครับมีการพัฒนาให้มีโครงสร้างการคำนวณพิเศษ เช่นการคำนวณแบบขนานที่เรียกว่า เอ็มพีพี (Massively Parallel Processing: MPP) ซึ่งเป็นการคำนวณที่กระทำกับข้อมูลหลาย ๆ ตัวในเวลาเดียวกัน

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการพัฒนามาตั้งแต่เริ่มแรก เหตุที่เรียกว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เพราะตัวเครื่องประกอบด้วยตู้ขนาดใหญ่ที่ภายในตู้มีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมนเฟรมคอมพิวเตอร์มีขนาดลดลงมาก

เมนเฟรมเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงมาก มักอยู่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์หลักขององค์การ และต้องอยู่ในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิและมีการดูแลรักษาเป็นอย่างดี

บริษัทผู้ผลิตเมนเฟรมได้พัฒนาขีดความสามารถของเครื่องให้สูงขึ้น ข้อเด่นของการใช้เมนเฟรมอยู่ที่งานที่ต้องการให้มีระบบศูนย์กลาง และกระจายการใช้งานไปเป็นจำนวนมาก เช่นครับบบเอทีเอ็มซึ่งเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลที่จัดการโดยเครื่องเมนเฟรม อย่างไรก็ตามขนาดของเมนเฟรมและมินิคอมพิวเตอร์ก็ยากที่จะจำแนกจากกันให้เห็นชัด

ปัจจุบันเมนเฟรมได้รับความนิยมน้อยลง ทั้งนี้เพราะคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมีประสิทธิภาพและความสามารถดีขึ้น ราคาถูกลงขณะเดียวกันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ดีขึ้นจนทำให้การใช้งานบนเครือข่ายกระทำได้เหมือนการใช้งานบนเมนเฟรม

มินิคอมพิวเตอร์ (mini computer)

มินิคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องที่สามารถใช้งานพร้อม ๆ กันได้หลายคน จึงมีเครื่องปลายทางต่อได้ มินิคอมพิวเตอร์เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงกว่าสถานีงานวิศวกรรม นำมาใช้สำหรับประมวลผลในงานสารสนเทศขององค์การขนาดกลาง จนถึงองค์การขนาดใหญ่ที่มีการวางระบบเป็นเครือข่ายเพื่อใช้งานร่วมกัน เช่น งานบัญชีและการเงิน งานออกแบบทางวิศวกรรม งานควบคุมการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม

มินิคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การที่เรียกว่าเครื่องให้บริการ (server) มีหน้าที่ให้บริการกับผู้ใช้บริการ (client) เช่น ให้บริการแฟ้มข้อมูล ให้บริการข้อมูล ให้บริการช่วยในการคำนวณ และการสื่อสาร

ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)

ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องต่อเชื่อมในเครือข่าย หรือใช้เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ซึ่งอาจจะทำหน้าที่เป็นเพียงอุปกรณ์รับและแสดงผลสำหรับป้อนข้อมูลและดูผลลัพธ์ โดยดำเนินการการประมวลผลบนเครื่องอื่นในเครือข่าย โดยส่วนใหญ่ไมโครคอมพิวเตอร์ที่พบเห็นกันจะเป็นคอมพิวเตอร์พีซี (Personal Computer : PC) ซึ่งออกแบบตามมาตรฐานของ IBM แต่ยังมีไมโครคอมพิวเตอร์อีกประเภทหนึ่ง ที่นิยมใช้ในงานสิงพิมพ์และการตกแต่งภาพกราฟิก นั่นคือ เครื่องแมคอินทอช (Macintosh) ซึ่งจะมีโครงสร้างภายในและรูปลักษณ์ภายนอกแตกต่างไปจากเครื่องพีซี อาจจะกล่าวได้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลางเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ใช้งานง่าย ทำงานในลักษณะส่วนบุคคลได้ สามารถแบ่งแยกไมโครคอมพิวเตอร์ตามขนาดของเครื่องได้ดังนี้

คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (desktop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กถูกออกแบบมาให้ตั้งบนโต๊ะ มีการแยกชิ้นส่วนประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และแผงแป้งอักขระ

แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (laptop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่วางใช้งานบนตักได้ จอภาพที่ใช้เป็นแบบแบนราบชนิดจอภาพผนึกเหลว (Liquid Crystal Display : LCD) น้ำหนักของเครื่องประมาณ 3-8 กิโลกรัม

โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ (notebook computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดและ ความหนามากกว่าแล็ปท็อป น้ำหนักประมาณ 1.5-3 กิโลกรัม จอภาพแสดงผลเป็นแบบราบชนิดมีทั้งแบบแสดงผลสีเดียว หรือแบบหลายสี โน้ตบุ๊กที่มีขายทั่วไปมีประสิทธิภาพและความสามารถเหมือนกับแล็ปท็อป

ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (palmtop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง เช่นเป็นพจนานุกรม เป็นสมุดจนบันทึกประจำวัน บันทึกการนัดหมายและการเก็บข้อมูลเฉพาะบางอย่างที่สามารถพกพาติดตัวไปมาได้สะดวก

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

          เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานได้นั้นจะต้องประกอบไปด้วยส่วนประกอบ 3 ส่วนใหญ่ๆ ด้วยกัน คือส่วนแรกนั้นจะเป็นอุปกรณ์ต่างๆ หรือที่เรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) เช่น จอภาพ ซีพียู คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ส่วนที่สอง เรียกว่า ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึงโปรแกรมต่างๆ ที่ใช้สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ ส่วนสุดท้ายเรียกว่า พีเพิลแวร์ (Peopleware) ซึ่งหมายถึง บุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ เช่น พนักงานป้อนข้อมูล, นักเขียนโปรแกรม, นักวิเคราะห์ระบบ ทั้งสามส่วนนี้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของคอมพิวเตอร์ถ้าขาดส่วนหนึ่งส่วนใดไปแล้ว คอมพิวเตอร์ก็จะไม่สามารถใช้งานได้เลย

          1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

          หมายถึงส่วนที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยหน่วยต่างๆ 4 หน่วยดังนี้

• หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)

• หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)

• หน่วยความจำ (Memory Unit)

• หน่วยแสดงผลลัพธ์ (Output Unit)

          สำหรับการทำงานของแต่ละหน่วยสามารถเขียนแผนภาพได้ดังนี้

[pic]

          หน่วยรับข้อมูล

          ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลหรือคำสั่งจากภายนอกเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำ เพื่อเตรียมประมวลผลข้อมูลตามที่ต้องการ ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการนำเข้าข้อมูลที่ใช้กันอยู่ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันนั้นมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน สำหรับอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้

• แป้นพิมพ์ (Keyboard)

• เมาส์ (Mouse)

• สแกนเนอร์ (Scanner)

• จอยสติ๊ก (Joystick)

• จอภาพสัมผัส (Touch Screen)

• กล้องดิจิตอล (Digital Camera)

[pic]

          หน่วยประมวลผลกลาง

ทำหน้าที่ในการประมวลผล แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ

หน่วยควบคุม (control unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน ควบคุมการเขียนอ่านข้อมูลระหว่างหน่วยความจำของซีพียู ควบคุมกลไกการทำงานทั้งหมดของระบบ ควบคุมจังหวะเวลา โดยมีสัญญาณนาฬิกาเป็นตัวกำหนดจังหวะการทำงาน

หน่วยคำนวณและตรรกะ (arithmetic and logic unit) เป็นหน่วยที่มีหน้าที่นำเอาข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสองมาประมวลผลทางคณิตศาสตร์และตรรกะ เช่น การบวก การลบ การเปรียบเทียบ และ การสลับตัวเลข เป็นต้น การคำนวณทำได้เร็วตามจังหวะการควบคุมของหน่วยควบคุม

          หน่วยความจำ

          ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆ ที่รับจากภายนอกเข้ามาเก็บไว้เพื่อประมวลผลและยังเก็บผลที่ได้จากการประมวลผลไว้เพื่อแสดงผลอีกด้วย แบ่งออกเป็น

          หน่วยความจำหลัก - เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องอาศัยหน่วยความจำหลักเพื่อใช้เก็บข้อมูลและคำสั่งซีพียูมีการทำงานเป็นวงรอบโดยการคำสั่งจากหน่วยความจำหลักมาแปลความหมายแล้วกระทำตาม เมื่อทำเสร็จก็จะนำผลลัพธ์มาเก็บในหน่วยคำจำหลัก ซีพียูจะกระทำตามขั้นตอนเช่นนี้เรื่อย ๆ ไปอย่างรวดเร็ว เรียกการทำงานลักษณะนี้ว่า วงรอบของคำสั่ง การแบ่งประเภทหน่วยความจำหลัก ถ้าแบ่งตามลักษณะการเก็บข้อมูล กล่าวคือถ้าเป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลไว้แล้ว หากไฟฟ้าดับ คือไม่มีไฟฟ้าจ่ายให้กับวงจรหน่วยความจำ ข้อมูลที่เก็บไว้จะหายไปหมด เรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (volatile memory) แต่ถ้าหน่วยความจำเก็บข้อมูลได้โดยไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่เลี้ยงวงจร ก็เรียกว่า หน่วยความจำไม่ลบเลือน (nonvolatile memory) แต่โดยทั่วไปการแบ่งประเภทของหน่วยความจำจะแบ่งตามสภาพการใช้งาน เช่น ถ้าเป็นหน่วยความจำที่เขียนหรืออ่านข้อมูลได้ การเขียนหรืออ่านจะเลือกที่ตำแหน่งใดก็ได้ เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า แรม (Random Access Memory: RAM) แรมเป็นหน่วยความจำแบบลบเลือนได้ และหากเป็นหน่วยความจำที่ซีพียูอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถเขียนลงไปได้ ก็เรียกว่า รอม (Read Only Memory : ROM) รอมจึงเป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมไว้ถาวร เช่นเก็บโปรแกรมควบคุมการจัดการพื้นฐานของระบบไมโครคอมพิวเตอร์ (bios) รอมส่วนใหญ่เป็นหน่วยความจำไม่ลบเลือนแต่อาจยอมให้ผู้พัฒนาระบบลบข้อมูลและเขียนข้อมูลลงไปใหม่ได้ การลบข้อมูลนี้ต้องทำด้วยกรรมวิธีพิเศษ เช่น ใช้แสงอุลตราไวโลเล็ตฉายลงบนผิวซิลิกอน หน่วยความจำประเภทนี้มักจะมีช่องกระจกใสสำหรับฉายแสงขณะลบ และขณะใช้งานจะมีแผ่นกระดาษทึบปิดทับไว้ เรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า อีพร็อม (Erasable Programmable Read Only Memory : EPROM)

หน่วยความจำสำรอง -  ใช้เป็นส่วนเพิ่มหน่วยความจำให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น ทำงานติดต่อยู่กับส่วนความจำหลัก โดยปกติแล้วหน่วยความจำสำรองจะมีความจุมากและมีราคาถูกกว่าหน่วยความจำหลัก แต่เรียกหาข้อมูลได้ช้ากว่า เช่น ฮาร์ดดิสก์, ฟลอบปี้ดิสก์

          หน่วยแสดงผลลัพธ์

ทำหน้าที่ในการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณและประมวลผลในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจ สำหรับอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแสดงผลนั้น ยกตัวอย่างเช่น

          - จอภาพ (Monitor)

          - เครื่องพิมพ์ (Printer)

          - ลำโพง (Speaker)

          - พล็อตเตอร์ (Plotter)

 

2. ซอฟต์แวร์

          ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึงส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออาจเรียกว่า “โปรแกรม” ก็ได้ ซึ่งหมายถึง คำสั่งหรือชุดของคำสั่ง ซึ่งสามารถใช้เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เราต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไร ก็เขียนเป็นคำสั่ง ซึ่งจะต้องสั่งเป็นขั้นเป็นตอน และแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วน ซึ่งจะเกิดเป็นงานชิ้นหนึ่งขึ้นมามีชื่อเรียกว่า โปรแกรม ผู้ที่เขียนโปรแกรมดังกล่าวก็จะเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (Programmer) สำหรับการเขียนโปรแกรมนั้นจะต้องใช้ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะ ซึ่งหมายถึง ภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาเบสิก ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาก็จะนำไปใช้ในงานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมสต็อกสินค้าคงคลัง โปรแกรมคำนวณภาษี โปรแกรมคิดเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น

[pic]

          ซอฟต์แวร์จะแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)

          หมายถึง โปรแกรมที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่างและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น

          ระบบปฏิบัติการ (OS – Operating System)

โปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานส่วนต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ควบคุมหน่วยความจำ ควบคุมหน่วยประมวลผล ควบคุมหน่วยรับและควบคุมหน่วยแสดงผล ตลอดจนแฟ้มข้อมูลต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงที่สุด และสามารถใช้อุปกรณ์ทุกส่วนของคอมพิวเตอร์มาทำงานได้อย่างเต็มที่ นอกจากนั้นยังเข้ามาช่วยจัดสรรการใช้ทรัพยากรในเครื่องและช่วยจัดการกระบวนการพื้นฐานที่สำคัญๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การเปิดหรือปิดไฟล์ การสื่อสารกันระหว่างชิ้นส่วนต่างๆ ภายในเครื่อง การส่งข้อมูลออกสู่เครื่องพิมพ์หรือสู่จอภาพ เป็นต้น ก่อนที่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะสามารถอ่านไฟล์ต่างๆ หรือสามารถใช้ซอฟต์แวร์อื่นๆ ได้ จะต้องผ่านการดึงระบบปฏิบัติการออกมาฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำก่อน ปัจจุบันนี้มีระบบปฏิบัติการอยู่หลายตัวด้วยกัน ซึ่งแต่ละตัวจะมีลักษณะการทำงานที่ไม่เหมือนกัน เช่น Windows 98, Windows Me, Windows 2000, Windows XP, Linux, UNIX, OS/2, MAC OS

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)

การที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการที่มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทำให้มีการใช้งานคล่องตัวขึ้น จนในปัจจุบันสามารถนำคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ติดตัวไปใช้งานในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก

การใช้งานคอมพิวเตอร์ต้องมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซึ่งอาจเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีผู้พัฒนาเพื่อใช้งานทั่วไปทำให้ทำงานได้สะดวกขึ้น หรืออาจเป็นซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ ซึ่งผู้ใช้เป็นผู้พัฒนาขึ้นเองเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานของตน

ซอฟต์แวร์สำเร็จ

ในบรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีใช้กันทั่วไป ซอฟต์แวร์สำเร็จ (package) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความนิยมใช้กันสูงมาก ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้น แล้วนำออกมาจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์อีก ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และเป็นที่นิยมของผู้ใช้มี 5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (word processing software) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (data base management software) ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software) และซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล (data communication software)

1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมาย ซอฟต์แวร์ประมวลคำที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน เช่น วินส์เวิร์ด จุฬาจารึก โลตัสเอมิโปร

2) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ได้กว้างขวาง ซอฟต์แวร์ตารางทำงานที่นิยมใช้ เช่น เอกเซล โลตัส

3) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล การใช้คอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์ เราก็เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน การทำรายงาน การสรุปผลจากข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น เอกเซส ดีเบส พาราด็อก ฟ๊อกเบส

4) ซอฟต์แวร์นำเสนอ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล การแสดงผลต้องสามารถดึงดูดความสนใจ ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้างแผนภูมิ กราฟ และรูปภาพได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์ ฮาร์วาร์ดกราฟิก

5) ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลนี้หมายถึงซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ไมโครคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกล โดยผ่านทางสายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร นอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อมเข้าหามินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม เพื่อเรียกใช้งานจากเครื่องเหล่านั้นได้ ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลที่นิยมมีมากมายหลายซอฟต์แวร์ เช่น โปรคอม ครอสทอล์ค เทลิก

ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ

การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป แต่อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงานทางธุรกิจบางอย่างไม่ได้ เช่นในกิจการธนาคาร มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้าก็มีงานการขายสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะสำหรับงานแต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย

ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะมักเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการทำงานหรือความต้องการของธุรกิจนั้น ๆ แล้วจัดทำขึ้น โดยทั่วไปจะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีหลายส่วนรวมกันเพื่อร่วมกันทำงาน ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะที่ใช้กันในทางธุรกิจ เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี ระบบงานจัดจำหน่าย ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม บริหารการเงิน และการเช่าซื้อ

ความต้องการของการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทางธุรกิจยังมีอีกมาก ดังนั้นจึงต้องมีความต้องการผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะต่าง ๆ อีกมากมาย

3. พีเพิลแวร์ (Peopleware)

หมายถึง เจ้าหน้าที่ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหน้าที่และมีความรับผิดชอบแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความรู้ การฝึกอบรม และประสบการณ์ในการทำงาน สำหรับบุคลากรในหน่วยงานจะแบ่งออกได้ดังนี้

- ยูสเซอร์ (User) หมายถึง ผู้ใช้โดยทั่วๆ ไป อาจจะเป็นผู้ใช้ตามบ้านหรือผู้ใช้ในสำนักงานก็ได้ ยูสเซอร์ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์มากนัก มักจะใช้งานได้เฉพาะโปรแกรมที่จำเป็นต้องใช้งานอยู่แสมอเท่านั้น

- นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst) หมายถึง ผู้ที่จะทำหน้าที่ในการวิเคราะห์ระบบงาน ตลอดจนดูแลและรับผิดชอบระบบงานต่างๆ โดยเริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์และออกแบบระบบงานระบบข้อมูล ตลอดจนประสานงานระหว่างผู้ใช้เครื่องกับหน่วยงานคอมพิวเตอร์ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับระบบงานและระบบโปรแกรมเป็นอย่างดี มีความรู้กว้างขวางในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านธุรกิจ

          - นักเขียนโปรแกรม (Programmer)

          หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่ในการเขียนคำสั่งโดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องทำงานตามขั้นตอนที่ต้องการโดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ และสำหรับโปรแกรมที่เขียนขึ้นมานั้นจะต้องเป็นไปตามที่นักวิเคราะห์และออกแบบระบบต้องการด้วย และที่สำคัญคือ นักเขียนโปรแกรมจะต้องเข้าใจและมีความรู้ในหลักการต่างๆ ของการเขียนโปรแกรมเป็นอย่างดี สามารถแก้ไขข้อบกพร่องของโปรแกรมได้เมื่อเกิดปัญหา

          - วิศวกรคอมพิวเตอร์ (Computer Engineer)

          เป็นผู้ที่จะต้องมีความรู้ทางด้านการบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และสามารถแก้ไขให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ตลอดเวลา ดังนั้นวิศวกรคอมพิวเตอร์จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคและทางด้านอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ดีพอสมควร

          นอกจากนี้ยังมีบุคลากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์อีกมาก เช่น พนักงานควบคุมเครื่อง, ผู้ดูระบบ, พนักงานเตรียมข้อมูล, ผู้จัดการฐานข้อมูล ฯลฯ

บทที่ 2 การปรับแต่งหน้าจอแสดงผล (Display Setting)

คำสั่ง Display ที่อยู่ใน Control Panel มีความสามารถในการใช้กำหนด Theme ให้กับ Desktop Background สีของตัวอักษร หรืออื่นๆ ที่อยู่บนหน้าจอ และยังสามารถกำหนดความละเอียดของหน้าจอและอัตราการ Refresh ให้กับหน้าจอได้โดยการเรียกใช้งานคำสั่ง Display ซึ่งทำได้สองวิธี

• เรียกจากไอคอนที่อยู่ใน Control Panel

• ใช้คำสั่ง Properties ที่อยู่ใน Shortcut Menu

วิธีที่ 1 เรียกจากไอคอนที่อยู่ใน Control Panel

1. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Start

2. เลื่อนเมาส์ไปคลิกที่ Control Panel

3. คลิกเมาส์ที่คำสั่ง Appearance and Themes หรือ Display

[pic]

[pic]

วิธีที่ 2 ใช้คำสั่ง Properties ที่อยู่ใน Shortcut Menu

1. คลิกเมาส์ปุ่มขวาบนพื้นที่ว่างหน้าจอ

2. เลื่อนเมาส์ไปคลิกที่คำสั่ง Properties

[pic]

[pic]

แท๊บ Themes

เป็นการกำหนดกราฟิกต่างๆ ที่มองเห็นบน Desktop เช่น ไอคอน ตัวอักษร สี พื้นหลังต่างๆ และลักษณะรูปของ Screen saver ที่ใช้สำหรับการรักษาหน้าจอเมื่อไม่มีการใช้งาน

ขั้นตอนการกำหนด Themes ให้กับ Desktop

1. คลิกเมาส์ปุ่มขวาบนพื้นที่ว่างของ Desktop

2. เลือกที่ Properties เพื่อเข้าไดอะล๊อกบ็อซ์ Display Properties ขึ้นมา

3. คลิกเมาส์ที่แท็บ Themes

4. คลิกเมาส์ที่ดร๊อปดาวน์เมนู เพื่อเลือก Themes ที่ต้องการโดยมีรูปแบบ Themes ให้เลือกดังนี้

a. Themes ที่ Windows เตรียมมาให้แล้ว

b. Themes ที่เลือกผ่าน online ใน Internet (More themes online)

c. เลือก Themes ที่ดาวน์โหลดมาเก็บไว้ในเครื่อง

5. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม OK เพื่อเลือก Themes ที่ต้องการ

[pic]

แท๊ป Desktop

ใช้กำหนดรูปภาพหรือสีของพื้นหลัง (Background) ให้กับ Desktop และสามารถกำนหดตำแหน่งของรูปภาพที่กำหนดให้กับพื้นหลังได้ด้วย

ขั้นตอนการกำหนดสีของพื้นหลังและรูปให้กับ Desktop

1. คลิกเมาส์ปุ่มขวาบนพื้นที่ว่างของ Desktop

2. เลือกที่ Properties เพื่อเข้าไดอะล๊อกบ็อซ์ Display Properties ขึ้นมา

3. คลิกเมาส์ที่แท็บ Desktop

4. คลิกเมาส์เพื่อเลือกสีที่ต้องผ่านที่ดร็อปดาวน์เมนู

5. เลือกรูปที่จะนำมาเป็น Background จากในลิสต์หรือกดปุ่ม Browse เพื่อเลือกรูปที่อยู่ภายในคอมพิวเตอร์

6. กำหนดตำแหน่งของรูปภาพที่ดร็อปดาวน์เมนู Position

7. คลิกเมาส์ที่ OK เพื่อยืนยันเลือกสีที่เลือกไว้

เพิ่มเติม : สามารถเลือกรูปที่ต้องการขึ้นเป็น Background ได้โดยการคลิกเมาส์ปุ่มขวาที่รูปที่ต้องการ และเลือกที่ Set as Desktop Background

[pic]

แท๊ป Screen Savor

เป็นการกำหนดรูปภาพเคลื่อนไหวที่ปรากฏขึ้นมาบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ เมื่อไม่มการใช้งานเมาส์หรือคีย์บอร์ดในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ ซึ่งใช้สำหรับการรักษาหน้าจอคอมพิวเตอร์

ขั้นตอนการกำหนด Screen savor

1. คลิกเมาส์ปุ่มขวาบนพื้นที่ว่างของ Desktop

2. เลือกที่ Properties เพื่อเข้าไดอะล๊อกบ็อซ์ Display Properties ขึ้นมา

3. คลิกเมาส์ที่แท็บ Screen savor

4. คลิกเมาส์เลือก Screen savor ที่ต้องการจากดร็อปดาวน์เมนู Screen savor

5. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม OK

[pic]

การกำหนด Power Options Properties ให้กับหน้าจอ

1. คลิกเมาส์ปุ่มขวาบนพื้นที่ว่างของ Desktop

2. เลือกที่ Properties เพื่อเข้าไดอะล๊อกบ็อกซ์ Display Properties ขึ้นมา

3. คลิกเมาส์ที่แท็บ Screen savor

4. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Power จะปรากฏไดอะล๊อกบ๊อกซ์ Power Option Properties ขึ้นมา

5. คลิกเมาส์ที่แท็บ Power Schemes

6. เลือกรายการประหยัดพลังงาน จากในส่วนของ Power Schemes รายการที่อยู่ในส่วนของ Settings for Always on Power schemes ก็จะเปลี่ยนตามรายการนั้น

7. ในส่วนของ Setting for Always on Power schemes มีดังนี้

a. Turn off monitor ปิดหน้าจอภายในเวลาที่กำหนด

b. Turn off hard disks หยุดการจ่ายไฟให้กับ harddisk ในเวลาที่กำหนด

c. System standby เป็นการเข้าสู่สภาวะ Standby ในเวลาที่กำหนด

d. System Hibernates เป็นการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ในเวลาที่กำหนด โดยคอมพิวเตอร์จะทำการ Save ทุกอย่างที่อยู่ในหน่วยความจำไว้ใน harddisk

[pic]

แท๊ป Appearance

ใช้สำหรับเปลี่ยนรูปแบบของวินโดวส์และปุ่มต่างๆ แถบสีของไดอะล๊อกบ็อกซ์ ตัวอักษรและขนาดของตัวอักษรต่างๆ

ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงรูปแบบต่างๆ จากแท็ป Appearance

1. คลิกเมาส์ปุ่มขวาบนพื้นที่ว่างของ Desktop

2. เลือกที่ Properties เพื่อเข้าไดอะล๊อกบ็อกซ์ Display Properties ขึ้นมา

3. คลิกเมาส์ที่แท็บ Appearance

4. เมื่อต้องการเปลี่ยนรูปแบบของวินโดวส์และปุ่มต่างๆ ให้คลิกเมาส์ที่ลิสต์บ็อกซ์ Windows and buttons โดยเลือกรายการที่ต้องการ

5. เมื่อต้องการเปลี่ยนรูปแบบแถบสีของไดอะล๊อกบ็อกซ์ ให้คลิกเมาส์ที่ลิสต์บ็อกซ์ Color scheme

6. เมื่อต้องการเปลี่ยนขนาดของฟอนต์ ให้คลิกเมาส์ที่ลิสต์บ็อกซ์ Font size

7. เลือกรายการที่ต้องการ

8. คลิกปุ่ม Apply และปุ่ม OK

[pic]

แท๊ป Settings

ใช้กำหนด Screen resolution และ Color quality ให้กับ Desktop โดยที่ Screen resolution ใช้กำหนดความสามารถในการแสดงข้อมูลให้กับจอภาพ ส่วน Color quality ใช้สำหรับกำหนดความสามารถในการแสดงจำนวนสีให้กับจอภาพ

บทที่ 3 การบริหารจัดการ Disk

การบริหารจัดการ Drive ด้วย Disk Management

Disk Management สามารถตรวจสอบคุณสมบัติของ Drive และสามารถปรับแต่งการใช้งาน Drive ได้เช่น การแบ่งเนื้อที่บน Harddisk การทำ Format ระบบไฟล์ต่างๆ และการกำหนด Drive หรือ Path ให้กับ Drive Partition นั้นๆ

ขั้นตอนการเข้า Disk Management

1. คลิกขวาที่ My Computer

2. เลื่อนเมาส์ไปที่ตัวเลือก Manage จะแสดงเมนูของ Computer Management ขึ้นมา

3. เลื่อนเมาส์ไปที่ตัวเลือก Disk Management

การตรวจสอบคุณสมบัติของ Drive

สามารถตรวจสอบชนิดของ Drive ระบบไฟล์ พื้นที่การใช้งานบน Disk Drive ได้โดยทำการเรียกไดอะล็อกบ็อกซ์ Local Disk Properties โดยทำตามขั้นตอนดังนี้

1. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Start และเลือก My Computer จะปรากฏโฟลเดอร์ My Computer ขึ้นมา

2. คลิกเมาส์ปุ่มขวาที่ Drive ที่ต้องการ

3. เลื่อนเมาส์ไปคลิกที่ Properties จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Local Disk Properties ขึ้นมา โดยจะสามารถทราบละเอียดต่างๆ เช่น Drive ระบบไฟล์ โดยจะประกอบด้วยแท็บใช้งานดังนี้

a. แท็บ General กล่าวถึงรายละเอียดของดิสก์ไดรฟ์

b. แท็บ Tools กล่าวถึงเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารจัดการเกี่ยวกับ Disk

c. แท็บ Hardware กล่าวถึงคุณสมบัติของอุปกรณ์และการแก้ไขปัญหา

d. แท็บ Sharing เป็นการกำหนดการแบ่งปันทรัพยากรสำหรับการใช้งานเน็ตเวิร์ก

e. แท็บ Quota เป็นการกำหนดสถานะของดิสก์ไดรฟ์

[pic]

ขั้นตอนการลบไฟล์ขยะด้วย Disk Cleanup Wizard

1. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Start และเลือก My Computer จะปรากฏโฟลเดอร์ My Computer ขึ้นมา

2. คลิกเมาส์ปุ่มขวาบน Drive ที่ต้องการ จะปรากฏชอร์ตคัดเมนูขึ้นมา ให้คลิกเมาส์ที่ Properties

3. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Local Disk Properties ปรากฏอยู่ ให้คลิกเมาส์ที่ Disk Cleanup

4. จากไดอะล็อกบ็อกซ์ Local Disk Properties คลิกเมาส์เลือกเช็กบ็อกซ์ของไฟล์ที่ต้องการลบ

a. Downloaded Program Files เป็นไฟล์เกี่ยวกับ ActiveX Controls และ Java Applets ที่ถูกใช้ในหน้าเว็บเพจที่คุณเข้าไปเยี่ยมชม

b. Temporary Internet Files ถ้าทำการลบไฟล์นี้แล้ว จะทำให้โฟลเดอร์ IE6 cache ถูกลบไปด้วย เป็นการลบไฟล์ชั่วคราวที่ถูกโหลดเข้ามาเก็บไว้ขณะเล่นเว็บ

c. Offline Web Pages ถ้าทำการเตรียมเว็บเพจสำหรับใช้งานขณะ Offline หน้าเพจจะถูกจัดเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถลบได้

d. Recycle Bin ลบไฟล์ที่อยู่ใน Recycle Bin

e. Compress Old Files เป็นการบีบอัดไฟล์ที่ไม่ได้ใช้งานบ่อยๆ

5. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม OK และเลือก Yes เพื่อยืนยัน

[pic]

ขั้นตอนการบีบอัดไฟล์เพื่อเพิ่มเนื้อที่สำหรับดิสก์ด้วยยูทิลิตี้ Compression Drive

1. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Start และเลือก My Computer จะปรากฏโฟลเดอร์ My Computer ขึ้นมา

2. คลิกเมาส์ปุ่มขวาบน Drive ที่ต้องการ จะปรากฏชอร์ตคัดเมนูขึ้นมา ให้คลิกเมาส์ที่ Properties

3. คลิกเมาส์เลือกแท็บ General

4. คลิกเมาส์เลือกที่เช็กบ็อกซ์ Compress drive to save disk space

5. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Apply

6. จากไดอะล็อกบ็อกซ์ Confirm Attribute Changes คลิกเมาส์ที่ปุ่ม OK เพื่อยืนยันขึ้นตอนการทำงาน

[pic]

ขั้นตอนการตรวจสอบการบีบอัดไฟล์ที่ได้กระทำแล้ว

1. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Start และเลือก My Computer จะปรากฏโฟลเดอร์ My Computer ขึ้นมา

2. คลิกเมาส์เลือกที่เมนู Tools

3. เลื่อนเมาส์ไปคลิกที่ Folder Options จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Folder Options

4. คลิกเมาส์เลือกแท็บ View

5. คลิกเมาส์เลือกที่เช็กบ็อกซ์ Show encrypted or compressed NTFS files in color

6. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม OK

ชื่อของไฟล์ที่โฟลเดอร์ที่ทำการบีบอัดจะแสดงให้เห็นเป็นตัวอักษรสีน้ำเงิน

[pic]

การจัดเรียงไฟล์ข้อมูลด้วย Defragmentation

การทำ Defragmentation คอมพิวเตอร์ จะทำให้ความเร็วในการค้นหาข้อมูลทำได้เร็วขึ้น เนื่องจากเมื่อทำการลบไฟล์ในคอมพิวเตอร์ของคุณแล้ว ระบบปฏิบัติการ Windows ไม่สามารถที่จะย้ายข้อมูลออกไปได้จริงๆ ซึ่งจะทำให้เกิดการมาร์คตำแหน่งพื้นที่นั้น สำหรับใช้ในการเขียนข้อมูลใหม่เมื่อมีไฟล์ใหม่ถูกเขียนลงดิสก์ ส่วนของไฟล์จะทำการเขียนลงบนเซกเตอร์บนของพื้นที่ว่างบนดิสก์ การเขียนของไฟล์ถูกเรียกว่า fragmentation ปัญหาคือเมื่อไดร์ฟมีการทำ fragmentation เป็นปริมาณที่มาก มันจะทำให้ Windows ค้นหาข้อมูลนานขึ้น ดังนั้นการทำ Defragmentation จึง เป็นการจัดเรียงไฟล์ข้อมูลที่เป็นส่วนให้ถูกที่มากขึ้น

ขั้นตอนการทำ Defragmentation

1. คลิกเมาส์ไปที่ Start

2. เลื่อนเมาส์ไปที่ All Programs

3. เลื่อนเมาส์ไปที่ Accessories

4. เลื่อนเมาส์ไปที่ System Tools

5. คลิกเมาส์ไปที่ Disk Defragmenter จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Disk Defragmenter

6. เลือก Drive ที่ต้องการทำ Defragment

7. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Defragment โดยขณะทำการ Analysis และ Defragment จะสังเกตรหัสสีที่แสดงอยู่

a. สีเขียว เป็นไฟล์ระบบที่ถูกใช้โดย NTFS system สำหรับ MFT table และ logs ซึ่งไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้

b. สีน้ำเงิน เป็นไฟล์ Contiguous files ที่อยู่ติดกัน

c. สีแดง เป็นไฟล์ Fragmented files ที่ถูกจัดเก็บในพื้นที่ไดรฟ์ที่ไม่อยู่ติดกัน

d. สีขาว เป็นพื้นที่ว่าง

[pic]

การทำ Backup

การใช้งาน Windows Backup ซึ่งเป็นยูทิลิตี้ที่มีมาพร้อมกับ Windows XP ซึ่งมีโหมดการใช้งานอยู่ 2 แบบคือ

1. แบบ Wizard Mode

2. แบบ Advance Mode

ขั้นตอนการใช้งาน Backup or Restore Wizard (Wizard Mode)

1. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Start

2. เลื่อนเมาส์ไปคลิกที่ All Programs

3. เลื่อนเมาส์ไปคลิกที่ Accessories

4. เลื่อนเมาส์ไปคลิกที่ System Tools

5. เลื่อนเมาส์ที่ Backup จะปรากฏหน้าจอ Backup or Restore Wizard

6. คลิก Next

7. คลิกเมาส์ option Back up files and settings

8. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Next

9. เลือก option ที่จะทำการ backup ดังนี้

a. My documents and Setting โฟลเดอร์ My Documents รวมถึง Favorites, Desktop และ Cookies

b. Everyone’s document and setting โฟลเดอร์ My Documents ของผู้ใช้งานทุกคน รวมถึง Favorites, Desktop และ Cookies

c. All Information on this computer ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ และการสร้างระบบ Recovery disk ที่สามารถถูกใช้ในการคืนค่าข้อมูลในกรณีที่มีความเสียหายเกิดขึ้น

d. Let me choose what to back up เลือกสิ่งที่ต้องการทำ backup

10. เลือกตำแหน่งที่จะจัดเก็บไฟล์ backup Choose a place to save your backup

11. กำหนดชื่อที่ต้องการ

12. คลิกปุ่ม Save

13. คลิกที่ปุ่ม Next จะปรากฏรายละเอียดต่างๆ เช่น Name, Description, Contents, Location

14. กด Finish เพื่อยืนยันคำสั่ง

รายละเอียดเพิ่มเติม โดยการเลือกตัวเลือก Advance ก่อน Finish สามารถเลือกชนิดการทำ backup ซึ่งประกอบไปด้วย

a. Normal เป็นค่าเริ่มต้น ซึ่งสามารถทำการ backup ได้โดยขึ้นอยู่กับปริมาณของข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไป

b. Copy เป็นคำสั่งที่มี่ค่าเท่ากับการก๊อปปี้ข้อมูล

c. Incremental เป็นการทำ backup หลังจากการทำ backup แบบ Normal โดยข้อมูลที่ทำการ backup นั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยมากในแต่ละวัน

d. Differential เป็นการทำ backup เฉพาะข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มข้อมูลขึ้นในแต่ล่ะวัน

e. Daily เป็นการทำ backup ที่มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ล่ะวัน

ถ้าหากต้องการ Restore ข้อมูลกลับมาให้เข้าที่ backup เช่นเดียวกัน แต่เลือก option ที่ Restore files and settings แทน

[pic]

[pic]

[pic]

[pic]

[pic]

[pic]

[pic]

[pic]

[pic]

บทที่ 4 พื้นฐานการใช้งาน Internet Explorer

การปรับแต่ง Toolbar

เราสามารถเพิ่มหรือเอาปุ่มของเครื่องมือในทูลบาร์ออก โดยการกำหนดที่ไดอะล็อกบ็อกซ์ Customize Toolbar โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. คลิกเมาส์ที่ Menu View

2. เลื่อนเมาส์ไปที่ Toolbars

3. เลื่อนเมาส์ไปคลิกที่ Customize

4. ทำการเพิ่มปุ่มเครื่องมือโดยคลิกเมาส์เลือกปุ่มเครื่องมือที่อยู่ด้านซ้ายมือ

5. คลิกเลือกปุ่มเครื่องมือที่อยู่ในช่องด้านซ้ายมือ

6. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Add และกดปุ่ม Close จะปรากฏไอคอนในทูลบาร์ตามที่ต้องการ (หากต้องการนำปุ่มเครื่องมือออกให้ทำการคลิกเมาส์ที่ปุ่ม Remove)

[pic]

[pic]

การจัดการกับคุกกี้ (Cookies)

คุกก็เป็น Text File ขนาดเล็ก ที่ใช้เก็บข้อมูลของเว็ปไซต์บางเว็ปไซต์ในเครื่องคอมพิวเตอร์เรา และสามารถใช้อินเตอร์เน็ตร่วมกับการควบคุมคุกกี้

ขั้นตอนการกำหนด Privacy ให้กับอินเตอร์เน็ตโซนเพื่อจัดการคุกกี้

1. คลิกเมาส์ที่เมนู Tools

2. เลื่อนเมาส์ไปคลิกที่ Internet Options จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Internet Options ขึ้นมา

3. คลิกเมาส์เลือกแท็บ Privacy

4. คลิกเมาส์เพื่อลากสไลด์เดอร์ตาม Option ที่ต้องการ โดยมีรายละเอียดดังนี้

a. Block All Cookies เป็นการระงับใช้คุกกี้

b. High ระงับใช้คุกกี้ที่ไม่มีการแยกข้อมูลที่เป็นส่วนตัวออกไว้ต่างหาก

c. Medium High ระงับใช้คุกกี้ของ third party และ first party ที่ไม่มีการแยกข้อมูลที่เป็นส่วนตัวออกไว้ต่างหาก

d. Medium ระดับการใช้คุกกี้ของ third party และจำกัดการใช้คุกกี้ของ first party ที่ไม่มีการแยกข้อมูลที่เป็นส่วนตัวออกไว้

e. Low ระงับการใช้คุกกี้ของ third party ที่ไม่มีการแยกข้อมูลที่เป็นส่วนตัวออกไว้ต่างหาก

f. Accept All Cookies ยอมให้ใช้คุกกี้ทั้งหมด และยินยอมให้คุกกี้ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราถูกบันทึกเพื่ออ่านได้

5. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Site เพื่อกำหนดการจัดการ Cookie ให้แต่ล่ะ Website จะปรากฏไดอะล็อก

บ็อกซ์ Per Site Privacy Actions

6. พิมพ์ชื่อเว็ปไซต์และกำหนดรายละเอียดในช่องของ Address of web site

a. คลิกเมาส์ที่ Block เพื่อระงับการใช้คุกกี้ ซึ่งจะมีค่าเหมือนกับการเลือก Option Block All Cookies

b. คลิกเมาส์ที่ Allow ถ้ายินยอมให้ใช้คุกกี้ทั้งหมด ซึ่งจะมีค่าเหมือนกับการเลือก Option Allow All Cookies

ถ้าหากต้องการลบเว็ปไซต์ที่ถูกกำหนด Privacy ออกไป ให้เลือกชื่อเว็ปไซต์ที่ต้องการลบและเลือก Remove หรือลบเว็ปไซต์ทั้งหมดโดยการเลือก Remove All

7. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม OK เพื่อยืนยัน

[pic]

[pic]

การปรับแต่ง Internet Option

การปรับแต่ง Internet Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานต่างๆ เช่น การตั้งค่าโฮมเพจเริ่มต้น, จัดการกับ Temporary Internet files และกำหนดค่าโปรแกรมให้ทำงานร่วมกับ IE โดยอัตโนมัติ

ขั้นตอนการลบไฟล์คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน

1. คลิกเมาส์ที่เมนู Tools

2. เลือกเมาส์ไปคลิกที่ Internet Options

3. คลิกเมาส์เลือกแท็บ General

4. ในกรอบของ Temporary Internet files คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Delete Cookies

5. เลือก OK เพื่อยืนยัน หรือ เลือก Cancel เพื่อยกเลิกการลบ

[pic]

ขั้นตอนการจัดการเนื้อที่ของ Harddisk ให้กับ Temporary Internet Pages

1. คลิกเมาส์ที่เมนู Tools

2. เลือกเมาส์ไปคลิกที่ Internet Options

3. คลิกเมาส์เลือกแท็บ General

4. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Setting จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Setting ขึ้นมา

5. ในกรอบของ Temporary Internet file folder ให้คลิกเมาส์เพื่อลากสไลด์เดอร์

a. ลากสไลด์เดอร์ไปด้านขวาเพื่อเพิ่มเนื้อที่การจัดเก็บ

b. ลากสไลด์เดอร์ไปด้านซ้ายเพื่อลดเนื้อที่การจัดเก็บ

6. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม OK เพื่อยืนยัน

[pic]

ขั้นตอนการกำหนดโอมเพจหลัก

1. คลิกเมาส์ที่เมนู Tools

2. เลื่อนเมาส์ไปคลิกที่ Internet Options

3. คลิกเมาส์เลือกแท็บ General

4. ในกรอบของ Home Page ในช่อง Address ให้พิมพ์ชื่อเว็ปไซต์เพื่อกำหนดเป็นเว็ปไซต์หลัก

5. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม OK เพื่อปิดไดอะล็อกบ็อกซ์ Internet Option

[pic]

ขั้นตอนการกำหนดสีให้กับ Links เพื่อแสดงให้เห็นหน้าเว็ปเพจที่เคยเยี่ยมมาแล้ว

1. คลิกเมาส์ที่เมนู Tools

2. เลื่อนเมาส์ไปคลิกที่ Internet Options

3. คลิกเมาส์เลือกแท็บ General

4. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Color จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Color ขึ้นมา

5. คลิกเมาส์ที่ Visited: เพื่อกำหนดสีของ Links ที่ถูกคลิกแล้ว

6. คลิกเมาส์ที่ Unvisited: เพื่อกำหนดสีของ Links ที่ยังไม่ถูกคลิก

7. ถ้าต้องการกำหนด highlight ให้กับ Links ให้คลิกเมาส์เลือกเช็กบ็อกซ์ Use hover color

8. คลิกเมาส์ปุ่ม OK เพื่อจบการทำงาน

[pic]

ขั้นตอนการเปลี่ยนลักษณะของตัวอักษร (Fonts) ให้กับหน้าเว็ปเพจที่แสดงอยู่

1. คลิกเมาส์ที่เมนู Tools

2. เลื่อนเมาส์ไปคลิกที่ Internet Options

3. คลิกเมาส์เลือกแท็บ General

4. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Fonts จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Fonts ขึ้นมา

5. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Language script: เพื่อเลือกกลุ่มของตัวอักษร

6. คลิกเมาส์ที่ Web page font: เพื่อเลือกลักษณะของตัวอักษร

7. คลิกปุ่ม OK เพื่อปิดไดอะล็อกบ็อกซ์ Fonts

[pic]

ขั้นตอนการลบชื่อของเว็ปเพจที่เคยเยี่ยมชมมาแล้ว

1. คลิกเมาส์ที่เมนู Tools

2. เลื่อนเมาส์ไปคลิกที่ Internet Options

3. คลิกเมาส์เลือกแท็บ General

4. ในกรอบของ History คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Clear History

5. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Yes

6. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม OK เพื่อจบการทำงาน

[pic]

ขั้นตอนการกำหนดระดับของการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์

1. คลิกเมาส์ที่เมนู Tools

2. เลื่อนเมาส์ไปคลิกที่ Internet Options

3. คลิกเมาส์เลือกแท็บ Security

4. ในกรอบแรกเลือก Zone ที่ต้องการกำหนดการใช้งาน

5. ในกรอบของ Security level for this zone ให้คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Custom level จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Security Settings

6. คลิกเมาส์เลือกข้อกำหนดจากเช็กบ็อกซ์ตามที่ต้องการ (หากต้องการกำหนดตามที่ Windows

กำหนดมาให้โดยการเลือกที่ Reset custom settings แล้วเลือก Reset to)

7. คลิก OK เพื่อยืนยัน

[pic]

ขั้นตอนการปรับแต่งขนาดและภาษาของตัวอักษรสำหรับแสดงหน้าเว็ปเพจ

1. คลิกเมาส์ที่เมนู View

2. เลื่อนเมาส์ไปที่ Text Size

3. คลิกเมาส์เลือกขนาดของตัวอักษรตามที่ต้องการ

4. เลื่อนเมาส์ไปที่ Encoding

5. คลิกเมาส์เลือกภาษาที่ต้องการให้ IE แสดงในหน้าเว็ปเพจ

ขั้นตอนการใช้งานเว็ปเพจขณะไม่ได้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

1. คลิกเมาส์ที่เมนู Favorites

2. เลื่อนเมาส์ไปที่ Add to Favorites จะปรากฏไดอะล็อกซ์ Add Favorites ขึ้นมา

3. คลิกเมาส์เลือกเช็กบ็อกซ์ Make available offline เพื่อกำหนดให้เว็ปเพจสามารถดูได้แม้ไม่ได้ Online

4. พิมพ์ชื่อของเว็ปเพจที่ต้องการลงในช่อง Name

5. คลิกเมาส์เลือก Customize จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Offline Favorite Wizard

6. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Next

7. คลิกเลือกจำนวนหน้าที่เว็ปเพจต้องการ link สำหรับเข้าเยี่ยมชม

8. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Next

9. คลิกเลือก option Only when I choose synchronize from the Tools menu เพื่อกำหนดให้ทำการ Synchronize เว็ปเพจ เมื่อคลิกเมาส์ที่คำสั่ง Synchronize ที่อยู่ในเมนู Tools เท่านั้น

10. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Next

11. คลิกเลือก option No เมื่อไม่ต้องการกำหนดพาสเวิร์ดให้กับการ Synchronize เว็บเพจ

12. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Finish

13. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม OK จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Synchronizing

[pic]

[pic]

[pic]

[pic]

ขั้นตอนการปรับแต่งเว็ปไซต์ที่เข้าเยี่ยมชมบ่อยๆ ด้วย Favorite Sites

1. คลิกเมาส์ที่เมนู Favorites

2. เลื่อนเมาส์ไปที่ Add to Favorites จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Add Favorites ขึ้นมา

3. พิมพ์ชื่อของเว็บเพจตามต้องการในช่อง Name

4. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม OK

[pic]

บทที่ 5 การรับส่ง E-Mail

การรับส่ง E-mail โดยใช้ Outlook Express

ระบบปฏิบัติกาวินโดวส์จะกำหนดให้โปรแกรม Outlook Express เป็นโปรแกรมปกติสำหรับใช้ รับและส่งอีเมล์ ดังนั้นก่อนที่จะทำการรับและส่งอีเมล์ได้นั้น จะต้องมี E-mail account ก่อน โดยสามารถขอได้จากองค์กรของท่านเอง หรือจากเว็ปไซต์ที่แจกฟรีเช่น ,

ขั้นตอนการเรียกใช้งานโปรแกรม Outlook Express

1. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Start

2. เลื่อนเมาส์ไปที่ All Programs

3. คลิกเมาส์ที่ Outlook Express จะปรากฏโปรแกรม Outlook Express ขึ้นมา

ขั้นตอนการเซต E-mail account ให้กับโปรแกรม Outlook Express

1. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Start

2. เลื่อนเมาส์ไปที่ All Programs

3. คลิกเมาส์ที่ Outlook Express จะปรากฏโปรแกรม Outlook Express ขึ้นมา

4. คลิกเมาส์ที่ Tools

5. คลิกเมาส์ที่ Accounts จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Internet Account ขึ้นมา

6. คลิกเมาส์ที่แท็บ Mail

7. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Add

8. คลิกเมาส์ที่ Mail จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Internet Connection Wizard ขึ้นมา

9. พิมพ์ชื่อลงในช่อง Display name

10. คลิกเมาส์ที่ Next

11. พิมพ์ E-mail address ลงในช่อง E-mail address

12. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Next

13. พิมพ์รหัสผ่านไปในช่อง Password

14. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Next

15. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Finish

16. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Close

รายละเอียดเพิ่มเติม

Mail Server คือเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่อยู่บนเน็ตเวิร์ก และทำตัวเสมือนกับเป็นที่ทำการไปรษณีย์ ทำหน้าที่จัดเก็บอีเมล์ที่ได้รับเข้ามา จากนั้นก็เตรียมส่งอีเมล์นั้นให้กับผู้ใช้ไปในช่องทางหรือโปรโตคอลที่เหมาะสม โดยโปรโตคอลมีให้เลือกดังนี้

a. POP3 (Post Office Protocol 3) เป็นโปรโตคอลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบรรดา ISP เมื่อใช้โปรแกรมรับหรือส่งอีเมล์ ทำการรับอีเมล์ โปรโตคอลนี้จะทำการส่ง message ทั้งหมดมาไว้ในเครื่องโดยตรงทันที

b. IMAP (Internet Message Access Protocol) สามารถรับอีเมล์ได้จากอีเมล์เซิร์ฟเวอร์หลายๆ ตัว ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน ผู้ใช้สามารถอ่านเฉพาะส่วนที่เป็น header ของอีเมล์เท่านั้นโดยไม่จำเป็นต้องทำการรับ message ทั้งหมดโดยอัตโนมัติ

c. HTTP (hypertext transfer Protocol) เป็นโปรโตคอลที่ได้รับความนิยมมากในบรรดา Internet mail server เช่น Hotmail

[pic]

[pic]

[pic]

[pic]

[pic]

[pic]

ขั้นตอนการเขียนและการส่งอีเมล์

1. คลิกเมาส์ที่ลูกศรด้านข้างปุ่ม Create Mail

2. คลิกเมาส์เลือกพื้นหลังของอีเมล์ตามต้องการ

3. ในช่อง To: พิมพ์ E-mail address ของผู้ที่ต้องการส่งอีเมล์ไปให้

a. ถ้าต้องการส่งไปให้หลายๆ คน ให้พิมพ์สัญลักษณ์ ; ต่อท้าย E-mail address หลังจากนั้นให้พิมพ์ E-mail address ถัดมาได้เลย

4. ในช่อง Cc: ให้พิมพ์ E-mail address ของผู้ที่ต้องการส่งอีเมล์ไปให้

5. ในช่อง subject: ให้พิมพ์หัวข้อของอีเมล์

6. พิมพ์เนื้อหา

7. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Send

ขั้นตอนการแนบไฟล์ไปพร้อมกับข้อความ

1. ในโปรแกรม Outlook Express ให้คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Create Mail

2. ในช่อง To: พิมพ์ E-mail address ของผู้ที่ต้องการส่งอีเมล์ไปให้

3. ในช่อง Subject: พิมพ์หัวข้อของอีเมล์

4. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Attach

5. คลิกเมาส์ที่ Look in เพื่อค้นหาไฟล์ที่ต้องการแนบ

6. คลิกเมาส์ที่ไฟล์ที่ต้องการ

7. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Attach

8. พิมพ์เนื้อหา

9. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Send

[pic]

[pic]

การใช้งาน Address Book

ขั้นตอนการเรียกใช้ Address Book

1. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Address ในทูลบาร์ในโปรแกรม Outlook Express หรือ ไปที่ All Program และเลือกที่ Accessories และคลิกเมาส์ที่ Address book

2. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม New

3. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม New Contact จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Properties ชองคนที่ต้องการเพิ่มรายชื่อ

4. ในช่อง First: ให้พิมพ์ชื่อ

5. ในช่อง Last: ให้พิมพ์นามสกุล

6. ในช่อง Nickname: ให้พิมพ์ชื่อเล่น

7. ในช่อง E-mail address ให้พิมพ์ E-mail address

8. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Add

9. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม OK

[pic]

[pic]

ขั้นตอนการกำหนด Group ให้กับรายชื่อที่อยู่ใน Address book

1. ในโปรแกรม Outlook Express ให้คลิกเมาส์ที่ปุ่ม address ในทูลบาร์ จะปรากฏหน้าต่าง Address Book

2. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม New

3. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม New Group จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Properties ของ Group ที่สร้างขึ้นมา

4. คลิกเมาส์ที่แท็บ Group

5. ในช่อง Group Name: พิมพ์ชื่อของ Group ที่ต้องการสร้าง

6. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Select Members จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Select Group Members ขึ้นมา

7. คลิกเมาส์ที่ชื่อที่อยู่ในลิสต์บ็อกซ์เพื่อกำหนดให้เป็นสมาชิกของ Group

8. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Select

9. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม OK

10. จะปรากฏรายชื่อของ Group แสดงอยู่ใน Contacts List ด้วย

สำหรับวิธีการส่งอีเมล์ให้กับรายชื่อที่อยู่ใน Address book ภายใน Group ให้พิมพ์ในช่องของ To: โดยใส่ชื่อของ Group แทน

ขั้นตอนการบล็อกอีเมล์

1. คลิกเมาส์ที่เมนู Tools ในโปรแกรม Outlook Express

2. เลื่อนเมาส์ไปที่ Message Rules

3. คลิกเมาส์ที่ Block Senders List จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Message Rules ขึ้นมา

4. คลิกเมาส์ที่แท็บ Blocked Senders

5. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Add จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Add Sender

6. พิมพ์ E-mail address ที่ต้องการบล็อกลงในช่อง Address:

7. คลิกเมาส์ที่ option เพื่อเลือก message ที่ต้องการบล็อก

8. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม OK

9. จะปรากฏ E-mail address ที่ถูกบล็อก

10. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม OK

[pic]

[pic]

สำหรับโปรแกรมรับส่ง E-mail โดยใช้โปรแกรม Microsoft Outlook นั้นจะมีบางฟังก์ชันที่จำเป็นต่อการใช้งานและเพื่อให้เกิดความสะดวกสบายได้แก่

• สามารถตรวจสอบปลายทางว่าได้รับ E-mail แล้วหรือยัง และให้ปลายทางส่งข้อความตอบกลับมาว่าได้รับแล้วอัตโนมัติ

• สามารถตรวจสอบปลายทางว่าได้เปิดอ่าน E-mail แล้วหรือยัง และให้ปลายทางส่งข้อความตอบกลับมาว่าได้เปิดอ่านแล้วอัตโนมัติ

• สามารถจัดการตารางเวลาการทำงานของบุคคลภายในองค์กรได้

ขั้นตอนการส่ง E-mail เพื่อให้ปลายทางตอบกลับของ Microsoft Outlook

1. ทำการเข้าสู่หน้าแสดงการเขียน E-mail

2. เลือกที่ option และเลือก option

3. เช็กบ็อกซ์ที่ Request a read receipt for this message

4. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Close

[pic]

[pic]

บทที่ 6 ไวรัสคอมพิวเตอร์

ไวรัส คือ โปรแกรมชนิดหนึ่งที่ถูกเขียนขึ้นให้สามารถจัดการกับตัวมันเอง โดยมีลักษณะเลียน แบบสิ่งมีชีวิต คือเจริญเติบโตเองได้ ขยายและแพร่กระจายตัวเองได้ สามารถอยู่รอดได้ด้วยการอำพรางตน เหมือนกับไวรัสที่เป็นเชื้อโรคร้ายทำลายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายนั่นเอง

ไวรัสคอมพิวเตอร์ สามารถสำเนาตัวเองให้แพร่กระจายไปยังไฟล์ในระบบคอมพิวเตอร์จาก เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง ผ่านตัวกลางที่เป็นพาหะเช่น การสำเนาไฟล์ด้วยแผ่นดิสค์เก็ตระหว่างเครื่อง การสำเนาข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายหรือระบบสื่อสาร การที่คอมพิวเตอร์เครื่องใดติดไวรัส หมายความว่า ไวรัสได้เข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากไวรัสเป็นโปรแกรมชนิดหนึ่งการที่จะเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำได้จะต้องมีการถูกเรียกใช้งานหรือถูกกระตุ้นให้ทำงาน (ขึ้นอยู่กับประเภทของไวรัสชนิดนั้นๆ) ซึ่งปกติผู้ใช้เครื่องมักจะไม่รู้ตัวว่าได้ทำการปลุกไวรัสคอมพิวเตอร์ให้ขึ้นมาทำงานแล้ว การทำงานของไวรัสแต่ละตัวจะขึ้นกับวัตถุประสงค์ของผู้เขียนโปรแกรมนั้นขึ้นมา เช่น ทำลายระบบปฏิบัติการ โปรแกรมใช้งานหรือข้อมูลอื่นๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือรบกวนการทำงาน เช่น การบูตระบบช้าลง เรียกใช้โปรแกรมได้ไม่สมบูรณ์ หรือเกิดอาการค้าง (แฮงก์ไม่ทราบสาเหตุ) เกิดข้อความวิ่งไปมาที่หน้าจอ หรือกรอบข้อความเตือนไม่ทราบสาเหตุ เป็นต้น

อาการของเครื่องที่ติดไวรัสคอมพิวเตอร์

              เราสามารถจะสังเกตการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ว่าเข้าข่ายติดไวรัสหรือไม่ ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าน่าจะเกิดจากไวรัสได้รุกล้ำเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณแล้ว

              - ใช้เวลานานผิดปกติในการเรียกโปรแกรมขึ้นมาทำงาน

              - ขนาดของโปรแกรมใหญ่ขึ้น (เพิ่มจากปกติอย่างผิดสังเกต)

              - วันเวลาของโปรแกรมหรือไฟล์ข้อมูลเปลี่ยนไป (โดยไม่ได้มีการแก้ไขหรือเรียกใช้งาน)

              - ขนาดของหน่วยความจำที่เหลือลดน้อยลงกว่าปกติ โดยไม่ทราบสาเหตุ

              - ไฟแสดงสถานะการทำงานของฮาร์ดดิสก์ติดค้างนานกว่าที่เคยเป็น (แม้จะไม่เรียกโปรแกรม ทำงานก็กระพริบตลอด)

              - แป้นพิมพ์หรือเมาท์ทำงานผิดปกติหรือไม่ทำงานเลย

              - เครื่องทำงานช้าลงหรือหยุดทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุ รวมทั้งเกิดการรีบูตตัวเองโดย ไม่ได้สั่ง

              - เซกเตอร์ที่เสียมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยมีการรายงานว่ามีจำนวนเซกเตอร์ที่เสียเพิ่มขึ้นทั้งๆ ที่ยัง ไม่ได้ใช้โปรแกรมใดๆ เข้าไปตรวจหาเลย ไฟล์ข้อมูลหรือโปรแกรมที่เคยใช้อยู่ๆ ก็หายไป

บันทึกประวัติความเป็นมาของไวรัสคอมพิวเตอร์

              โปรแกรมที่สามารถสำเนาตัวเองได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2526 โดย ดร.เฟรดเดอริก โคเฮน นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาโปรแกรมลักษณะนี้ และได้ตั้งชื่อว่า "ไวรัส" แต่ไวรัสที่แพร่ระบาดและสร้างความเสียหายให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ตามที่มีการบันทึกไว้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2529 ด้วยผลงานของไวรัสที่ชื่อ "เบรน (Brain)" ซึ่งเขียนขึ้นโดยโปรแกรมเมอร์สองพี่น้องชาวปากีสถาน ชื่อ อัมจาด (Amjad) และ เบซิท (Basit) เพื่อป้องกันการคัดลอกทำสำเนาโปรแกรมของพวกเขาโดยไม่จ่ายเงิน ไวรัสคอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆ จะระบาดโดยการสำเนาซอฟท์แวร์เถื่อน หรือซอฟท์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ที่มีโปรแกรมไวรัสคอมพิวเตอร์ติดอยู่ ด้วยการใช้แผ่นฟลอบปี้ดิสก์หรือซีดีรอม แต่ในปัจจุบันเนื่องจากการเติบโตของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ไวรัสยุคหลังๆ มีความสามารถในการทำสำเนาคัดลอกและแพร่กระจายตัวเองได้มากขึ้น รวมทั้งมีความรุนแรงมากกว่าเดิม ในปัจจุบันนี้พบว่ามีมากกว่า 40,000 ชนิด และยังเกิดเพิ่มขึ้นอีกอยู่ทุกๆ วัน อย่างน้อยวันละ 4-6 ตัว

ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์

เพื่อให้สะดวกในการป้องกันและกำจัดไวรัส จึงมีการแบ่งไวรัสคอมพิวเตอร์ออกเป็นหมวดหมู่ดังนี้

              1. บูตเซกเตอร์ไวรัส (Boot Sector or Boot Infector Viruses) คือไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ของดิสก์ เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานขึ้นมาตอนแรก เครื่องจะเข้าไปอ่านโปรแกรมบูตระบบที่อยู่ในบูตเซกเตอร์ก่อน ถ้ามีไวรัสเข้าไปฝังตัวอยู่ในบูตเซกเตอร์ในบริเวณที่เรียกว่า Master Boot Record (MBR) ในทุกครั้งที่เราเปิดเครื่อง ก็เท่ากับว่าเราไปปลุกให้ไวรัสขึ้นมาทำงานทุกครั้งก่อนการเรียกใช้โปรแกรมอื่นๆ

              2. โปรแกรมไวรัส (Program or File Infector Viruses) เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่งที่มักจะระบาดด้วยการติดไปกับไฟล์โปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น com, exe, sys, dll สังเกตได้จากไฟล์โปรแกรมจะมีขนาดที่โตขึ้นจากเดิม บางชนิดอาจจะสำเนาตัวเองไปทับบางส่วนของโปรแกรมซึ่งไม่อาจสังเกตจากขนาดของไฟล์ได้

การทำงานของไวรัสจะเริ่มขึ้นเมื่อไฟล์โปรแกรมที่ติดไวรัสถูกเรียกมาทำงาน ไวรัสจะถือโอกาสไปฝังตัวในหน่วยความจำทันทีแล้วจึงให้โปรแกรมนั้นทำงานต่อไป เมื่อมีการเรียกโปรแกรมอื่นๆ ขึ้นมาทำงานไวรัสก็จะสำเนาตัวเองให้ติดไปกับโปรแกรมตัวอื่นๆ ต่อไปได้อีกเรื่อยๆ

              3. มาโครไวรัส (Macro Viruses) เป็นไวรัสสายพันธุ์ที่ก่อกวนโปรแกรมสำนักงานต่างๆ เช่น MS Word, Excel, PowerPoint เป็นชุดคำสั่งเล็กๆ ทำงานอัตโนมัติ ติดต่อด้วยการสำเนาไฟล์จากเครื่องหนึ่งไปยังเครื่องหนึ่ง มักจะทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่ขึ้นผิดปกติ การทำงานหยุดชะงักโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือทำให้ไฟล์เสียหาย ขัดขวางกระบวนการพิมพ์ เป็นต้น

              4. สคริปต์ไวรัส (Scripts Viruses) ไวรัสสายพันธุ์นี้เขียนขึ้นมาจากภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม เช่น VBScript, JavaScript ซึ่งไวรัสคอมพิวเตอร์เหล่านี้จะทำงานเมื่อผู้ใช้เปิดหรือเรียกใช้งานไฟล์นามสกุล .vbs, .js ที่เป็นไวรัส ซึ่งอาจจะติดมาจากการเรียกดูไฟล์ HTML ในหน้าเว็บเพจบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

              5. ม้าโทรจัน (Trojan Horses) เป็นไวรัสประเภทสปาย (SPY) ที่จะคอยล้วงความลับจากเครื่องของเราส่งไปให้ผู้เขียนโปรแกรม ระบาดกันมากบนอินเทอร์เน็ต ความลับที่ม้าโทรจันจะส่งกลับไปยังผู้เขียนโปรแกรมได้แก่ Username, Password หรือเลขที่บัตรเครดิต สำหรับท่านที่ชอบปิ้งออนไลน์ โดยโปรแกรมพวกนี้จะสามารถจับการกดคีย์ใดๆ บนคีย์บอร์ดแล้วจัดเก็บเป็นไฟล์ข้อความขนาดเล็กส่งกลับไปยังผู้เขียนโปรแกรม

              6. ไวรัสประเภทกลายพันธุ์ หมายถึง ไวรัสในยุคปัจจุบันนี้ที่มีความสามารถในการแพร่กระจายตัวเองได้อย่างรวดเร็ว เปลี่ยนแปลงลักษณะตัวเองไปเรื่อยๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจจับ และซ่อนแอบอยู่ได้ในระบบคอมพิวเตอร์ ที่รู้จักกันมากได้แก่ประเภทหนอน (Worm) ชนิดต่างๆ ซึ่งสามารถแพร่กระจายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการแฝงตัวไปกับอีเมล์ กับไฟล์สคริปต์ที่ให้บริการบนอินเทอร์เน็ต ตัวอย่างของไวรัสประเภทนี้ที่รู้จักกันดีก็ได้แก่ Love bug จะแพร่กระจายผ่านทางอีเมล์ เมื่อผู้รับเปิดอ่านจดหมายนั้นไวรัสจะแฝงตัวเข้าในเครื่องและค้นหารายชื่อที่อยู่อีเมล์ใน Addrees book โดยเฉพาะผู้ใช้งาน Outlook Express แล้วทำการส่งจดหมายไปยังผู้รับตามรายชื่อพร้อมไฟล์ไวรัสนั้นด้วย

การป้องกันและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์

              โปรแกรมไวรัสเป็นโปรแกรมที่สามารถสร้างได้ง่าย แต่ตรวจจับได้ยาก เปรียบเหมือนเชื้อโรคร้ายที่คอยทำลายบรรดาโปรแกรม และข้อมูลสำคัญบนเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากความสามรถในการสำเนาตัวเอง แฝงตัวและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เราต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากในการใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อความปลอดภัยของบรรดาข้อมูลต่างๆ ไวรัสคอมพิวเตอร์ ได้ถูกพัฒนา ให้สร้างความเสียหายสูงขึ้นไปทุกขณะ และแฝงตัวไปกับไฟล์ได้ทุกชนิดไม่เว้นแม้แต่ไฟล์รูปภาพ การ์ดอวยพร เพลง และภาพยนตร์ ในอนาคตสิ่งที่น่ากลัวคือผ่านทางระบบเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ (เทคโนโลยีโทรศัพท์ ปัจจุบันนี้ไม่ต่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์แต่อย่างใด เพราะสามารถรับส่งภาพ เพลง เกมและเล่นอินเทอร์เน็ตได้) จึงเป็นเป้าหมายใหม่สำหรับแฮกเกอร์และบรรดาผู้ที่พัฒนาไวรัสคอมพิวเตอร์ทั้งหลาย

              วิธีการที่ผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ควรใช้ ในการป้องกันระบบคอมพิวเตอร์ ที่ทำงาน หรือที่บ้าน

              การใช้งานระบบ Internet ระบบ Network หรือ Lan ในปัจจุบันมีการอัตราการใช้ และการโอนย้ายข้อมูลผ่านเครือข่ายมากขึ้นทั้งภายในองค์กร และเครือข่าย Internet ดังนั้นสิ่งที่จะมาเยี่ยมเยียนเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราพร้อมกับ Internet ก็คือ Virus ซึ่งอาจจะมาทำความเสียหายให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา หรือเครื่องอื่นๆ ไม่มากก็น้อย ดังนั้น จึงมีคำถามว่าเราจะระวังป้องกันอย่างไรเพื่อไม่ให้เข้าไปทำลายระบบและไฟล์ข้อมูลอันสำคัญของเรา ง่ายๆ ระมัดระวัง ในขณะที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการใช้คอมพิวเตอร์ในระบบ Network เพราะ Virus ในปัจจุบันมีความสามารถในการแพร่กระจายในเครือข่าย ได้เป็นอย่างดี ข้อเสนอแนะต่างๆ เหล่านี้ ถ้าคุณสามารถทำได้โอกาสที่ไวรัสจะสร้างความเสียหายให้ก็น้อยลง ซึ่งวิธีการที่จะช่วยป้องกัน Virus วิธีการมีดังนี้ อ้างอิงจาก ( paper/basic/home_networks.php)

              1. ระวังการสำเนาข้อมูล ท่านที่ชอบทำสำเนาข้อมูล หรือที่เราเรียกว่า copy file บ่อยๆ ระหว่างเครื่องต่างๆ ต้องระวังให้ดี โดยเฉพาะ ไฟล์เอกสาร เช่น เอกสารที่สร้างจาก Microsoft Word เพราะอาจจะมี Virus ติดมา การ Copy ไฟล์ระหว่างเครื่องต้องตรวจสอบก่อนทุกครั้ง อย่ามั่นใจแม้จะมีโปรแกรมป้องกันไวรัสติดตั้งอยู่ในเครื่องแล้วก็ตาม ถ้าไม่แน่ใจ อย่า Copy มาเปิดในเครื่องของเราเด็ดขาด

              2. การใช้งานจากคนที่ไม่ค้นเคย ไม่ควรอนุญาตให้คนอื่นมาใช้เครื่องของท่าน โดยปราศจากการควบคุมอย่างใกล้ชิด โดย เฉพาะคนที่เราไม่คุ้นเคย หรือคนที่ชอบเข้ามาปรับเปลี่ยน แก้ไข หรือใช้งานเครื่องของเราอย่างผิดปกติ (โดยเฉพาะการนำโปรแกรมต่างๆ มาติดตั้งในเครื่อง)

              3. สังเกตสิ่งผิดปกติ ในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ตามปกติ หมั่นสังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเครื่องอย่างสม่ำเสมอ ว่ามีความผิดปกติบ้างหรือไม่ เช่น การทำงานที่ช้าลง ขนาดไฟล์โตขึ้นหรือเนื้อที่ฮาร์ดดิสก์ลดลงมากผิดปกติ หน้าจอแสดงผลแปลกๆ ไฟฮาร์ดดิสก์ติดสว่างไม่ยอมดับ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เป็นอาการบอกเหตุว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา มีสิ่งแปลกปลอมเข้ามา และกำลังทำงานตามคำสั่งที่เราไม่ได้สั่ง และอาจจะทำลายสิ่งต่างๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา

              4. ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ควรหาโปรแกรมป้องกันไวรัสติดตั้งไว้ในเครื่อง และเมื่อติดตั้งแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัย เพราะแต่ละวันจะมี Virus เพิ่มขึ้นมาใหม่ประมาณ วันละ 50 ตัว ซึ่งโปรแกรมที่เราติดตั้งจะไม่รู้จัก ดังนั้น เราต้องหมั่นอัพเดทซิกเนเจอร์ไวรัสอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไวรัสชนิดใหม่ๆ (ปกติจะมีการอัพเดททุกๆ สัปดาห์) เช่น McAfee, Norton, PC-Cillin, Panda ซึ่งการ Update เราสามารถกระทำได้โดยผ่านทาง Internet จาก website ของโปรแกรมที่เราติดตั้ง

              5. การใช้งาน Internet ปัจจุบัน ต้องระมัดระวังเพิ่มขึ้น ปัจจุบัน ศนอ. ได้เริ่มใช้งาน Internet ผ่านเครือข่ายมากขึ้น นั่นคือการเปิดประตูให้ Virus เข้ามาในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราได้ ถึงแม้ว่าจะมีโปรแกรม ป้องกัน Virus แล้วก็ตาม ดังนั้น เราจึงควรระวังดังนี้

              5.1 เมื่อพบ website ที่มีการเชิญชวนต่างๆ เช่นการคลิกป้ายโฆษณาเชิญชวนในลักษณะที่บอกว่าจะทำให้คุณท่องเน็ตได้เร็วและนาน สามารถเข้าดูภาพลับเฉพาะได้ เพราะนั่นคือกับดักที่ล่อให้คุณติดกับ

              5.2 ในกรณีที่ต้องการ Download โปรแกรมมาใช้งาน ต้องระมัดระวัง เพราะการ Download โปรแกรมที่ไม่ทราบที่มา หรือไม่ทราบว่าโปรแกรมนั้นใช้ทำอะไร หรือในแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ เพราะอาจจะเป็นโปรแกรมที่มี Virus ติดเข้ามาโดยที่เราไม่รู้ตัว

              6. การใช้งาน e-mail

ท่านที่ใช้งาน e-mail เมื่อได้รับจดหมาย อาจจะมี File ที่แนบมาด้วย ให้ระมัดระวัง ไม่ควรเปิด File ที่แนบมากับอีเมล์จากคนที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน ส่วนใหญ่จะมีข้อความเชิญชวน เช่น ข้อมูลสำคัญที่คุณต้องการ ภาพเด็ดๆ เพื่อคุณ หรืออื่นๆ (ถ้าติดตั้งโปรแกรมป้องกัน Virus ไว้จะช่วยตรวจสอบให้คุณได้ ถ้าโปรแกรมได้รับการอัพเดทบ่อยๆ)

ก่อนที่เราจะเปิดไฟล์แนบใดๆ ที่ส่งมากับ e-mail เราควรจะแน่ใจก่อนว่าไฟล์นั้นมาจากที่ใด การทราบเพียงว่าใครเป็นผู้ส่ง e-mail ฉบับนั้นมาให้เราหรือ e-mail address ต้นทางที่ส่งมาเป็นผู้ที่ตนเองรู้จักเท่านั้นถือว่าไม่พียงพอตัวอย่างเช่น Virus Melissa แพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากถูกส่งจาก e-mail address ที่ผู้รับคุ้นเคย นอกจากนั้นโค้ดโปรแกรมที่มีจุดประสงค์ร้ายหลายอันอาจจะแพร่กระจายผ่านโปรแกรมที่ให้ความบันเทิงหรือโปรแกรมล่อลวงอื่นๆ

หากผู้ใช้มีความจำเป็นจะต้องเปิดไฟล์ที่แนบมาก่อนที่จะสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของไฟล์ได้ ขอให้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้

              6.1. ทำการอัพเดตข้อมูลรูปแบบ Virus ในเครื่องให้ทันสมัยที่สุด ตามโปรแกรมป้องกัน Virus ที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์

              6.2. บันทึกไฟล์ที่แนบมากับ e-mail ดังกล่าวลงในฮาร์ดดิสก์ ของเครื่องคอมพิวเตอร์

              6.3. ทำการ Scan Virus เพื่อตรวจสอบไฟล์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้ซอฟต์แวร์ anti-virus ที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจสอบ

              6.4. ถ้าไม่มี Virus ก็สามารถเปิดไฟล์ มาใช้งานได้ นอกจากนั้น อีกสิ่งที่ควรทำก่อนที่จะเปิดไฟล์คือให้ยกเลิกการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่าย การปฏิบัติตามขั้นตอนที่กล่าวมานี้จะช่วยลดความเสี่ยง แต่ไม่สามารถทำให้ความเสี่ยงหมดไปได้ โอกาสที่โปรแกรมทำลายระบบซึ่งแนบมากับ e-mail เหล่านั้นจะแพร่กระจายจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ไปยังเครื่องอื่นๆ ยังคงมีอยู่

              7. ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือหยุดการเชื่อมต่อกับเครือข่ายทันทีที่เลิกใช้งาน ในกรณีที่เลิกใช้งานคอมพิวเตอร์ ควรปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ของ หรือยกเลิกการเชื่อมต่อกับเครือข่ายทันทีที่ไม่ต้องการใช้งาน ผู้บุกรุกจะไม่สามารถโจมตีเครื่องคอมพิวเตอร์ใดๆ ได้ ถ้าหากเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวปิด หรือได้ยกเลิกการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์แล้ว การยกเลิกการใช้งานในเครือข่าย ก็เพียงแต่สั่ง Log Off แล้วเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ โดยไม่ Log In เข้าเครือข่าย

              8. ไม่เรียกใช้งานโปรแกรมที่ไม่ทราบที่มา ทุกครั้งที่ได้รับซอฟท์แวร์ที่ไม่ทราบแหล่งผลิต หรือได้รับแจกฟรี หรือดาวน์โหลดมาใช้ฟรีๆ ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนนำมาใช้งาน ไม่ควรใช้งานโปรแกรมใดๆ ที่ไม่ทราบว่าถูกพัฒนาขึ้นโดยนักพัฒนาโปรแกรมหรือบริษัทที่เชื่อถือหรือไม่ และไม่ควรส่งโปรแกรมที่ตนเองไม่รู้ที่มาไปให้เพื่อนหรือเพื่อนร่วมงานโดยเด็ดขาด แม้ว่าโปรแกรมดังกล่าวจะเป็นโปรแกรมที่ให้ความสนุกสนานก็ตาม เพราะโปรแกรมลักษณะดังกล่าวมักจะมีโปรแกรม trojan แฝงมาด้วยเสมอ

              9. ยกเลิกการใช้งานออปชัน "hide file extensions"

ในระบบปฏิบัติการ windows มีออปชันอันหนึ่งคือ "Hide file extensions for known file types" โดยปกติแล้วระบบจะตั้งค่าให้ออปชันนี้ทำงาน แต่ผู้ใช้สามารถยกเลิกการใช้งานออปชันนี้ได้เพื่อให้มีการแสดงนามสกุลของไฟล์ทั้งหมดบนหน้าจอ หลังจากที่ยกเลิกออปชันนี้ จะยังคงมีไฟล์บางไฟล์ที่ไม่แสดงนามสกุลเนื่องจากถูกระบบกำหนดไว้ เนื่องจากมี registry อยู่ 1 ค่าซึ่งหากมีการตั้งค่าให้กับ registry นี้แล้ว จะทำให้ระบบ ปฏิบัติการซ่อนนามสกุลของไฟล์ โดยไม่คำนึงว่าค่าที่กำหนดให้กับออปชัน "Hide file extensions for known file types" บนระบบปฏิบัติการคืออะไร นั่นคือ registry ชื่อ "NeverShowExt" จะเป็นตัวกำหนดการซ่อนนามสกุลของไฟล์ชนิดพื้นฐานที่ใช้งานในระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เช่น ".LNK" ซึ่งเป็นนามสกุลของช็อตคัท (shortcut) จะยังคงถูกซ่อนไว้แม้ว่าจะยกเลิกออปชัน "Hide file extensions for known file types" แล้วก็ตาม คำสั่งเฉพาะอื่นๆ ที่ใช้ในการยกเลิกการซ่อนนามสกุลของไฟล์ ถูกรวบรวมไว้ใน

              10. ยกเลิกการใช้งานสคริปต์ที่เกี่ยวกับลักษณะพิเศษต่างๆ ในโปรแกรม e-mail

โปรแกรมที่ใช้ในการรับส่ง e-mail หลายโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นในลักษณะเดียวกับโปรแกรมบราวเซอร์ในการเปิดไฟล์ชนิด HTML ส่งผลให้โปรแกรม e-mail เหล่านั้นได้รับผลกระทบจากการใช้งาน ActiveX, Java และ JavaScript ได้เช่นเดียวกับการใช้งานเว็บเพจ ดังนั้น นอกจากยกเลิกการใช้งานสคริปต์ในโปรแกรมเว็บบราวเซอร์แล้ว (อ่านรายละเอียดได้จากหัวข้อ "ยกเลิกการใช้งาน Java, JavaScript และ ActiveX ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้") CERT/CC ยังขอแนะนำให้ผู้ใช้ยกเลิกการใช้งานสคริปต์ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะพิเศษต่างๆ เหล่านี้บนโปรแกรม e-mail ด้วย

              11. ทำการสำรองข้อมูลที่สำคัญ ผู้ใช้ควรทำการเก็บสำรองไฟล์ที่สำคัญลงบนสื่อเก็บข้อมูลที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย เช่น ZIP disk หรือ CD-ROM ชนิดที่บันทึกข้อมูลได้ อาจทำการสำรองข้อมูลโดยการใช้ซอฟต์แวร์ และนำดิสก์เหล่านี้ไปเก็บที่อื่นให้ห่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์

              12. ยกเลิกการใช้งาน Java, JavaScript และ ActiveX ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ผู้ใช้จะต้องระมัดระวังความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการใช้งาน "mobile code" เช่น ActiveX, Java และ JavaScript ผู้พัฒนา website โดยมีจุดประสงค์ร้ายบางคนบางคนอาจจะเขียน Script การทำงานบางอย่างรวมไว้ในโค้ดโปรแกรมของตน แล้วส่งไปยัง website เช่น ค่า URL (Uniform Resource Locator), ส่วนใดส่วนหนึ่งของฟอร์ม หรือการสืบค้นฐานข้อมูล หลังจากนั้น เมื่อ website ดังกล่าวตอบรับการขอใช้งานจากผู้ใช้ สคริปต์ส่วนดังกล่าวนี้จะถูกส่งมายัง Browser ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ด้วย

              วิธีการหลีกเลี่ยงไม่ให้ตนเองได้รับผลกระทบจากช่องโหว่นี้คือ ให้ยกเลิกการใช้งานโปรแกรมทั้งหมดที่มีการใช้ภาษา Script การไม่ใช้งาน Option นี้จะช่วยป้องกันความเสี่ยงจากโปรแกรมการทำงานที่มีจุดประสงค์ร้ายต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อย่างไรก็ตาม การยกเลิก Option นี้จะส่งให้เกิดการจำกัดการเข้าใช้งานบาง website ในขณะที่เว็บไซต์หลายแห่งที่ผู้พัฒนาไม่ได้มีจุดประสงค์ในการอันตรายใดๆ ต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ แต่ภายใน website มีการใช้งานสคริปต์เหล่านี้เพื่อให้เว็บสามารถใช้งานลักษณะพิเศษบางอย่างได้ การยกเลิก Option ดังกล่าวนี้ จะทำให้การใช้งาน website ทำได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ

รายละเอียดเกี่ยวกับคำสั่งในการยกเลิกการใช้งานภาษาสคริปต์บน Browser สามารถอ่านได้ที่

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับความปลอดภัยของ ActiveX รวมไปถึงข้อแนะนำสำหรับผู้ใช้ที่ต้องดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่



รายละเอียดเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เกิดจากโปรแกรมการทำงานที่มีจุดประสงค์ในการทำลายระบบผ่านทางเว็บไซต์สามารถอ่านได้จาก CA-2000-02 Malicious HTML Tags Embedded in Client Web Requests

              13. ทำแผ่น Boot เพื่อใช้งานในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์เกิดความเสียหายหรือถูกบุกรุก

ขั้นตอนเบื้องต้นในการกู้คืนระบบถ้าหากเครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับความเสียหาย ถูกละเมิดความปลอดภัยหรือเกิดปัญหากับฮาร์ดดิสก์ คือการเตรียมแผ่น boot โดยใช้แผ่นดิสก์ 1 แผ่นไว้ล่วงหน้า สามารถนำเอาแผ่นบูทนี้ไปใช้ในการกู้คืนระบบที่เกิดปัญหาต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้วได้ ข้อควรจำก็คือ ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องจัดเตรียมแผ่นบูทนี้ไว้ก่อนที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะได้รับอันตรายจากเหตุการณ์ความปลอดภัยต่างๆ

              14. ติดตั้ง patch ให้กับ Application ที่ใช้งาน (รวมถึงระบบปฏิบัติการ)

ผู้ผลิต Software และระบบปฏิบัติการต่างๆ มักจะนำ patch ของ Software ของตนออกมาให้ผู้ใช้นำไปใช้งาน เมื่อพบว่ามีช่องโหว่เกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ของตน เอกสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ มักจะนำเสนอวิธีการที่ผู้ใช้จะรับข้อมูลล่าสุดและ patch ใหม่ๆ ไว้ด้วย ผู้ใช้ควรจะหาทางที่จะทำให้ตนเองสามารถเข้าไปรับสิ่งเหล่านี้ และข้อมูลอื่นๆ ได้ผ่านทางเว็บไซต์ของผู้ผลิต

Application บางตัว มีความสามารถที่จะตรวจสอบว่า จะต้องทำการ update หรือไม่ได้โดยอัตโนมัติ และผู้ผลิตหลายรายยังได้จัดเตรียมการแจ้งเตือนการ update ให้กับผู้ใช้โดยอัตโนมัติผ่านทาง mailing list ผู้ใช้สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของผู้ผลิตโดยตรง ถ้าหากไม่มีกระบวนการทั้งสองอย่างที่กล่าวมานี้ เราจำเป็นจะต้องเข้าไปตรวจสอบด้วยตนเองเป็นระยะๆ ว่ามี patch ใดที่ควรนำมาทำการ update ให้กับ software ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราหรือไม่

              15. การใช้ firewall

ในกรณีที่ผู้ดูแลระบบ ต้องการติดตั้ง firewall ไม่ว่าชนิดใดก็ตาม วิธีที่ควรปฏิบัติอีกข้อหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นชนิดที่นำมาใช้งานในเครือข่าย หรือชนิด Software ที่นำมาติดตั้งที่เครื่องโดยเฉพาะ ผู้บุกรุกทำการตรวจสอบหาช่องโหว่ในระบบของผู้ใช้คนอื่นๆ อยู่ตลอดเวลา firewall ชนิดเครือข่าย (อาจเป็นได้ทั้งแบบ Software และ Hardware) มีความสามารถในการป้องกันการโจมตีจากผู้บุกรุก อย่างไรก็ตาม ไม่มี firewall ชนิดใดที่สามารถตรวจสอบหรือหยุดการโจมตีได้ทุกรูปแบบ ดังนั้น การติดตั้ง firewall เพียงอย่างเดียวไว้ในระบบ แล้วละเลยการดำเนินการเกี่ยวกับความปลอดภัยอื่นๆ จึงไม่เพียงพอต่อความปลอดภัยของระบบ

              16. ขอคำปรึกษาจากผู้ให้บริการหรือผู้ดูแลโดยตรง หากจำเป็นต้องทำงานจากที่บ้าน ในกรณีที่สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์จากที่บ้าน กับที่ทำงานได้ ถ้าเป็นการใช้งานที่มีเข้าถึงแบบ broadband เพื่อเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Virtual Private Network (VPN) หรือวิธีอื่นๆ ก็ตาม ทางองค์กรมักจะมีนโยบายหรือกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านให้ผู้ใช้ปฏิบัติ ดังนั้นผู้ใช้จึงควรขอคำปรึกษาจากผู้รับผิดชอบดูแลด้านนี้โดยตรงตามความเหมาะสม

ลักษณะของ E-mail ที่มีการแนบไฟล์ที่อันตราย

• มีไฟล์ที่เป็นลักษณะบีบอัดไฟล์เช่น zip ไฟล์ ไว้ภายใน เช่น ไฟล์ instruction.zip, important.zip, document.zip แนบมากับอีเมล์ โดยมีไวรัสประเภทหนอน worm W32/Mytob.DW.mm ไว้ภายใน file

• มีหัวข้อของอีเมล์ที่น่าสนใจ เช่น

o Mail transaction failed,

o Status,

o Error,

o Hello,

o Server Report,

o Good day,

o [Random],

o Mail Delivery System

โดยภายในอีเมล์จะมีหนอน worm W32.Mytob.Do@mm ซึ่งเป็นหนอนที่มีการขยายตัวได้อย่างรวดเร็วมาก

ลักษณะของแทบบาร์

• เป็นลักษณะของแถบ bar ที่ช่วยในการเป็น short cut ในการเข้าสู่เว็ปไซต์นั้นๆ ซึ่งถือเป็น spyware ชนิดหนึ่งโดยทำการ refresh ตัวเองเพื่อทำการขยายตัวของมัน ได้แก่

o Dashbar

o Gatorbar

ซึ่งตัว spyware เองจะทำให้เกิดความน่ารำคาญของเครื่องหนึ่งๆ โดยอาจะมีผลที่ทำระบบทั้งระบบช้าหรือมีปัญหาเกิดขึ้นได้

................
................

In order to avoid copyright disputes, this page is only a partial summary.

Google Online Preview   Download